ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ก.พ. 60 ปรับตัวลดลง อยู่ที่ระดับ 86.2 ขณะที่ผู้ประกอบการยังมั่นใจ ส่งออกไทยปี 60 ขยายตัว


นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) เดือนกุมภาพันธ์ 2560 จำนวน 1,137 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรม ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อยู่ที่ระดับ 86.2 ปรับตัวลดลงจากระดับ 87.2 ในเดือนมกราคม ทั้งนี้ค่าดัชนีฯ ที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน สาเหตุจากการชะลอตัวของอุปสงค์และกำลังซื้อ หลังจากสิ้นสุดมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐในช่วงปลายปี 2559 ขณะที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีความกังวลต่อค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่ากว่าประเทศในภูมิภาค ส่วนผู้ประกอบการ SMEs กังวลต่อปัญหาสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ ภาวะการแข่งขันและต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการส่งออกที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เห็นว่าการส่งออกของไทยในปี 2560 มีทิศทางการขยายตัวดี จากการที่ภาวะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง เห็นได้จากคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศและทำความเย็น ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์

ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐ คือ รักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อลดความผันผวนของค่าเงินจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกการค้าชายแดน โดยเปิดด่านเพิ่มและปรับแก้ไขกฎระเบียบข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคทางการค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกัน รวมถึงสนับสนุนการขยายฐานส่งออกสินค้า SMEs และให้ความรู้ผู้ประกอบการในการเข้าถึงช่องทางการตลาดในต่างประเทศ และเร่งเจรจาการค้ากับประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อขยายตลาด ลดอุปสรรคทางการค้าและมาตรการกีดกันสินค้าที่มิใช่ภาษี

นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) เดือนกุมภาพันธ์ 2560 จำนวน 1,137 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรม ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อยู่ที่ระดับ 86.2 ปรับตัวลดลงจากระดับ 87.2 ในเดือนมกราคม ทั้งนี้ค่าดัชนีฯ ที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน สาเหตุจากการชะลอตัวของอุปสงค์และกำลังซื้อ หลังจากสิ้นสุดมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐในช่วงปลายปี 2559 ขณะที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีความกังวลต่อค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่ากว่าประเทศในภูมิภาค ส่วนผู้ประกอบการ SMEs กังวลต่อปัญหาสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ ภาวะการแข่งขันและต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการส่งออกที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เห็นว่าการส่งออกของไทยในปี 2560 มีทิศทางการขยายตัวดี จากการที่ภาวะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง เห็นได้จากคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศและทำความเย็น ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์

ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐ คือ รักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อลดความผันผวนของค่าเงินจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกการค้าชายแดน โดยเปิดด่านเพิ่มและปรับแก้ไขกฎระเบียบข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคทางการค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกัน รวมถึงสนับสนุนการขยายฐานส่งออกสินค้า SMEs และให้ความรู้ผู้ประกอบการในการเข้าถึงช่องทางการตลาดในต่างประเทศ และเร่งเจรจาการค้ากับประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อขยายตลาด ลดอุปสรรคทางการค้าและมาตรการกีดกันสินค้าที่มิใช่ภาษี

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!