ดัชนีความเชื่อมั่นฯ กรกฎาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 62 เดือน


ดัชนีความเชื่อมั่นฯ กรกฎาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 62 เดือน เกิดจากกำลังซื้อภายในประเทศปรับตัวดีขึ้น การส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าขยายตัว, กังวลราคาน้ำมัน

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการประจำเดือนกรกฎาคม 2561 จำนวน 1,012 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรม ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พบว่า อยู่ที่ระดับ 93.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 91.7 ในเดือนมิถุนายน สูงสุดในรอบ 62 เดือน นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2556

จากการสำรวจ พบว่า ในเดือนกรกฎาคม ผู้ประกอบการเห็นว่ากำลังซื้อภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะภาคเกษตร สะท้อนจากดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกภูมิภาค ส่งผลดีต่อการบริโภคสินค้าคงทน เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องจักรกลและโลหะการ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่ามีความต้องการสินค้าไทยของประเทศเพื่อนบ้านผ่านการค้าชายแดน รวมทั้งการส่งออกของไทยไปยังประเทศคู่ค้ายังขยายตัวต่อเนื่อง ขณะเดียวกันการอ่อนค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกระทบต่อต้นทุนประกอบการ ภาวะน้ำท่วมที่ส่งผลกระทบต่อระบบคมนาคมขนส่ง ขณะเดียวกันผู้ประกอบการยังต้องติดตามและเตรียมแผนรองรับกับมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้าต่างๆ

ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ 1. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพแรงงานด้านเทคโนโลยี เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve และ New S-curve เพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC), 2. เจรจาเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านการค้ากับประเทศที่เป็นตลาดส่งออกเดิม เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกัน และรักษาตลาดเดิมไว้, 3. เปิดเจรจาการค้าเสรี FTA กับตลาดใหม่เพื่อรับมือสงครามการค้า ที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดส่งออกเดิม

ดัชนีความเชื่อมั่นฯ กรกฎาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 62 เดือน เกิดจากกำลังซื้อภายในประเทศปรับตัวดีขึ้น การส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าขยายตัว, กังวลราคาน้ำมัน

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการประจำเดือนกรกฎาคม 2561 จำนวน 1,012 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรม ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พบว่า อยู่ที่ระดับ 93.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 91.7 ในเดือนมิถุนายน สูงสุดในรอบ 62 เดือน นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2556

จากการสำรวจ พบว่า ในเดือนกรกฎาคม ผู้ประกอบการเห็นว่ากำลังซื้อภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะภาคเกษตร สะท้อนจากดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกภูมิภาค ส่งผลดีต่อการบริโภคสินค้าคงทน เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องจักรกลและโลหะการ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่ามีความต้องการสินค้าไทยของประเทศเพื่อนบ้านผ่านการค้าชายแดน รวมทั้งการส่งออกของไทยไปยังประเทศคู่ค้ายังขยายตัวต่อเนื่อง ขณะเดียวกันการอ่อนค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกระทบต่อต้นทุนประกอบการ ภาวะน้ำท่วมที่ส่งผลกระทบต่อระบบคมนาคมขนส่ง ขณะเดียวกันผู้ประกอบการยังต้องติดตามและเตรียมแผนรองรับกับมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้าต่างๆ

ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ 1. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพแรงงานด้านเทคโนโลยี เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve และ New S-curve เพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC), 2. เจรจาเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านการค้ากับประเทศที่เป็นตลาดส่งออกเดิม เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกัน และรักษาตลาดเดิมไว้, 3. เปิดเจรจาการค้าเสรี FTA กับตลาดใหม่เพื่อรับมือสงครามการค้า ที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดส่งออกเดิม

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!