ต้นแบบระบบขนส่งความเร็วสูง Hyperloop นครรัฐดูไบ


บริษัท Virgin Hyperloop One เปิดตัวต้นแบบระบบขนส่งความเร็วสูง Hyperloop ที่จะช่วยให้การเดินทางระหว่างเมืองดูไบและอาบูดาบีที่มีระยะทางกว่า 140 กิโลเมตรใช้เวลาแค่ 15 นาทีด้วยความเร็วประมาณ 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รองรับการขนส่งผู้โดยสารได้ประมาณ 10,000 คนต่อชั่วโมง คาดว่าจะสามารถทำการทดสอบวิ่งระบบ Hyperloop ได้ในปี 2020

ต้นแบบระบบขนส่งความเร็วสูง Hyperloop

ระบบขนส่งความเร็วสูง Hyperloop มีลักษณะเป็นแคปซูลเดินทางด้วยความเร็วสูงภายในท่อสูญญากาศขับเคลื่อนด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า ผู้โดยสารจะอยู่ในภายในแคปซูลที่ไม่มีหน้าต่างแต่ภายในออกแบบอย่างสวยงามล้ำยุคติดตั้งเก้าอี้นั่งพิเศษโดยบริษัท BMW ประเทศเยอรมัน มีระบบรองรับความสะดวกสบายเทียบเท่าเครื่องบินโดยสารชั้นเฟิร์สคลาสพรอ้มระบบความปลอดภัยด้วยเข็มขัดพิเศษ ห้องโดยสารถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ห้องโดยสารชั้น Gold class และห้องโดยสารชั้น Silver class

บริษัท Virgin Hyperloop One เดิมนั้นชื่อบริษัทว่า Hyperloop One ต่อมาภายในหลังมหาเศรษฐีกลุ่มบริษัท Virgin ริชาร์ด แบรนสันได้เข้ามาเป็นประธานบริหารและเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Virgin Hyperloop One มหาเศรษฐีริชาร์ด แบรนสันเป็นนักธุรกิจระดับโลก อาณาจักรธุรกิจของริชาร์ด แบรนสันมีความหลากหลายตั้งแต่ค่ายเพลง สายการบิน Virgin Airways ไปจนถึงบริษัทัวร์อวกาศ Virgin Galactic

ปัจจุบันระบบขนส่งความเร็วสูง Hyperloop อยู่ในช่วงการวิจัยพัฒนาโดยบริษัท Virgin Hyperloop One มีสำนักงานใหญ่และฐานการวิจัยพัฒนาอยู่ทีลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากดูไบแล้วมีอีกหลายประเทศที่ให้ความสนใจสร้างระบบขนส่งความเร็วสูง Hyperloop ร่วมกับบริษัท Virgin Hyperloop One เช่น อินเดีย แคนาดา เม็กซิโก และอังกฤษ

บริษัท Virgin Hyperloop One เปิดตัวต้นแบบระบบขนส่งความเร็วสูง Hyperloop ที่จะช่วยให้การเดินทางระหว่างเมืองดูไบและอาบูดาบีที่มีระยะทางกว่า 140 กิโลเมตรใช้เวลาแค่ 15 นาทีด้วยความเร็วประมาณ 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รองรับการขนส่งผู้โดยสารได้ประมาณ 10,000 คนต่อชั่วโมง คาดว่าจะสามารถทำการทดสอบวิ่งระบบ Hyperloop ได้ในปี 2020

ต้นแบบระบบขนส่งความเร็วสูง Hyperloop

ระบบขนส่งความเร็วสูง Hyperloop มีลักษณะเป็นแคปซูลเดินทางด้วยความเร็วสูงภายในท่อสูญญากาศขับเคลื่อนด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า ผู้โดยสารจะอยู่ในภายในแคปซูลที่ไม่มีหน้าต่างแต่ภายในออกแบบอย่างสวยงามล้ำยุคติดตั้งเก้าอี้นั่งพิเศษโดยบริษัท BMW ประเทศเยอรมัน มีระบบรองรับความสะดวกสบายเทียบเท่าเครื่องบินโดยสารชั้นเฟิร์สคลาสพรอ้มระบบความปลอดภัยด้วยเข็มขัดพิเศษ ห้องโดยสารถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ห้องโดยสารชั้น Gold class และห้องโดยสารชั้น Silver class

บริษัท Virgin Hyperloop One เดิมนั้นชื่อบริษัทว่า Hyperloop One ต่อมาภายในหลังมหาเศรษฐีกลุ่มบริษัท Virgin ริชาร์ด แบรนสันได้เข้ามาเป็นประธานบริหารและเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Virgin Hyperloop One มหาเศรษฐีริชาร์ด แบรนสันเป็นนักธุรกิจระดับโลก อาณาจักรธุรกิจของริชาร์ด แบรนสันมีความหลากหลายตั้งแต่ค่ายเพลง สายการบิน Virgin Airways ไปจนถึงบริษัทัวร์อวกาศ Virgin Galactic

ปัจจุบันระบบขนส่งความเร็วสูง Hyperloop อยู่ในช่วงการวิจัยพัฒนาโดยบริษัท Virgin Hyperloop One มีสำนักงานใหญ่และฐานการวิจัยพัฒนาอยู่ทีลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากดูไบแล้วมีอีกหลายประเทศที่ให้ความสนใจสร้างระบบขนส่งความเร็วสูง Hyperloop ร่วมกับบริษัท Virgin Hyperloop One เช่น อินเดีย แคนาดา เม็กซิโก และอังกฤษ

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!