‘ทรัมป์’ ถอนสหรัฐฯ ออกจากข้อตกลงโลกร้อนกรุงปารีส ท่ามกลางความผิดหวังของบรรดาผู้นำโลก


ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศถอนสหรัฐฯ ออกจากข้อตกลงกรุงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก โดยจะมีผลทันที พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลงที่ดีกว่าเดิมในมุมมองของผู้นำสหรัฐฯ

ปธน.ทรัมป์ กล่าวบริเวณสวนด้านหน้าของทำเนียบขาว ท่ามกลางเสียงปรบมือของบรรดาแขกเหรื่อที่ได้รับเชิญมาจำนวนหนึ่ง

“สหรัฐฯ จะออกจากข้อตกลงกรุงปารีส” และว่า “ข้อตกลงนี้เป็นตัวอย่างของข้อตกลงที่หวนกลับมาทำลายสหรัฐฯ เอง ดังนั้นสหรัฐฯ จะยุติการเข้าร่วมในข้อตกลงที่ไม่มีภาระผูกพันนี้”

อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า เป็นผู้ลงนามในข้อตกลงกรุงปารีส ซึ่งถือเป็นข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมฉบับแรกในประวัติศาสตร์ ที่มี 195 ประเทศร่วมลงนามเพื่อเป้าหมายในการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนในชั้นบรรยากาศโลก และจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรม

ก่อนหน้านี้มีเพียง 2 ประเทศเท่านั้นที่ไม่ได้เข้าร่วมในข้อตกลงนี้ คือ ซีเรีย และนิคารากัว

แม้โดยหลักการแล้ว ข้อตกลงกรุงปารีสจะมีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่การบังคับใช้นั้นยังไม่เข้มงวดมากนัก ตัวอย่างเช่น ไม่มีการบังคับให้ต้องลดปริมาณก๊าซคาร์บอนตามเป้าหมายที่ระบุไว้ นั่นหมายความว่า แม้สหรัฐฯ ได้รับปากไว้ว่าจะลดปริมาณก๊าซคาร์บอนลงให้ได้ 26% – 28% ภายในปี ค.ศ. 2025 แต่หากทำไม่ได้ตามที่ระบุก็จะไม่มีผลสะท้อนใดๆ กลับมา

ขณะเดียวกัน บรรดาผู้นำหลายประเทศในยุโรปต่างแสดงความผิดหวังและโกรธเคือง หลังจากทราบข่าวสหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงกรุงปารีส โดยต่างเตือนว่าจะทำให้เป็นเรื่องยากที่จะชะลอการเกิดปัญหาภาวะโลกร้อน เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศมากเป็นอันดับสองของโลก

เจ้าหน้าที่รัฐบาลหลายประเทศในยุโรปบอกว่า การที่สหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงกรุงปารีส จะยิ่งบั่นทอนความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับยุโรป มากยิ่งขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อบทบาทของสหรัฐฯ บนเวทีโลก โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและการค้า เพราะตอนนี้ถือว่านโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่สอดคล้องกับประเทศส่วนใหญ่

ประธานสภายุโรป Antonio Tajani กล่าวว่า “เรื่องนี้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความเป็นผู้นำของสหรัฐฯ บนเวทีโลก ซึ่งในที่สุดจะย้อนกลับมาทำร้ายสหรัฐฯ และโลกนี้”

ส่วนคุณ Guy Verhofstadt ผู้นำกลุ่มนักการเมืองฝ่ายเสรีนิยมในสภายุโรป ทวีตข้อความสั้นๆ ว่า “Make America small again” พร้อมรายงานเกี่ยวกับผลกระทบของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้รัฐฮาวายจมลงใต้ทะเล

ด้านองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อม Greenpeace ระบุว่า “ปธน. ทรัมป์ ได้เปลี่ยนสหรัฐฯ จากผู้นำด้านการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ไปเป็นผู้ไร้ค่า”

ส่วนทางนายกฯ จีน หลี่ เค่อเฉียง กล่าวว่าการตัดสินใจของสหรัฐฯ ครั้งนี้ เป็นการทำลายความเชื่อมั่นระหว่างประเทศมหาอำนาจต่างๆ ในการเจรจาข้อตกลงใดๆ ก็ตามต่อจากนี้ และว่า “จีนจะยังคงยึดมั่นต่อหลักการที่ระบุไว้ในข้อตกลงกรุงปารีสอย่างหนักแน่นต่อไป”

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศถอนสหรัฐฯ ออกจากข้อตกลงกรุงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก โดยจะมีผลทันที พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลงที่ดีกว่าเดิมในมุมมองของผู้นำสหรัฐฯ

ปธน.ทรัมป์ กล่าวบริเวณสวนด้านหน้าของทำเนียบขาว ท่ามกลางเสียงปรบมือของบรรดาแขกเหรื่อที่ได้รับเชิญมาจำนวนหนึ่ง

“สหรัฐฯ จะออกจากข้อตกลงกรุงปารีส” และว่า “ข้อตกลงนี้เป็นตัวอย่างของข้อตกลงที่หวนกลับมาทำลายสหรัฐฯ เอง ดังนั้นสหรัฐฯ จะยุติการเข้าร่วมในข้อตกลงที่ไม่มีภาระผูกพันนี้”

อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า เป็นผู้ลงนามในข้อตกลงกรุงปารีส ซึ่งถือเป็นข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมฉบับแรกในประวัติศาสตร์ ที่มี 195 ประเทศร่วมลงนามเพื่อเป้าหมายในการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนในชั้นบรรยากาศโลก และจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรม

ก่อนหน้านี้มีเพียง 2 ประเทศเท่านั้นที่ไม่ได้เข้าร่วมในข้อตกลงนี้ คือ ซีเรีย และนิคารากัว

แม้โดยหลักการแล้ว ข้อตกลงกรุงปารีสจะมีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่การบังคับใช้นั้นยังไม่เข้มงวดมากนัก ตัวอย่างเช่น ไม่มีการบังคับให้ต้องลดปริมาณก๊าซคาร์บอนตามเป้าหมายที่ระบุไว้ นั่นหมายความว่า แม้สหรัฐฯ ได้รับปากไว้ว่าจะลดปริมาณก๊าซคาร์บอนลงให้ได้ 26% – 28% ภายในปี ค.ศ. 2025 แต่หากทำไม่ได้ตามที่ระบุก็จะไม่มีผลสะท้อนใดๆ กลับมา

ขณะเดียวกัน บรรดาผู้นำหลายประเทศในยุโรปต่างแสดงความผิดหวังและโกรธเคือง หลังจากทราบข่าวสหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงกรุงปารีส โดยต่างเตือนว่าจะทำให้เป็นเรื่องยากที่จะชะลอการเกิดปัญหาภาวะโลกร้อน เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศมากเป็นอันดับสองของโลก

เจ้าหน้าที่รัฐบาลหลายประเทศในยุโรปบอกว่า การที่สหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงกรุงปารีส จะยิ่งบั่นทอนความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับยุโรป มากยิ่งขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อบทบาทของสหรัฐฯ บนเวทีโลก โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและการค้า เพราะตอนนี้ถือว่านโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่สอดคล้องกับประเทศส่วนใหญ่

ประธานสภายุโรป Antonio Tajani กล่าวว่า “เรื่องนี้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความเป็นผู้นำของสหรัฐฯ บนเวทีโลก ซึ่งในที่สุดจะย้อนกลับมาทำร้ายสหรัฐฯ และโลกนี้”

ส่วนคุณ Guy Verhofstadt ผู้นำกลุ่มนักการเมืองฝ่ายเสรีนิยมในสภายุโรป ทวีตข้อความสั้นๆ ว่า “Make America small again” พร้อมรายงานเกี่ยวกับผลกระทบของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้รัฐฮาวายจมลงใต้ทะเล

ด้านองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อม Greenpeace ระบุว่า “ปธน. ทรัมป์ ได้เปลี่ยนสหรัฐฯ จากผู้นำด้านการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ไปเป็นผู้ไร้ค่า”

ส่วนทางนายกฯ จีน หลี่ เค่อเฉียง กล่าวว่าการตัดสินใจของสหรัฐฯ ครั้งนี้ เป็นการทำลายความเชื่อมั่นระหว่างประเทศมหาอำนาจต่างๆ ในการเจรจาข้อตกลงใดๆ ก็ตามต่อจากนี้ และว่า “จีนจะยังคงยึดมั่นต่อหลักการที่ระบุไว้ในข้อตกลงกรุงปารีสอย่างหนักแน่นต่อไป”

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!