นักวิทยาศาสตร์เตือน ‘ขยะอวกาศ’ ที่โคจรรอบโลกด้วยความเร็วสูงอาจเป็นอันตรายต่อยานสำรวจอวกาศ


ภาพยนตร์แอนิเมชั่นขององค์การสำรวจอวกาศแห่งยุโรปหรือ ESA เเสดงให้เห็นขยะอวกาศจำนวนมหาศาลโคจรไปรอบโลกอยู่ในขณะนี้

ขยะอวกาศเหล่านี้มีทั้งยานอวกาศใช้งานเเล้ว ดาวเทียมที่ใช้การไม่ได้ไปจนถึงชิ้นส่วนต่างๆ ที่เเตกหักในอวกาศ และเเม้กระทั่งเครื่องมือที่สูญหาย

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าขยะอวกาศจำนวนมากเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงถึง 40,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

Holger Krag หัวหน้าสำนักงานขยะอวกาศเเห่งหน่วยงานสำรวจอวกาศยุโรป ESA กล่าวว่า “หากขยะอวกาศพุ่งเข้าชนกับดาวเทียมด้วยความเร็วสูงระดับนี้ ก็เทียบได้กับการระเบิดของระเบิดมือ ซึ่งจะทำให้การทำงานของระบบดาวเทียมล้มเหลว”

“หรือหากขยะที่ชนมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็อาจทำให้ดาวเทียมเสียหายไปเลยทั้งดวง และเกิดเศษขยะชิ้นเล็กชิ้นน้อยขึ้นในอวกาศเพิ่มอีก”

หลังจากขยะอวกาศพุ่งเข้าชนกัน ชิ้นส่วนต่างๆ จะกระเด็นไปคนละทิศละทาง เเละยิ่งเวลาผ่านไป ปริมาณขยะอวกาศก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือชนเข้ากับยานสำรวจอวกาศที่มีนักอวกาศโดยสารไปด้วย

ในระหว่างงานประชุมเกี่ยวกับขยะอวกาศที่เยอรมนีเมื่อเร็วๆ นี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์ได้ถกกันถึงเเนวทางแก้ปัญหานี้

Holger Krag หัวหน้าสำนักงานขยะอวกาศเเห่งหน่วยงานสำรวจอวกาศยุโรป ESA มองว่า การแก้ปัญหานี้ต้องใช้ความร่วมมือในระดับทั่วโลก

เขากล่าวว่า “คนทั่วโลกใช้ประโยชน์จากการบริการจากอวกาศ การเเก้ปัญหาขยะอวกาศจึงควรเป็นความรับผิดชอบร่วมกันในระดับนานาชาติทั่วโลก เพราะเราได้ร่วมกันสร้างปัญหาในระดับทั่วโลกที่ต้องแก้ไขด้วยความร่วมมือในระดับทั่วโลกเช่นกัน”

สำนักงาน U.S. Space Strategic Command ตรวจพบขยะอวกาศราว 18,000 ชิ้นที่มีขนาดเท่ากับสนามฟุตบอล และใหญ่กว่าสนามฟุตบอล

บรรดานักวิทยาศาสตร์คำนวณว่า มีขยะอวกาศที่มีขนาดเท่ากับหนึ่งเซ็นติเมตรในห้วงอากาศประมาณ 750,000 ชิ้น และอีกหลายล้านชิ้นมีขนาดใหญ่กว่าหนึ่งมิลลิเมตรเพียงเล็กน้อย

นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า การดักจับขยะอวกาศเป็นวิธีเดียวในการกำจัดขยะอวกาศให้หมดไป ก่อนที่ขยะอวกาศเหล่านี้จะเเตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย

ขณะนี้กำลังมีการทดสอบไอเดียหลายอย่างในการดักจับขยะ ตั้งเเต่การส่งยานอวกาศที่ติดตั้งเเขนหุ่นยนต์ไปจนถึงการทอดแหในอวกาศ

แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า การเข้าไปใกล้ขยะอวกาศอย่างปลอดภัยเพื่อดักจับขยะโลหะที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมาก ยังเป็นปัญหาเเละยังไม่มีทางออกในขณะนี้

source :- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=066990450809315971

ภาพยนตร์แอนิเมชั่นขององค์การสำรวจอวกาศแห่งยุโรปหรือ ESA เเสดงให้เห็นขยะอวกาศจำนวนมหาศาลโคจรไปรอบโลกอยู่ในขณะนี้ ขยะอวกาศเหล่านี้มีทั้งยานอวกาศใช้งานเเล้ว ดาวเทียมที่ใช้การไม่ได้ไปจนถึงชิ้นส่วนต่างๆ ที่เเตกหักในอวกาศ และเเม้กระทั่งเครื่องมือที่สูญหาย ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าขยะอวกาศจำนวนมากเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงถึง 40,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง Holger Krag หัวหน้าสำนักงานขยะอวกาศเเห่งหน่วยงานสำรวจอวกาศยุโรป ESA กล่าวว่า “หากขยะอวกาศพุ่งเข้าชนกับดาวเทียมด้วยความเร็วสูงระดับนี้ ก็เทียบได้กับการระเบิดของระเบิดมือ ซึ่งจะทำให้การทำงานของระบบดาวเทียมล้มเหลว” “หรือหากขยะที่ชนมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็อาจทำให้ดาวเทียมเสียหายไปเลยทั้งดวง และเกิดเศษขยะชิ้นเล็กชิ้นน้อยขึ้นในอวกาศเพิ่มอีก” หลังจากขยะอวกาศพุ่งเข้าชนกัน ชิ้นส่วนต่างๆ จะกระเด็นไปคนละทิศละทาง เเละยิ่งเวลาผ่านไป ปริมาณขยะอวกาศก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือชนเข้ากับยานสำรวจอวกาศที่มีนักอวกาศโดยสารไปด้วย ในระหว่างงานประชุมเกี่ยวกับขยะอวกาศที่เยอรมนีเมื่อเร็วๆ นี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์ได้ถกกันถึงเเนวทางแก้ปัญหานี้ Holger Krag หัวหน้าสำนักงานขยะอวกาศเเห่งหน่วยงานสำรวจอวกาศยุโรป ESA มองว่า การแก้ปัญหานี้ต้องใช้ความร่วมมือในระดับทั่วโลก เขากล่าวว่า “คนทั่วโลกใช้ประโยชน์จากการบริการจากอวกาศ การเเก้ปัญหาขยะอวกาศจึงควรเป็นความรับผิดชอบร่วมกันในระดับนานาชาติทั่วโลก เพราะเราได้ร่วมกันสร้างปัญหาในระดับทั่วโลกที่ต้องแก้ไขด้วยความร่วมมือในระดับทั่วโลกเช่นกัน” สำนักงาน U.S. Space Strategic Command ตรวจพบขยะอวกาศราว 18,000 ชิ้นที่มีขนาดเท่ากับสนามฟุตบอล และใหญ่กว่าสนามฟุตบอล บรรดานักวิทยาศาสตร์คำนวณว่า มีขยะอวกาศที่มีขนาดเท่ากับหนึ่งเซ็นติเมตรในห้วงอากาศประมาณ 750,000 ชิ้น และอีกหลายล้านชิ้นมีขนาดใหญ่กว่าหนึ่งมิลลิเมตรเพียงเล็กน้อย นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า การดักจับขยะอวกาศเป็นวิธีเดียวในการกำจัดขยะอวกาศให้หมดไป ก่อนที่ขยะอวกาศเหล่านี้จะเเตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ขณะนี้กำลังมีการทดสอบไอเดียหลายอย่างในการดักจับขยะ ตั้งเเต่การส่งยานอวกาศที่ติดตั้งเเขนหุ่นยนต์ไปจนถึงการทอดแหในอวกาศ แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า การเข้าไปใกล้ขยะอวกาศอย่างปลอดภัยเพื่อดักจับขยะโลหะที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมาก ยังเป็นปัญหาเเละยังไม่มีทางออกในขณะนี้ source :- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=066990450809315971

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!