ปัญหาน้ำท่วมหลายพื้นที่กระทบดัชนีความเชื่อมั่นฯ ตุลาคม 60 ลดลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือน ยังปรับตัวเพิ่มขึ้น


นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ตุลาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 85.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 86.7 ในเดือนกันยายน ทั้งนี้ค่าดัชนีฯที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ผู้ประกอบการที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายภายในประเทศ ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากการปรับตัวลดลงของดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายภายในประเทศจากผู้ประกอบการขนาดย่อมและขนาดกลาง ประกอบกับมีฝนตกต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีกทั้งในเดือนตุลาคมมีวันทำงานน้อยกว่าเดือนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการเห็นว่าหากสถานการณ์ดังกล่าวคลี่คลายสู่ภาวะปกติ การบริโภคและการใช้จ่ายภายในประเทศจะกลับมาขยายตัวได้ เห็นได้จากค่าดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นและมีค่าเกิน 100 โดยอยู่ที่ระดับ 103.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 102.9 ในเดือนกันยายน

ปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ สถานการณ์การเมืองในประเทศ ส่วนปัจจัยที่มีความกังวลลดลง ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน สภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนตุลาคม คือ ต้องการให้ขยายเวลาเปิดด่านการค้าชายแดน เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า พร้อมทั้งพัฒนาฐานข้อมูลด้านการตลาด และการส่งออก เพื่อเพิ่มช่องทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ SMEs รวมไปถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอุตสาหกรรม เพื่อขยายตลาดสินค้าอุตสาหกรรมในท้องถิ่น และเร่งรัดโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐในส่วนภูมิภาคเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ

นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ตุลาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 85.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 86.7 ในเดือนกันยายน ทั้งนี้ค่าดัชนีฯที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ผู้ประกอบการที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายภายในประเทศ ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากการปรับตัวลดลงของดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายภายในประเทศจากผู้ประกอบการขนาดย่อมและขนาดกลาง ประกอบกับมีฝนตกต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีกทั้งในเดือนตุลาคมมีวันทำงานน้อยกว่าเดือนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการเห็นว่าหากสถานการณ์ดังกล่าวคลี่คลายสู่ภาวะปกติ การบริโภคและการใช้จ่ายภายในประเทศจะกลับมาขยายตัวได้ เห็นได้จากค่าดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นและมีค่าเกิน 100 โดยอยู่ที่ระดับ 103.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 102.9 ในเดือนกันยายน

ปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ สถานการณ์การเมืองในประเทศ ส่วนปัจจัยที่มีความกังวลลดลง ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน สภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนตุลาคม คือ ต้องการให้ขยายเวลาเปิดด่านการค้าชายแดน เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า พร้อมทั้งพัฒนาฐานข้อมูลด้านการตลาด และการส่งออก เพื่อเพิ่มช่องทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ SMEs รวมไปถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอุตสาหกรรม เพื่อขยายตลาดสินค้าอุตสาหกรรมในท้องถิ่น และเร่งรัดโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐในส่วนภูมิภาคเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!