ฟอร์บส์เผย 50 มหาเศรษฐีในไทยรวยเพิ่มขึ้น 16%


นิตยสารฟอร์บส์เผยรายชื่อมหาเศรษฐีที่รวยติดอันดับ 50 คนแรกในประเทศไทยประจำปี 2017 โดยมหาเศรษฐีทั้งหมดมีทรัพย์สินรวมกันเพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

สื่อวิเคราะห์เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ‘ฟอร์บส์’ รายงานว่าเศรษฐกิจของไทยเติบโตรวม 3.3 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาสแรกของปีนี้ ถือเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 4 ปี เป็นผลจากราคาผลผลิตทางการเกษตรเริ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และการส่งออกกระเตื้องขึ้น ช่วยให้เศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณที่ดีขึ้น หลังจากประเทศไทยตกอยู่ในภาวะโศกเศร้าเป็นเวลานาน นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สวรรคตเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2016

จากการรวบรวมข้อมูลขของฟอร์บส์พบว่ามหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทย 50 อันดับ มีรายได้และทรัพย์สินรวมกันถึง 123,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 4.3 ล้านล้านบาท โดยเพิ่มขึ้น 16 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับทรัพย์สินรวมของมหาเศรษฐีไทยที่สำรวจในช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว พร้อมระบุด้วยว่าปีนี้ 2 ใน 3 ของมหาเศรษฐีในไทยทั้ง 50 อันดับร่ำรวยขึ้น แม้จะมีบางคนที่หลุดจากการจัดอันดับของฟอร์บส์ไปในปีนี้ แต่ก็มีผู้ที่ติดอันดับเป็นปีแรกเพิ่มขึ้นมาอีก 3 คนเช่นกัน

ส่วนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ติดอันดับ 11 มีทรัพย์สินรวม 1,700 ล้านดอลลาร์ ซึ่งฟอร์บส์ระบุว่าเป็นนักลงทุน ส่วนมหาเศรษฐีอื่นๆ ที่ติดอันดับปีนี้เป็นปีแรก ได้แก่ อันดับ 35 วินัย เตียวสมบูรณ์กิจ มีทรัพย์สิน 750 ล้านดอลลาร์ จากธุรกิจอาหาร บริษัทไทยฟู้ดส์ และอันดับ 44 อิทธิพัฒน์ พีระเดชาพันธุ์ จากธุรกิจสาหร่ายทอดเถ้าแก่น้อยและขนมขบเคี้ยวอื่นๆ มีทรัพย์สิน 610 ล้านดอลลาร์ ทั้งยังเป็นมหาเศรษฐีอายุน้อยที่สุดในการจัดอันดับของฟอร์บส์ปีนี้ คือ 32 ปี ขณะที่อันดับ 46 ณัฐชไม ถนอมบุญเจริญ มีทรัพย์สิน 510 ล้านดอลลาร์ จากธุรกิจเครื่องดื่มบำรุงกำลังเครือคาราบาวกรุ๊ป หรือ ซีบีจี

ส่วนมหาเศรษฐีที่หลุดจากกลุ่ม 50 อันดับแรกในปีนี้ ได้แก่ นิจพร จรณะจิตต์ และเปรมชัย กรรณสูต จากกลุ่มบริษัท อิตัล-ไทย ซึ่งเป็นธุรกิจรับเหมาก่อสร้างครบวงจร รายได้ตกลงไป 35 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่านมา เพราะรัฐบาลสั่งชะลอการใช้ง่ายงบประมาณโครงสร้างพื้นฐาน ส่งผลกระทบต่อธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

ฟอร์บส์ระบุว่า การจัดอันดับข้อมูลมหาเศรษฐีในไทยไม่ได้เป็นการจัดอันดับบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงตระกูลและเครือญาติ โดยอ้างอิงจากข้อมูลผู้ถือหุ้น สัดส่วนผู้ถือหุ้น บทวิเคราะห์และรายงานของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยสินทรัพย์ของผู้ถือหุ้นในบริษัทมหาชนจะอ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา ขณะที่บริษัทจำกัดจะประเมินข้อมูลโดยเปรียบเทียบกับบริษัทประเภทเดียวกันที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์.

นิตยสารฟอร์บส์เผยรายชื่อมหาเศรษฐีที่รวยติดอันดับ 50 คนแรกในประเทศไทยประจำปี 2017 โดยมหาเศรษฐีทั้งหมดมีทรัพย์สินรวมกันเพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

สื่อวิเคราะห์เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ‘ฟอร์บส์’ รายงานว่าเศรษฐกิจของไทยเติบโตรวม 3.3 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาสแรกของปีนี้ ถือเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 4 ปี เป็นผลจากราคาผลผลิตทางการเกษตรเริ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และการส่งออกกระเตื้องขึ้น ช่วยให้เศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณที่ดีขึ้น หลังจากประเทศไทยตกอยู่ในภาวะโศกเศร้าเป็นเวลานาน นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สวรรคตเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2016

จากการรวบรวมข้อมูลขของฟอร์บส์พบว่ามหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทย 50 อันดับ มีรายได้และทรัพย์สินรวมกันถึง 123,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 4.3 ล้านล้านบาท โดยเพิ่มขึ้น 16 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับทรัพย์สินรวมของมหาเศรษฐีไทยที่สำรวจในช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว พร้อมระบุด้วยว่าปีนี้ 2 ใน 3 ของมหาเศรษฐีในไทยทั้ง 50 อันดับร่ำรวยขึ้น แม้จะมีบางคนที่หลุดจากการจัดอันดับของฟอร์บส์ไปในปีนี้ แต่ก็มีผู้ที่ติดอันดับเป็นปีแรกเพิ่มขึ้นมาอีก 3 คนเช่นกัน

ส่วนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ติดอันดับ 11 มีทรัพย์สินรวม 1,700 ล้านดอลลาร์ ซึ่งฟอร์บส์ระบุว่าเป็นนักลงทุน ส่วนมหาเศรษฐีอื่นๆ ที่ติดอันดับปีนี้เป็นปีแรก ได้แก่ อันดับ 35 วินัย เตียวสมบูรณ์กิจ มีทรัพย์สิน 750 ล้านดอลลาร์ จากธุรกิจอาหาร บริษัทไทยฟู้ดส์ และอันดับ 44 อิทธิพัฒน์ พีระเดชาพันธุ์ จากธุรกิจสาหร่ายทอดเถ้าแก่น้อยและขนมขบเคี้ยวอื่นๆ มีทรัพย์สิน 610 ล้านดอลลาร์ ทั้งยังเป็นมหาเศรษฐีอายุน้อยที่สุดในการจัดอันดับของฟอร์บส์ปีนี้ คือ 32 ปี ขณะที่อันดับ 46 ณัฐชไม ถนอมบุญเจริญ มีทรัพย์สิน 510 ล้านดอลลาร์ จากธุรกิจเครื่องดื่มบำรุงกำลังเครือคาราบาวกรุ๊ป หรือ ซีบีจี

ส่วนมหาเศรษฐีที่หลุดจากกลุ่ม 50 อันดับแรกในปีนี้ ได้แก่ นิจพร จรณะจิตต์ และเปรมชัย กรรณสูต จากกลุ่มบริษัท อิตัล-ไทย ซึ่งเป็นธุรกิจรับเหมาก่อสร้างครบวงจร รายได้ตกลงไป 35 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่านมา เพราะรัฐบาลสั่งชะลอการใช้ง่ายงบประมาณโครงสร้างพื้นฐาน ส่งผลกระทบต่อธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

ฟอร์บส์ระบุว่า การจัดอันดับข้อมูลมหาเศรษฐีในไทยไม่ได้เป็นการจัดอันดับบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงตระกูลและเครือญาติ โดยอ้างอิงจากข้อมูลผู้ถือหุ้น สัดส่วนผู้ถือหุ้น บทวิเคราะห์และรายงานของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยสินทรัพย์ของผู้ถือหุ้นในบริษัทมหาชนจะอ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา ขณะที่บริษัทจำกัดจะประเมินข้อมูลโดยเปรียบเทียบกับบริษัทประเภทเดียวกันที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์.

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!