ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ จับมือกับ นิสสัน มอเตอร์ เพื่อยกระดับกำลังการผลิตโดยใช้หุ่นยนต์ที่สามารถปฏิบัติงานร่วมกับมนุษย์ได้


บริษัทพัฒนาและผลิตหุ่นยนต์ชั้นนำ ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ได้ประกาศว่า บริษัท นิสสัน มอเตอร์ ประสบความสำเร็จในการนำแขนหุ่นยนต์รุ่น UR10 ของยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ไปติดตั้งใช้งานที่โรงงานในโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น โดยก่อนหน้านี้ มีบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ชั้นนำของโลก ได้แก่ บีเอ็มดับเบิ้ลยู และโฟล์กสวาเกน ซึ่งได้นำหุ่นยนต์ที่สามารถปฏิบัติงานร่วมกับมนุษย์ได้ หรือ โคบอทส์ (Collaborative Robots: Cobots) ของยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ไปใช้ในกระบวนการผลิตอัตโนมัติแล้ว หลังจากที่นำ Cobots ของยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ไปติดตั้งใช้งาน กระบวนการผลิตของนิสสันก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ส่งผลให้สามารถผลิตชิ้นงานได้มากขึ้น และมีเสถียรภาพ ขณะเดียวกันก็ช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุน ช่วยให้กำลังคนของนิสสันที่มีอายุมากขึ้น ได้มีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบน้อยลงและหมุนเวียนไปปฏิบัติงานที่ใช้แรงงานน้อยลงได้

เชอร์มิน ก็อตเฟรดเซ็น ผู้จัดการใหญ่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย กล่าวว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้ร่วมงานกับนิสสัน ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตของนิสสันให้เป็นระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมยานยนต์ระดับโลก มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการนำโคบอทส์ ไปประยุกต์ใช้ เพื่อผลิตชิ้นงานที่มีคุณภาพดีขึ้น และนับว่าเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะทำให้ผู้เล่นในอุตสาหกรรมนี้ยังคงมีความสามารถในการแข่งขันในการตลาด ซึ่งยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ เป็นผู้นำเทรนด์นี้ โคบอทส์สามารถช่วยส่งเสริมกระบวนการผลิตอัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย และช่วยลดความตึงเครียดของพนักงานได้ โดยโคบอทส์ของเราไม่เพียงแต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรมยานยนต์เท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปใช้ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ อาหาร รวมไปถึงสินค้าการเกษตรได้อีกด้วย”

โคบอทส์ เป็นสาขาหนึ่งที่แตกแขนงมาจากอุตสาหกรรมหุ่นยนต์สมัยดั้งเดิม โคบอทส์ มีน้ำหนักเบาและสามารถนำไปใช้งานได้สะดวก และมีความยืดหยุ่นในการดัดแปลงเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ อุตสาหกรรมยานยนต์ใช้โคบอทส์ในกระบวนการต่างๆ ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการหยิบจับ การประกอบ การบรรจุ การจัดเรียง การติดฉลาก การทาสี การควบคุมคุณภาพ และการโหลดเครื่องจักร มูลค่าการตลาดของหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2558 อยู่ที่ 23.56 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดการณ์ว่าจะพุ่งขึ้น 469.82 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2564 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ในระดับ 64.67% ในระหว่างปี 2558 ถึง 2564
https://www.universal-robots.com/case-stories/nissan-motor-company/

บริษัทพัฒนาและผลิตหุ่นยนต์ชั้นนำ ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ได้ประกาศว่า บริษัท นิสสัน มอเตอร์ ประสบความสำเร็จในการนำแขนหุ่นยนต์รุ่น UR10 ของยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ไปติดตั้งใช้งานที่โรงงานในโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น โดยก่อนหน้านี้ มีบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ชั้นนำของโลก ได้แก่ บีเอ็มดับเบิ้ลยู และโฟล์กสวาเกน ซึ่งได้นำหุ่นยนต์ที่สามารถปฏิบัติงานร่วมกับมนุษย์ได้ หรือ โคบอทส์ (Collaborative Robots: Cobots) ของยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ไปใช้ในกระบวนการผลิตอัตโนมัติแล้ว หลังจากที่นำ Cobots ของยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ไปติดตั้งใช้งาน กระบวนการผลิตของนิสสันก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ส่งผลให้สามารถผลิตชิ้นงานได้มากขึ้น และมีเสถียรภาพ ขณะเดียวกันก็ช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุน ช่วยให้กำลังคนของนิสสันที่มีอายุมากขึ้น ได้มีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบน้อยลงและหมุนเวียนไปปฏิบัติงานที่ใช้แรงงานน้อยลงได้

เชอร์มิน ก็อตเฟรดเซ็น ผู้จัดการใหญ่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย กล่าวว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้ร่วมงานกับนิสสัน ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตของนิสสันให้เป็นระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมยานยนต์ระดับโลก มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการนำโคบอทส์ ไปประยุกต์ใช้ เพื่อผลิตชิ้นงานที่มีคุณภาพดีขึ้น และนับว่าเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะทำให้ผู้เล่นในอุตสาหกรรมนี้ยังคงมีความสามารถในการแข่งขันในการตลาด ซึ่งยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ เป็นผู้นำเทรนด์นี้ โคบอทส์สามารถช่วยส่งเสริมกระบวนการผลิตอัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย และช่วยลดความตึงเครียดของพนักงานได้ โดยโคบอทส์ของเราไม่เพียงแต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรมยานยนต์เท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปใช้ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ อาหาร รวมไปถึงสินค้าการเกษตรได้อีกด้วย”

โคบอทส์ เป็นสาขาหนึ่งที่แตกแขนงมาจากอุตสาหกรรมหุ่นยนต์สมัยดั้งเดิม โคบอทส์ มีน้ำหนักเบาและสามารถนำไปใช้งานได้สะดวก และมีความยืดหยุ่นในการดัดแปลงเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ อุตสาหกรรมยานยนต์ใช้โคบอทส์ในกระบวนการต่างๆ ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการหยิบจับ การประกอบ การบรรจุ การจัดเรียง การติดฉลาก การทาสี การควบคุมคุณภาพ และการโหลดเครื่องจักร มูลค่าการตลาดของหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2558 อยู่ที่ 23.56 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดการณ์ว่าจะพุ่งขึ้น 469.82 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2564 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ในระดับ 64.67% ในระหว่างปี 2558 ถึง 2564 https://www.universal-robots.com/case-stories/nissan-motor-company/

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!