รถไฟความเร็วสูงดินแดนหนาวจัดสายแรกของโลกเปิดให้บริการครบ 5 ปี รับ-ส่งผู้คนกว่า 300 ล้าน


ทางรถไฟความเร็วสูงฮาร์บิน-ต้าเหลียน ความยาว 921 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นทางรถไฟความเร็วสูงบนพื้นที่อากาศหนาวเย็นจัดสายแรกของโลก ที่วิ่งผ่านสามมณฑลทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ได้แก่ เฮยหลงเจียง จี๋หลิน และเหลียวหนิง ได้เปิดให้บริการครบ 5 ปีแล้ว เมื่อวันศุกร์ (1 ธ.ค.) ที่ผ่านมา

รายงานระบุว่ารถไฟความเร็วสูงฮาร์บิน-ต้าเหลียน ซึ่งมีอัตราความเร็วสูงสุด 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้วิ่งฝ่าพายุหิมะรับ-ส่งผู้โดยสารมามากกว่า 300 ล้านคน ตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2012 โดยปัจจุบันมีปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยรายวันอยู่ที่ราว 266,000 คน

ความท้าทายของทางรถไฟความเร็วสูงฮาร์บิน-ต้าเหลียน คือสภาพอากาศภายในภูมิภาคซึ่งอาจลดต่ำกว่า -30 องศาเซลเซียส และมีความแตกต่างกันกว่า 70 องศาเซลเซียสระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว ก่อเกิดความเสี่ยงปัญหาระบบป้องกันน้ำใต้ดินแข็งตัวจนดันรางรถไฟ และปัญหาโครงข่ายไฟฟ้าของรางรถไฟหยุดทำงาน

อย่างไรก็ดี จีนได้ทุ่มเทความพยายามในการวิจัยและพัฒนาจนสามารถผลิตเทคโนโลยีด้านการทำงานและการบำรุงรักษามาแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้สำเร็จ นำไปสู่ทางรถไฟความเร็วสูงที่ไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อระบบขนส่งมวลชน แต่ยังช่วยฟื้นคืนชีวิตใหม่ให้กับฐานอุตสาหกรรมเก่าของจีนอีกด้วย

ทั้งนี้นับจนถึงสิ้นปี 2016 โครงข่ายทางรถไฟของจีนได้แตะหลัก 124,000 กิโลเมตร และมีรถไฟความเร็วสูงวิ่งทะยานอยู่มากกว่า 2,500 ขบวน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของรถไฟความเร็วสูงทั้งหมดทั่วโลก

ทางรถไฟความเร็วสูงฮาร์บิน-ต้าเหลียน ความยาว 921 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นทางรถไฟความเร็วสูงบนพื้นที่อากาศหนาวเย็นจัดสายแรกของโลก ที่วิ่งผ่านสามมณฑลทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ได้แก่ เฮยหลงเจียง จี๋หลิน และเหลียวหนิง ได้เปิดให้บริการครบ 5 ปีแล้ว เมื่อวันศุกร์ (1 ธ.ค.) ที่ผ่านมา

รายงานระบุว่ารถไฟความเร็วสูงฮาร์บิน-ต้าเหลียน ซึ่งมีอัตราความเร็วสูงสุด 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้วิ่งฝ่าพายุหิมะรับ-ส่งผู้โดยสารมามากกว่า 300 ล้านคน ตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2012 โดยปัจจุบันมีปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยรายวันอยู่ที่ราว 266,000 คน

ความท้าทายของทางรถไฟความเร็วสูงฮาร์บิน-ต้าเหลียน คือสภาพอากาศภายในภูมิภาคซึ่งอาจลดต่ำกว่า -30 องศาเซลเซียส และมีความแตกต่างกันกว่า 70 องศาเซลเซียสระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว ก่อเกิดความเสี่ยงปัญหาระบบป้องกันน้ำใต้ดินแข็งตัวจนดันรางรถไฟ และปัญหาโครงข่ายไฟฟ้าของรางรถไฟหยุดทำงาน

อย่างไรก็ดี จีนได้ทุ่มเทความพยายามในการวิจัยและพัฒนาจนสามารถผลิตเทคโนโลยีด้านการทำงานและการบำรุงรักษามาแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้สำเร็จ นำไปสู่ทางรถไฟความเร็วสูงที่ไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อระบบขนส่งมวลชน แต่ยังช่วยฟื้นคืนชีวิตใหม่ให้กับฐานอุตสาหกรรมเก่าของจีนอีกด้วย

ทั้งนี้นับจนถึงสิ้นปี 2016 โครงข่ายทางรถไฟของจีนได้แตะหลัก 124,000 กิโลเมตร และมีรถไฟความเร็วสูงวิ่งทะยานอยู่มากกว่า 2,500 ขบวน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของรถไฟความเร็วสูงทั้งหมดทั่วโลก

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!