รถไฟไทย-จีน กรุงเทพฯ-คุนหมิงอนุมัติแล้ว เตรียมตอกเสาเข็มเดือนนี้


โครงการรถไฟไทย-จีนที่จะเชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองคุนหมิงในมณฑลยูนนานของจีนนั้นได้รับการอนุมัติแล้วจากทางฝั่งไทย หลังจากผ่านการเจรจากันมาหลายครั้ง และจะเริ่มการก่อสร้างในเดือนนี้ โดยคาดว่าจะสามารถใช้งานได้ในปี 2021 ซึ่งหมายความว่าเมื่อสร้างเสร็จแล้ว จากกรุงเทพฯ ถึงคุนหมิงก็จะใช้เวลาเดินทางเพียงแค่ชั่วข้ามคืนเท่านั้น ในขณะเดียวกันก็เป็นความคืบหน้าที่สำคัญของโครงการเครือข่ายเส้นทางรถไฟในเอเชียภายใต้แนวคิดเริเริ่ม “One Belt One Road” ของจีนอีกด้วย

เว็บไซต์ข่าวสารของหนังสือพิมพ์ Hong Kong Economic Times รายงานเมื่อวันที่ 5 ธ.ค.ที่ผ่านมาว่า เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติไทย(คชก.) ได้อนุมัติรายงานการประเมินสภาพแวดล้อมช่วงที่สอง (ช่วงบ้านภาชี-นครราชสีมา) ในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนเฟสที่หนึ่ง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งช่วงที่หนึ่ง (กรุงเทพฯ-บ้านภาชี) ก็ได้รับการอนุมัติไปแล้วเป็นที่เรียบร้อยเช่นกัน หมายความว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนเฟสแรกทั้งหมดนั้นผ่านการอนุมัติแล้ว
ในการแถลงข่าวจากกระทรวงคมนาคมของไทยเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ที่ผ่านมา นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า หลังจากได้อนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แล้ว คาดว่าจะเริ่มงานก่อสร้างในช่วงปลายเดือนธันวาคมนี้ โดยในระหว่างนี้ก็จะใช้มาตรการต่างๆ ไปด้วยเช่นการติดตั้งที่กรองฝุ่นเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการตรวจตราดูแลความปลอดภัยของสัตว์ที่อยู่ใกล้กับบริเวณเขตการก่อสร้าง เป็นต้น โดยคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มให้บริการในปี 2021
รายงานกล่าวว่า รถไฟไทย-จีน ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงมาตรฐานแห่งแรกของประเทศไทยจะใช้เทคโนโลยีของจีนในการสร้าง และถือเป็นหนึ่งในเส้นทางรถไฟสำคัญในการขยายเส้นทางรถไฟในเอเชียของจีน เฟสแรกในการก่อสร้างช่วงนครราชสีมา-กรุงเทพฯ จะมีความยาวทั้งหมด 253 กม. กำหนดความเร็วในการวิ่งที่ 250 กม./ชม. ส่วนเฟสที่สอง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็จะสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงจากลาวและทะลุต่อไปยังเมืองคุนหมิงในมณฑลยูนนานของประเทศจีน

โครงการรถไฟไทย-จีนที่จะเชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองคุนหมิงในมณฑลยูนนานของจีนนั้นได้รับการอนุมัติแล้วจากทางฝั่งไทย หลังจากผ่านการเจรจากันมาหลายครั้ง และจะเริ่มการก่อสร้างในเดือนนี้ โดยคาดว่าจะสามารถใช้งานได้ในปี 2021 ซึ่งหมายความว่าเมื่อสร้างเสร็จแล้ว จากกรุงเทพฯ ถึงคุนหมิงก็จะใช้เวลาเดินทางเพียงแค่ชั่วข้ามคืนเท่านั้น ในขณะเดียวกันก็เป็นความคืบหน้าที่สำคัญของโครงการเครือข่ายเส้นทางรถไฟในเอเชียภายใต้แนวคิดเริเริ่ม “One Belt One Road” ของจีนอีกด้วย

เว็บไซต์ข่าวสารของหนังสือพิมพ์ Hong Kong Economic Times รายงานเมื่อวันที่ 5 ธ.ค.ที่ผ่านมาว่า เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติไทย(คชก.) ได้อนุมัติรายงานการประเมินสภาพแวดล้อมช่วงที่สอง (ช่วงบ้านภาชี-นครราชสีมา) ในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนเฟสที่หนึ่ง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งช่วงที่หนึ่ง (กรุงเทพฯ-บ้านภาชี) ก็ได้รับการอนุมัติไปแล้วเป็นที่เรียบร้อยเช่นกัน หมายความว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนเฟสแรกทั้งหมดนั้นผ่านการอนุมัติแล้ว ในการแถลงข่าวจากกระทรวงคมนาคมของไทยเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ที่ผ่านมา นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า หลังจากได้อนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แล้ว คาดว่าจะเริ่มงานก่อสร้างในช่วงปลายเดือนธันวาคมนี้ โดยในระหว่างนี้ก็จะใช้มาตรการต่างๆ ไปด้วยเช่นการติดตั้งที่กรองฝุ่นเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการตรวจตราดูแลความปลอดภัยของสัตว์ที่อยู่ใกล้กับบริเวณเขตการก่อสร้าง เป็นต้น โดยคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มให้บริการในปี 2021 รายงานกล่าวว่า รถไฟไทย-จีน ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงมาตรฐานแห่งแรกของประเทศไทยจะใช้เทคโนโลยีของจีนในการสร้าง และถือเป็นหนึ่งในเส้นทางรถไฟสำคัญในการขยายเส้นทางรถไฟในเอเชียของจีน เฟสแรกในการก่อสร้างช่วงนครราชสีมา-กรุงเทพฯ จะมีความยาวทั้งหมด 253 กม. กำหนดความเร็วในการวิ่งที่ 250 กม./ชม. ส่วนเฟสที่สอง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็จะสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงจากลาวและทะลุต่อไปยังเมืองคุนหมิงในมณฑลยูนนานของประเทศจีน

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!