รมต.ไทยชี้ รถไฟความเร็วสูงจีน-ไทยจะใช้งานได้ภายในปี 2023


นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้กล่าวว่าโครงการทางรถไฟไทย-จีน ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงแห่งแรกของราชอาณาจักร จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลของไทย พร้อมให้ข้อมูลว่าโครงการระยะแรกมีกำหนดการจะเริ่มใช้งานภายในปลายปี 2022 หรือต้นปี 2023

โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเส้นทางสายไหมใหม่ ที่จะผลักดันประเทศไทยเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ของการรถไฟความเร็วสูง ทั้งนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมยังกล่าวเสริมอีกว่า ทางรถไฟส่วนใหญ่ที่พาดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ยากจนที่สุด จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวของพื้นที่ดังกล่าว

ตัวแทนประเทศไทยและจีนได้ร่วมกันเปิดตัวโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงแห่งแรกของจีน-ไทย ที่เชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพมหานคร และอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

โครงการระยะแรก ส่วนที่หนึ่งในเส้นทาง 3.5 กิโลเมตรนั้น ตั้งอยู่ระหว่างสถานีรถไฟสองแห่งคือ สถานีกลางดง และปางอโศกในจังหวัดนครราชสีมา สำหรับส่วนที่สอง 11 กิโลเมตร ส่วนที่สาม 119.5 กิโลเมตร และส่วนที่สี่ 119 กิโลเมตรจะเปิดให้ประมูลอีกครั้งหนึ่งภายหลัง

เมื่อเสร็จสิ้นการก่อสร้างโครงการระยะแรกรวม 253 กิโลเมตร และโครงการระยะสอง 355 กิโลเมตร จากนครราชสีมาถึงหนองคาย บริเวณพรมแดนไทย-ลาว ก็จะมีการดำเนินงานเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ให้กลายเป็นทางรถไฟไทย-จีน-ลาว ในอนาคต

“เราคาดหวังว่าการท่องเที่ยวในไทยจะบูมมากขึ้น เมื่อโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเสร็จสมบูรณ์” รัฐมนตรีกล่าวพร้อมเน้นย้ำว่า การท่องเที่ยวอาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่ช่วยพัฒนาชีวิตของคนในท้องถิ่น

โครงการระยะแรกคาดว่าจะเสร็จสิ้นการประมูลภายในปี 2018 ส่วนโครงการระยะที่สองนั้น มีกำหนดการจะยื่นขอคำสั่งอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในปีหน้า และคาดว่าจะก่อสร้างเสร็จภายในปี 2023 พร้อมเชื่อมต่อกับทางรถไฟจีน-ลาว และเปิดใช้งานได้ทันเวลา

นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้กล่าวว่าโครงการทางรถไฟไทย-จีน ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงแห่งแรกของราชอาณาจักร จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลของไทย พร้อมให้ข้อมูลว่าโครงการระยะแรกมีกำหนดการจะเริ่มใช้งานภายในปลายปี 2022 หรือต้นปี 2023

โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเส้นทางสายไหมใหม่ ที่จะผลักดันประเทศไทยเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ของการรถไฟความเร็วสูง ทั้งนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมยังกล่าวเสริมอีกว่า ทางรถไฟส่วนใหญ่ที่พาดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ยากจนที่สุด จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวของพื้นที่ดังกล่าว

ตัวแทนประเทศไทยและจีนได้ร่วมกันเปิดตัวโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงแห่งแรกของจีน-ไทย ที่เชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพมหานคร และอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

โครงการระยะแรก ส่วนที่หนึ่งในเส้นทาง 3.5 กิโลเมตรนั้น ตั้งอยู่ระหว่างสถานีรถไฟสองแห่งคือ สถานีกลางดง และปางอโศกในจังหวัดนครราชสีมา สำหรับส่วนที่สอง 11 กิโลเมตร ส่วนที่สาม 119.5 กิโลเมตร และส่วนที่สี่ 119 กิโลเมตรจะเปิดให้ประมูลอีกครั้งหนึ่งภายหลัง

เมื่อเสร็จสิ้นการก่อสร้างโครงการระยะแรกรวม 253 กิโลเมตร และโครงการระยะสอง 355 กิโลเมตร จากนครราชสีมาถึงหนองคาย บริเวณพรมแดนไทย-ลาว ก็จะมีการดำเนินงานเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ให้กลายเป็นทางรถไฟไทย-จีน-ลาว ในอนาคต

"เราคาดหวังว่าการท่องเที่ยวในไทยจะบูมมากขึ้น เมื่อโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเสร็จสมบูรณ์" รัฐมนตรีกล่าวพร้อมเน้นย้ำว่า การท่องเที่ยวอาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่ช่วยพัฒนาชีวิตของคนในท้องถิ่น

โครงการระยะแรกคาดว่าจะเสร็จสิ้นการประมูลภายในปี 2018 ส่วนโครงการระยะที่สองนั้น มีกำหนดการจะยื่นขอคำสั่งอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในปีหน้า และคาดว่าจะก่อสร้างเสร็จภายในปี 2023 พร้อมเชื่อมต่อกับทางรถไฟจีน-ลาว และเปิดใช้งานได้ทันเวลา

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!