วิเคราะห์ ‘4 คำถาม – คำตอบ’ สำคัญ จากการทดสอบนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ


นักวิเคราะห์เสนอให้สหรัฐฯ เพิ่มแนวทางอื่นนอกเหนือจากการลงโทษต่อเกาหลีเหนือ รวมถึงการใช้ยุทธวิธีด้านข้อมูลข่าวสารต่อกลุ่มชนชั้นผู้นำเกาหลีเหนือ

เกาหลีเหนือทดลองเทคโนโลยีนิวเคลียร์ครั้งล่าสุดเมื่อวันอาทิตย์ ซึ่งแรงระเบิดในชั้นใต้ดินถือว่ารุนแรงระดับเทียบเท่าระเบิดทีเอ็นที 100,000 ตัน การทดลองนี้ถูกประณามโดยนานาประเทศ รวมถึงจีนซึ่งเป็นพันธมิตรหลักของเกาหลีเหนือ

วีโอเอภาคภาษาเกาหลีสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญหลายคน เพื่อหาคำตอบให้กับประเด็นหลักๆ ดังนี้

1. รัฐบาลกรุงเปียงยางต้องการอะไรจากการทดลองนิวเคลียร์?

อาจารย์ Walter H. Sherenstein ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าวว่าเกาหลีเหนือต้องการแสดงแสนยานุภาพทางทหารว่า กองทัพของตนสามารถสร้างความเสียหายให้กับแผ่นดินสหรัฐฯ ได้

เบื้องหลังความแข็งกร้าวในเรื่องนี้เกี่ยวกับการซ้อมรบร่วมระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ คู่ปรับของเกาหลีเหนือที่ยาวนาน

สัญญาณอีกประการหนึ่งที่ชัดเจนคือ การใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อเกาหลีเหนือจากนานาประเทศ ยังคงไม่สามารถกดดันให้รัฐบาลเปียงยางหยุดการทดลองขีปนาวุธและเทคโนโลยีนิวเคลียร์

นั่นหมายความว่าผู้นำเกาหลีเหนือเห็นความสำคัญเรื่องการแสดงศักยภาพทางทหาร มากกว่าการยอมเจรจาตามเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ

2. เกาหลีเหนือได้อะไรจากการทดลองเหล่านี้?

นอกจากการเพิ่มระดับความก้าวล้ำทางอาวุธแล้ว นักวิเคราะห์ Alan Romberg ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกที่สถาบัน Stimson Center กล่าวว่า รัฐบาลเปียงยางยังต้องการส่งสัญญาณความไม่พอใจต่อความร่วมมือทางทหารที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างเกาหลีใต้และสหรัฐฯ

และ Ken Gause นักวิเคราะห์อีกผู้หนึ่งซึ่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ Center for Naval Analyses กล่าวว่า เกาหลีเหนือต้องการให้จีน แสดงอิทธิพลต่อรัฐบาลอเมริกันภายใต้ประธานาธิบดีทรัมป์ ให้ฝ่ายสหรัฐฯ ร่วมโต๊ะเจรจาอย่างไม่มีเงื่อนไข

ส่วนอาจารย์ David Maxwell จากมหาวิทยาลัย Georgetown ที่กรุงวอชิงตัน กล่าวว่า ผู้นำเกาหลีเหนือ นายคิม จอง อึน ยังต้องการสร้างความปั่นป่วนให้กับความสัมพันธ์ที่สหรัฐฯ มีต่อเกาหลีใต้และญี่ปุ่น

เขากล่าวว่า เมื่อเกาหลีเหนือมีท่าทีแข็งกร้าวเช่นนี้ รัฐบาลกรุงวอชิงตัน โตเกียวและโซล ต้องการเดินนโยบายตอบโต้ในระดับต่างกัน และจุดยืนที่แตกต่างอาจบั่นทอนมิตรภาพของทั้งสามประเทศได้

สังเกตได้ว่าประธานาธิบดีทรัมป์ได้วิจารณ์ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ นาย มูน แจ อิน ก่อนหน้านี้ที่ต้องการเจรจาเชิงสันติกับเปียงยาง

3. วิธีใดน่าจะเหมาะสมในการตอบโต้เกาหลีเหนือ?

อาจารย์ David Maxwell จากมหาวิทยาลัย Georgetown กล่าวว่า นานาชาติไม่ควรแสดงความตระหนก หรือทำให้เห็นว่า เมื่อใดก็ตามที่เกาหลีเหนือทดลองขีปนาวุธและเทคโนโลยีนิวเคลียร์ กรุงเปียงยางจะได้ให้ผลเชิงจิตวิทยาจากการเก็บอาการไม่อยู่ของประเทศต่างๆ

เขาแนะนำว่า วิธีที่ดีกว่าการแสดงปฏิกิริยารายประเทศ คือการแสดงจุดยืนร่วมผ่านองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ เพราะเมื่อเกาหลีเหนือเห็นความตระหนกบ่อยๆ จากประเทศต่างๆ หลายครั้ง นั่นเป็นการตอกย้ำให้กรุงเปียงยางเชื่อว่า ตนสามารถสร้างความระส่ำระสายด้านจิตใจต่อผู้นำประเทศเหล่านั้นอย่างได้ผล

Ken Gause นักวิเคราะห์ จากศูนย์ Center for Naval Analyses บอกว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ควรเข้าใจถึงเครื่องมือต่างๆ ที่จะทำให้เกาหลีเหนือยอมร่วมเจรจา เขากล่าวว่าแรงกดดันจากมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจอย่างเดียวอาจไม่ได้ผล และน่าจะมีส่วนผสมของการการันตีด้านความมั่นคงต่อเกาหลีเหนือด้วย

4. ความเป็นได้เรื่องสงครามมีมากแค่ไหน?

Bruce Bennett นักวิเคราะห์จาก Rand Corporation กล่าวว่า หากเกิดการโจมตีเกาหลีเหนือจริง ความขัดแย้งนี้น่าจะกลายเป็นสงครามครั้งใหญ่ครั้งหนึ่ง

หากสหรัฐฯ ต้องการเลี่ยงสงครามเต็มรูปแบบ เขากล่าวว่าอเมริกาอาจแสดงให้เห็นว่า กองทัพสหรัฐฯ พร้อมที่จะยิงสกัดให้ขีปนาวุธที่เกาหลีเหนือทดลองยิงตกลงได้

นักวิเคราะห์ผู้นี้บอกว่า สหรัฐฯ มีศักยภาพด้านการสอดแนมและการทหารที่สามารถขยายผลเรื่องข้อมูลการทดลองยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือเพื่อวางแผนการตอบโต้อย่างเฉพาะเจาะจงได้ แทนที่จะก่อสงครามเต็มรูปแบบ

เขากล่าวเสริมว่า อเมริกาอาจใช้ยุทธศาสตร์ด้านข้อมูลข่าวสารที่กระตุ้นให้กลุ่มผู้นำในเกาหลีเหนือต่อต้านนายคิม จอง อึน เพื่อแสดงให้นายคิมเห็นว่าการทดลองอาวุธสามารถส่งผลด้านลบต่อความมั่นคงทางการเมืองของเขาได้

นักวิเคราะห์เสนอให้สหรัฐฯ เพิ่มแนวทางอื่นนอกเหนือจากการลงโทษต่อเกาหลีเหนือ รวมถึงการใช้ยุทธวิธีด้านข้อมูลข่าวสารต่อกลุ่มชนชั้นผู้นำเกาหลีเหนือ

เกาหลีเหนือทดลองเทคโนโลยีนิวเคลียร์ครั้งล่าสุดเมื่อวันอาทิตย์ ซึ่งแรงระเบิดในชั้นใต้ดินถือว่ารุนแรงระดับเทียบเท่าระเบิดทีเอ็นที 100,000 ตัน การทดลองนี้ถูกประณามโดยนานาประเทศ รวมถึงจีนซึ่งเป็นพันธมิตรหลักของเกาหลีเหนือ

วีโอเอภาคภาษาเกาหลีสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญหลายคน เพื่อหาคำตอบให้กับประเด็นหลักๆ ดังนี้

1. รัฐบาลกรุงเปียงยางต้องการอะไรจากการทดลองนิวเคลียร์?

อาจารย์ Walter H. Sherenstein ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าวว่าเกาหลีเหนือต้องการแสดงแสนยานุภาพทางทหารว่า กองทัพของตนสามารถสร้างความเสียหายให้กับแผ่นดินสหรัฐฯ ได้

เบื้องหลังความแข็งกร้าวในเรื่องนี้เกี่ยวกับการซ้อมรบร่วมระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ คู่ปรับของเกาหลีเหนือที่ยาวนาน

สัญญาณอีกประการหนึ่งที่ชัดเจนคือ การใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อเกาหลีเหนือจากนานาประเทศ ยังคงไม่สามารถกดดันให้รัฐบาลเปียงยางหยุดการทดลองขีปนาวุธและเทคโนโลยีนิวเคลียร์

นั่นหมายความว่าผู้นำเกาหลีเหนือเห็นความสำคัญเรื่องการแสดงศักยภาพทางทหาร มากกว่าการยอมเจรจาตามเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ

2. เกาหลีเหนือได้อะไรจากการทดลองเหล่านี้?

นอกจากการเพิ่มระดับความก้าวล้ำทางอาวุธแล้ว นักวิเคราะห์ Alan Romberg ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกที่สถาบัน Stimson Center กล่าวว่า รัฐบาลเปียงยางยังต้องการส่งสัญญาณความไม่พอใจต่อความร่วมมือทางทหารที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างเกาหลีใต้และสหรัฐฯ

และ Ken Gause นักวิเคราะห์อีกผู้หนึ่งซึ่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ Center for Naval Analyses กล่าวว่า เกาหลีเหนือต้องการให้จีน แสดงอิทธิพลต่อรัฐบาลอเมริกันภายใต้ประธานาธิบดีทรัมป์ ให้ฝ่ายสหรัฐฯ ร่วมโต๊ะเจรจาอย่างไม่มีเงื่อนไข

ส่วนอาจารย์ David Maxwell จากมหาวิทยาลัย Georgetown ที่กรุงวอชิงตัน กล่าวว่า ผู้นำเกาหลีเหนือ นายคิม จอง อึน ยังต้องการสร้างความปั่นป่วนให้กับความสัมพันธ์ที่สหรัฐฯ มีต่อเกาหลีใต้และญี่ปุ่น

เขากล่าวว่า เมื่อเกาหลีเหนือมีท่าทีแข็งกร้าวเช่นนี้ รัฐบาลกรุงวอชิงตัน โตเกียวและโซล ต้องการเดินนโยบายตอบโต้ในระดับต่างกัน และจุดยืนที่แตกต่างอาจบั่นทอนมิตรภาพของทั้งสามประเทศได้

สังเกตได้ว่าประธานาธิบดีทรัมป์ได้วิจารณ์ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ นาย มูน แจ อิน ก่อนหน้านี้ที่ต้องการเจรจาเชิงสันติกับเปียงยาง

3. วิธีใดน่าจะเหมาะสมในการตอบโต้เกาหลีเหนือ?

อาจารย์ David Maxwell จากมหาวิทยาลัย Georgetown กล่าวว่า นานาชาติไม่ควรแสดงความตระหนก หรือทำให้เห็นว่า เมื่อใดก็ตามที่เกาหลีเหนือทดลองขีปนาวุธและเทคโนโลยีนิวเคลียร์ กรุงเปียงยางจะได้ให้ผลเชิงจิตวิทยาจากการเก็บอาการไม่อยู่ของประเทศต่างๆ

เขาแนะนำว่า วิธีที่ดีกว่าการแสดงปฏิกิริยารายประเทศ คือการแสดงจุดยืนร่วมผ่านองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ เพราะเมื่อเกาหลีเหนือเห็นความตระหนกบ่อยๆ จากประเทศต่างๆ หลายครั้ง นั่นเป็นการตอกย้ำให้กรุงเปียงยางเชื่อว่า ตนสามารถสร้างความระส่ำระสายด้านจิตใจต่อผู้นำประเทศเหล่านั้นอย่างได้ผล

Ken Gause นักวิเคราะห์ จากศูนย์ Center for Naval Analyses บอกว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ควรเข้าใจถึงเครื่องมือต่างๆ ที่จะทำให้เกาหลีเหนือยอมร่วมเจรจา เขากล่าวว่าแรงกดดันจากมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจอย่างเดียวอาจไม่ได้ผล และน่าจะมีส่วนผสมของการการันตีด้านความมั่นคงต่อเกาหลีเหนือด้วย

4. ความเป็นได้เรื่องสงครามมีมากแค่ไหน?

Bruce Bennett นักวิเคราะห์จาก Rand Corporation กล่าวว่า หากเกิดการโจมตีเกาหลีเหนือจริง ความขัดแย้งนี้น่าจะกลายเป็นสงครามครั้งใหญ่ครั้งหนึ่ง

หากสหรัฐฯ ต้องการเลี่ยงสงครามเต็มรูปแบบ เขากล่าวว่าอเมริกาอาจแสดงให้เห็นว่า กองทัพสหรัฐฯ พร้อมที่จะยิงสกัดให้ขีปนาวุธที่เกาหลีเหนือทดลองยิงตกลงได้

นักวิเคราะห์ผู้นี้บอกว่า สหรัฐฯ มีศักยภาพด้านการสอดแนมและการทหารที่สามารถขยายผลเรื่องข้อมูลการทดลองยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือเพื่อวางแผนการตอบโต้อย่างเฉพาะเจาะจงได้ แทนที่จะก่อสงครามเต็มรูปแบบ

เขากล่าวเสริมว่า อเมริกาอาจใช้ยุทธศาสตร์ด้านข้อมูลข่าวสารที่กระตุ้นให้กลุ่มผู้นำในเกาหลีเหนือต่อต้านนายคิม จอง อึน เพื่อแสดงให้นายคิมเห็นว่าการทดลองอาวุธสามารถส่งผลด้านลบต่อความมั่นคงทางการเมืองของเขาได้

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!