สศอ. จัดทำดัชนีวัดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม


สศอ. จัดทำดัชนีวัดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้าและคู่แข่ง ครั้งแรกของอุตสาหกรรมไทยที่สะท้อนศักยภาพ 6 อุตสาหกรรมเป้าหมายในกลุ่ม S–Curve

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) จัดสัมมนาโอกาสและศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ไบโอเทคโนโลยี ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และอากาศยานของไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาดัชนีวัดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของอุตสาหกรรมศักยภาพ เผยนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการจัดทำดัชนีวัดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมรายสาขา ที่จะช่วยประเมินสถานการณ์ของอุตสาหกรรมศักยภาพ โดยคัดเลือกอุตสาหกรรมเป้าหมายจำนวน 6 อุตสาหกรรมในกลุ่ม S-Curve ที่จะพลิกโฉมโครงสร้างเศรษฐกิจของไทย

ดร.ณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า “โครงการพัฒนาดัชนีวัดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของอุตสาหกรรมศักยภาพ ที่ สศอ. จัดทำขึ้นจะมีความแตกต่างจากดัชนีวัดความสามารถในการแข่งขันของไทยที่จัดทำโดยองค์กรสากลต่างๆ เช่น IMD WEF หรือ UNIDO ที่เป็นการวัดความสามารถในการแข่งขันในระดับประเทศหรือระดับอุตสาหกรรมการผลิตในภาพรวมเท่านั้น แต่โครงการนี้จะมีการจัดทำดัชนีเป็นรายสาขาอุตสาหกรรมศักยภาพ ซึ่งจะทำให้สามารถสะท้อนถึงศักยภาพในการแข่งขันของแต่ละอุตสาหกรรมได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากแต่ละอุตสาหกรรมมีลักษณะหรือปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor) ที่แตกต่างกัน”

ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่า “ปัจจุบันต้องยอมรับว่าบริบทของอุตสาหกรรมไทย คือ ผู้ประกอบการไทย ส่วนใหญ่มีการนำออโตเมชั่นมาใช้ในภาคการผลิตไม่มากนัก เนื่องจากมองว่ายังมีแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในภาคการผลิตทดแทนแรงงานในประเทศที่ขาดแคลน แต่ในอนาคตอันใกล้แรงงานต่างชาติเหล่านี้มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่จะย้ายกลับไปประเทศของตน จากการที่มีบริษัทต่างชาติมีการเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการอาจมองข้ามตรงจุดนี้ไป ดังนั้น วันนี้เราต้องมีการปรับตัวทั้งในเรื่องของแรงงาน และการนำออโตเมชั่นมาใช้ ที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงการยกตัวอย่างให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น หากไทยต้องการยกระดับอุตสาหกรรมไปสู่ การใช้ Innovation และ Creativity ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสร้างแบรนด์ของตนเอง ไทยจำเป็นต้องพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ ซึ่งอุตสาหกรรม S-Curve ทั้ง 10 อุตสาหกรรมเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ ในการสร้าง Platform สำหรับเศรษฐกิจยุคใหม่และจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านพื้นฐานของอุตสาหกรรมไทยในทุกภาคส่วน ทั้งด้านทักษะและความเชี่ยวชาญของแรงงาน กระบวนการคิด กระบวนการผลิต และเทคโนโลยี”

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเครื่องมือในการติดตามระดับความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาการของอุตสาหกรรมเหล่านี้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อนำมาวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของอุตสาหกรรมศักยภาพเป้าหมายของไทย และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญแล้วเป็นอย่างไร สามารถบอกถึงขนาดของช่องว่าง (Gap) ของการพัฒนาอุตสาหกรรม การจัดงานสัมมนาครั้งนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาดัชนีวัดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมภาพรวมและรายสาขาที่มีการพิจารณาจาก 9 ด้าน ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและกลยุทธ์ 2) ปัจจัยการผลิต 3) เทคโนโลยีและนวัตกรรม 4) ด้านการผลิต 5) ความยั่งยืน 6) การบริหารจัดการ 7) ความสามารถในการเข้าถึงตลาด 8) ความสามารถในการทำกำไร 9) โอกาส/แนวโน้มอนาคต พร้อมจัดทำเว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลดัชนีวัดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของไทยที่จะเผยแพร่ให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนนำไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งมีระบบการกรอกข้อมูลแบบออนไลน์ เพื่อประเมินศักยภาพของตนเอง (Benchmark) เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมแต่ละสาขา ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรของตนเองได้ รวมถึงภาครัฐสามารถนำไปใช้ในการจัดทำนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ให้สอดคล้องกับสถานภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม ตรงจุด และทันท่วงทีต่อไป ดร.ณัฐพล กล่าวสรุป

สศอ. จัดทำดัชนีวัดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้าและคู่แข่ง ครั้งแรกของอุตสาหกรรมไทยที่สะท้อนศักยภาพ 6 อุตสาหกรรมเป้าหมายในกลุ่ม S–Curve

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) จัดสัมมนาโอกาสและศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ไบโอเทคโนโลยี ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และอากาศยานของไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาดัชนีวัดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของอุตสาหกรรมศักยภาพ เผยนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการจัดทำดัชนีวัดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมรายสาขา ที่จะช่วยประเมินสถานการณ์ของอุตสาหกรรมศักยภาพ โดยคัดเลือกอุตสาหกรรมเป้าหมายจำนวน 6 อุตสาหกรรมในกลุ่ม S-Curve ที่จะพลิกโฉมโครงสร้างเศรษฐกิจของไทย

ดร.ณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า “โครงการพัฒนาดัชนีวัดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของอุตสาหกรรมศักยภาพ ที่ สศอ. จัดทำขึ้นจะมีความแตกต่างจากดัชนีวัดความสามารถในการแข่งขันของไทยที่จัดทำโดยองค์กรสากลต่างๆ เช่น IMD WEF หรือ UNIDO ที่เป็นการวัดความสามารถในการแข่งขันในระดับประเทศหรือระดับอุตสาหกรรมการผลิตในภาพรวมเท่านั้น แต่โครงการนี้จะมีการจัดทำดัชนีเป็นรายสาขาอุตสาหกรรมศักยภาพ ซึ่งจะทำให้สามารถสะท้อนถึงศักยภาพในการแข่งขันของแต่ละอุตสาหกรรมได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากแต่ละอุตสาหกรรมมีลักษณะหรือปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor) ที่แตกต่างกัน”

ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่า “ปัจจุบันต้องยอมรับว่าบริบทของอุตสาหกรรมไทย คือ ผู้ประกอบการไทย ส่วนใหญ่มีการนำออโตเมชั่นมาใช้ในภาคการผลิตไม่มากนัก เนื่องจากมองว่ายังมีแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในภาคการผลิตทดแทนแรงงานในประเทศที่ขาดแคลน แต่ในอนาคตอันใกล้แรงงานต่างชาติเหล่านี้มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่จะย้ายกลับไปประเทศของตน จากการที่มีบริษัทต่างชาติมีการเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการอาจมองข้ามตรงจุดนี้ไป ดังนั้น วันนี้เราต้องมีการปรับตัวทั้งในเรื่องของแรงงาน และการนำออโตเมชั่นมาใช้ ที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงการยกตัวอย่างให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น หากไทยต้องการยกระดับอุตสาหกรรมไปสู่ การใช้ Innovation และ Creativity ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสร้างแบรนด์ของตนเอง ไทยจำเป็นต้องพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ ซึ่งอุตสาหกรรม S-Curve ทั้ง 10 อุตสาหกรรมเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ ในการสร้าง Platform สำหรับเศรษฐกิจยุคใหม่และจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านพื้นฐานของอุตสาหกรรมไทยในทุกภาคส่วน ทั้งด้านทักษะและความเชี่ยวชาญของแรงงาน กระบวนการคิด กระบวนการผลิต และเทคโนโลยี”

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเครื่องมือในการติดตามระดับความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาการของอุตสาหกรรมเหล่านี้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อนำมาวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของอุตสาหกรรมศักยภาพเป้าหมายของไทย และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญแล้วเป็นอย่างไร สามารถบอกถึงขนาดของช่องว่าง (Gap) ของการพัฒนาอุตสาหกรรม การจัดงานสัมมนาครั้งนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาดัชนีวัดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมภาพรวมและรายสาขาที่มีการพิจารณาจาก 9 ด้าน ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและกลยุทธ์ 2) ปัจจัยการผลิต 3) เทคโนโลยีและนวัตกรรม 4) ด้านการผลิต 5) ความยั่งยืน 6) การบริหารจัดการ 7) ความสามารถในการเข้าถึงตลาด 8) ความสามารถในการทำกำไร 9) โอกาส/แนวโน้มอนาคต พร้อมจัดทำเว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลดัชนีวัดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของไทยที่จะเผยแพร่ให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนนำไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งมีระบบการกรอกข้อมูลแบบออนไลน์ เพื่อประเมินศักยภาพของตนเอง (Benchmark) เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมแต่ละสาขา ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรของตนเองได้ รวมถึงภาครัฐสามารถนำไปใช้ในการจัดทำนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ให้สอดคล้องกับสถานภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม ตรงจุด และทันท่วงทีต่อไป ดร.ณัฐพล กล่าวสรุป

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!