สศอ. ตั้งเป้าเร่งด่วน เคาะ 5 อุตสาหกรรม S-Curve ชุดแรกต้องเห็นผลเป็นรูปธรรมปีนี้ พร้อมให้กองทุนหนุน 1 หมื่นล้านบาท


สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้แนวคิดประเทศไทย 4.0 เคาะ 5 อุตสาหกรรม S-Curve ชุดแรก ตั้งเป้าเห็นการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมภายในปีนี้ พร้อมชงกองทุนสนับสนุนวงเงินจำนวน 1 หมื่นล้านบาท

นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินนโยบายตามแนวทางของรัฐบาล โดยกำหนดเป้าหมาย 5 อุตสาหกรรม S-Curve ชุดแรกเร่งด่วนประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป, อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน, อุตสาหกรรมหุ่นยนต์, อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมโดยเร็ว และจะต้องเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมภายในปี 2560 โดย 5 อุตสาหกรรม นำร่องชุดแรกที่กำหนดขึ้นจะใช้การขับเคลื่อนตามแนวทางประชารัฐ ในรูปแบบการจัดตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งจะเน้นการพัฒนาและส่งเสริมการลงทุนตามแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้แนวคิดประเทศไทย 4.0 โดยประยุกต์ใช้นวัตกรรมในกระบวนการผลิต ทั้งระบบการผลิตแบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อก้าวสู่ Industry 4.0 โดยมีรายละเอียดที่จะต้องเห็นผลเป็นรูปธรรมแต่ละอุตสาหกรรมภายในปี 2560 ดังนี้

1. อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างจากเดิมที่มีมูลค่าเพิ่มไม่สูงมาก และมักเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่ถูกกำหนดจากราคาตลาดโลก ไปสู่ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ นวัตกรรมอาหารเชิงสุขภาพ ที่ปรับลดปริมาณอาหารให้เหมาะสมต่อความต้องการพลังงาน เพิ่มเติมสารอาหารหรือส่วนผสม (Food Ingredients) ที่ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนเพื่อปรับสมดุลของร่างกายและป้องกันโรค

2. อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน จะสร้างให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (xEV) และการผลิตชิ้นส่วนสำคัญภายในประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์โลก และยังเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวสู่ยุคของการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรม พร้อมการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ประกอบกับการผลักดันให้มีศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อ เพื่อเป็นการยกระดับประเทศไทยอีกทางหนึ่งทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ (Product) มาตรฐาน (Standard) และนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการต่อยอดให้ประเทศไทย ไปสู่เป้าหมายการลงทุนในการผลิตยานยนต์แห่งอนาคต โดยขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแล้ว และมอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ เร่งออกมาตรการสนับสนุนในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป

3. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ กำหนดเป้าหมายสู่การเป็นผู้นำอาเซียนด้านการผลิต/การใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในอาเซียน โดยมีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ผ่านการจัดตั้ง Center of Excellence เพื่อเป็นศูนย์อัจฉริยะด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บุคลากรและเทคโนโลยี ผลักดันการพัฒนาธุรกิจ System Integrators (SI) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ ให้มีจำนวนเพียงพอ และรองรับต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในอนาคต

4. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ตั้งเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาสู่การเป็นเศรษฐกิจชีวภาพ “Bioeconomy” ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมเป็นอย่างมากด้านวัตถุดิบทางการเกษตร ในการนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ด้วยการพัฒนาตั้งแต่ระดับต้นน้ เชื่อมโยงการผลิตผลิตภัณฑ์ให้สอดรับกับการจัดสรรและผลิตวัตถุดิบเพื่อใช้เป็นอาหาร เชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ

5.อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นอุตสาหกรรมศักยภาพเป้าหมายที่เป็นรากฐานสำคัญและสร้างงานให้กับภาคเศรษฐกิจไทยมาอย่างยาวนาน โดยวางเป้าผลักดันกรุงเทพฯ ไปสู่ 1 ใน 5 Fashion Capital of Asia ภายในปี พ.ศ. 2579 ซึ่งจะปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมจากเดิมแยกกันตั้งรับเป็นโซ่อุปทานเชิงรุก เปลี่ยนแนวทางการพัฒนาจากผลักดันอุปทานเป็นการสร้างอุปสงค์ พัฒนาย่านการค้าไทยเป็นศูนย์กลางการค้าระดับอาเซียน รวมถึงสนับสนุนงานแสดงสินค้าแฟชั่นระดับนานาชาติในไทย

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้แนวคิดประเทศไทย 4.0 เคาะ 5 อุตสาหกรรม S-Curve ชุดแรก ตั้งเป้าเห็นการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมภายในปีนี้ พร้อมชงกองทุนสนับสนุนวงเงินจำนวน 1 หมื่นล้านบาท

นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินนโยบายตามแนวทางของรัฐบาล โดยกำหนดเป้าหมาย 5 อุตสาหกรรม S-Curve ชุดแรกเร่งด่วนประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป, อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน, อุตสาหกรรมหุ่นยนต์, อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมโดยเร็ว และจะต้องเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมภายในปี 2560 โดย 5 อุตสาหกรรม นำร่องชุดแรกที่กำหนดขึ้นจะใช้การขับเคลื่อนตามแนวทางประชารัฐ ในรูปแบบการจัดตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งจะเน้นการพัฒนาและส่งเสริมการลงทุนตามแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้แนวคิดประเทศไทย 4.0 โดยประยุกต์ใช้นวัตกรรมในกระบวนการผลิต ทั้งระบบการผลิตแบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อก้าวสู่ Industry 4.0 โดยมีรายละเอียดที่จะต้องเห็นผลเป็นรูปธรรมแต่ละอุตสาหกรรมภายในปี 2560 ดังนี้

1. อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างจากเดิมที่มีมูลค่าเพิ่มไม่สูงมาก และมักเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่ถูกกำหนดจากราคาตลาดโลก ไปสู่ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ นวัตกรรมอาหารเชิงสุขภาพ ที่ปรับลดปริมาณอาหารให้เหมาะสมต่อความต้องการพลังงาน เพิ่มเติมสารอาหารหรือส่วนผสม (Food Ingredients) ที่ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนเพื่อปรับสมดุลของร่างกายและป้องกันโรค

2. อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน จะสร้างให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (xEV) และการผลิตชิ้นส่วนสำคัญภายในประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์โลก และยังเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวสู่ยุคของการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรม พร้อมการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ประกอบกับการผลักดันให้มีศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อ เพื่อเป็นการยกระดับประเทศไทยอีกทางหนึ่งทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ (Product) มาตรฐาน (Standard) และนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการต่อยอดให้ประเทศไทย ไปสู่เป้าหมายการลงทุนในการผลิตยานยนต์แห่งอนาคต โดยขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแล้ว และมอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ เร่งออกมาตรการสนับสนุนในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป

3. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ กำหนดเป้าหมายสู่การเป็นผู้นำอาเซียนด้านการผลิต/การใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในอาเซียน โดยมีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ผ่านการจัดตั้ง Center of Excellence เพื่อเป็นศูนย์อัจฉริยะด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บุคลากรและเทคโนโลยี ผลักดันการพัฒนาธุรกิจ System Integrators (SI) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ ให้มีจำนวนเพียงพอ และรองรับต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในอนาคต

4. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ตั้งเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาสู่การเป็นเศรษฐกิจชีวภาพ “Bioeconomy” ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมเป็นอย่างมากด้านวัตถุดิบทางการเกษตร ในการนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ด้วยการพัฒนาตั้งแต่ระดับต้นน้ เชื่อมโยงการผลิตผลิตภัณฑ์ให้สอดรับกับการจัดสรรและผลิตวัตถุดิบเพื่อใช้เป็นอาหาร เชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ

5.อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นอุตสาหกรรมศักยภาพเป้าหมายที่เป็นรากฐานสำคัญและสร้างงานให้กับภาคเศรษฐกิจไทยมาอย่างยาวนาน โดยวางเป้าผลักดันกรุงเทพฯ ไปสู่ 1 ใน 5 Fashion Capital of Asia ภายในปี พ.ศ. 2579 ซึ่งจะปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมจากเดิมแยกกันตั้งรับเป็นโซ่อุปทานเชิงรุก เปลี่ยนแนวทางการพัฒนาจากผลักดันอุปทานเป็นการสร้างอุปสงค์ พัฒนาย่านการค้าไทยเป็นศูนย์กลางการค้าระดับอาเซียน รวมถึงสนับสนุนงานแสดงสินค้าแฟชั่นระดับนานาชาติในไทย

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!