สินทรัพย์ “กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ” ของจีนทะลุ 9 แสนล้านดอลฯ รั้งอันดับ 2 ของโลก


เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา บริษัทการลงทุนแห่งชาติจีนหรือซีไอซี (CIC) ซึ่งเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ(SWF) ที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินประเภทต่างๆ ทั่วโลก มีมูลค่าทรัพย์สินรวมแล้วสูงถึง 9 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
โดยตัวเลขนี้ มีมูลค่าสูงกว่าสามเท่าของทุนเดิมตอนก่อตั้งกองทุนเมื่อ 10 ปีก่อนที่ 2.49 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขณะนี้กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่เติบโตอย่างรวดเร็วนั้นได้กลายมาเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ตามหลังกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของนอร์เวย์ซึ่งมีสินทรัพย์ถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเดือนที่ผ่านมา

ซีไอซีกล่าวว่าได้ผลตอบแทนร้อยละ 14.35 ต่อปี โดยในจำนวนนี้เป็นการลงทุนในต่างประเทศที่ร้อยละ 5.51

“เมื่อเทียบกับสถาบันการเงินอื่นๆ ข้อได้เปรียบที่ใหญ่ที่สุดของเราคือเราได้รับการสนับสนุนจากตลาดจีน” นายถูกวงเส้า ผู้จัดการใหญ่ของซีไอซีกล่าว

ในช่วงท้ายของปี 2016 เกือบครึ่งหนึ่งของการลงทุนในต่างประเทศของซีไอซีอยู่ในหุ้นสาธารณะ ตามมาด้วยการลงทุนทางเลือก ตราสารที่ให้รายได้คงที่ เงินสด และอื่นๆ ซึ่งประมาณ 2 ใน 3 ของการลงทุนถูกจัดการจากภายนอก

ทั้งนี้ นายถูกล่าวว่าการเติบโตของซีไอซีใน 10 ปีข้างหน้าจะขึ้นอยู่กับการลงทุนในการปฏิรูปเศรษฐกิจของจีนและความพยายามในการผลักดันของทั่วโลก

เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา บริษัทการลงทุนแห่งชาติจีนหรือซีไอซี (CIC) ซึ่งเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ(SWF) ที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินประเภทต่างๆ ทั่วโลก มีมูลค่าทรัพย์สินรวมแล้วสูงถึง 9 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยตัวเลขนี้ มีมูลค่าสูงกว่าสามเท่าของทุนเดิมตอนก่อตั้งกองทุนเมื่อ 10 ปีก่อนที่ 2.49 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขณะนี้กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่เติบโตอย่างรวดเร็วนั้นได้กลายมาเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ตามหลังกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของนอร์เวย์ซึ่งมีสินทรัพย์ถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเดือนที่ผ่านมา

ซีไอซีกล่าวว่าได้ผลตอบแทนร้อยละ 14.35 ต่อปี โดยในจำนวนนี้เป็นการลงทุนในต่างประเทศที่ร้อยละ 5.51

"เมื่อเทียบกับสถาบันการเงินอื่นๆ ข้อได้เปรียบที่ใหญ่ที่สุดของเราคือเราได้รับการสนับสนุนจากตลาดจีน" นายถูกวงเส้า ผู้จัดการใหญ่ของซีไอซีกล่าว

ในช่วงท้ายของปี 2016 เกือบครึ่งหนึ่งของการลงทุนในต่างประเทศของซีไอซีอยู่ในหุ้นสาธารณะ ตามมาด้วยการลงทุนทางเลือก ตราสารที่ให้รายได้คงที่ เงินสด และอื่นๆ ซึ่งประมาณ 2 ใน 3 ของการลงทุนถูกจัดการจากภายนอก

ทั้งนี้ นายถูกล่าวว่าการเติบโตของซีไอซีใน 10 ปีข้างหน้าจะขึ้นอยู่กับการลงทุนในการปฏิรูปเศรษฐกิจของจีนและความพยายามในการผลักดันของทั่วโลก

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!