โครงการวินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้งคืบหน้าตามเป้าหมาย โครงการ T5 พร้อมส่งมอบในอีก 3 ไตรมาส


บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH หรือ บริษัทฯ) หนึ่งในบริษัทผู้นำด้านพลังงานทดแทนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถลงความคืบหน้าสำคัญของโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานลมภาคพื้นดินทั้ง 5 แห่งในประเทศไทย กำลังการผลิตรวม 450 เมกะวัตต์ โดยทุ่งกังหันลม (วินด์ฟาร์ม) ทั้ง 5 แห่งภายใต้โครงการ ‘T5’ ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาและชัยภูมิ

โครงการ T5 ใช้ชุดกังหันจากเวสทัส (Vestas) และ เจเนอรัล อิเล็กทริก หรือจีอี (GE) โดยเวสทัสได้ติดตั้งกังหันลมรุ่น V136-3.0 MW จำนวน 60 ตัวใน 2 โครงการ ส่วนจีอีซึ่งเป็นผู้ติดตั้งกังหันลมรุ่น GE3.43-137 จำนวน 90 ตัวในอีก 3 โครงการที่เหลือซึ่งมีความคืบหน้าในระดับต่างๆ กัน นอกจากนี้จีอียังได้ก่อสร้างสถานีไฟฟ้า จำนวน 6 แห่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานระบบกริดสำหรับทั้ง 5 โครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โครงการ T5 ดำเนินไปตามกรอบระยะเวลาที่วางไว้ ซึ่งคาดว่าโครงการสุดท้ายจะแล้วเสร็จพร้อมส่งมอบภายในไตรมาสแรกของปีหน้า (พ.ศ. 2562)

นายณพ ณรงค์เดช รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง กล่าวว่า “เรายินดีเป็นอย่างยิ่งกับความคืบหน้าของโครงการทุ่งกังหันลมต่างๆ ภายใต้โครงการ T5 และเมื่อแผนงานเสร็จสิ้นสมบูรณ์ บริษัทจะมีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าจากทุ่งกังหันลมในประเทศไทยจำนวน 720 เมกะวัตต์ และขึ้นแท่นผู้พัฒนาและดำเนินงานด้านกระแสไฟฟ้าพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

โครงการ T5 ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารไทยพาณิชย์เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็นจำนวน 3.7 หมื่นล้านบาท (1,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

นายธันว์ เหรียญสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง กล่าวว่า “ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นพันธมิตรสำคัญของบริษัทตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประกอบกับกลยุทธ์ของธนาคารที่ให้ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน เราจึงตั้งใจจะใช้บริการจากธนาคารอีกในอนาคต”

การสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารไทยพาณิชย์ ทำให้ WEH ต้องดำเนินการอย่างรัดกุมทั้งด้านการเงินและที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเงินเพื่อให้เป็นไปตามสัญญาการกู้ยืมโดยทั่วไป ทั้งนี้ WEH ได้ดำเนินการตามสาระสำคัญของข้อตกลงอย่างต่อเนื่องทุกประการและทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมงานของธนาคาร ซึ่งทำหน้าที่ประเมินความคืบหน้าของ WEH อย่างสม่ำเสมอ

บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH หรือ บริษัทฯ) หนึ่งในบริษัทผู้นำด้านพลังงานทดแทนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถลงความคืบหน้าสำคัญของโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานลมภาคพื้นดินทั้ง 5 แห่งในประเทศไทย กำลังการผลิตรวม 450 เมกะวัตต์ โดยทุ่งกังหันลม (วินด์ฟาร์ม) ทั้ง 5 แห่งภายใต้โครงการ 'T5' ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาและชัยภูมิ

โครงการ T5 ใช้ชุดกังหันจากเวสทัส (Vestas) และ เจเนอรัล อิเล็กทริก หรือจีอี (GE) โดยเวสทัสได้ติดตั้งกังหันลมรุ่น V136-3.0 MW จำนวน 60 ตัวใน 2 โครงการ ส่วนจีอีซึ่งเป็นผู้ติดตั้งกังหันลมรุ่น GE3.43-137 จำนวน 90 ตัวในอีก 3 โครงการที่เหลือซึ่งมีความคืบหน้าในระดับต่างๆ กัน นอกจากนี้จีอียังได้ก่อสร้างสถานีไฟฟ้า จำนวน 6 แห่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานระบบกริดสำหรับทั้ง 5 โครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โครงการ T5 ดำเนินไปตามกรอบระยะเวลาที่วางไว้ ซึ่งคาดว่าโครงการสุดท้ายจะแล้วเสร็จพร้อมส่งมอบภายในไตรมาสแรกของปีหน้า (พ.ศ. 2562)

นายณพ ณรงค์เดช รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง กล่าวว่า "เรายินดีเป็นอย่างยิ่งกับความคืบหน้าของโครงการทุ่งกังหันลมต่างๆ ภายใต้โครงการ T5 และเมื่อแผนงานเสร็จสิ้นสมบูรณ์ บริษัทจะมีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าจากทุ่งกังหันลมในประเทศไทยจำนวน 720 เมกะวัตต์ และขึ้นแท่นผู้พัฒนาและดำเนินงานด้านกระแสไฟฟ้าพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

โครงการ T5 ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารไทยพาณิชย์เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็นจำนวน 3.7 หมื่นล้านบาท (1,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

นายธันว์ เหรียญสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง กล่าวว่า "ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นพันธมิตรสำคัญของบริษัทตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประกอบกับกลยุทธ์ของธนาคารที่ให้ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน เราจึงตั้งใจจะใช้บริการจากธนาคารอีกในอนาคต"

การสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารไทยพาณิชย์ ทำให้ WEH ต้องดำเนินการอย่างรัดกุมทั้งด้านการเงินและที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเงินเพื่อให้เป็นไปตามสัญญาการกู้ยืมโดยทั่วไป ทั้งนี้ WEH ได้ดำเนินการตามสาระสำคัญของข้อตกลงอย่างต่อเนื่องทุกประการและทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมงานของธนาคาร ซึ่งทำหน้าที่ประเมินความคืบหน้าของ WEH อย่างสม่ำเสมอ

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!