โตโยต้า จับมือภาครัฐบาล และ โดวะ กรุ๊ป ร่วมเปิด “โครงการศึกษาความเหมาะสมในการจัดการ ของเสียจากซากรถยนต์อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”


พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ, ผู้แทนจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม และการนิคมอุตสาหรรมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด, มร. คิโยโยชิ โอบะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า ทูโช (ไทยแลนด์) จำกัด, มร. โยชิเอกิ สุกะวาระ ประธานบริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์ สยาม จำกัด

ในฐานะผู้แทนของ โดวะ กรุ๊ป และตัวแทนจากหน่วยงานราชการภาคส่วนต่างๆ ร่วมเปิด “โครงการศึกษาความเหมาะสมในการจัดการของเสียจากซากรถยนต์อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ณ ห้องบอลรูม A โรงแรม แมริออท กรุงเทพ สุขุมวิท 57

พันธสัญญาที่เป็นความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทโตโยต้าทั่วโลก ในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และเพิ่มผลกระทบเชิงบวกเพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ในปี พ.ศ. 2593 ภายใต้ชื่อ “พันธสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้า พ.ศ. 2593” ซึ่งประกอบด้วยความท้าทาย 6 ประการ โดยหนึ่งในนั้นคือ ความท้าทายในการเสริมสร้างสังคมและระบบที่เน้นการรีไซเคิล ที่มุ่งเน้นในการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยืดอายุการใช้งานของอะไหล่ พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับการรีไซเคิล รวมถึงการนำชิ้นส่วนของรถยนต์ที่หมดอายุการใช้งานมาผ่านกระบวนการรีไซเคิล และกำจัดของเสียหรือวัตถุอันตรายจากซากรถยนต์อย่างเหมาะสม

เพื่อเป็นการตอบสนองกับความท้าทายดังกล่าวในฐานะบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายแรกของโลก ที่ริเริ่มการจัดการซากรถยนต์จากการดำเนินงานบริษัทรีไซเคิลซากรถยนต์ “โตโยต้า เมทัล” ขึ้นในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 โตโยต้าจึงมุ่งมั่นในการขยายผลความสำเร็จ ผ่านการเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ ทั้งในด้านระบบและเทคโนโลยีในการรีไซเคิลรถยนต์ของโตโยต้า และบริษัทในเครือ ผ่านโครงการ “Toyota Global 100 Dismantlers” ที่มีเป้าหมายในการจัดตั้งสถานที่คัดแยกและรีไซเคิลซากรถยนต์อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นจำนวน 100 แห่งทั่วโลก ภายในปี พ.ศ. 2593 โดยโตโยต้าได้ริเริ่มให้ประเทศไทยเป็นต้นแบบแห่งแรกในอาเซียน เนื่องจากประเทศไทยมีรถยนต์จดทะเบียนสะสมจำนวนมาก และยังไม่มีระบบที่เหมาะสมในการจัดการของเสียจากซากรถยนต์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยสารทำความเย็นในรถยนต์ อันได้แก่ สารคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (CFCs) ที่ทำให้โอโซนในชั้นบรรยากาศลดลง และสารไฮโดรฟลูโอโรคาร์บอน (HFCs) หนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 124 – 14,800 เท่า

เพื่อเป็นการจุดประกายให้สังคมเห็นความสำคัญในการป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการกำจัดซากรถยนต์ จึงเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกรมโรงงานอุตสาหกรรม จากภาคเอกชน คือ บริษัทโตโยต้า
และบริษัทในเครือ รวมถึง บริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์ สยาม จำกัด ในฐานะผู้แทนของ โดวะ กรุ๊ป ในการดำเนินการ “โครงการศึกษาความเหมาะสมในการจัดการของเสียจากซากรถยนต์อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้ประเทศไทยเกิดระบบคัดแยกและรีไซเคิลชิ้นส่วนต่างๆ ของซากรถยนต์อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงกำจัดของเสียและวัตถุอันตรายจากซากรถยนต์อย่างถูกต้อง

โครงการฯ เริ่มต้นตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.2560 จากการจัดตั้งทีมงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อศึกษารูปแบบในการจัดการของเสียจากซากรถยนต์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยได้นำต้นแบบการจัดการของประเทศญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้ เกิดเป็นการดำเนินการโครงการทดลองในปีแรก เมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา โดยใช้เทคโนโลยีและสถานที่ของ บริษัท กรีน เมทัลส์ (ไทยแลนด์) จำกัด (ภายใต้บริษัท โตโยต้า ทูโช (ไทยแลนด์) จำกัด) ในการคัดแยกชิ้นส่วนต่างๆ ของรถยนต์ พร้อมนำสาร CFCs HFCs และของเสียที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น น้ำมันเครื่อง สารหล่อเย็น น้ำมันเชื้อเพลิง ตลอดจนวัตถุอันตราย เช่น ถุงลมนิรภัย ออกจากตัวรถ ก่อนที่จะส่งต่อไปทำลายหรือรีไซเคิลในรูปแบบที่เหมาะสม ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีและสถานที่ ของ บริษัท บางปู เอนไวรอนเมนทอลคอมเพล็กซ์ จำกัด และ บริษัท อีสเทิร์น ซีบอร์ด เอนไวรอนเมนทอล คอมเพล็กซ์ จำกัด (ภายใต้โดวะ กรุ๊ป)

นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
กล่าวในงานว่า “การเปิดโครงการในวันนี้นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของโตโยต้า ที่ได้ร่วมมือกับภาครัฐบาล และพันธมิตรทางธุรกิจ ในการเริ่มต้นจัดการของเสียจากซากรถยนต์อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปีแรกเราจะมุ่งเน้นไปที่การเผยแพร่ความสำคัญของการจัดการของเสียจากซากรถยนต์ที่ถูกต้องแก่สังคมไทย รวมถึงการสร้างเครือข่าย ผ่านการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ที่โตโยต้าและพันธมิตรของเราได้สั่งสมมาจากการดำเนินงาน และในอนาคตเราคาดหวังว่าโครงการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดการดูแลสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำอย่างเป็นรูปธรรมและยังเป็นการจุดประกายให้เกิดความยั่งยืนของเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมการรีไซเคิลในประเทศไทยอีกด้วย อันจะเป็นการขับเคลื่อนความสุขสู่ประเทศไทยอย่างแท้จริง”

สารจากกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียร์ริ่ง แอนด์ เมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด

มร. ทัตสึโร่ ทาคามิ จากความมุ่งมั่นของโตโยต้าในการพัฒนาอย่างยั่งยืน และแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2558 โตโยต้าจึงได้ประกาศพันธสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้า พ.ศ. 2593 เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และเพิ่มผลกระทบเชิงบวก ซึ่งประกอบไปด้วยความท้าทาย 6 ประการ โดยหนึ่งในความท้าทายดังกล่าวนั้น คือการเสริมสร้างสังคมและระบบที่เน้นการรีไซเคิล

โตโยต้า มุ่งหวังที่จะเป็นผู้นำในกลุ่มธุรกิจยานยนต์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้านการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

กลุ่มบริษัทโตโยต้าและบริษัทในเครือได้จึงร่วมมือในการริเริ่มโครงการ “Toyota Global 100 Dismantlers” ที่มุ่งเน้นในการพัฒนากระบวนการรวบรวมและคัดแยกชิ้นส่วนจากซากรถยนต์จากทั่วโลก อย่างเหมาะสม โดยเราได้เริ่มต้นโครงการดังกล่าวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และได้เลือกประเทศไทยเป็นแห่งแรกในการศึกษาพัฒนาโครงการ ซึ่งในอนาคตเรามีความมุ่งมั่นที่จะขยายโครงการออกสู่ทั่วทั้งภูมิภาค เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมการรีไซเคิลของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคอย่างยั่งยืน

พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ, ผู้แทนจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม และการนิคมอุตสาหรรมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด, มร. คิโยโยชิ โอบะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า ทูโช (ไทยแลนด์) จำกัด, มร. โยชิเอกิ สุกะวาระ ประธานบริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์ สยาม จำกัด

ในฐานะผู้แทนของ โดวะ กรุ๊ป และตัวแทนจากหน่วยงานราชการภาคส่วนต่างๆ ร่วมเปิด “โครงการศึกษาความเหมาะสมในการจัดการของเสียจากซากรถยนต์อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ณ ห้องบอลรูม A โรงแรม แมริออท กรุงเทพ สุขุมวิท 57

พันธสัญญาที่เป็นความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทโตโยต้าทั่วโลก ในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และเพิ่มผลกระทบเชิงบวกเพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ในปี พ.ศ. 2593 ภายใต้ชื่อ “พันธสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้า พ.ศ. 2593” ซึ่งประกอบด้วยความท้าทาย 6 ประการ โดยหนึ่งในนั้นคือ ความท้าทายในการเสริมสร้างสังคมและระบบที่เน้นการรีไซเคิล ที่มุ่งเน้นในการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยืดอายุการใช้งานของอะไหล่ พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับการรีไซเคิล รวมถึงการนำชิ้นส่วนของรถยนต์ที่หมดอายุการใช้งานมาผ่านกระบวนการรีไซเคิล และกำจัดของเสียหรือวัตถุอันตรายจากซากรถยนต์อย่างเหมาะสม

เพื่อเป็นการตอบสนองกับความท้าทายดังกล่าวในฐานะบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายแรกของโลก ที่ริเริ่มการจัดการซากรถยนต์จากการดำเนินงานบริษัทรีไซเคิลซากรถยนต์ “โตโยต้า เมทัล” ขึ้นในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 โตโยต้าจึงมุ่งมั่นในการขยายผลความสำเร็จ ผ่านการเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ ทั้งในด้านระบบและเทคโนโลยีในการรีไซเคิลรถยนต์ของโตโยต้า และบริษัทในเครือ ผ่านโครงการ “Toyota Global 100 Dismantlers” ที่มีเป้าหมายในการจัดตั้งสถานที่คัดแยกและรีไซเคิลซากรถยนต์อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นจำนวน 100 แห่งทั่วโลก ภายในปี พ.ศ. 2593 โดยโตโยต้าได้ริเริ่มให้ประเทศไทยเป็นต้นแบบแห่งแรกในอาเซียน เนื่องจากประเทศไทยมีรถยนต์จดทะเบียนสะสมจำนวนมาก และยังไม่มีระบบที่เหมาะสมในการจัดการของเสียจากซากรถยนต์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยสารทำความเย็นในรถยนต์ อันได้แก่ สารคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (CFCs) ที่ทำให้โอโซนในชั้นบรรยากาศลดลง และสารไฮโดรฟลูโอโรคาร์บอน (HFCs) หนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 124 – 14,800 เท่า

เพื่อเป็นการจุดประกายให้สังคมเห็นความสำคัญในการป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการกำจัดซากรถยนต์ จึงเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกรมโรงงานอุตสาหกรรม จากภาคเอกชน คือ บริษัทโตโยต้า และบริษัทในเครือ รวมถึง บริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์ สยาม จำกัด ในฐานะผู้แทนของ โดวะ กรุ๊ป ในการดำเนินการ “โครงการศึกษาความเหมาะสมในการจัดการของเสียจากซากรถยนต์อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้ประเทศไทยเกิดระบบคัดแยกและรีไซเคิลชิ้นส่วนต่างๆ ของซากรถยนต์อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงกำจัดของเสียและวัตถุอันตรายจากซากรถยนต์อย่างถูกต้อง

โครงการฯ เริ่มต้นตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.2560 จากการจัดตั้งทีมงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อศึกษารูปแบบในการจัดการของเสียจากซากรถยนต์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยได้นำต้นแบบการจัดการของประเทศญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้ เกิดเป็นการดำเนินการโครงการทดลองในปีแรก เมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา โดยใช้เทคโนโลยีและสถานที่ของ บริษัท กรีน เมทัลส์ (ไทยแลนด์) จำกัด (ภายใต้บริษัท โตโยต้า ทูโช (ไทยแลนด์) จำกัด) ในการคัดแยกชิ้นส่วนต่างๆ ของรถยนต์ พร้อมนำสาร CFCs HFCs และของเสียที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น น้ำมันเครื่อง สารหล่อเย็น น้ำมันเชื้อเพลิง ตลอดจนวัตถุอันตราย เช่น ถุงลมนิรภัย ออกจากตัวรถ ก่อนที่จะส่งต่อไปทำลายหรือรีไซเคิลในรูปแบบที่เหมาะสม ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีและสถานที่ ของ บริษัท บางปู เอนไวรอนเมนทอลคอมเพล็กซ์ จำกัด และ บริษัท อีสเทิร์น ซีบอร์ด เอนไวรอนเมนทอล คอมเพล็กซ์ จำกัด (ภายใต้โดวะ กรุ๊ป)

นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวในงานว่า “การเปิดโครงการในวันนี้นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของโตโยต้า ที่ได้ร่วมมือกับภาครัฐบาล และพันธมิตรทางธุรกิจ ในการเริ่มต้นจัดการของเสียจากซากรถยนต์อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปีแรกเราจะมุ่งเน้นไปที่การเผยแพร่ความสำคัญของการจัดการของเสียจากซากรถยนต์ที่ถูกต้องแก่สังคมไทย รวมถึงการสร้างเครือข่าย ผ่านการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ที่โตโยต้าและพันธมิตรของเราได้สั่งสมมาจากการดำเนินงาน และในอนาคตเราคาดหวังว่าโครงการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดการดูแลสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำอย่างเป็นรูปธรรมและยังเป็นการจุดประกายให้เกิดความยั่งยืนของเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมการรีไซเคิลในประเทศไทยอีกด้วย อันจะเป็นการขับเคลื่อนความสุขสู่ประเทศไทยอย่างแท้จริง”

สารจากกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียร์ริ่ง แอนด์ เมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด

มร. ทัตสึโร่ ทาคามิ จากความมุ่งมั่นของโตโยต้าในการพัฒนาอย่างยั่งยืน และแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2558 โตโยต้าจึงได้ประกาศพันธสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้า พ.ศ. 2593 เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และเพิ่มผลกระทบเชิงบวก ซึ่งประกอบไปด้วยความท้าทาย 6 ประการ โดยหนึ่งในความท้าทายดังกล่าวนั้น คือการเสริมสร้างสังคมและระบบที่เน้นการรีไซเคิล

โตโยต้า มุ่งหวังที่จะเป็นผู้นำในกลุ่มธุรกิจยานยนต์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้านการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

กลุ่มบริษัทโตโยต้าและบริษัทในเครือได้จึงร่วมมือในการริเริ่มโครงการ “Toyota Global 100 Dismantlers” ที่มุ่งเน้นในการพัฒนากระบวนการรวบรวมและคัดแยกชิ้นส่วนจากซากรถยนต์จากทั่วโลก อย่างเหมาะสม โดยเราได้เริ่มต้นโครงการดังกล่าวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และได้เลือกประเทศไทยเป็นแห่งแรกในการศึกษาพัฒนาโครงการ ซึ่งในอนาคตเรามีความมุ่งมั่นที่จะขยายโครงการออกสู่ทั่วทั้งภูมิภาค เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมการรีไซเคิลของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคอย่างยั่งยืน

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!