โตโยต้า รวมพลังเครือข่ายเพื่อสิ่งแวดล้อม 5,500 คน ปลูกป่าชายเลน 55,000 ต้น ในโอกาสครบรอบ 55 ปี


นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พลโท พิษณุ บุญรักษา เจ้ากรมพลาธิการทหารบก และ นางฉวีวรรณ หุตะเจริญ ประธานมูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) หรือ FEED นำคณะอาสาสมัครอันประกอบด้วยตัวแทนจากบริษัทในเครือ กลุ่มพนักงานโตโยต้าและครอบครัว สมาชิกชมรมโตโยต้าจิตอาสา สมาชิกชมรมอีโตโยต้า คลับ e-TOYOTA CLUB และประชาชนทั่วไปจำนวนกว่า 5,500 คน ร่วมกิจกรรม “โตโยต้าปลูกป่าชายเลนปีที่ 13” ทำการปลูกพันธุ์ไม้ชายเลน จำนวน 55,000 ต้น ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) จังหวัดสมุทรปราการ

กิจกรรมโตโยต้าปลูกป่าชายเลน เป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้โครงการ “โตโยต้าเมืองสีเขียว” ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กรมพลาธิการทหารบก และ มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) หรือ FEED เพื่อเป็นการอนุรักษ์ป่าชายเลนให้มีความอุดมสมบูรณ์ มีสภาพเหมาะแก่การอยู่อาศัยให้แก่สัตว์ในระบบนิเวศชายเลน โดยจากความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 13 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.?2548 ส่งผลให้มีการปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ของศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) รวมทั้งสิ้นกว่า 542,800 ต้น ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้กว่า 7,000 ตันต่อปี

นอกเหนือจากการปลูกป่าชายเลนอย่างต่อเนื่องแล้ว โตโยต้า ยังมุ่งมั่นที่จะสร้างจิตสำนึกให้คนไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม และความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ จึงได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนา ดำเนินงาน และการให้บริการสิ่งแวดล้อมศึกษา แก่มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) หรือ FEED เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติป่าชายเลนที่สมบูรณ์ สำหรับโรงเรียนพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง ในการลงทะเบียนเพื่อเข้าศึกษา โดยมีนักเรียนเข้าเยี่ยมชมศูนย์ศึกษาธรรมชาติฯ กว่า 15,000 คนต่อปี

โดยในปีนี้ โตโยต้าได้ทำการเปิดสะพานศึกษาธรรมชาติแห่งใหม่ และนิทรรศการศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี ในพื้นที่ด้านนอกศูนย์ศึกษาธรรมชาติฯ ที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมชมได้โดยไม่ต้องลงทะเบียนและไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อขยายการรับรู้ถึงความสำคัญของป่าชายเลนต่อการลดการกัดเซาะแผ่นดิน และเพื่อเป็นแหล่งศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศป่าชายเลน แก่ผู้ที่สนใจ มีผู้เข้าเยี่ยมชมโดยเฉลี่ยกว่า 42,000 คนต่อเดือน

นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พลโท พิษณุ บุญรักษา เจ้ากรมพลาธิการทหารบก และ นางฉวีวรรณ หุตะเจริญ ประธานมูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) หรือ FEED นำคณะอาสาสมัครอันประกอบด้วยตัวแทนจากบริษัทในเครือ กลุ่มพนักงานโตโยต้าและครอบครัว สมาชิกชมรมโตโยต้าจิตอาสา สมาชิกชมรมอีโตโยต้า คลับ e-TOYOTA CLUB และประชาชนทั่วไปจำนวนกว่า 5,500 คน ร่วมกิจกรรม “โตโยต้าปลูกป่าชายเลนปีที่ 13” ทำการปลูกพันธุ์ไม้ชายเลน จำนวน 55,000 ต้น ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) จังหวัดสมุทรปราการ

กิจกรรมโตโยต้าปลูกป่าชายเลน เป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้โครงการ “โตโยต้าเมืองสีเขียว” ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กรมพลาธิการทหารบก และ มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) หรือ FEED เพื่อเป็นการอนุรักษ์ป่าชายเลนให้มีความอุดมสมบูรณ์ มีสภาพเหมาะแก่การอยู่อาศัยให้แก่สัตว์ในระบบนิเวศชายเลน โดยจากความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 13 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.?2548 ส่งผลให้มีการปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ของศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) รวมทั้งสิ้นกว่า 542,800 ต้น ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้กว่า 7,000 ตันต่อปี

นอกเหนือจากการปลูกป่าชายเลนอย่างต่อเนื่องแล้ว โตโยต้า ยังมุ่งมั่นที่จะสร้างจิตสำนึกให้คนไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม และความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ จึงได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนา ดำเนินงาน และการให้บริการสิ่งแวดล้อมศึกษา แก่มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) หรือ FEED เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติป่าชายเลนที่สมบูรณ์ สำหรับโรงเรียนพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง ในการลงทะเบียนเพื่อเข้าศึกษา โดยมีนักเรียนเข้าเยี่ยมชมศูนย์ศึกษาธรรมชาติฯ กว่า 15,000 คนต่อปี

โดยในปีนี้ โตโยต้าได้ทำการเปิดสะพานศึกษาธรรมชาติแห่งใหม่ และนิทรรศการศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี ในพื้นที่ด้านนอกศูนย์ศึกษาธรรมชาติฯ ที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมชมได้โดยไม่ต้องลงทะเบียนและไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อขยายการรับรู้ถึงความสำคัญของป่าชายเลนต่อการลดการกัดเซาะแผ่นดิน และเพื่อเป็นแหล่งศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศป่าชายเลน แก่ผู้ที่สนใจ มีผู้เข้าเยี่ยมชมโดยเฉลี่ยกว่า 42,000 คนต่อเดือน

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!