นาย วิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย ดร. เจน สมาร์ท ผู้อำนวยการสากล องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และ คุณ วิเชียร เอมประเสริฐสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ร่วมเปิดการเสวนา THE ROAD AHEAD : TOYOTA and THE IUCN RED LIST OF THREATENED SPECIES เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจเอกชนในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และเพื่อสร้างความตระหนักให้แก่สาธารณชน ต่อวิกฤตการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมฮิลตัน สุขุมวิท 24
จากสถานการณ์ทางสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงขึ้นในปัจจุบัน ประกอบกับวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจของโตโยต้า ที่ว่า อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมต้องอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน จึงได้เกิดเป็นพันธสัญญาที่เป็นความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทโตโยต้าทั่วโลก ในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นศูนย์ และเพิ่มผลกระทบเชิงบวกเพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ในปี ค.ศ. 2050 ภายใต้ชื่อ พันธสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้า 2050 ซึ่งประกอบด้วยความท้าทาย 6 ประการ โดยหนึ่งในนั้นคือ ความท้าทายในการสร้างสังคมแห่งความยั่งยืนที่เป็นมิตรและกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม โดยการมุ่งเน้นให้บริษัทโตโยต้าทั่วโลก ทำกิจกรรมต่างๆ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGO เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงในทุกภาคส่วน ทั่วทุกภูมิภาคและขยายไปทั่วโลก
หนึ่งในผลงานชิ้นสำคัญของโตโยต้าภายใต้ความท้าทายนี้ นั่นคือการร่วมมือกับ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature : IUCN) ซึ่งเริ่มต้นลงนาม
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 เพื่อสนับสนุนงบประมาณสำหรับการวิเคราะห์แนวโน้มและสถานภาพการถูกคุมคามของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างๆ ภายใต้โครงการ บัญชีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุมคามขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หรือ The IUCN Red List of Threatened Species เป็นจำนวนเงินกว่า 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 41 ล้านบาท) โดยโตโยต้าถือเป็นองค์กรเอกชนแห่งแรกที่ได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม แก่องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
บัญชีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุมคามขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มีวัตถุประสงค์ในการรายงานข้อมูล ผลการวิเคราะห์แนวโน้มและสถานภาพการถูกคุกคามของชนิดพันธุ์ต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอันนำไปสู่ การปกป้องทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของมวลมนุษยชาติ โดยถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ที่สุดของโลกในด้านสถานภาพของการอนุรักษ์ของชนิดพันธุ์ทั้ง สัตว์ พืชและกลุ่มเห็ดรา รวมทั้งความเชื่อมโยงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ จนถึงปัจจุบันได้มีการประเมินสถานภาพของสิ่งมีชีวิตแล้วกว่า 85,600 ชนิด พบว่ามากกว่า 24,300 ชนิด มีสถานะถูกคุกคามต่อการสูญพันธุ์ ซึ่งจากการลงนามความร่วมมือระหว่าง 2 องค์กร จะเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้เกิดการประเมินสถานภาพของสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นกว่า 28,000 ชนิด ภายในปี พ.ศ. 2564
การประชุม THE ROAD AHEAD : TOYOTA and THE IUCN RED LIST OF THREATENED SPECIES จัดขึ้นด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างความตระหนักให้กับภาคสาธารณะ ในด้านความรู้และความเข้าใจถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนวิกฤตการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยประเทศไทยถือเป็นแห่งที่ 3 ต่อจาก สหรัฐเม็กซิโก และรัฐฮาวาย ที่โตโยต้า และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ได้จัดการประชุมเพื่อเผยแพร่ความสำคัญของสิ่งเหล่านี้สู่สาธารณชน ซึ่งภายในงานได้มีการเสวนาร่วมกันเพื่อพิจารณาถึงบทบาทของบริษัทเอกชน ในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีผู้เข้าร่วมจากหลายภาคส่วนทั้งจากภาครัฐบาล ภาคเอกชน องค์กรการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้สื่อข่าว
นาย วิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย ดร. เจน สมาร์ท ผู้อำนวยการสากล องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และ คุณ วิเชียร เอมประเสริฐสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ร่วมเปิดการเสวนา THE ROAD AHEAD : TOYOTA and THE IUCN RED LIST OF THREATENED SPECIES เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจเอกชนในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และเพื่อสร้างความตระหนักให้แก่สาธารณชน ต่อวิกฤตการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมฮิลตัน สุขุมวิท 24
จากสถานการณ์ทางสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงขึ้นในปัจจุบัน ประกอบกับวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจของโตโยต้า ที่ว่า อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมต้องอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน จึงได้เกิดเป็นพันธสัญญาที่เป็นความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทโตโยต้าทั่วโลก ในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นศูนย์ และเพิ่มผลกระทบเชิงบวกเพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ในปี ค.ศ. 2050 ภายใต้ชื่อ พันธสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้า 2050 ซึ่งประกอบด้วยความท้าทาย 6 ประการ โดยหนึ่งในนั้นคือ ความท้าทายในการสร้างสังคมแห่งความยั่งยืนที่เป็นมิตรและกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม โดยการมุ่งเน้นให้บริษัทโตโยต้าทั่วโลก ทำกิจกรรมต่างๆ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGO เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงในทุกภาคส่วน ทั่วทุกภูมิภาคและขยายไปทั่วโลก
หนึ่งในผลงานชิ้นสำคัญของโตโยต้าภายใต้ความท้าทายนี้ นั่นคือการร่วมมือกับ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature : IUCN) ซึ่งเริ่มต้นลงนาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 เพื่อสนับสนุนงบประมาณสำหรับการวิเคราะห์แนวโน้มและสถานภาพการถูกคุมคามของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างๆ ภายใต้โครงการ บัญชีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุมคามขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หรือ The IUCN Red List of Threatened Species เป็นจำนวนเงินกว่า 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 41 ล้านบาท) โดยโตโยต้าถือเป็นองค์กรเอกชนแห่งแรกที่ได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม แก่องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
บัญชีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุมคามขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มีวัตถุประสงค์ในการรายงานข้อมูล ผลการวิเคราะห์แนวโน้มและสถานภาพการถูกคุกคามของชนิดพันธุ์ต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอันนำไปสู่ การปกป้องทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของมวลมนุษยชาติ โดยถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ที่สุดของโลกในด้านสถานภาพของการอนุรักษ์ของชนิดพันธุ์ทั้ง สัตว์ พืชและกลุ่มเห็ดรา รวมทั้งความเชื่อมโยงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ จนถึงปัจจุบันได้มีการประเมินสถานภาพของสิ่งมีชีวิตแล้วกว่า 85,600 ชนิด พบว่ามากกว่า 24,300 ชนิด มีสถานะถูกคุกคามต่อการสูญพันธุ์ ซึ่งจากการลงนามความร่วมมือระหว่าง 2 องค์กร จะเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้เกิดการประเมินสถานภาพของสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นกว่า 28,000 ชนิด ภายในปี พ.ศ. 2564
การประชุม THE ROAD AHEAD : TOYOTA and THE IUCN RED LIST OF THREATENED SPECIES จัดขึ้นด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างความตระหนักให้กับภาคสาธารณะ ในด้านความรู้และความเข้าใจถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนวิกฤตการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยประเทศไทยถือเป็นแห่งที่ 3 ต่อจาก สหรัฐเม็กซิโก และรัฐฮาวาย ที่โตโยต้า และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ได้จัดการประชุมเพื่อเผยแพร่ความสำคัญของสิ่งเหล่านี้สู่สาธารณชน ซึ่งภายในงานได้มีการเสวนาร่วมกันเพื่อพิจารณาถึงบทบาทของบริษัทเอกชน ในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีผู้เข้าร่วมจากหลายภาคส่วนทั้งจากภาครัฐบาล ภาคเอกชน องค์กรการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้สื่อข่าว