ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม มีนาคม 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 87.5 เร่งผลิตเพื่อรองรับเทศกาลสงกรานต์


นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนมีนาคม 2560 จำนวน 1,125 ราย ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 87.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 86.2 ในเดือนกุมภาพันธ์ เกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

อย่างไรก็ตาม ในเดือนมีนาคม ผู้ประกอบการเร่งผลิตสินค้าเพื่อรองรับการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมทั้งผลิตเพื่อชดเชยในช่วงเดือนเมษายนที่มีวันทำงานน้อยกว่าปกติ สะท้อนจากดัชนีปริมาณการผลิตและดัชนีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ยังพบว่าราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะยางพารา ปาล์มน้ำมัน และอ้อย ส่งผลดีต่อรายได้และการบริโภคภายในประเทศ

ปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน ส่วนปัจจัยที่มีความกังวลลดลง ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน และสถานการณ์การเมืองในประเทศ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อยู่ในระดับทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า

ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนมีนาคม คือ ต้องการให้ภาครัฐดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้ในภูมิภาค รวมถึงมีการส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology transfer) เพื่อการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิต เร่งศึกษาผลกระทบจากนโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ และแก้ไขปัญหาผังเมือง ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)

นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนมีนาคม 2560 จำนวน 1,125 ราย ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 87.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 86.2 ในเดือนกุมภาพันธ์ เกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

อย่างไรก็ตาม ในเดือนมีนาคม ผู้ประกอบการเร่งผลิตสินค้าเพื่อรองรับการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมทั้งผลิตเพื่อชดเชยในช่วงเดือนเมษายนที่มีวันทำงานน้อยกว่าปกติ สะท้อนจากดัชนีปริมาณการผลิตและดัชนีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ยังพบว่าราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะยางพารา ปาล์มน้ำมัน และอ้อย ส่งผลดีต่อรายได้และการบริโภคภายในประเทศ

ปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน ส่วนปัจจัยที่มีความกังวลลดลง ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน และสถานการณ์การเมืองในประเทศ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อยู่ในระดับทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า

ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนมีนาคม คือ ต้องการให้ภาครัฐดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้ในภูมิภาค รวมถึงมีการส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology transfer) เพื่อการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิต เร่งศึกษาผลกระทบจากนโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ และแก้ไขปัญหาผังเมือง ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!