ต้นกำเนิดทางม้าลาย


รู้หรือไม่ว่า ทางม้าลาย ที่เราไว้ใช้ข้ามถนนอย่างปลอดภัยกันไม่ได้เป็นสีขาว ดำ อย่างทุกวันนี้ อยากรู้มันมีความเป็นมายังไง มาย้อนประวัติทางม้าลายกันเถอะ

เส้นสีขาว สลับสีดำของพื้น ลวดลายเหมือนตัวม้าลาย ที่เราเห็นอยู่ตามท้องถนน กลายเป็นเป็นสัญลักษณ์ทั่วโลกที่บอกให้คนข้ามถนนเมื่อปลอดภัยนั้นมีประวัติความเป็นมาที่คุณอาจจะยังไม่รู้ ก่อนจะมาเป็นสีขาว-ดำที่เราเห็นกัน มีการออกแบบและทดลองเพื่อสร้างสัญลักษณ์คนข้ามถนนมาหลายต่อหลายครั้ง ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 เลยทีเดียว ทางม้าลายเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้เป็นสีขาวกับดำอย่างที่เป็นในทุกวันนี้อีกด้วย จะเป็นยังไงนั้น มาดูกัน

ประวัติของทางม้าลาย

ย้อนกลับไปยังปี ค.ศ. 1951 ที่ทางม้าลายอันแรกของโลก ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ทางข้ามถนนอย่างเป็นทางการในเมือง Slough ประเทศอังกฤษ โดยช่วงปีนี้เป็นปีที่การใช้รถยนต์ส่วนตัวกำลังเป็นที่นิยมและอัตราการเกิดอุบัติเหตุรถชนคนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นที่น่าวิตก จึงต้องมีการตีเส้นสัญลักษณ์เพื่อให้คนข้ามถนน และหยุดรถขึ้นมา ในเวลาไม่ถึงยี่สิบปีให้หลัง ทางม้าลายแห่งแรกของโลกก็กลายมาเป็นจุดท่องเที่ยวโด่งดังอย่างไม่คาดฝัน เมื่อวงดนตรีร็อกแอนด์โรลระดับตำนานอย่าง The Beatles ใช้ทางม้าลายบนถนน Abbey เส้นนี้เป็นภาพหน้าปกอัลบั้มที่โด่งดังไปทั่วโลก

ทุกวันนี้เวลาใครไปเที่ยวอังกฤษ ก็จะต้องพากันไปถ่ายรูปเลียนแบบหน้าปกอัลบั้มของ The Beatles จนถนนแห่งนี้ได้กลายเป็นมรดกโลกและเป็นจุดท่องเที่ยวไฮไลท์หนึ่งของประเทศอังกฤษเลยทีเดียว

ทว่าก่อนที่จะมีทางม้าลาย Abbey Road นั้นได้มีการออกแบบและทดสอบมาก่อนแล้ว โดยตั้งแต่ปีค.ศ. 1930 สมัยนั้นทางข้าม ไม่ได้มีลักษณะเป็นการตีเส้นอย่างที่เราเห็น แต่เป็นการปักหมุดด้วยปุ่มเหล็กเล็กๆ บนเส้นถนน ให้สัญญาณคนขับรถ และใช้เสาติดตั้งด้านข้างบนทางเท้าเพื่อให้สัญญาณแก่คนข้าม เวลาผ่านไปเรื่อยๆ ทางข้ามก็ได้มีการพัฒนามากขึ้นด้วยการติดตั้งโคมไฟเพื่อให้สัญญาณชัดเจนขึ้น มาเป็นการทาสีบนพื้นถนนเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ โดยมีการทดลองในเรื่องของสีที่จะใช้ทาอยู่หลายสี ทั้งสี เหลือง-ฟ้า ขาว-แดง กระทั่งในปี 1949 ทางรัฐบาลประเทศอังกฤษ ได้ตัดสินใจใช้สี เหลือง-ฟ้า ในการทาสีทางข้ามถนน และทางข้ามสี เหลือง-ฟ้า กว่า 1,000 จุดก็ได้ถูกติดตั้งอย่างแพร่หลายไปทั่วทั้งประเทศอังกฤษ

สองปีให้หลัง ในปีค.ศ. 1951 สีของทางข้ามก็ได้เปลี่ยนไปเป็นสีดำและสีขาว เนื่องจากเป็นสีที่สังเกตเห็นได้ง่ายกว่าเมื่อผสานรวมกับวิธีในการให้สัญญาณด้วยเสาไฟเพิ่มความปลอดภัย แสงสัญญาณนั้นมีชื่อเรียกตามผู้เสนอแนวคิดว่า Belisha beacon ต่อมาได้พัฒนามาเป็นแสงไฟให้สัญญาณคนข้ามถนนนั่นเอง

ในช่วงยุคล่าอาณานิคมของประเทศอังกฤษ การใช้เส้นทางข้าม หรือ ทางม้าลาย ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ให้สัญญาณคนข้ามถนน และผู้ขับขี่ยานพาหนะ และไอเดียนี้ก็ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก จนกลายมาเป็นทางม้าลายที่ไม่ว่าคุณจะไปที่ไหนก็เห็นอยู่ทุกที่ และเป็นที่เข้าใจความหมายทั่วกัน

ผู้ขับขี่รถยนต์และยานพาหนะต่างๆ ต้องทำการจอดหลังเส้นทางม้าลาย เพราะหลายต่อหลายครั้งเราจะเห็นรถจอดล้ำเส้นบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แม้ค่าปรับจะบ้านเราจะน้อยมาก 500 บาทต่อกระทง แต่คุณก็ไม่ควรละเลยความปลอดภัยข้อนี้เพราะเมื่อคุณขับชนคนข้ามบนทางม้าลายจะถือเป็นความผิดของผู้ขับขี่เต็มๆ ดังนั้นคุณควรคำนึงถึงความปลอดภัย และขับรถด้วยการเคารพกฎหมายจราจร อย่าลืมเพิ่มความคุ้มครองด้วยประกันภัยรถยนต์นะครับ จะประกันชั้น 1 ชั้น 2+ ชั้น 3+ หรือ ชั้น 3 ก็ช่วยคุ้มครองให้คุณอุ่นใจ

รู้หรือไม่ว่า ทางม้าลาย ที่เราไว้ใช้ข้ามถนนอย่างปลอดภัยกันไม่ได้เป็นสีขาว ดำ อย่างทุกวันนี้ อยากรู้มันมีความเป็นมายังไง มาย้อนประวัติทางม้าลายกันเถอะ

เส้นสีขาว สลับสีดำของพื้น ลวดลายเหมือนตัวม้าลาย ที่เราเห็นอยู่ตามท้องถนน กลายเป็นเป็นสัญลักษณ์ทั่วโลกที่บอกให้คนข้ามถนนเมื่อปลอดภัยนั้นมีประวัติความเป็นมาที่คุณอาจจะยังไม่รู้ ก่อนจะมาเป็นสีขาว-ดำที่เราเห็นกัน มีการออกแบบและทดลองเพื่อสร้างสัญลักษณ์คนข้ามถนนมาหลายต่อหลายครั้ง ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 เลยทีเดียว ทางม้าลายเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้เป็นสีขาวกับดำอย่างที่เป็นในทุกวันนี้อีกด้วย จะเป็นยังไงนั้น มาดูกัน

ประวัติของทางม้าลาย

ย้อนกลับไปยังปี ค.ศ. 1951 ที่ทางม้าลายอันแรกของโลก ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ทางข้ามถนนอย่างเป็นทางการในเมือง Slough ประเทศอังกฤษ โดยช่วงปีนี้เป็นปีที่การใช้รถยนต์ส่วนตัวกำลังเป็นที่นิยมและอัตราการเกิดอุบัติเหตุรถชนคนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นที่น่าวิตก จึงต้องมีการตีเส้นสัญลักษณ์เพื่อให้คนข้ามถนน และหยุดรถขึ้นมา ในเวลาไม่ถึงยี่สิบปีให้หลัง ทางม้าลายแห่งแรกของโลกก็กลายมาเป็นจุดท่องเที่ยวโด่งดังอย่างไม่คาดฝัน เมื่อวงดนตรีร็อกแอนด์โรลระดับตำนานอย่าง The Beatles ใช้ทางม้าลายบนถนน Abbey เส้นนี้เป็นภาพหน้าปกอัลบั้มที่โด่งดังไปทั่วโลก

ทุกวันนี้เวลาใครไปเที่ยวอังกฤษ ก็จะต้องพากันไปถ่ายรูปเลียนแบบหน้าปกอัลบั้มของ The Beatles จนถนนแห่งนี้ได้กลายเป็นมรดกโลกและเป็นจุดท่องเที่ยวไฮไลท์หนึ่งของประเทศอังกฤษเลยทีเดียว

ทว่าก่อนที่จะมีทางม้าลาย Abbey Road นั้นได้มีการออกแบบและทดสอบมาก่อนแล้ว โดยตั้งแต่ปีค.ศ. 1930 สมัยนั้นทางข้าม ไม่ได้มีลักษณะเป็นการตีเส้นอย่างที่เราเห็น แต่เป็นการปักหมุดด้วยปุ่มเหล็กเล็กๆ บนเส้นถนน ให้สัญญาณคนขับรถ และใช้เสาติดตั้งด้านข้างบนทางเท้าเพื่อให้สัญญาณแก่คนข้าม เวลาผ่านไปเรื่อยๆ ทางข้ามก็ได้มีการพัฒนามากขึ้นด้วยการติดตั้งโคมไฟเพื่อให้สัญญาณชัดเจนขึ้น มาเป็นการทาสีบนพื้นถนนเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ โดยมีการทดลองในเรื่องของสีที่จะใช้ทาอยู่หลายสี ทั้งสี เหลือง-ฟ้า ขาว-แดง กระทั่งในปี 1949 ทางรัฐบาลประเทศอังกฤษ ได้ตัดสินใจใช้สี เหลือง-ฟ้า ในการทาสีทางข้ามถนน และทางข้ามสี เหลือง-ฟ้า กว่า 1,000 จุดก็ได้ถูกติดตั้งอย่างแพร่หลายไปทั่วทั้งประเทศอังกฤษ

สองปีให้หลัง ในปีค.ศ. 1951 สีของทางข้ามก็ได้เปลี่ยนไปเป็นสีดำและสีขาว เนื่องจากเป็นสีที่สังเกตเห็นได้ง่ายกว่าเมื่อผสานรวมกับวิธีในการให้สัญญาณด้วยเสาไฟเพิ่มความปลอดภัย แสงสัญญาณนั้นมีชื่อเรียกตามผู้เสนอแนวคิดว่า Belisha beacon ต่อมาได้พัฒนามาเป็นแสงไฟให้สัญญาณคนข้ามถนนนั่นเอง

ในช่วงยุคล่าอาณานิคมของประเทศอังกฤษ การใช้เส้นทางข้าม หรือ ทางม้าลาย ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ให้สัญญาณคนข้ามถนน และผู้ขับขี่ยานพาหนะ และไอเดียนี้ก็ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก จนกลายมาเป็นทางม้าลายที่ไม่ว่าคุณจะไปที่ไหนก็เห็นอยู่ทุกที่ และเป็นที่เข้าใจความหมายทั่วกัน

ผู้ขับขี่รถยนต์และยานพาหนะต่างๆ ต้องทำการจอดหลังเส้นทางม้าลาย เพราะหลายต่อหลายครั้งเราจะเห็นรถจอดล้ำเส้นบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แม้ค่าปรับจะบ้านเราจะน้อยมาก 500 บาทต่อกระทง แต่คุณก็ไม่ควรละเลยความปลอดภัยข้อนี้เพราะเมื่อคุณขับชนคนข้ามบนทางม้าลายจะถือเป็นความผิดของผู้ขับขี่เต็มๆ ดังนั้นคุณควรคำนึงถึงความปลอดภัย และขับรถด้วยการเคารพกฎหมายจราจร อย่าลืมเพิ่มความคุ้มครองด้วยประกันภัยรถยนต์นะครับ จะประกันชั้น 1 ชั้น 2+ ชั้น 3+ หรือ ชั้น 3 ก็ช่วยคุ้มครองให้คุณอุ่นใจ

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!