ธนาคารโลกถูกวิจารณ์หนัก กรณีส่งเสริมการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในลาว


บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้ถกกันเรื่องปัญหาการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในลาว ที่กระทบต่อวิถีชีวิตคนในพื้นที่ ซึ่งต้องอพยพจากจุดสร้างเขื่อนและสัตว์ป่ากับสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ ลาวยังสร้างเขื่อนไม่ได้ตามมาตรฐาน ทำให้คนที่อาศัยทางใต้ของเขื่อนเสี่ยงอันตราย

การถกกันเรื่องนี้โยงไปถึงเหตุสันเขื่อนดินของเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ“เซเปียน-เซน้ำน้อย” ทางใต้ของลาว ที่พังทลายเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นเหตุให้น้ำปริมาณมหาศาลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ทำให้คนลาวหลายพันคนไร้ที่อยู่ เเละตัวเลขอย่างเป็นทางการระบุว่ามีคนเสียชีวิตอย่างน้อย 40 คน แม้ว่าตัวเลขจริงน่าจะสูงกว่านั้นมาก

รัฐบาลลาวยอมรับว่าการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐานมีส่วนให้สันเขื่อนดินเเตก ซึ่งผู้เชื่ยวชาญคนหนึ่งที่ร่วมเสวนาเรื่องการสร้างเขื่อนของลาวเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ชมรมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยในกรุงเทพฯ ชี้ว่า เป็นความล้มเหลวที่เกิดจากการทุจริตเเละการจัดการที่ไร้ประสิทธิภาพภายในหน่วยงานเเละกรมกองที่ดูแลการสร้างเขื่อนผลิตกระเเสไฟฟ้าพลังน้ำของลาว

Bruce Shoemaker ผู้เชี่ยวชาญอเมริกันที่ศึกษาวิเคราะห์การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ของลาวเพื่อประเมินผลกระทบ รวมทั้งเขื่อนน้ำเทิน 2 (Nam Theun 2) หรือ NT2 ที่ก่อสร้างเมื่อราว 13 ปีที่แล้ว กล่าวว่า ธนาคารโลกที่ให้เงินกู้แก่ลาวในการสร้างเขื่อนเเห่งนี้ ได้สร้างความเชื่อผิดๆ โดยประชาสัมพันธ์ว่า เขื่อนน้ำเทิน 2 เป็นโครงการตัวอย่างของการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำที่ยั่งยืน

เขากล่าวว่า การประชาสัมพันธ์แนวนี้ของธนาคารโลกนี้ทำให้เกิดความนิยมกลับไปสร้างเขื่ิอน และมีภาคเอกชนเเห่เข้าไปลงทุนด้านนี้ในลาว

เขื่อนน้ำเทิน 2 แห่งนี้มีมูลค่าการก่อสร้าง 1 พัน 3 ร้อยล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งได้รับเงินทุนเพิ่มจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank) โดยเริ่มผลิตกระเเสไฟฟ้าในปี ค.ศ. 2010 หรือ 8 ปีที่แล้ว และส่งออกกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ร้อยละ 90 ให้กับประเทศไทย

แม้ว่าทีมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติที่ได้รับการว่าจ้างให้เฝ้าติดตามการดำเนินงานของเขื่อนน้ำเทิน 2 ได้รายงานอย่างต่อเนื่องถึงความบกพร่องของมาตรการต่างๆ ที่ตั้งค้นเพื่อนำเงินกำไรที่ได้ไปลดความยากจนเเละการอนุรักษ์ แต่ทางทางธนาคารโลกกลับเดินหน้าประชาสัมพันธ์โครงการเขื่อนน้ำเทิน 2 ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีและดำเนินการได้อย่างเหมาะสม

เขายกตัวอย่างปัญหาที่พบว่า ได้แก่ การลักลอบตัดไม้ในเขตอนุรักษ์ของเขื่อน โดยมีการลักลอบค้าไม้โรสวู้ดขบวนการใหญ่ และขยายถนนจากเส้นทางเดินเท้าลาดตระเวณของเจ้าหน้าที่ให้สะดวกขึ้นแก่การขนไม้เถื่อนออกจากพื้นที่อนุรักษ์

เขากล่าวว่า เเม้เเต่สมาชิกคนสำคัญของทีมผู้เชี่ยวชาญ ที่เคยสนับสนุนการสร้างเขื่อนน้ำเทิน 2 มาตั้งแต่ต้น ได้ออกมากล่าวในปี ค.ศ. 2014 ว่าผิดหวังอย่างมากกับโครงการนี้ เเละชี้ว่าการสร้างเขื่อนน้ำเทิน 2 เป็นความผิดพลาดมาตั้งเเต่ต้น

ในการสร้างเชื่อนแห่งนี้ หมู่บ้านคนชนเผ่าในท้องถิ่นราว 6,000 แห่งถูกบังคับให้ย้ายออกจากพื้นที่ไปอาศัยในจุดตั้งถิ่นฐานใหม่ ขณะที่มีประชาชนอีก 100,000 กว่าคนที่อาศัยบริเวณใต้น้ำจับปลาได้น้อยลงจากเดิมอย่างมากเเละยังเกิดปัญหาน้ำท่วมบ่อยขึ้น

Shoemaker เป็นผู้ร่วมเขียนหนังสื่อเรื่อง Dead in the Water: บทเรียนแก่ทั่วโลกจากโครงการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในลาวที่สนับสนุนโดยธนาคารโลก ตั้งคำถามว่า ทำไมธนาคารโลกจึงกลับไปประชาสัมพันธ์โครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำว่าเป็นทางออกที่ยั่งยืน ทั้งๆ ที่มีกระแสต่อต้านการสร้างเขื่อนมาตั้งแต่ยุค 1990

ด้านเปรมฤดี ดาวรุ่ง แห่ง Lao Dam Investment Monitor ซึ่งตั้งขึ้นหลังสันเขื่อนดินของเขื่อนเซเปี่ยน เซน้ำน้อยพังทลาย กล่าวว่า ลาวยังเดินหน้าสร้างเขื่อนต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เธอคิดว่าประชาชนต้องเตรียมตัวรับมือกับผลกระทบร้ายแรงที่จะตามมา

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้ถกกันเรื่องปัญหาการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในลาว ที่กระทบต่อวิถีชีวิตคนในพื้นที่ ซึ่งต้องอพยพจากจุดสร้างเขื่อนและสัตว์ป่ากับสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ ลาวยังสร้างเขื่อนไม่ได้ตามมาตรฐาน ทำให้คนที่อาศัยทางใต้ของเขื่อนเสี่ยงอันตราย

การถกกันเรื่องนี้โยงไปถึงเหตุสันเขื่อนดินของเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ“เซเปียน-เซน้ำน้อย” ทางใต้ของลาว ที่พังทลายเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นเหตุให้น้ำปริมาณมหาศาลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ทำให้คนลาวหลายพันคนไร้ที่อยู่ เเละตัวเลขอย่างเป็นทางการระบุว่ามีคนเสียชีวิตอย่างน้อย 40 คน แม้ว่าตัวเลขจริงน่าจะสูงกว่านั้นมาก

รัฐบาลลาวยอมรับว่าการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐานมีส่วนให้สันเขื่อนดินเเตก ซึ่งผู้เชื่ยวชาญคนหนึ่งที่ร่วมเสวนาเรื่องการสร้างเขื่อนของลาวเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ชมรมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยในกรุงเทพฯ ชี้ว่า เป็นความล้มเหลวที่เกิดจากการทุจริตเเละการจัดการที่ไร้ประสิทธิภาพภายในหน่วยงานเเละกรมกองที่ดูแลการสร้างเขื่อนผลิตกระเเสไฟฟ้าพลังน้ำของลาว

Bruce Shoemaker ผู้เชี่ยวชาญอเมริกันที่ศึกษาวิเคราะห์การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ของลาวเพื่อประเมินผลกระทบ รวมทั้งเขื่อนน้ำเทิน 2 (Nam Theun 2) หรือ NT2 ที่ก่อสร้างเมื่อราว 13 ปีที่แล้ว กล่าวว่า ธนาคารโลกที่ให้เงินกู้แก่ลาวในการสร้างเขื่อนเเห่งนี้ ได้สร้างความเชื่อผิดๆ โดยประชาสัมพันธ์ว่า เขื่อนน้ำเทิน 2 เป็นโครงการตัวอย่างของการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำที่ยั่งยืน

เขากล่าวว่า การประชาสัมพันธ์แนวนี้ของธนาคารโลกนี้ทำให้เกิดความนิยมกลับไปสร้างเขื่ิอน และมีภาคเอกชนเเห่เข้าไปลงทุนด้านนี้ในลาว

เขื่อนน้ำเทิน 2 แห่งนี้มีมูลค่าการก่อสร้าง 1 พัน 3 ร้อยล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งได้รับเงินทุนเพิ่มจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank) โดยเริ่มผลิตกระเเสไฟฟ้าในปี ค.ศ. 2010 หรือ 8 ปีที่แล้ว และส่งออกกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ร้อยละ 90 ให้กับประเทศไทย

แม้ว่าทีมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติที่ได้รับการว่าจ้างให้เฝ้าติดตามการดำเนินงานของเขื่อนน้ำเทิน 2 ได้รายงานอย่างต่อเนื่องถึงความบกพร่องของมาตรการต่างๆ ที่ตั้งค้นเพื่อนำเงินกำไรที่ได้ไปลดความยากจนเเละการอนุรักษ์ แต่ทางทางธนาคารโลกกลับเดินหน้าประชาสัมพันธ์โครงการเขื่อนน้ำเทิน 2 ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีและดำเนินการได้อย่างเหมาะสม

เขายกตัวอย่างปัญหาที่พบว่า ได้แก่ การลักลอบตัดไม้ในเขตอนุรักษ์ของเขื่อน โดยมีการลักลอบค้าไม้โรสวู้ดขบวนการใหญ่ และขยายถนนจากเส้นทางเดินเท้าลาดตระเวณของเจ้าหน้าที่ให้สะดวกขึ้นแก่การขนไม้เถื่อนออกจากพื้นที่อนุรักษ์

เขากล่าวว่า เเม้เเต่สมาชิกคนสำคัญของทีมผู้เชี่ยวชาญ ที่เคยสนับสนุนการสร้างเขื่อนน้ำเทิน 2 มาตั้งแต่ต้น ได้ออกมากล่าวในปี ค.ศ. 2014 ว่าผิดหวังอย่างมากกับโครงการนี้ เเละชี้ว่าการสร้างเขื่อนน้ำเทิน 2 เป็นความผิดพลาดมาตั้งเเต่ต้น

ในการสร้างเชื่อนแห่งนี้ หมู่บ้านคนชนเผ่าในท้องถิ่นราว 6,000 แห่งถูกบังคับให้ย้ายออกจากพื้นที่ไปอาศัยในจุดตั้งถิ่นฐานใหม่ ขณะที่มีประชาชนอีก 100,000 กว่าคนที่อาศัยบริเวณใต้น้ำจับปลาได้น้อยลงจากเดิมอย่างมากเเละยังเกิดปัญหาน้ำท่วมบ่อยขึ้น

Shoemaker เป็นผู้ร่วมเขียนหนังสื่อเรื่อง Dead in the Water: บทเรียนแก่ทั่วโลกจากโครงการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในลาวที่สนับสนุนโดยธนาคารโลก ตั้งคำถามว่า ทำไมธนาคารโลกจึงกลับไปประชาสัมพันธ์โครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำว่าเป็นทางออกที่ยั่งยืน ทั้งๆ ที่มีกระแสต่อต้านการสร้างเขื่อนมาตั้งแต่ยุค 1990

ด้านเปรมฤดี ดาวรุ่ง แห่ง Lao Dam Investment Monitor ซึ่งตั้งขึ้นหลังสันเขื่อนดินของเขื่อนเซเปี่ยน เซน้ำน้อยพังทลาย กล่าวว่า ลาวยังเดินหน้าสร้างเขื่อนต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เธอคิดว่าประชาชนต้องเตรียมตัวรับมือกับผลกระทบร้ายแรงที่จะตามมา

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!