สศอ. เผย MPI ไตรมาสที่ 1 ขยายตัว 0.1% ชี้สัญญาณฟื้นตัวเศรษฐกิจชัดขึ้น


สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ประจำเดือนมีนาคม 2560 ขยายตัวจากเดือนก่อน 12.13% ส่งผลให้ MPI ในไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ขยายตัวที่ 0.1% บ่งบอกถึงเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มเติบโตได้ดีตามความต้องการในตลาดโลก โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลบวก ได้แก่ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก น้ำมันปิโตรเลียม เนื้อไก่แช่แข็ง ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และน้ำตาล

นายวีรศักดิ์ ศุภประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ประจำเดือนมีนาคม ขยายตัวอย่างมากจากเดือนกุมภาพันธ์ถึง 12.13% แต่ลดลง 0.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน แม้ความผันผวนจากค่าเงินบาทที่อาจทำให้ผู้ประกอบการมีความเสี่ยงด้านต้นทุนสูงขึ้น แต่ในภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ขยายตัวที่ 0.1% แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลบวก ได้แก่ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ น้ำมันปิโตรเลียม เนื้อไก่แช่แข็ง ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และน้ำตาล

อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) มีการขยายตัว ได้แก่ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ขยายตัวเพิ่มขึ้น 9.01% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน จากเหล็กลวด ลวดเหล็กแรงดึงสูง เหล็กเส้นข้ออ้อย และท่อเหล็กกล้า ที่ได้รับคำสั่งซื้อเพื่อใช้ในงานโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของภาครัฐ และผลจากมาตรการตอบโต้การนำเข้า (AD) ของกระทรวงพาณิชย์ที่ลดปริมาณเหล็กนำเข้าราคาถูกได้ดีขึ้น ในขณะที่เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ่นรีดเย็น ได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาเหล็กยังอยู่ในระดับสูง

น้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัวเพิ่มขึ้น 7.41% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูปที่ผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลลบต่อดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ได้แก่ รถยนต์ ปรับตัวลดลง 11.12% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยมีสาเหตุจากการส่งออกรถยนต์ไปยังประเทศแถบตะวันออกกลางชะลอตัวลง จากปัญญาทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง

เครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ ปรับตัวลดลง 6.26% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยมีสาเหตุจากความต้องการใช้เครื่องยนต์เบนซินและดีเซลลดลงจากปีก่อน
อุตสาหกรรมสำคัญที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นใน 1/2560 และคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในไตรมาส 2/2560 ได้แก่

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาส 1/2560 การผลิตในภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.16 จากการขยายตัวของกลุ่ม Other IC เป็นหลัก ตามการขยายตัวของความต้องการสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ประจำเดือนมีนาคม 2560 ขยายตัวจากเดือนก่อน 12.13% ส่งผลให้ MPI ในไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ขยายตัวที่ 0.1% บ่งบอกถึงเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มเติบโตได้ดีตามความต้องการในตลาดโลก โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลบวก ได้แก่ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก น้ำมันปิโตรเลียม เนื้อไก่แช่แข็ง ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และน้ำตาล

นายวีรศักดิ์ ศุภประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ประจำเดือนมีนาคม ขยายตัวอย่างมากจากเดือนกุมภาพันธ์ถึง 12.13% แต่ลดลง 0.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน แม้ความผันผวนจากค่าเงินบาทที่อาจทำให้ผู้ประกอบการมีความเสี่ยงด้านต้นทุนสูงขึ้น แต่ในภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ขยายตัวที่ 0.1% แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลบวก ได้แก่ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ น้ำมันปิโตรเลียม เนื้อไก่แช่แข็ง ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และน้ำตาล

อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) มีการขยายตัว ได้แก่ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ขยายตัวเพิ่มขึ้น 9.01% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน จากเหล็กลวด ลวดเหล็กแรงดึงสูง เหล็กเส้นข้ออ้อย และท่อเหล็กกล้า ที่ได้รับคำสั่งซื้อเพื่อใช้ในงานโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของภาครัฐ และผลจากมาตรการตอบโต้การนำเข้า (AD) ของกระทรวงพาณิชย์ที่ลดปริมาณเหล็กนำเข้าราคาถูกได้ดีขึ้น ในขณะที่เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ่นรีดเย็น ได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาเหล็กยังอยู่ในระดับสูง

น้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัวเพิ่มขึ้น 7.41% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูปที่ผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลลบต่อดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ได้แก่ รถยนต์ ปรับตัวลดลง 11.12% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยมีสาเหตุจากการส่งออกรถยนต์ไปยังประเทศแถบตะวันออกกลางชะลอตัวลง จากปัญญาทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง

เครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ ปรับตัวลดลง 6.26% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยมีสาเหตุจากความต้องการใช้เครื่องยนต์เบนซินและดีเซลลดลงจากปีก่อน อุตสาหกรรมสำคัญที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นใน 1/2560 และคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในไตรมาส 2/2560 ได้แก่

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาส 1/2560 การผลิตในภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.16 จากการขยายตัวของกลุ่ม Other IC เป็นหลัก ตามการขยายตัวของความต้องการสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!