หยองห้วย – หอเจ้าฟ้ายองห้วยพม่า “ไม่คืน” ให้กับทายาทของเจ้าฟ้า


ได้รับข่าวแจ้งว่า รัฐบาลพม่าได้ตอบปฏิเสธอย่างเป็นทางการ “ไม่คืน” หอเจ้าฟ้าที่ยองห้วย ให้กับทายาทของเจ้าฟ้า โดยให้เหตุผลว่า หอเจ้าฟ้าได้ตกเป็นสมบัติของแผ่นดินแล้ว รัฐบาลท้องถิ่น (ฉาน เสตท) ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอาคารโบราณที่ต้องอนุรักษ์ และเกรงว่าหากคืนให้ทายาทซึ่งยังเหลืออยู่หลายท่าน อาจจะไม่สามารถดูแลได้และทายาท อาจตัดสินใจนำทรัพย์สินออกขายซึ่งล้วนเป็นวัตถุที่มีค่าทางประวัติศาสตร์

ทายาทคนที่เรียกร้องสิทธิ์คือ เจ้าเห-มา (Sao Heyma) ลูกที่เกิดจากชายาคนที่สี่ของเจ้าส่วยไตก์ มารดาของเธอ นางเมียะ วิน เสียชีวิตตั้งแต่เธอยังเล็ก มหาเทวีเจ้านางเฮือนคำ จึงรับเธอเป็นบุตรบุญธรรม ปัจจุบันเธอจึงเป็นทายาทคน เดียวที่ยังอาศัยอยู่ในพม่า ในขณะที่ทายาทคนอื่น ๆ หนีออกไปอยู่ต่างประเทศทั้งหมด

หอเจ้าฟ้ายองห้วย สร้างขึ้นระหว่างปี 1913-1926 โดยเจ้าฟ้า ท่านเซอร์ เจ้า หม่อง สร้างเสร็จท่านก็เสียชีวิตพอดี รัฐบาลอังกฤษเห็นว่าท่านไม่ได้แต่งตั้งทายาท จึงได้จัดประชุมสภาเจ้าฟ้ามีมติเลือก เจ้าส่วยไตก์ ซึ่งเป็นหลานชายขึ้นเป็นเจ้าฟ้า

หอเจ้าฟ้า เป็นอาคารสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้ ผู้ออกแบบคือ เจ้าฟ้าแห่งเมืองดอกไม้ (Mauk Mai) เจ้าคำเหลง ผู้ร่ำเรียนทางสถาปัตยกรรมจากอังกฤษ หอเจ้าฟ้าจึงเป็นการผสมผสานทั้งศิลปะ ไทใหญ่ พม่า และตะวันตก โดยตัวอาคารชั้นล่างก่ออิฐฉาบปูนแบบตะวันตก ส่วนชั้นที่สองเป็นอาคารไม้สักแบบไทใหญ่ และหลังคาท้องพระโรงเป็นหลังคาแบบฉัตรเจ็ดชั้นศิลปะพม่า จำลองมาจากพระราชวังมัณฑะเลย์ เพราะเซอร์ เจ้าหม่องนั้นเติบโตในราชสำนักของกษัตริย์ธีบอมินทร์ ในฐานะราชบุตรบุญธรรม เมื่อท่านได้เป็นเจ้าฟ้าเมืองยองห้วย จึงได้รับพระราชทานสิทธิ์ในการยกหลังคาฉัตรเจ็ดชั้นแบบราชสำนัก

ช่างฝีมือที่สร้างหอเจ้าฟ้า เป็นช่างพื้นเมืองชาวอินทาแห่งทะเลสาบอินเล ชื่อ อู โหง่ว (U Ngo) ซึ่งในภาษาพม่าแปลว่า “ร้องไห้” เจ้าฟ้าเห็นว่าชื่อไม่เป็นมงคลกลัวจะสร้างหอคำไม่เสร็จ จึงสั่งให้เปลี่ยนชื่อเป็น อู ทุน อ่อง ซึ่งแปลว่า “สำเร็จ” และหอก็เสร็จจริง ๆ แม้จะใช้เวลาสร้างเกือบสิบปีก็ตาม

เจ้าเห-มา ทั้งเสียใจและโกรธแค้นรัฐบาลมาก เธอต่อสู้เรื่องนี้มา 8 ปี โดยไม่ได้รับคำตอบใด ๆ จนกระทั่งเพื่อนร่วมชั้นของเธอที่ชื่อ อองซาน ซู จี ขึ้นรับตำแหน่ง ที่ปรึกษาแห่งรัฐ ได้จุดประกายความหวังจะได้รับความยุติธรรมคืนมา แต่สุดท้ายคำตอบที่ได้รับก็แสดงให้เห็นว่า เหตุผลจริง ๆ คือ ความมั่นคงทางการเมืองมากกว่าความชอบธรรม

ได้รับข่าวแจ้งว่า รัฐบาลพม่าได้ตอบปฏิเสธอย่างเป็นทางการ "ไม่คืน" หอเจ้าฟ้าที่ยองห้วย ให้กับทายาทของเจ้าฟ้า โดยให้เหตุผลว่า หอเจ้าฟ้าได้ตกเป็นสมบัติของแผ่นดินแล้ว รัฐบาลท้องถิ่น (ฉาน เสตท) ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอาคารโบราณที่ต้องอนุรักษ์ และเกรงว่าหากคืนให้ทายาทซึ่งยังเหลืออยู่หลายท่าน อาจจะไม่สามารถดูแลได้และทายาท อาจตัดสินใจนำทรัพย์สินออกขายซึ่งล้วนเป็นวัตถุที่มีค่าทางประวัติศาสตร์

ทายาทคนที่เรียกร้องสิทธิ์คือ เจ้าเห-มา (Sao Heyma) ลูกที่เกิดจากชายาคนที่สี่ของเจ้าส่วยไตก์ มารดาของเธอ นางเมียะ วิน เสียชีวิตตั้งแต่เธอยังเล็ก มหาเทวีเจ้านางเฮือนคำ จึงรับเธอเป็นบุตรบุญธรรม ปัจจุบันเธอจึงเป็นทายาทคน เดียวที่ยังอาศัยอยู่ในพม่า ในขณะที่ทายาทคนอื่น ๆ หนีออกไปอยู่ต่างประเทศทั้งหมด

หอเจ้าฟ้ายองห้วย สร้างขึ้นระหว่างปี 1913-1926 โดยเจ้าฟ้า ท่านเซอร์ เจ้า หม่อง สร้างเสร็จท่านก็เสียชีวิตพอดี รัฐบาลอังกฤษเห็นว่าท่านไม่ได้แต่งตั้งทายาท จึงได้จัดประชุมสภาเจ้าฟ้ามีมติเลือก เจ้าส่วยไตก์ ซึ่งเป็นหลานชายขึ้นเป็นเจ้าฟ้า

หอเจ้าฟ้า เป็นอาคารสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้ ผู้ออกแบบคือ เจ้าฟ้าแห่งเมืองดอกไม้ (Mauk Mai) เจ้าคำเหลง ผู้ร่ำเรียนทางสถาปัตยกรรมจากอังกฤษ หอเจ้าฟ้าจึงเป็นการผสมผสานทั้งศิลปะ ไทใหญ่ พม่า และตะวันตก โดยตัวอาคารชั้นล่างก่ออิฐฉาบปูนแบบตะวันตก ส่วนชั้นที่สองเป็นอาคารไม้สักแบบไทใหญ่ และหลังคาท้องพระโรงเป็นหลังคาแบบฉัตรเจ็ดชั้นศิลปะพม่า จำลองมาจากพระราชวังมัณฑะเลย์ เพราะเซอร์ เจ้าหม่องนั้นเติบโตในราชสำนักของกษัตริย์ธีบอมินทร์ ในฐานะราชบุตรบุญธรรม เมื่อท่านได้เป็นเจ้าฟ้าเมืองยองห้วย จึงได้รับพระราชทานสิทธิ์ในการยกหลังคาฉัตรเจ็ดชั้นแบบราชสำนัก

ช่างฝีมือที่สร้างหอเจ้าฟ้า เป็นช่างพื้นเมืองชาวอินทาแห่งทะเลสาบอินเล ชื่อ อู โหง่ว (U Ngo) ซึ่งในภาษาพม่าแปลว่า "ร้องไห้" เจ้าฟ้าเห็นว่าชื่อไม่เป็นมงคลกลัวจะสร้างหอคำไม่เสร็จ จึงสั่งให้เปลี่ยนชื่อเป็น อู ทุน อ่อง ซึ่งแปลว่า "สำเร็จ" และหอก็เสร็จจริง ๆ แม้จะใช้เวลาสร้างเกือบสิบปีก็ตาม

เจ้าเห-มา ทั้งเสียใจและโกรธแค้นรัฐบาลมาก เธอต่อสู้เรื่องนี้มา 8 ปี โดยไม่ได้รับคำตอบใด ๆ จนกระทั่งเพื่อนร่วมชั้นของเธอที่ชื่อ อองซาน ซู จี ขึ้นรับตำแหน่ง ที่ปรึกษาแห่งรัฐ ได้จุดประกายความหวังจะได้รับความยุติธรรมคืนมา แต่สุดท้ายคำตอบที่ได้รับก็แสดงให้เห็นว่า เหตุผลจริง ๆ คือ ความมั่นคงทางการเมืองมากกว่าความชอบธรรม

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!