(เกร็ดความรู้เรื่องไทยศึกษา) ท่านั่งของพระพุทธปฏิมา


การสร้างรูปปฏิมากรรมจะต้องพร้อมด้วยองค์ประกอบที่เป็นมงคลทุกประการ ท่านั่งหรือท่าแสดงปางต่าง ๆ ล้วนมีรากฐานมาจากอิริยาบถตามธรรมชาติทั้งสิ้น ทุกท่าจะมีคำว่า สนะ ซึ่งมาจากคำว่า อาสนะ ต่อท้ายอยู่ ดังนี้

1. วีราสนะ (Virasana) นั่งขัดสมาธิเพชร คือ การนั่งไขว้ขาและหงายฝ่าเท้าขึ้นทั้งสองข้าง บางแห่งเรียกว่า วัชรอาสน์ เป็นท่านั่งที่แสดงความกล้าหาญ มีแบบอย่างมาจากการนั่งของโยคีเพื่อทำสมาธิ พระพุทธองค์ได้ประทับในท่านี้เป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่อเสวยจังหันแล้ว

2. โยคาสนะ (Yogasana) นั่งขัดสมาธิราบ คือ การนั่งขาขวาทับขาซ้าย เป็นท่านั่งที่แสดงความสำรวมอิริยาบถ พระพุทธองค์ประทับในท่านี้ในการแสดงพระธรรมเทศนา

3. สุขาสนะ หรือ ลาลิตะสนะ (Sukhasana or Lalitasana) นั่งงอเขาซ้ายขึ้นพาดตรงหน้าตัก ส่วนเท้าขวาห้อยลง วางเท้าหันเฉียงหรือตะแคง เห็นส่วนข้างเท้าเล็กน้อย เพื่อดันลำตัวให้ตั้งตรงเป็นสง่า เป็นท่านั่งของประติมากรรมพระโพธิสัตว์หรือเทวรูปมากกว่าพระพุทธรูป เพราะเป็นท่านั่งแสดงอำนาจทางพระเดชมากกว่าพระคุณ

4. มหาราชาลีลาสนะ (Maharajalilasana) นั่งยกเข่าาขวาตั้งขึ้น ข้างซ้ายงอทับใต้ที่นั่ง หรือวางพาดตรงหน้าตัก เป็นท่านั่งของผู้สูงศักดิ์ เช่น พระราชา มีปรากฏในพระพุทธรูปธยานิพุทธ แต่มักใช้กับประติมากรรมพระโพธิสัตว์หรือเทวรูปมากกว่าพระพุทธรูป

5. ประรัมพปาทาสนะ (Prarambhbadasana) นั่งห้อยเท้าทั้งสองลง แยกเข่าออกจากกันเล็กน้อย ส่วนข้อเท้าวางชิดกันหรือห่างกันเล็กน้อย เป็นท่านั่งที่แสดงถึงความเป็นสิริมงคลแก่ปริมณฑลที่ประทับ

(จากหนังสือ ศิลปกรรมไทย: พระพุทธปฏิมา พระบรมมหาราชวัง วัด เรือนไทยภาคกลาง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2541)

ภาพ – หลวงพ่อพระคันธารราฐ วัดหน้าพระเมรุ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

Cr. – ‎วรรธคม อินคำปัน

การสร้างรูปปฏิมากรรมจะต้องพร้อมด้วยองค์ประกอบที่เป็นมงคลทุกประการ ท่านั่งหรือท่าแสดงปางต่าง ๆ ล้วนมีรากฐานมาจากอิริยาบถตามธรรมชาติทั้งสิ้น ทุกท่าจะมีคำว่า สนะ ซึ่งมาจากคำว่า อาสนะ ต่อท้ายอยู่ ดังนี้

1. วีราสนะ (Virasana) นั่งขัดสมาธิเพชร คือ การนั่งไขว้ขาและหงายฝ่าเท้าขึ้นทั้งสองข้าง บางแห่งเรียกว่า วัชรอาสน์ เป็นท่านั่งที่แสดงความกล้าหาญ มีแบบอย่างมาจากการนั่งของโยคีเพื่อทำสมาธิ พระพุทธองค์ได้ประทับในท่านี้เป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่อเสวยจังหันแล้ว

2. โยคาสนะ (Yogasana) นั่งขัดสมาธิราบ คือ การนั่งขาขวาทับขาซ้าย เป็นท่านั่งที่แสดงความสำรวมอิริยาบถ พระพุทธองค์ประทับในท่านี้ในการแสดงพระธรรมเทศนา

3. สุขาสนะ หรือ ลาลิตะสนะ (Sukhasana or Lalitasana) นั่งงอเขาซ้ายขึ้นพาดตรงหน้าตัก ส่วนเท้าขวาห้อยลง วางเท้าหันเฉียงหรือตะแคง เห็นส่วนข้างเท้าเล็กน้อย เพื่อดันลำตัวให้ตั้งตรงเป็นสง่า เป็นท่านั่งของประติมากรรมพระโพธิสัตว์หรือเทวรูปมากกว่าพระพุทธรูป เพราะเป็นท่านั่งแสดงอำนาจทางพระเดชมากกว่าพระคุณ

4. มหาราชาลีลาสนะ (Maharajalilasana) นั่งยกเข่าาขวาตั้งขึ้น ข้างซ้ายงอทับใต้ที่นั่ง หรือวางพาดตรงหน้าตัก เป็นท่านั่งของผู้สูงศักดิ์ เช่น พระราชา มีปรากฏในพระพุทธรูปธยานิพุทธ แต่มักใช้กับประติมากรรมพระโพธิสัตว์หรือเทวรูปมากกว่าพระพุทธรูป

5. ประรัมพปาทาสนะ (Prarambhbadasana) นั่งห้อยเท้าทั้งสองลง แยกเข่าออกจากกันเล็กน้อย ส่วนข้อเท้าวางชิดกันหรือห่างกันเล็กน้อย เป็นท่านั่งที่แสดงถึงความเป็นสิริมงคลแก่ปริมณฑลที่ประทับ

(จากหนังสือ ศิลปกรรมไทย: พระพุทธปฏิมา พระบรมมหาราชวัง วัด เรือนไทยภาคกลาง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2541)

ภาพ - หลวงพ่อพระคันธารราฐ วัดหน้าพระเมรุ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

Cr. - ‎วรรธคม อินคำปัน

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!