เปิดผลการศึกษาผลกระทบของการกำหนดเพดานดอกเบี้ยต่อการเข้าถึงบริการทางการเงินของ EPS PEAKS และ World Bank Group


ดอกเบี้ย คือ เงินตอบแทนที่ได้เพิ่มขึ้นจากการออมหรือการลงทุน หรือเป็นเงินตอบแทนที่ผู้ให้กู้ได้รับจากผู้ขอกู้ จ่ายเงินตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ นอกเหนือจากเงินต้นที่กู้มา หรือที่เรียกว่าดอกเบี้ยเงินกู้จากการใช้บริการสินเชื่อ ซึ่งขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ได้ออกร่างประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถแทรกเตอร์ และเครื่องจักรกลการเกษตรเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยหนึ่งในร่างประกาศดังกล่าวได้มีประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ไม่เกินร้อยละ 15

EPS-PEAKS หรือ Economic and Private Sector Professional Evidence and Applied Knowledge Services ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรที่ให้หลักฐานทางวิชาชีพด้านเศรษฐศาสตร์และภาคเอกชน รวมถึงบริการความรู้ประยุกต์แก่กรมพัฒนาระหว่างประเทศ หรือ DfID ในสหราชอาณาจักร ได้อธิบายองค์ประกอบของอัตราดอกเบี้ยในการศึกษาเรื่อง “การกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยและผลกระทบต่อการเข้าถึงบริการทางการเงิน” (Interest rate caps and their impact on financial inclusion) โดย โฮเวิร์ด มิลเลอร์ ซึ่งเผยแพร่เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมาว่าสิ่งที่เป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยมาจาก 4 ปัจจัยหลัก คือ

1. ต้นทุนของเงินทุน (Cost of Fund) คือ จำนวนเงินที่สถาบันการเงิน หรือผู้ให้บริการทางการเงิน ต้องจ่ายเพื่อกู้ยืมเงินสำหรับนำมาใช้ในการให้บริการเงินทางการเงิน

2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Overheads) ซึ่งแบ่งได้เป็นต้นทุนหลัก ๆ สามประการ คือ ค่าใช้จ่ายในการขยายธุรกิจหรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ค่าใช้จ่ายในการประมวลข้อมูลเครดิตและการประเมินการปล่อยสินเชื่อ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการบริหารสำนักงานและสาขา(รวมทั้งพนักงาน)

3. หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) เป็นต้นทุนในส่วนของค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งผู้ให้กู้ต้องรับภาระหนี้สูญที่ต้องตัดจำหน่าย

4. กำไรของผู้ประกอบการ (Profit) คือ ส่วนที่เป็นกำไรของผู้ประกอบการให้บริการสินเชื่อ ซึ่งมีสัดส่วนแตกต่างกันไปในตามโครงสร้างการดำเนินธุรกิจของแต่ละสถาบัน

ในการศึกษาฯ ได้ระบุถึงเหตุผลของการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยโดยภาครัฐว่ามาจากความต้องการที่จะสนับสนุนเศรษฐกิจในบางอุตสาหกรรม หรือสนับสนุนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นการเฉพาะ โดยที่รัฐพิจารณาแล้วพบความบกพร่องในการดำเนินการของอุตสาหกรรมนั้น ๆ หรือรัฐต้องการควบคุมการกำหนดอัตราดอกเบี้ยแทนการถูกกำหนดโดยกลไกของตลาด ตัวอย่างเช่น การให้เงินกู้ยืมแก่ผู้ประกอบการภาคเกษตรกรรม เพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในบังคลาเทศ และการให้สินเชื่อแก่ SMEs ที่มีข้อจำกัดด้านการเข้าถึงสินเชื่อในแซมเบีย นอกจากนี้ ยังมักมีข้อโต้แย้งว่าการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยมาจากสมมุติฐานที่ว่าสถาบันการเงินมีกำไรมากเกินไปโดยเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไปกับลูกค้า ซึ่งอีกข้อโต้แย้งคืออัตราดอกเบี้ยที่สูงและไม่เหมาะสมทำให้ตลาดขาดการแข่งขันอย่างเสรี การแทรกแซงของรัฐมีความจำเป็นเพื่อปกป้องกลุ่มลูกค้าที่มีความเปราะบางต่อแนวทางการปฏิบัติในการกู้ยืมที่ไม่เป็นธรรมหรือเอาเปรียบผู้บริโภค ข้อโต้แย้งตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าความต้องการสินเชื่อที่สูงมากจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งถูกกำหนดในตลาด (price inelastic) ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าความไม่สมบูรณ์ของตลาดนั้นเป็นผลมาจากความไม่สมดุลหรือความไม่เพียงพอของข้อมูลลูกค้า และการที่ผู้ให้กู้ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างผู้กู้ที่มีศักยภาพดีและผู้กู้ที่มีความเสี่ยงได้ ทำให้การปล่อยสินเชื่อธนาคารหรือสถาบันการเงินรายย่อยไม่สามารถระบุศักยภาพดีหรือความเสี่ยงของลูกค้าในการชำระคืนได้อย่างชัดเจน

การกำหนดเพดานดอกเบี้ยมีผลกระทบทั้งกับอุปทาน (ปริมาณการปล่อยกู้) และอุปสงค์ (ความต้องการในการกู้เงิน) กล่าวคือ ด้านอุปทาน (Supply Side) การกำหนดเพดานดอกเบี้ยเป็นการบิดเบือนอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงซึ่งสะท้อนต้นทุนการปล่อยสินเชื่อของตลาด และจำกัดการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของกลุ่มลูกค้าตลาดล่างหรือกลุ่มลูกค้ารายได้น้อยและผู้ที่เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก และการจำกัดเพดานดอกเบี้ยมีผลต่อการจำกัดการลงทุนและการขยายฐานการปล่อยกู้ของสถาบัน MFIs ซึ่งโดยปกติสถาบันเหล่านี้จะใช้รายได้ในส่วนที่เป็นกำไรจากดอกเบี้ยเพื่อปล่อยสินเชื่อต่อไปยังตลาดใหม่ ๆ หรือพื้นที่ใหม่ ๆ โดยอาจมีผลกระทบต่อการหดตัวของสถาบันการเงิน การจำกัดจำนวนของผู้ประกอบการปล่อยสินเชื่อรายใหม่ ผลักดันให้ผู้ประกอบการเหล่านั้นดำเนินการปล่อยเงินกู้นอกระบบแทนเพื่อหลีกเลี่ยงการควบคุมของรัฐ และเป็นผลให้เกิดการชะลอการขยายตัวของธุรกิจรายย่อยซึ่งมีข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อ นอกจากนี้ ยังพบว่าการกำหนดเพดานดอกเบี้ยที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในท้องตลาดสูงขึ้น โดยผู้ต้องการสินเชื่อจะหันไปใช้บริการจากผู้ให้กู้เงินนอกระบบแทน

ด้านอุปสงค์ หรือ ความต้องการในการกู้เงิน (Demand Side) ข้อโต้แย้งสำหรับการกำหนดเพดานดอกเบี้ยที่ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า ความต้องการสินเชื่อจะไม่เปลี่ยนตามอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่สูงขึ้น (price inelastic) สมมุติฐานในทางกลับกัน หากอุปสงค์หรือความต้องการสินเชื่อ/เงินกู้ในตลาดมีความอ่อนไหวมากต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้การขึ้นดอกเบี้ยเพียงเล็กน้อยก็ทำให้ลูกค้าลดความต้องการกู้เงินอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่มีเหตุผลให้รัฐเข้ามาแทรกแซงตลาด จากการสำรวจในแอฟริกาใต้ของผู้มีรายได้น้อยและมีความอ่อนไหวต่อการปรับอัตราดอกเบี้ยพบว่า หากมีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นของผู้ให้กู้แล้วความต้องการเงินกู้จะลดลงอย่างมาก แสดงให้เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแม้เพียงเล็กน้อยจะทำให้ความต้องการเงินกู้ลดลงอย่างมาก ดังนั้นถ้าผู้มีรายได้น้อยตอบสนองหรืออ่อนไหวต่อความเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แสดงให้เห็นว่าผู้ให้กู้ดอกเบี้ยสูงไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และรัฐก็ไม่มีความจำเป็นต้องเข้ามากำหนดเพดานดอกเบี้ย

การศึกษาฯ ได้ให้แนวทางในการลดอัตราดอกเบี้ย โดยแนะให้รัฐปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยถูกกำหนดโดยกลไกการแข่งขันด้านตลาดเสรี ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดให้ผู้ประกอบการมีการแข่งกันด้านการให้บริการและมีการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการบริหารต้นทุนในการดำเนินการ และควรสนับสนุนให้มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดเพื่อเพิ่มการแข่งขัน โดยจะนำมาซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการด้านสินเชื่อหรือสถาบันการเงินที่มีมีประสบการณ์และความชำนาญด้านการบริหารจะสามารถควบคุมต้นทุนได้ดีขึ้นและประเมินสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ รัฐสามารถช่วยผลักดันอัตราดอกเบี้ยลดลงได้ด้วยการส่งเสริมความโปร่งใสด้านข้อมูลและการคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน ด้วยการให้ความรู้ทางการเงินแก่ผู้กู้ เพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ถูกต้องหรือการเอาเปรียบผู้บริโภค การกำกับให้สถาบันการเงินและการควบคุมให้มีความโปร่งใสในแนวทางการให้กู้ยืม รวมทั้งเผยแพร่และโฆษณาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารคู่แข่งเพื่อเพิ่มการแข่งขัน

นอกจากนี้ เอกสารการทำงานวิจัยเชิงนโยบาย หรือ Policy Research Working Paper ของ เครือธนาคารโลก หรือ World Bank Group เกี่ยวกับทฤษฎีและการปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดเพดานดอกเบี้ย เมื่อเดือนเมษายน 2561 ได้แนะทางเลือกของการกำหนดเพดานดอกเบี้ย เนื่องจากผลกระทบในทางลบของการกำหนดเพดานดอกเบี้ยที่มีมามากจนควรพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ แทนการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ย ดังนี้

หากเป้าหมายของนโยบายที่วางแผนไว้คือการลดต้นทุนโดยรวมของสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจหรือต้นทุนในส่วนอื่น ๆ แนวทางแก้ไขต่าง ๆ ควรขึ้นอยู่กับต้นเหตุของการบิดเบือนที่ก่อให้เกิดอัตราดอกเบี้ยซึ่งสูงเกินไป เช่น การขาดการแข่งขัน การรับรู้ความเสี่ยงในมุมมองของผู้ให้บริการสินเชื่อหรือเงินกู้ ต้นทุนค่าดำเนินการ หรือ การพิจารณาด้านเศรษฐกิจมหภาค ด้วยเหตุนี้ กลไกการตรวจสอบเครดิตที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการให้ข้อมูลที่มีการจำแนก (disaggregated data) ในกลุ่มผู้กู้ที่ยังไม่ได้รับบริการทางการเงินและชี้ชัดถึงการให้ข้อมูลที่บิดเบือน

การขาดการแข่งขัน (กำไรมากเกิน): หากธนาคารและสถาบันไมโครไฟแนนซ์ (MFIs) ต่าง ๆ มีอำนาจอยู่เหนือตลาด ทำให้ได้รับผลกำไรมากจากการกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูง ๆ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงนั้นสามารถลดลงได้โดยการส่งเสริมให้มีการแข่งขันในภาคการเงิน โดยการแข่งขันระหว่างสถาบันการเงินจะผลักดันให้มีการแข่งขันด้านการเสนออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ซึ่งจะเป็นผลให้มีการลดอัตราดอกเบี้ยลง นอกจากนี้การแข่งขันในตลาดจะช่วยลดกำไรและ/หรือลดต้นทุนค่าดำเนินงานของสถาบันการเงิน โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพในการประกอบการ (จากข้อเขียนของ Miller, ปีค.ศ. 2013) จากการวิเคราะห์ของ Helms and Reille ( ค.ศ. 2004) แสดงให้เห็นว่าการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลงในโบลิเวีย บอสเนีย กัมพูชา และนิการากัว การจำกัดการแข่งขันในภาคการเงินไม่จำเป็นต้องเกิดจากพฤติกรรมการสมรู้ร่วมคิดหรือการฮั้วกันของธนาคารที่มีอยู่ แต่มักเป็นผลมาจากความอ่อนแอของโครงสร้างเศรษฐกิจและกรอบของกฎหมายที่หลีกเลี่ยงการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ประกอบกับการที่ธนาคารในระบบเศรษฐกิจนั้น ๆ มีความอ่อนแอและสมควรต้องเลิกกิจการกลับได้รับเงินอุดหนุน จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ใหญ่เกินกว่าที่จะล้มได้” (“too-big-to-fail”) หากเป็นกรณีนี้ การเสริมสร้างความสามารถในการกำกับดูแลและควบคุมจากกฎระเบียบจะสามารถช่วยบรรเทาข้อบกพร่องต่าง ๆ และลดอัตราดอกเบี้ยโดยการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในตลาด

ความเสี่ยง (การรับรู้ความเสี่ยง): หากสาเหตุหลักที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงเกิดจากความไม่เพียงพอของข้อมูลด้านเครดิตของลูกค้า ซึ่งส่งผลให้คิดอัตราดอกเบี้ยสูงตามความเสี่ยงที่คาดว่าสูง จึงควรเน้นที่การแก้ไขความไม่เพียงพอด้านข้อมูลเครดิตของลูกค้า การส่งเสริมเครดิตบูโรอาจเป็นแนวทางของนโยบายที่มีประโยชน์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลทางการเงินซึ่งมีรายละเอียดของผู้กู้มากขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงในมุมของผู้ให้บริการสินเชื่อหรือเงินกู้ และลดค่าใช้จ่ายในการคัดกรองข้อมูลสินเชื่อของธนาคาร (จากการวิเคราะห์ของ Maimbo and Gallegos, 2014 สำหรับประเทศที่ไม่มีระบบบัตรประจำตัวประชาชนที่ครอบคลุม การส่งเสริมวิธีการตรวจสอบตัวตนของผู้กู้ที่เชื่อถือได้ซึ่งคุ้มกับค่าใช้จ่ายก็เป็นมาตรการสำคัญในการลดปัญหาความไม่เพียงพอของข้อมูล

ความเสี่ยงสามารถลดลงได้ด้วยมาตรการการเรียกคืนเงินจากลูกหนี้หรือการรับชำระคืนหนี้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงมีขั้นตอนการเรียกร้องค่าเสียหายจากวงเงินกู้ขนาดเล็ก การสรุปขั้นตอนในการระงับข้อพิพาทกับลูกหนี้ ที่ทำให้ธนาคารจำกัดความเสียหายที่เกิดจากการผิดนัดของผู้กู้ (Beck and Fuchs, 2004)

ต้นทุนค่าดำเนินการ: หากอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกิดจากต้นทุนการบริหารทั่วไปที่สูง การใช้มาตรการ/นโยบายบางอย่างที่กล่าวถึงข้างต้นสามารถช่วยลดต้นทุนการขอสินเชื่อได้ เช่น เครดิตบูโรและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้ที่เชื่อถือได้ซึ่งออกโดยรัฐบาล มาตรการส่งเสริมให้มีช่องทางการจัดส่งข้อมูลเครดิต เช่น ข้อมูลจากเครือข่ายตัวแทน และการส่งเสริมระบบดิจิทัลในการให้บริการทางการเงินโดยทั่วไป จะสามารถช่วยลดต้นทุน

หากนโยบายมีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องผู้บริโภคจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก แนวทางแก้ไขควรเน้นที่การส่งเสริมความรู้ทางด้านการเงินของผู้บริโภคและการปกป้องผู้บริโภคเป็นหลัก ความรู้ทางด้านการเงินช่วยให้ผู้กู้สามารถเข้าใจและรู้ทันเงื่อนไขการกู้ยืมที่แสวงหาประโยชน์จากผู้ให้กู้ได้ง่ายขึ้น และสามารถช่วยปกป้องผู้กู้จากการให้กู้ยืมที่เอาเปรียบผู้กู้ อีกแนวทางในการปกป้องผู้กู้จากดอกเบี้ยที่สูงมากคือการเพิ่มความโปร่งใส ด้วยการให้สถาบันการเงินเปิดเผยอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขในการให้กู้รวมทั้งป้องกันการใช้ “ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่แฝงอยู่” รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันและลดแรงกดดันต่ออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Maimbo และ Gallegos, 2014) การคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินสามารถดำเนินการเพิ่มเติมได้ด้วยการให้คำปรึกษาด้านการกู้ยืม

แม้ว่านโยบายที่อธิบายมานี้จะจัดการกับต้นเหตุของการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ย แต่ในการดำเนินการยังคงต้องใช้เวลาและผลจากการดำเนินการจะเริ่มเห็นได้ในช่วงระยะกลางหลังมีการดำเนินการไปแล้ว

นอกจากนี้ เอกสารที่เผยแพร่จาก Central Bank of Kenya เรื่อง The Impact of Interest Rate Capping on the Kenyan Economy – March 2018 แสดงถึงรายงานผลกระทบเชิงลบซึ่งมีแนวโน้มที่จะแย่ลงตามกาลเวลา สำหรับประเทศที่มีกฏหมายกำหนดเพดานดอกเบี้ยดังรายละเอียดต่อไปนี้:

• การถอนตัวของธนาคารจากการให้บริการกลุ่มลูกค้ายากจนหรือผู้กู้เฉพาะกลุ่ม เช่น ผู้กู้รายย่อย เนื่องมาจากการบริหารต้นทุนสินเชื่อที่สูงขึ้น – เห็นได้ชัดในประเทศ WEAMU (West African Economic and Monetary Union) ได้แก่ เบนิน บูร์กินาฟาโซ โกตดิวัวร์ กินี-บิสเซา มาลี ไนเจอร์ เซเนกัล และโตโก และกลุ่มประเทศ โบลิเวีย โคลัมเบีย สาธารณรัฐโดมินิกัน เอกวาดอร์ เฮติ นิการากัว เปรู โปแลนด์ และแซมเบีย

• การเพิ่มขึ้นของขนาดสินเชื่อโดยเฉลี่ย แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อที่ต่ำกว่าสำหรับผู้กู้รายเล็ก ในขณะที่วงเงินสินเชื่อก้อนใหญ่พร้อมให้กู้แก่บริษัทที่มีขนาดใหญ่มากกว่า – เห็นได้ชัดในโบลิเวีย เอกวาดอร์ แอฟริกาใต้ และแซมเบีย

• ลดความโปร่งใสในการดำเนินการ – มีการปรับเพิ่มของต้นทุนรวมของเงินกู้ ผ่านค่าธรรมเนียมและค่าคอมมิชชั่น – พบมากในอาร์เมเนีย, นิการากัว, แอฟริกาใต้และแซมเบีย

• ลดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์สำหรับผู้มีรายได้น้อย และผู้กู้ระดับครัวเรือน- เห็นในฝรั่งเศสและเยอรมนี

• ลดการแข่งขันด้านการธนาคาร – พบในประเทศอิตาลี.

• มีการเพิ่มขึ้นของอัตราการปล่อยกู้นอกระบบ – เห็นได้ชัดในญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา

รัฐสภาเคนยาได้ออกกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอัตราดอกเบี้ย โดยมีเป้าหมายเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมในวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2016 และได้ยกเลิกมาตรการดังกล่าวในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2017 เนื่องจากนโยบายดังกล่าวทำให้เกิดการจำกัดการปล่อยสินเชื่ออย่างมีนัยสำคัญ (โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทางรัฐสภาต้องการให้ได้รับสินเชื่อหรือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เช่น บุคคลธรรมดาและภาคครัวเรือน ซึ่งแทนที่จะได้รับสินเชื่อเพิ่มกลับกลายเป็นกลุ่มเดียวที่ได้รับสินเชื่อลดลงถึง 24% ในช่วงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2016 – มิถุนายน ค.ศ.2017

ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของภาคประชาชนและภาคธุรกิจในวงกว้างดังแสดงให้เห็นในแผนภูมิด้านล่าง

ที่มาข้อมูล :

• “การกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยและผลกระทบต่อการเข้าถึงบริการทางการเงิน” (Interest rate caps and their impact on financial inclusion) โดย Howard Miller จากลิงค์https://assets.publishing.service.gov.uk/media/57a08a0de5274a31e00003d0/Interest_rate_caps_and_their_impact_on_financial_inclusion.pdf

• เอกสารการทำงานวิจัยเชิงนโนบาย หรือ Policy Research Working Paper 8398 (WPS 8398) ของ กลุ่มธนาคารโลก หรือ World Bank Group เกี่ยวกับทฤษฎีและการปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดเพดานดอกเบี้ยเมื่อเดือนเมษายน 2561 (“Interest Rate Caps The Theory and The Practice”: by Aurora Ferrari, Oliver Masetti and Jiemin Ren) จากลิงค์

https://assets.publishing.service.gov.uk/media/57a08a0de5274a31e00003d0/Interest_rate_caps_and_their_impact_on_financial_inclusion.pdf

• “ผลกระทบต่อเศรษฐกิจเคยาจากการควมคุมอัตราดอกเบี้ย – มีนาคม ค.ศ. 2018” (The Impact of Interest Rate Capping on the Kenyan Economy – March 2018) จากลิงค์

https://www.centralbank.go.ke/wp-content/uploads/2018/03/Interest-Rate-Caps_-March-2018final.pdf

นายประพล พรประภา กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK ผู้ให้บริการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์รายใหญ่ในประเทศไทย ให้ความเห็นเกี่ยวกับการกำหนดเพดานดอกเบี้ย กรณีร่างประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถแทรกเตอร์ และเครื่องจักรกลการเกษตรเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาว่า “ดีที่สุดคือปล่อยให้มีการแข่งขันอย่างเสรี หากจำเป็นต้องกำหนดเพดานดอกเบี้ย ควรกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่สะท้อนต้นทุนที่ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการได้อย่างมีกำไรพอสมควร (Normal profit) เพื่อผู้ประกอบการจะได้มีทุนในการปล่อยเงินกู้ให้ผู้บริโภครายย่อยที่มีรายได้น้อยเเละมีความเสี่ยงสูง ทั้งยังสามารถขยายการให้บริการให้ครอบคลุมทั้งในด้านพื้นที่ เเละด้านการให้บริการกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงได้ในทุกกลุ่ม ทำให้มีเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจของประเทศ มีการจ้างงาน ที่สำคัญคือเมื่อมีการให้บริการสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคที่มีความเสี่ยงสูง เเละมีข้อมูลทางด้านการเงินน้อย ก็จะเริ่มมีประวัติข้อมูลด้านการเงิน/ข้อมูลเครดิต และการชำระเงินเพิ่มขึ้น จนสามารถยกระดับเครดิตและได้รับวงเงินกู้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งได้รับดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลงเนื่องจากผู้ให้กู้จะสามารถรับรู้ข้อมูลเครดิตและประวัติการชำระเงินที่สมบูรณ์ขึ้น ส่งเสริมให้ผู้บริโภครายนั้น ๆ ยกระดับเครดิตไปสู่กลุ่มผู้มีความเสี่ยงต่ำลง รวมทั้งได้ขยับเครดิตโปรไฟล์ของตนสูง/ดีขึ้นไปเรื่อย ผู้กู้ก็จะได้วงเงินที่มีจำนวนมากขึ้น พร้อมอัตราดอกเบี้ยดีขึ้นเรื่อย ๆ”

เกี่ยวกับ บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน)

บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์รายใหญ่ของประเทศ ปัจจุบันมีพนักงานกว่า 1,800 คน มีสาขาบริการรวม 75 สาขา มีบริษัทลูกในประเทศ 3 บริษัท และต่างประเทศ 3 บริษัท ในกัมพูชา ลาว เมียนมา ให้บริการลูกค้าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ทั้งในและนอกประเทศ โดยมีลูกค้าประมาณ 300,000 ราย

ดอกเบี้ย คือ เงินตอบแทนที่ได้เพิ่มขึ้นจากการออมหรือการลงทุน หรือเป็นเงินตอบแทนที่ผู้ให้กู้ได้รับจากผู้ขอกู้ จ่ายเงินตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ นอกเหนือจากเงินต้นที่กู้มา หรือที่เรียกว่าดอกเบี้ยเงินกู้จากการใช้บริการสินเชื่อ ซึ่งขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ได้ออกร่างประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถแทรกเตอร์ และเครื่องจักรกลการเกษตรเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยหนึ่งในร่างประกาศดังกล่าวได้มีประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ไม่เกินร้อยละ 15

EPS-PEAKS หรือ Economic and Private Sector Professional Evidence and Applied Knowledge Services ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรที่ให้หลักฐานทางวิชาชีพด้านเศรษฐศาสตร์และภาคเอกชน รวมถึงบริการความรู้ประยุกต์แก่กรมพัฒนาระหว่างประเทศ หรือ DfID ในสหราชอาณาจักร ได้อธิบายองค์ประกอบของอัตราดอกเบี้ยในการศึกษาเรื่อง “การกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยและผลกระทบต่อการเข้าถึงบริการทางการเงิน” (Interest rate caps and their impact on financial inclusion) โดย โฮเวิร์ด มิลเลอร์ ซึ่งเผยแพร่เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมาว่าสิ่งที่เป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยมาจาก 4 ปัจจัยหลัก คือ

1. ต้นทุนของเงินทุน (Cost of Fund) คือ จำนวนเงินที่สถาบันการเงิน หรือผู้ให้บริการทางการเงิน ต้องจ่ายเพื่อกู้ยืมเงินสำหรับนำมาใช้ในการให้บริการเงินทางการเงิน

2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Overheads) ซึ่งแบ่งได้เป็นต้นทุนหลัก ๆ สามประการ คือ ค่าใช้จ่ายในการขยายธุรกิจหรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ค่าใช้จ่ายในการประมวลข้อมูลเครดิตและการประเมินการปล่อยสินเชื่อ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการบริหารสำนักงานและสาขา(รวมทั้งพนักงาน)

3. หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) เป็นต้นทุนในส่วนของค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งผู้ให้กู้ต้องรับภาระหนี้สูญที่ต้องตัดจำหน่าย

4. กำไรของผู้ประกอบการ (Profit) คือ ส่วนที่เป็นกำไรของผู้ประกอบการให้บริการสินเชื่อ ซึ่งมีสัดส่วนแตกต่างกันไปในตามโครงสร้างการดำเนินธุรกิจของแต่ละสถาบัน

ในการศึกษาฯ ได้ระบุถึงเหตุผลของการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยโดยภาครัฐว่ามาจากความต้องการที่จะสนับสนุนเศรษฐกิจในบางอุตสาหกรรม หรือสนับสนุนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นการเฉพาะ โดยที่รัฐพิจารณาแล้วพบความบกพร่องในการดำเนินการของอุตสาหกรรมนั้น ๆ หรือรัฐต้องการควบคุมการกำหนดอัตราดอกเบี้ยแทนการถูกกำหนดโดยกลไกของตลาด ตัวอย่างเช่น การให้เงินกู้ยืมแก่ผู้ประกอบการภาคเกษตรกรรม เพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในบังคลาเทศ และการให้สินเชื่อแก่ SMEs ที่มีข้อจำกัดด้านการเข้าถึงสินเชื่อในแซมเบีย นอกจากนี้ ยังมักมีข้อโต้แย้งว่าการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยมาจากสมมุติฐานที่ว่าสถาบันการเงินมีกำไรมากเกินไปโดยเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไปกับลูกค้า ซึ่งอีกข้อโต้แย้งคืออัตราดอกเบี้ยที่สูงและไม่เหมาะสมทำให้ตลาดขาดการแข่งขันอย่างเสรี การแทรกแซงของรัฐมีความจำเป็นเพื่อปกป้องกลุ่มลูกค้าที่มีความเปราะบางต่อแนวทางการปฏิบัติในการกู้ยืมที่ไม่เป็นธรรมหรือเอาเปรียบผู้บริโภค ข้อโต้แย้งตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าความต้องการสินเชื่อที่สูงมากจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งถูกกำหนดในตลาด (price inelastic) ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าความไม่สมบูรณ์ของตลาดนั้นเป็นผลมาจากความไม่สมดุลหรือความไม่เพียงพอของข้อมูลลูกค้า และการที่ผู้ให้กู้ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างผู้กู้ที่มีศักยภาพดีและผู้กู้ที่มีความเสี่ยงได้ ทำให้การปล่อยสินเชื่อธนาคารหรือสถาบันการเงินรายย่อยไม่สามารถระบุศักยภาพดีหรือความเสี่ยงของลูกค้าในการชำระคืนได้อย่างชัดเจน

การกำหนดเพดานดอกเบี้ยมีผลกระทบทั้งกับอุปทาน (ปริมาณการปล่อยกู้) และอุปสงค์ (ความต้องการในการกู้เงิน) กล่าวคือ ด้านอุปทาน (Supply Side) การกำหนดเพดานดอกเบี้ยเป็นการบิดเบือนอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงซึ่งสะท้อนต้นทุนการปล่อยสินเชื่อของตลาด และจำกัดการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของกลุ่มลูกค้าตลาดล่างหรือกลุ่มลูกค้ารายได้น้อยและผู้ที่เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก และการจำกัดเพดานดอกเบี้ยมีผลต่อการจำกัดการลงทุนและการขยายฐานการปล่อยกู้ของสถาบัน MFIs ซึ่งโดยปกติสถาบันเหล่านี้จะใช้รายได้ในส่วนที่เป็นกำไรจากดอกเบี้ยเพื่อปล่อยสินเชื่อต่อไปยังตลาดใหม่ ๆ หรือพื้นที่ใหม่ ๆ โดยอาจมีผลกระทบต่อการหดตัวของสถาบันการเงิน การจำกัดจำนวนของผู้ประกอบการปล่อยสินเชื่อรายใหม่ ผลักดันให้ผู้ประกอบการเหล่านั้นดำเนินการปล่อยเงินกู้นอกระบบแทนเพื่อหลีกเลี่ยงการควบคุมของรัฐ และเป็นผลให้เกิดการชะลอการขยายตัวของธุรกิจรายย่อยซึ่งมีข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อ นอกจากนี้ ยังพบว่าการกำหนดเพดานดอกเบี้ยที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในท้องตลาดสูงขึ้น โดยผู้ต้องการสินเชื่อจะหันไปใช้บริการจากผู้ให้กู้เงินนอกระบบแทน

ด้านอุปสงค์ หรือ ความต้องการในการกู้เงิน (Demand Side) ข้อโต้แย้งสำหรับการกำหนดเพดานดอกเบี้ยที่ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า ความต้องการสินเชื่อจะไม่เปลี่ยนตามอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่สูงขึ้น (price inelastic) สมมุติฐานในทางกลับกัน หากอุปสงค์หรือความต้องการสินเชื่อ/เงินกู้ในตลาดมีความอ่อนไหวมากต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้การขึ้นดอกเบี้ยเพียงเล็กน้อยก็ทำให้ลูกค้าลดความต้องการกู้เงินอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่มีเหตุผลให้รัฐเข้ามาแทรกแซงตลาด จากการสำรวจในแอฟริกาใต้ของผู้มีรายได้น้อยและมีความอ่อนไหวต่อการปรับอัตราดอกเบี้ยพบว่า หากมีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นของผู้ให้กู้แล้วความต้องการเงินกู้จะลดลงอย่างมาก แสดงให้เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแม้เพียงเล็กน้อยจะทำให้ความต้องการเงินกู้ลดลงอย่างมาก ดังนั้นถ้าผู้มีรายได้น้อยตอบสนองหรืออ่อนไหวต่อความเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แสดงให้เห็นว่าผู้ให้กู้ดอกเบี้ยสูงไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และรัฐก็ไม่มีความจำเป็นต้องเข้ามากำหนดเพดานดอกเบี้ย

การศึกษาฯ ได้ให้แนวทางในการลดอัตราดอกเบี้ย โดยแนะให้รัฐปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยถูกกำหนดโดยกลไกการแข่งขันด้านตลาดเสรี ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดให้ผู้ประกอบการมีการแข่งกันด้านการให้บริการและมีการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการบริหารต้นทุนในการดำเนินการ และควรสนับสนุนให้มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดเพื่อเพิ่มการแข่งขัน โดยจะนำมาซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการด้านสินเชื่อหรือสถาบันการเงินที่มีมีประสบการณ์และความชำนาญด้านการบริหารจะสามารถควบคุมต้นทุนได้ดีขึ้นและประเมินสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ รัฐสามารถช่วยผลักดันอัตราดอกเบี้ยลดลงได้ด้วยการส่งเสริมความโปร่งใสด้านข้อมูลและการคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน ด้วยการให้ความรู้ทางการเงินแก่ผู้กู้ เพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ถูกต้องหรือการเอาเปรียบผู้บริโภค การกำกับให้สถาบันการเงินและการควบคุมให้มีความโปร่งใสในแนวทางการให้กู้ยืม รวมทั้งเผยแพร่และโฆษณาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารคู่แข่งเพื่อเพิ่มการแข่งขัน

นอกจากนี้ เอกสารการทำงานวิจัยเชิงนโยบาย หรือ Policy Research Working Paper ของ เครือธนาคารโลก หรือ World Bank Group เกี่ยวกับทฤษฎีและการปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดเพดานดอกเบี้ย เมื่อเดือนเมษายน 2561 ได้แนะทางเลือกของการกำหนดเพดานดอกเบี้ย เนื่องจากผลกระทบในทางลบของการกำหนดเพดานดอกเบี้ยที่มีมามากจนควรพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ แทนการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ย ดังนี้

หากเป้าหมายของนโยบายที่วางแผนไว้คือการลดต้นทุนโดยรวมของสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจหรือต้นทุนในส่วนอื่น ๆ แนวทางแก้ไขต่าง ๆ ควรขึ้นอยู่กับต้นเหตุของการบิดเบือนที่ก่อให้เกิดอัตราดอกเบี้ยซึ่งสูงเกินไป เช่น การขาดการแข่งขัน การรับรู้ความเสี่ยงในมุมมองของผู้ให้บริการสินเชื่อหรือเงินกู้ ต้นทุนค่าดำเนินการ หรือ การพิจารณาด้านเศรษฐกิจมหภาค ด้วยเหตุนี้ กลไกการตรวจสอบเครดิตที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการให้ข้อมูลที่มีการจำแนก (disaggregated data) ในกลุ่มผู้กู้ที่ยังไม่ได้รับบริการทางการเงินและชี้ชัดถึงการให้ข้อมูลที่บิดเบือน

การขาดการแข่งขัน (กำไรมากเกิน): หากธนาคารและสถาบันไมโครไฟแนนซ์ (MFIs) ต่าง ๆ มีอำนาจอยู่เหนือตลาด ทำให้ได้รับผลกำไรมากจากการกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูง ๆ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงนั้นสามารถลดลงได้โดยการส่งเสริมให้มีการแข่งขันในภาคการเงิน โดยการแข่งขันระหว่างสถาบันการเงินจะผลักดันให้มีการแข่งขันด้านการเสนออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ซึ่งจะเป็นผลให้มีการลดอัตราดอกเบี้ยลง นอกจากนี้การแข่งขันในตลาดจะช่วยลดกำไรและ/หรือลดต้นทุนค่าดำเนินงานของสถาบันการเงิน โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพในการประกอบการ (จากข้อเขียนของ Miller, ปีค.ศ. 2013) จากการวิเคราะห์ของ Helms and Reille ( ค.ศ. 2004) แสดงให้เห็นว่าการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลงในโบลิเวีย บอสเนีย กัมพูชา และนิการากัว การจำกัดการแข่งขันในภาคการเงินไม่จำเป็นต้องเกิดจากพฤติกรรมการสมรู้ร่วมคิดหรือการฮั้วกันของธนาคารที่มีอยู่ แต่มักเป็นผลมาจากความอ่อนแอของโครงสร้างเศรษฐกิจและกรอบของกฎหมายที่หลีกเลี่ยงการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ประกอบกับการที่ธนาคารในระบบเศรษฐกิจนั้น ๆ มีความอ่อนแอและสมควรต้องเลิกกิจการกลับได้รับเงินอุดหนุน จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ "ใหญ่เกินกว่าที่จะล้มได้" ("too-big-to-fail") หากเป็นกรณีนี้ การเสริมสร้างความสามารถในการกำกับดูแลและควบคุมจากกฎระเบียบจะสามารถช่วยบรรเทาข้อบกพร่องต่าง ๆ และลดอัตราดอกเบี้ยโดยการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในตลาด

ความเสี่ยง (การรับรู้ความเสี่ยง): หากสาเหตุหลักที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงเกิดจากความไม่เพียงพอของข้อมูลด้านเครดิตของลูกค้า ซึ่งส่งผลให้คิดอัตราดอกเบี้ยสูงตามความเสี่ยงที่คาดว่าสูง จึงควรเน้นที่การแก้ไขความไม่เพียงพอด้านข้อมูลเครดิตของลูกค้า การส่งเสริมเครดิตบูโรอาจเป็นแนวทางของนโยบายที่มีประโยชน์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลทางการเงินซึ่งมีรายละเอียดของผู้กู้มากขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงในมุมของผู้ให้บริการสินเชื่อหรือเงินกู้ และลดค่าใช้จ่ายในการคัดกรองข้อมูลสินเชื่อของธนาคาร (จากการวิเคราะห์ของ Maimbo and Gallegos, 2014 สำหรับประเทศที่ไม่มีระบบบัตรประจำตัวประชาชนที่ครอบคลุม การส่งเสริมวิธีการตรวจสอบตัวตนของผู้กู้ที่เชื่อถือได้ซึ่งคุ้มกับค่าใช้จ่ายก็เป็นมาตรการสำคัญในการลดปัญหาความไม่เพียงพอของข้อมูล

ความเสี่ยงสามารถลดลงได้ด้วยมาตรการการเรียกคืนเงินจากลูกหนี้หรือการรับชำระคืนหนี้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงมีขั้นตอนการเรียกร้องค่าเสียหายจากวงเงินกู้ขนาดเล็ก การสรุปขั้นตอนในการระงับข้อพิพาทกับลูกหนี้ ที่ทำให้ธนาคารจำกัดความเสียหายที่เกิดจากการผิดนัดของผู้กู้ (Beck and Fuchs, 2004)

ต้นทุนค่าดำเนินการ: หากอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกิดจากต้นทุนการบริหารทั่วไปที่สูง การใช้มาตรการ/นโยบายบางอย่างที่กล่าวถึงข้างต้นสามารถช่วยลดต้นทุนการขอสินเชื่อได้ เช่น เครดิตบูโรและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้ที่เชื่อถือได้ซึ่งออกโดยรัฐบาล มาตรการส่งเสริมให้มีช่องทางการจัดส่งข้อมูลเครดิต เช่น ข้อมูลจากเครือข่ายตัวแทน และการส่งเสริมระบบดิจิทัลในการให้บริการทางการเงินโดยทั่วไป จะสามารถช่วยลดต้นทุน

หากนโยบายมีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องผู้บริโภคจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก แนวทางแก้ไขควรเน้นที่การส่งเสริมความรู้ทางด้านการเงินของผู้บริโภคและการปกป้องผู้บริโภคเป็นหลัก ความรู้ทางด้านการเงินช่วยให้ผู้กู้สามารถเข้าใจและรู้ทันเงื่อนไขการกู้ยืมที่แสวงหาประโยชน์จากผู้ให้กู้ได้ง่ายขึ้น และสามารถช่วยปกป้องผู้กู้จากการให้กู้ยืมที่เอาเปรียบผู้กู้ อีกแนวทางในการปกป้องผู้กู้จากดอกเบี้ยที่สูงมากคือการเพิ่มความโปร่งใส ด้วยการให้สถาบันการเงินเปิดเผยอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขในการให้กู้รวมทั้งป้องกันการใช้ “ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่แฝงอยู่” รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันและลดแรงกดดันต่ออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Maimbo และ Gallegos, 2014) การคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินสามารถดำเนินการเพิ่มเติมได้ด้วยการให้คำปรึกษาด้านการกู้ยืม

แม้ว่านโยบายที่อธิบายมานี้จะจัดการกับต้นเหตุของการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ย แต่ในการดำเนินการยังคงต้องใช้เวลาและผลจากการดำเนินการจะเริ่มเห็นได้ในช่วงระยะกลางหลังมีการดำเนินการไปแล้ว

นอกจากนี้ เอกสารที่เผยแพร่จาก Central Bank of Kenya เรื่อง The Impact of Interest Rate Capping on the Kenyan Economy – March 2018 แสดงถึงรายงานผลกระทบเชิงลบซึ่งมีแนวโน้มที่จะแย่ลงตามกาลเวลา สำหรับประเทศที่มีกฏหมายกำหนดเพดานดอกเบี้ยดังรายละเอียดต่อไปนี้:

• การถอนตัวของธนาคารจากการให้บริการกลุ่มลูกค้ายากจนหรือผู้กู้เฉพาะกลุ่ม เช่น ผู้กู้รายย่อย เนื่องมาจากการบริหารต้นทุนสินเชื่อที่สูงขึ้น - เห็นได้ชัดในประเทศ WEAMU (West African Economic and Monetary Union) ได้แก่ เบนิน บูร์กินาฟาโซ โกตดิวัวร์ กินี-บิสเซา มาลี ไนเจอร์ เซเนกัล และโตโก และกลุ่มประเทศ โบลิเวีย โคลัมเบีย สาธารณรัฐโดมินิกัน เอกวาดอร์ เฮติ นิการากัว เปรู โปแลนด์ และแซมเบีย

• การเพิ่มขึ้นของขนาดสินเชื่อโดยเฉลี่ย แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อที่ต่ำกว่าสำหรับผู้กู้รายเล็ก ในขณะที่วงเงินสินเชื่อก้อนใหญ่พร้อมให้กู้แก่บริษัทที่มีขนาดใหญ่มากกว่า – เห็นได้ชัดในโบลิเวีย เอกวาดอร์ แอฟริกาใต้ และแซมเบีย

• ลดความโปร่งใสในการดำเนินการ – มีการปรับเพิ่มของต้นทุนรวมของเงินกู้ ผ่านค่าธรรมเนียมและค่าคอมมิชชั่น – พบมากในอาร์เมเนีย, นิการากัว, แอฟริกาใต้และแซมเบีย

• ลดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์สำหรับผู้มีรายได้น้อย และผู้กู้ระดับครัวเรือน- เห็นในฝรั่งเศสและเยอรมนี

• ลดการแข่งขันด้านการธนาคาร – พบในประเทศอิตาลี.

• มีการเพิ่มขึ้นของอัตราการปล่อยกู้นอกระบบ – เห็นได้ชัดในญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา

รัฐสภาเคนยาได้ออกกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอัตราดอกเบี้ย โดยมีเป้าหมายเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมในวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2016 และได้ยกเลิกมาตรการดังกล่าวในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2017 เนื่องจากนโยบายดังกล่าวทำให้เกิดการจำกัดการปล่อยสินเชื่ออย่างมีนัยสำคัญ (โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทางรัฐสภาต้องการให้ได้รับสินเชื่อหรือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เช่น บุคคลธรรมดาและภาคครัวเรือน ซึ่งแทนที่จะได้รับสินเชื่อเพิ่มกลับกลายเป็นกลุ่มเดียวที่ได้รับสินเชื่อลดลงถึง 24% ในช่วงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2016 – มิถุนายน ค.ศ.2017

ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของภาคประชาชนและภาคธุรกิจในวงกว้างดังแสดงให้เห็นในแผนภูมิด้านล่าง

ที่มาข้อมูล :

• “การกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยและผลกระทบต่อการเข้าถึงบริการทางการเงิน” (Interest rate caps and their impact on financial inclusion) โดย Howard Miller จากลิงค์https://assets.publishing.service.gov.uk/media/57a08a0de5274a31e00003d0/Interest_rate_caps_and_their_impact_on_financial_inclusion.pdf

• เอกสารการทำงานวิจัยเชิงนโนบาย หรือ Policy Research Working Paper 8398 (WPS 8398) ของ กลุ่มธนาคารโลก หรือ World Bank Group เกี่ยวกับทฤษฎีและการปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดเพดานดอกเบี้ยเมื่อเดือนเมษายน 2561 (“Interest Rate Caps The Theory and The Practice”: by Aurora Ferrari, Oliver Masetti and Jiemin Ren) จากลิงค์

https://assets.publishing.service.gov.uk/media/57a08a0de5274a31e00003d0/Interest_rate_caps_and_their_impact_on_financial_inclusion.pdf

• “ผลกระทบต่อเศรษฐกิจเคยาจากการควมคุมอัตราดอกเบี้ย – มีนาคม ค.ศ. 2018” (The Impact of Interest Rate Capping on the Kenyan Economy – March 2018) จากลิงค์

https://www.centralbank.go.ke/wp-content/uploads/2018/03/Interest-Rate-Caps_-March-2018final.pdf

นายประพล พรประภา กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK ผู้ให้บริการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์รายใหญ่ในประเทศไทย ให้ความเห็นเกี่ยวกับการกำหนดเพดานดอกเบี้ย กรณีร่างประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถแทรกเตอร์ และเครื่องจักรกลการเกษตรเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาว่า “ดีที่สุดคือปล่อยให้มีการแข่งขันอย่างเสรี หากจำเป็นต้องกำหนดเพดานดอกเบี้ย ควรกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่สะท้อนต้นทุนที่ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการได้อย่างมีกำไรพอสมควร (Normal profit) เพื่อผู้ประกอบการจะได้มีทุนในการปล่อยเงินกู้ให้ผู้บริโภครายย่อยที่มีรายได้น้อยเเละมีความเสี่ยงสูง ทั้งยังสามารถขยายการให้บริการให้ครอบคลุมทั้งในด้านพื้นที่ เเละด้านการให้บริการกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงได้ในทุกกลุ่ม ทำให้มีเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจของประเทศ มีการจ้างงาน ที่สำคัญคือเมื่อมีการให้บริการสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคที่มีความเสี่ยงสูง เเละมีข้อมูลทางด้านการเงินน้อย ก็จะเริ่มมีประวัติข้อมูลด้านการเงิน/ข้อมูลเครดิต และการชำระเงินเพิ่มขึ้น จนสามารถยกระดับเครดิตและได้รับวงเงินกู้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งได้รับดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลงเนื่องจากผู้ให้กู้จะสามารถรับรู้ข้อมูลเครดิตและประวัติการชำระเงินที่สมบูรณ์ขึ้น ส่งเสริมให้ผู้บริโภครายนั้น ๆ ยกระดับเครดิตไปสู่กลุ่มผู้มีความเสี่ยงต่ำลง รวมทั้งได้ขยับเครดิตโปรไฟล์ของตนสูง/ดีขึ้นไปเรื่อย ผู้กู้ก็จะได้วงเงินที่มีจำนวนมากขึ้น พร้อมอัตราดอกเบี้ยดีขึ้นเรื่อย ๆ”

เกี่ยวกับ บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน)

บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์รายใหญ่ของประเทศ ปัจจุบันมีพนักงานกว่า 1,800 คน มีสาขาบริการรวม 75 สาขา มีบริษัทลูกในประเทศ 3 บริษัท และต่างประเทศ 3 บริษัท ในกัมพูชา ลาว เมียนมา ให้บริการลูกค้าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ทั้งในและนอกประเทศ โดยมีลูกค้าประมาณ 300,000 ราย

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!