“ เรือนมิชชั่นนารีฝาแฝด ” เรือนหมอบริกส์แห่งเมืองแพร่อายุ 126 ปี


“ เรือนมิชชั่นนารีฝาแฝด ” เป็นชื่อเรียกบ้านเรือนไม้สักชั้นเดียวยกสูงของมิชชั่นอเมริกาที่เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาที่เมืองแพร่ เมื่อร้อยกว่าปีก่อน

เรือนหลังนี้ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลแพร่คริสเตียน เรียกชื่อว่า “เรือนหมอบริกส์”

ปี พ.ศ.๒๔๑๐ ( ค.ศ.1867 ) ศาสนาจารย์แดเนียล แมคกิลวารี และศาสนาจารย์โจนาธาน วิลสัน เดินทางมาสำรวจที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นแห่งแรก เพื่อหาลู่ทางในการตั้งศูนย์มิชชันเผยแพร่คริสต์ศาสนา แต่การสำรวจครั้งนั้น ยังไม่มีการตั้งศูนย์มิชชันขึ้น เนื่องจากความไม่พร้อมหลายประการ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๑๕ ( ค.ศ.1872 ) ครอบครัวของศาสนาจารย์แดเนียล นางโซเฟีย แมคกิลวารี และบุตรได้เดินทางมาประกาศศาสนาคริสต์ล้านนา ผ่านพื้นที่จังหวัดแพร่

ในปี พ.ศ.๒๔๓๓ ( ค.ศ.1890 ) พ่อครูหลวงหรือศาสนาจารย์ น.พ. แดเนียล แมคกิลวารี และคณะได้เดินทางทวนกระแสน้ำยมขึ้นมาที่เมืองแพร่เป็นรอบที่สอง และพักอยู่ด้านนอกของประตูเมืองมานใกล้หมู่บ้านเชตวันทำการประกาศศาสนาและการรักษาคนเจ็บป่วยในพื้นที่

ปี พ.ศ.๒๔๓๖ (1893) พ่อเลี้ยงพีเพิลพร้อมคณะ ได้มาบริจาคข้าวปลาอาหารช่วงเกิดการทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในเมืองแพร่ ซึ่งมีการส่อเค้ามาตั้งแต่ปี ๒๔๓๓(1890)

ในปลายปี พ.ศ.๒๔๓๖(1936) พ่อเลี้ยงบริกส์ได้ย้ายมาเป็นมิชชันนารีประจำที่สถานีมิชชันเมืองแพร่ ต่อมาได้มีการก่อสร้างสถานพยาบาลขนาดเล็กขึ้น เพื่อใช้ตรวจรักษาโรคแก่ผู้ป่วย โดยไม่คิดค่ารักษาพยาบาล ในขณะเดียวกันได้จัดสร้างโรงเรียนสอนหนังสือสำหรับเด็กชาย-หญิงขึ้น (โรงเรียนอเมริกันมิชชั่นบอยสคูล) และได้สร้างบ้านพักมิชชันนารี จำนวน 2 หลัง และสร้างเรือนชั้นเดียวสำหรับใช้เรียนหนังสือ ตรวจรักษาคนเจ็บป่วยและโบสถ์คริสต์ศาสนาสำหรับนมัสการพระเจ้า

ปี พ.ศ. ๒๔๘๔(ค.ศ.1941) เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นยกพลเข้าประเทศไทย รัฐบาลไทยจำเป็นต้องทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา ทำให้แพทย์ชาวอเมริกันต้องอพยพหนีไปสู่ประเทศพม่า โรงพยาบาลอเมริกันถูกยึดเป็นของรัฐบาลไทย และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงพยาบาลพหลโยธิน” ข้าวของของมิชชั่นนารีถูกยึดและทำลาย ทำให้เอกสารสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินสูญหายไป หลังจากสิ้นสุดสงครามสงบที่ดินของโรงพยาบาล ถูกเรียกคืนเป็นที่ดินของราชพัสดุ

สภาพทั่วไปของเรือนมิชชั่นนารี เป็นเรือนไม้สักชั้นเดียวใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่วมุงด้วยกระเบื้องว่าว ตกแต่งช่องลมประตูด้วยลายฉลุขนมปังขิง ลูกบิดกลอนประตูเป็นเหล็กหล่อจากยุโรป

เรือนไม้สักหลังนี้มีขนาดใหญ่แบ่งได้เป็น 10 ห้อง และมีห้องใต้หลังคาขนาดใหญ่ สันนิฐานว่า เป็นห้องนอนลูกชายมิชชั่นนารี ( หรือเป็นห้องลับสำหรับหนีภัยสงคราม ) ถูกออกแบบให้ห้องใต้หลังคามีหน้าต่างบานสูง ทำให้บ้านเย็นเพราะมีการระบายถ่ายเทอากาศที่ดี

เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างและรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของเรือนมิชชั่นนารีแล้ว เชื่อว่า เป็นการนำความรู้ทางสถาปัตยกรรมของชาติตะวันตกมาใช้ออกแบบโครงสร้างอาคาร ให้มีรูปแบบแปลกตา สังเกตได้จากการออกแบบห้องใต้หลังคา รวมทั้งบริเวณพื้นไม้ชั้นล่าง ทำโครงสร้างไม้เป็นรูปกากบาท ช่วยรองรับน้ำหนักทำให้ตัวเรือนมีความมั่นคงแข็งแรงมากกว่าบ้านไม้สักทั่วไปอีกด้วย

พื้นไม้ชั้นล่าง ทำโครงสร้างกากบาท ช่วยรองรับน้ำหนักให้ตัวเรือนแข็งแรง นอกจากนี้ หน้าต่าง ประตู รวมทั้งระยะความสูงของเพดานที่ได้สัดส่วนเหมาะสม เพราะผ่านการคิดคำนวณตามหลักสถาปัตยกรรมของชาติตะวันตก และมีการตกแต่งภายในด้วยอุปกรณ์ก่อสรางที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น หน้าต่างเป็นบานไม้ลูกฟักกระจก ลูกบิดกลอนประตูเป็นเหล็กหล่อจากยุโรป มีตะขอปรับระดับความกว้างของหน้าต่างได้ และผนังด้านในกรุไม้สักเป็นผนังสองด้านหนาประมาณ 1 ฟุต เพื่อป้องกันอากาศหนาวเย็น ใช้อุปกรณ์ตะขอจากเมืองนอก ปรับระดับความกว้างของหน้าต่างได้

ห้องใต้หลังคาขนาดใหญ่ “เสาหลาบ” ช่างฝีมือโบราณจะใช้ขวานเหลาไม้สักเป็นเสาทรงสี่เหลี่ยม

ปัจจุบันเรือนหลังนี้ ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลแพร่คริสเตียน ทางด้านข้าง สภาพตัวเรือนข้างมีสภาพเก่าแก่ ชำรุดทรุดโทรม อย่างหนัก

แป้หม่าเก่า Ancient Phrae อนุรักษ์ สืบสาน ตำนาน ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิต เมืองแพร่
https://www.facebook.com/Ancient.Phrae
No History no Future

ที่มา https://www.technologychaoban.com/bullet-news…/article_91632
และอ.สงัด รัตนชมสกุล ภัณฑรักษ์หอประวัติศาสตร์โรงเรียนเจริญราษฎร์

“ เรือนมิชชั่นนารีฝาแฝด ” เป็นชื่อเรียกบ้านเรือนไม้สักชั้นเดียวยกสูงของมิชชั่นอเมริกาที่เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาที่เมืองแพร่ เมื่อร้อยกว่าปีก่อน

เรือนหลังนี้ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลแพร่คริสเตียน เรียกชื่อว่า "เรือนหมอบริกส์"

ปี พ.ศ.๒๔๑๐ ( ค.ศ.1867 ) ศาสนาจารย์แดเนียล แมคกิลวารี และศาสนาจารย์โจนาธาน วิลสัน เดินทางมาสำรวจที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นแห่งแรก เพื่อหาลู่ทางในการตั้งศูนย์มิชชันเผยแพร่คริสต์ศาสนา แต่การสำรวจครั้งนั้น ยังไม่มีการตั้งศูนย์มิชชันขึ้น เนื่องจากความไม่พร้อมหลายประการ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๑๕ ( ค.ศ.1872 ) ครอบครัวของศาสนาจารย์แดเนียล นางโซเฟีย แมคกิลวารี และบุตรได้เดินทางมาประกาศศาสนาคริสต์ล้านนา ผ่านพื้นที่จังหวัดแพร่

ในปี พ.ศ.๒๔๓๓ ( ค.ศ.1890 ) พ่อครูหลวงหรือศาสนาจารย์ น.พ. แดเนียล แมคกิลวารี และคณะได้เดินทางทวนกระแสน้ำยมขึ้นมาที่เมืองแพร่เป็นรอบที่สอง และพักอยู่ด้านนอกของประตูเมืองมานใกล้หมู่บ้านเชตวันทำการประกาศศาสนาและการรักษาคนเจ็บป่วยในพื้นที่

ปี พ.ศ.๒๔๓๖ (1893) พ่อเลี้ยงพีเพิลพร้อมคณะ ได้มาบริจาคข้าวปลาอาหารช่วงเกิดการทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในเมืองแพร่ ซึ่งมีการส่อเค้ามาตั้งแต่ปี ๒๔๓๓(1890)

ในปลายปี พ.ศ.๒๔๓๖(1936) พ่อเลี้ยงบริกส์ได้ย้ายมาเป็นมิชชันนารีประจำที่สถานีมิชชันเมืองแพร่ ต่อมาได้มีการก่อสร้างสถานพยาบาลขนาดเล็กขึ้น เพื่อใช้ตรวจรักษาโรคแก่ผู้ป่วย โดยไม่คิดค่ารักษาพยาบาล ในขณะเดียวกันได้จัดสร้างโรงเรียนสอนหนังสือสำหรับเด็กชาย-หญิงขึ้น (โรงเรียนอเมริกันมิชชั่นบอยสคูล) และได้สร้างบ้านพักมิชชันนารี จำนวน 2 หลัง และสร้างเรือนชั้นเดียวสำหรับใช้เรียนหนังสือ ตรวจรักษาคนเจ็บป่วยและโบสถ์คริสต์ศาสนาสำหรับนมัสการพระเจ้า

ปี พ.ศ. ๒๔๘๔(ค.ศ.1941) เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นยกพลเข้าประเทศไทย รัฐบาลไทยจำเป็นต้องทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา ทำให้แพทย์ชาวอเมริกันต้องอพยพหนีไปสู่ประเทศพม่า โรงพยาบาลอเมริกันถูกยึดเป็นของรัฐบาลไทย และเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลพหลโยธิน" ข้าวของของมิชชั่นนารีถูกยึดและทำลาย ทำให้เอกสารสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินสูญหายไป หลังจากสิ้นสุดสงครามสงบที่ดินของโรงพยาบาล ถูกเรียกคืนเป็นที่ดินของราชพัสดุ

สภาพทั่วไปของเรือนมิชชั่นนารี เป็นเรือนไม้สักชั้นเดียวใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่วมุงด้วยกระเบื้องว่าว ตกแต่งช่องลมประตูด้วยลายฉลุขนมปังขิง ลูกบิดกลอนประตูเป็นเหล็กหล่อจากยุโรป

เรือนไม้สักหลังนี้มีขนาดใหญ่แบ่งได้เป็น 10 ห้อง และมีห้องใต้หลังคาขนาดใหญ่ สันนิฐานว่า เป็นห้องนอนลูกชายมิชชั่นนารี ( หรือเป็นห้องลับสำหรับหนีภัยสงคราม ) ถูกออกแบบให้ห้องใต้หลังคามีหน้าต่างบานสูง ทำให้บ้านเย็นเพราะมีการระบายถ่ายเทอากาศที่ดี

เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างและรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของเรือนมิชชั่นนารีแล้ว เชื่อว่า เป็นการนำความรู้ทางสถาปัตยกรรมของชาติตะวันตกมาใช้ออกแบบโครงสร้างอาคาร ให้มีรูปแบบแปลกตา สังเกตได้จากการออกแบบห้องใต้หลังคา รวมทั้งบริเวณพื้นไม้ชั้นล่าง ทำโครงสร้างไม้เป็นรูปกากบาท ช่วยรองรับน้ำหนักทำให้ตัวเรือนมีความมั่นคงแข็งแรงมากกว่าบ้านไม้สักทั่วไปอีกด้วย

พื้นไม้ชั้นล่าง ทำโครงสร้างกากบาท ช่วยรองรับน้ำหนักให้ตัวเรือนแข็งแรง นอกจากนี้ หน้าต่าง ประตู รวมทั้งระยะความสูงของเพดานที่ได้สัดส่วนเหมาะสม เพราะผ่านการคิดคำนวณตามหลักสถาปัตยกรรมของชาติตะวันตก และมีการตกแต่งภายในด้วยอุปกรณ์ก่อสรางที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น หน้าต่างเป็นบานไม้ลูกฟักกระจก ลูกบิดกลอนประตูเป็นเหล็กหล่อจากยุโรป มีตะขอปรับระดับความกว้างของหน้าต่างได้ และผนังด้านในกรุไม้สักเป็นผนังสองด้านหนาประมาณ 1 ฟุต เพื่อป้องกันอากาศหนาวเย็น ใช้อุปกรณ์ตะขอจากเมืองนอก ปรับระดับความกว้างของหน้าต่างได้

ห้องใต้หลังคาขนาดใหญ่ “เสาหลาบ” ช่างฝีมือโบราณจะใช้ขวานเหลาไม้สักเป็นเสาทรงสี่เหลี่ยม

ปัจจุบันเรือนหลังนี้ ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลแพร่คริสเตียน ทางด้านข้าง สภาพตัวเรือนข้างมีสภาพเก่าแก่ ชำรุดทรุดโทรม อย่างหนัก

แป้หม่าเก่า Ancient Phrae อนุรักษ์ สืบสาน ตำนาน ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิต เมืองแพร่ https://www.facebook.com/Ancient.Phrae No History no Future

ที่มา https://www.technologychaoban.com/bullet-news…/article_91632 และอ.สงัด รัตนชมสกุล ภัณฑรักษ์หอประวัติศาสตร์โรงเรียนเจริญราษฎร์

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!