The Legends of Automobile-ตอนที่ 97 DODGE เปิดตำนานซูเปอร์คาร์ “อสรพิษ” Viper รถแข่งอเมริกันกวาดแชมป์เกือบทุกสนาม (ภาค 2)


By : C. Methas – Managing Editor

สปอร์ตพันธ์เดือดระดับซูเปอร์คาร์จากค่ายดอดจ์ Viper ได้ประกาศยุติการผลิตลงไปเมื่อเดือนกรกฎาคม ปีค.ศ. 2010 หลังจากไล่ล่าแชมป์บนสังเวียนความเร็วมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1991 ผลิตที่โรงงาน New Mack Assembly ก่อนที่จะย้ายไปผลิตที่โรงงาน Conner Avenue Assemble ในเมืองดีทรอยท์เมื่อเดือนตุลาคม ปีค.ศ. 1995 และสปอร์ตคันสุดท้ายได้คลอดออกจากโรงงานแห่งนี้ในปีค.ศ. 2010 เป็นสายพันธ์ที่ 4

“ดอดจ์” ค่ายผลิตรถยนต์ยุคเริ่มแรกของอุตสาหกรรมยานยนต์ในสหรัฐฯ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1914 หลังจากประสบปัญหาสองพี่น้องตระกูล “ดอดจ์” ได้เสียชีวิตลงท้ายที่สุดได้ขายกิจการไปให้กับไครสเลอร์ไปเมื่อปีค.ศ. 1928

ต่อมาไครสเลอร์ประสบปัญหาทางการเงินหลายครั้งแต่สามารถกู้วิกฤติกลับมาได้พร้อมกับสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับอเมริกันชนจากการสร้างรถยนต์สมรรถนะสูง คันใหญ่โตโอ่อ่า วางเครื่องยนต์ แบบ วี-8 สูบที่เรียกกันว่า Muscle car อย่างรุ่น Charger ที่ไปคว้าแชมป์ในรายการ NASCAR หลายสนามด้วยกัน

จนกลายเป็นรถยนต์รุ่นที่ทำยอดขายได้มากที่สุดของดอดจ์ในยุคปลายทศวรรษที่ 60 แต่จากวิกฤติน้ำมันราคาแพงส่งผลให้รถยนต์ประเภท Muscle car ต้องปิดฉากลงไปโดยปริยายในปีค.ศ. 1973

ไครสเลอร์ประสบปัญหาหนักอีกครั้ง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนารูปแบบของรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ สู้คู่แข่งอย่างเจเนอรัล มอเตอร์สและฟอร์ดไม่ได้

ในช่วงปีค.ศ. 1979 หลังจาก Lee Iacocca ออกจากฟอร์ด มอเตอร์ได้เข้ามาบริหารไครสเลอร์ทางรัฐบาลอเมริกันต้องทุ่มเงินเพื่อให้การช่วยเหลือเป็นเงินมากถึง 1,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ด้วยการกู้ยืมเงินจากกองทุนรัฐบาลกลางทำให้มีเงินเข้ามาหมุนเวียนและได้สร้างนวัตกรรมยานยนต์ใหม่ด้วยการเปิดตัวมินิแวนรุ่น Caravan ภายใต้ยี่ห้อดอดจ์ ตามมาด้วยสปอร์ต Viper

และท้ายที่สุดไครสเลอร์สามารถกอบกู้กิจการกลับมาได้ด้วยการใช้หนี้คืนให้กลับรัฐบาลสหรัฐฯ จนครบ จากการปรับโครงสร้างการบริหารใหม่ทั้งองค์กรและการเปิดตัวรถยนต์เซ็กเม้นท์ใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด

สปอร์ตสมรรถนะสูงระดับซูเปอร์คาร์ Viper เป็นหนึ่งในรถยนต์กลุ่มใหม่ของไครสเลอร์ เริ่มต้นจากแนวคิดที่จะสร้างรถสปอร์ตที่ขับสนุก เร้าใจเฉกเช่นเดียวกับสปอร์ตในตำนาน AC Cobra ได้เกิดขึ้นที่ Advance Design Studios ศูนย์กลางออกแบบของไครสเลอร์

ต่อมา Bob Lutz ประธานบริหารของไครสเลอร์ได้กล่าวกับผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบของไครสเลอร์ Tom Gale ว่าน่าจะสร้างรถสปอร์ตที่มีความล้ำสมัยแต่ขับสนุก เร้าใจเช่นเดียวกับสปอร์ต AC Cobra

หลังจากนั้นสปอร์ตต้นแบบของตระกูล Viper ได้ถูกเปิดตัวที่มหกรรมแสดงรถยนต์ดีทรอยท์ มอเตอร์โชว์ในปีค.ศ. 1989 และถูกนำเข้าสู่สายการผลิตในเชิงพาณิชย์หลังจากได้มีการขัดเกลารูปทรงภายนอกหลายส่วนด้วยกันรวมทั้งอาศัยเทคโนโลยี่ที่ถ่ายทอดจากสนามแข่งจากทีมงานวิศวกร 85 คนภายใต้ความรับผิดชอบของ Roy H. Sjoberg หัวหน้าทีมวิศวกรของโครงการ Viper ที่ได้เริ่มโครงการสปอร์ตพันธ์เดือดเมื่อเดือนมีนาคม ปีค.ศ. 1989

โดยทางค่ายลัมบอร์กินี่ซึ่งขณะนั้นอยู่ในเครือข่ายของไครสเลอร์เป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องของเครื่องยนต์ที่เป็น แบบ วี-10 สูบ 400 แรงม้า ได้นำเครื่องยนต์สำหรับใช้ในรถบรรทุกที่ทั้งเสื้อสูบและฝาสูบทำจากเหล็กมาปรับเปลี่ยนใหม่สำหรับรถสปอร์ตโดยเสื้อสูบและฝาสูบผลิตจากอะลูมิเนียม

สปอร์ตต้นแบบที่พร้อมผลิตจริงเสร็จสิ้นลงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปีค.ศ. 1990 จนกระทั่งสปอร์ต Viper คันแรกที่เป็นแบบจำลองก่อนผลิตจริงเป็นรูปเป็นร่างขึ้นและนำไปเป็นรถนำขบวนในรายการแข่งขันอินเดียน่าโปลีส 500 ขับโดย Caroll Shelby หนึ่งในตำนานอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ได้รับยกย่องสู่ “หอเกียรติยศยานยนต์” เมื่อปีค.ศ. 1992 ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ในประวัติศาสตร์ “อินดี้” ที่รถนำขบวนยังไม่ได้นำเข้าสายการผลิตจริง

ก่อนหน้านี้รถต้นแบบรุ่นปีค.ศ. 1940 ของไครสเลอร์ รุ่น Newport Concept เป็นรถนำขบวนครั้งแรก

By : C. Methas - Managing Editor

สปอร์ตพันธ์เดือดระดับซูเปอร์คาร์จากค่ายดอดจ์ Viper ได้ประกาศยุติการผลิตลงไปเมื่อเดือนกรกฎาคม ปีค.ศ. 2010 หลังจากไล่ล่าแชมป์บนสังเวียนความเร็วมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1991 ผลิตที่โรงงาน New Mack Assembly ก่อนที่จะย้ายไปผลิตที่โรงงาน Conner Avenue Assemble ในเมืองดีทรอยท์เมื่อเดือนตุลาคม ปีค.ศ. 1995 และสปอร์ตคันสุดท้ายได้คลอดออกจากโรงงานแห่งนี้ในปีค.ศ. 2010 เป็นสายพันธ์ที่ 4

“ดอดจ์” ค่ายผลิตรถยนต์ยุคเริ่มแรกของอุตสาหกรรมยานยนต์ในสหรัฐฯ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1914 หลังจากประสบปัญหาสองพี่น้องตระกูล “ดอดจ์” ได้เสียชีวิตลงท้ายที่สุดได้ขายกิจการไปให้กับไครสเลอร์ไปเมื่อปีค.ศ. 1928

ต่อมาไครสเลอร์ประสบปัญหาทางการเงินหลายครั้งแต่สามารถกู้วิกฤติกลับมาได้พร้อมกับสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับอเมริกันชนจากการสร้างรถยนต์สมรรถนะสูง คันใหญ่โตโอ่อ่า วางเครื่องยนต์ แบบ วี-8 สูบที่เรียกกันว่า Muscle car อย่างรุ่น Charger ที่ไปคว้าแชมป์ในรายการ NASCAR หลายสนามด้วยกัน

จนกลายเป็นรถยนต์รุ่นที่ทำยอดขายได้มากที่สุดของดอดจ์ในยุคปลายทศวรรษที่ 60 แต่จากวิกฤติน้ำมันราคาแพงส่งผลให้รถยนต์ประเภท Muscle car ต้องปิดฉากลงไปโดยปริยายในปีค.ศ. 1973

ไครสเลอร์ประสบปัญหาหนักอีกครั้ง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนารูปแบบของรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ สู้คู่แข่งอย่างเจเนอรัล มอเตอร์สและฟอร์ดไม่ได้

ในช่วงปีค.ศ. 1979 หลังจาก Lee Iacocca ออกจากฟอร์ด มอเตอร์ได้เข้ามาบริหารไครสเลอร์ทางรัฐบาลอเมริกันต้องทุ่มเงินเพื่อให้การช่วยเหลือเป็นเงินมากถึง 1,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ด้วยการกู้ยืมเงินจากกองทุนรัฐบาลกลางทำให้มีเงินเข้ามาหมุนเวียนและได้สร้างนวัตกรรมยานยนต์ใหม่ด้วยการเปิดตัวมินิแวนรุ่น Caravan ภายใต้ยี่ห้อดอดจ์ ตามมาด้วยสปอร์ต Viper

และท้ายที่สุดไครสเลอร์สามารถกอบกู้กิจการกลับมาได้ด้วยการใช้หนี้คืนให้กลับรัฐบาลสหรัฐฯ จนครบ จากการปรับโครงสร้างการบริหารใหม่ทั้งองค์กรและการเปิดตัวรถยนต์เซ็กเม้นท์ใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด

สปอร์ตสมรรถนะสูงระดับซูเปอร์คาร์ Viper เป็นหนึ่งในรถยนต์กลุ่มใหม่ของไครสเลอร์ เริ่มต้นจากแนวคิดที่จะสร้างรถสปอร์ตที่ขับสนุก เร้าใจเฉกเช่นเดียวกับสปอร์ตในตำนาน AC Cobra ได้เกิดขึ้นที่ Advance Design Studios ศูนย์กลางออกแบบของไครสเลอร์

ต่อมา Bob Lutz ประธานบริหารของไครสเลอร์ได้กล่าวกับผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบของไครสเลอร์ Tom Gale ว่าน่าจะสร้างรถสปอร์ตที่มีความล้ำสมัยแต่ขับสนุก เร้าใจเช่นเดียวกับสปอร์ต AC Cobra

หลังจากนั้นสปอร์ตต้นแบบของตระกูล Viper ได้ถูกเปิดตัวที่มหกรรมแสดงรถยนต์ดีทรอยท์ มอเตอร์โชว์ในปีค.ศ. 1989 และถูกนำเข้าสู่สายการผลิตในเชิงพาณิชย์หลังจากได้มีการขัดเกลารูปทรงภายนอกหลายส่วนด้วยกันรวมทั้งอาศัยเทคโนโลยี่ที่ถ่ายทอดจากสนามแข่งจากทีมงานวิศวกร 85 คนภายใต้ความรับผิดชอบของ Roy H. Sjoberg หัวหน้าทีมวิศวกรของโครงการ Viper ที่ได้เริ่มโครงการสปอร์ตพันธ์เดือดเมื่อเดือนมีนาคม ปีค.ศ. 1989

โดยทางค่ายลัมบอร์กินี่ซึ่งขณะนั้นอยู่ในเครือข่ายของไครสเลอร์เป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องของเครื่องยนต์ที่เป็น แบบ วี-10 สูบ 400 แรงม้า ได้นำเครื่องยนต์สำหรับใช้ในรถบรรทุกที่ทั้งเสื้อสูบและฝาสูบทำจากเหล็กมาปรับเปลี่ยนใหม่สำหรับรถสปอร์ตโดยเสื้อสูบและฝาสูบผลิตจากอะลูมิเนียม

สปอร์ตต้นแบบที่พร้อมผลิตจริงเสร็จสิ้นลงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปีค.ศ. 1990 จนกระทั่งสปอร์ต Viper คันแรกที่เป็นแบบจำลองก่อนผลิตจริงเป็นรูปเป็นร่างขึ้นและนำไปเป็นรถนำขบวนในรายการแข่งขันอินเดียน่าโปลีส 500 ขับโดย Caroll Shelby หนึ่งในตำนานอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ได้รับยกย่องสู่ “หอเกียรติยศยานยนต์” เมื่อปีค.ศ. 1992 ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ในประวัติศาสตร์ “อินดี้” ที่รถนำขบวนยังไม่ได้นำเข้าสายการผลิตจริง

ก่อนหน้านี้รถต้นแบบรุ่นปีค.ศ. 1940 ของไครสเลอร์ รุ่น Newport Concept เป็นรถนำขบวนครั้งแรก

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!