‘Go – Jek’ มอเตอร์ไซค์เดลิเวอรีเพื่อชาวอินโดนีเซีย


ถ้าพูดถึงรถติดแล้ว ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น อินโดนีเซียก็ติดอันดับประเทศที่มีการจราจรติดขัดเป็นอันดับต้นๆ ในอาเซียนด้วย ซึ่งกระทบกับการดำเนินชีวิตและภาคธุรกิจในกรุงจาการ์ตาเป็นอย่างมาก

แต่ล่าสุด แอพพลิเคชั่นมอเตอร์ไซต์รับจ้างที่ใช้รับส่งคนไปจนถึงส่งอาหารและพัสดุ อาจช่วยทำให้ชีวิตคนกรุงในจาการ์ตาดีขึ้น

เมื่อ 3 ปีก่อน ธุรกิจร้านอาหารของ Ferly Aninditya ในกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงอินโดนีเซีย ขาดทุนจนแทบจะปิดกิจการ จากการจราจรที่แทบเป็นอัมพาตในชั่วโมงเร่งด่วนในเมืองหลวงแห่งนี้

แต่ปัจจุบันร้านอาหารของเขาฟื้นตัวกลับมาได้อีกครั้ง หลังจากร่วมมือกับแอพพลิเคชั่น Go-Jek มอเตอร์ไซค์รับจ้างส่งอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค หรือแม้กระทั่งให้บริการทำความสะอาดและตัดผม ด้วยแมสเซนเจอร์ 2 ล้อ ที่จะเข้าไปให้บริการถึงที่หมายเพียงแค่ปลายนิ้วกดสั่งผ่านแอพพลิเคชันในสมาร์ทโฟน

Go-Jek เลียนเสียงมาจากคำว่า ojek ที่แปลว่ามอเตอร์ไซค์รับจ้างในภาษาท้องถิ่น ด้วยแนวคิดของ Nadiem Makarim หนุ่มนักเรียนนอกจากมหาวิทยาลัย Harvard ที่กลายเป็นอายุน้อยร้อยล้าน ด้วยการเริ่มต้นธุรกิจ Start-up เล็กๆ นี้ ต่อยอดการขับรถจักรยานยนต์ส่งผู้คน กลายเป็นสื่อกลางในการขนส่งสินค้าและบริการไปถึงมือลูกค้าผ่านแอพพลิเคชัน

ตอนนี้ Go-Jek กลายเป็นเทรนด์ในการซื้อสินค้าและบริการของชาวอินโดนีเซียในเมืองหลวงไปแล้ว จากยอดผู้ใช้บริการเฉลี่ย 1 แสนครั้งต่อวัน และมีผู้ที่เข้าร่วมเป็นคนขับรถจักรยานยนต์ผ่านแอพฯ นี้มากถึง 2 แสน 5 หมื่นคน

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่ชื่นชอบบริการของ Go-Jek โดยเฉพาะ PT Blue Bird Tbk ธุรกิจแท็กซี่ที่ได้รับผลกระทบจากรายได้ที่หดหาย มูลค่าตลาดร่วงลง 75% ตลอด 20 เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่แอพพลิเคชันเรียกรถโดยสารอย่าง Go-Jek, Uber และ Grab เป็นที่รู้จักของชาวอินโดนีเซีย

ขณะเดียวกัน รัฐบาลอินโดนีเซียก็พยายามที่จะตรวจสอบการดำเนินธุรกิจของ Go-Jek ว่าไม่ได้รับใบอนุญาตตามกฏหมาย และปัญหาความปลอดภัย

แต่ในเวลานี้ แอพพลิเคชัน Go-Jek ก็ยังคงเปิดให้บริการลูกค้าในกรุงจาการ์ตาต่อไป ตามมุมมองของ Telisa Falianty อาจารย์จาก University of Indonesia ที่มองว่า Go-Jek เติบโตได้ด้วยการสร้างความไว้วางใจให้ลูกค้า ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและอาจกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเมืองหลวงได้ หาก Go-Jek ถูกปิดตัวในเวลาที่ตอนนี้ผู้บริโภคไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า

เช่นเดียวกับ Sri Hartati หัวหน้าสำนักงานเศรษฐกิจกรุงจาการ์ตา บอกว่า Go-Jek มีศักยภาพที่จะส่งผลกระทบมากมายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกรุงจาการ์ตา และที่สำคัญ แอพพลิเคชันนี้ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของคนกรุงในจาการ์ตาไปเสียแล้ว!

ถ้าพูดถึงรถติดแล้ว ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น อินโดนีเซียก็ติดอันดับประเทศที่มีการจราจรติดขัดเป็นอันดับต้นๆ ในอาเซียนด้วย ซึ่งกระทบกับการดำเนินชีวิตและภาคธุรกิจในกรุงจาการ์ตาเป็นอย่างมาก

แต่ล่าสุด แอพพลิเคชั่นมอเตอร์ไซต์รับจ้างที่ใช้รับส่งคนไปจนถึงส่งอาหารและพัสดุ อาจช่วยทำให้ชีวิตคนกรุงในจาการ์ตาดีขึ้น

เมื่อ 3 ปีก่อน ธุรกิจร้านอาหารของ Ferly Aninditya ในกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงอินโดนีเซีย ขาดทุนจนแทบจะปิดกิจการ จากการจราจรที่แทบเป็นอัมพาตในชั่วโมงเร่งด่วนในเมืองหลวงแห่งนี้

แต่ปัจจุบันร้านอาหารของเขาฟื้นตัวกลับมาได้อีกครั้ง หลังจากร่วมมือกับแอพพลิเคชั่น Go-Jek มอเตอร์ไซค์รับจ้างส่งอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค หรือแม้กระทั่งให้บริการทำความสะอาดและตัดผม ด้วยแมสเซนเจอร์ 2 ล้อ ที่จะเข้าไปให้บริการถึงที่หมายเพียงแค่ปลายนิ้วกดสั่งผ่านแอพพลิเคชันในสมาร์ทโฟน

Go-Jek เลียนเสียงมาจากคำว่า ojek ที่แปลว่ามอเตอร์ไซค์รับจ้างในภาษาท้องถิ่น ด้วยแนวคิดของ Nadiem Makarim หนุ่มนักเรียนนอกจากมหาวิทยาลัย Harvard ที่กลายเป็นอายุน้อยร้อยล้าน ด้วยการเริ่มต้นธุรกิจ Start-up เล็กๆ นี้ ต่อยอดการขับรถจักรยานยนต์ส่งผู้คน กลายเป็นสื่อกลางในการขนส่งสินค้าและบริการไปถึงมือลูกค้าผ่านแอพพลิเคชัน

ตอนนี้ Go-Jek กลายเป็นเทรนด์ในการซื้อสินค้าและบริการของชาวอินโดนีเซียในเมืองหลวงไปแล้ว จากยอดผู้ใช้บริการเฉลี่ย 1 แสนครั้งต่อวัน และมีผู้ที่เข้าร่วมเป็นคนขับรถจักรยานยนต์ผ่านแอพฯ นี้มากถึง 2 แสน 5 หมื่นคน

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่ชื่นชอบบริการของ Go-Jek โดยเฉพาะ PT Blue Bird Tbk ธุรกิจแท็กซี่ที่ได้รับผลกระทบจากรายได้ที่หดหาย มูลค่าตลาดร่วงลง 75% ตลอด 20 เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่แอพพลิเคชันเรียกรถโดยสารอย่าง Go-Jek, Uber และ Grab เป็นที่รู้จักของชาวอินโดนีเซีย

ขณะเดียวกัน รัฐบาลอินโดนีเซียก็พยายามที่จะตรวจสอบการดำเนินธุรกิจของ Go-Jek ว่าไม่ได้รับใบอนุญาตตามกฏหมาย และปัญหาความปลอดภัย

แต่ในเวลานี้ แอพพลิเคชัน Go-Jek ก็ยังคงเปิดให้บริการลูกค้าในกรุงจาการ์ตาต่อไป ตามมุมมองของ Telisa Falianty อาจารย์จาก University of Indonesia ที่มองว่า Go-Jek เติบโตได้ด้วยการสร้างความไว้วางใจให้ลูกค้า ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและอาจกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเมืองหลวงได้ หาก Go-Jek ถูกปิดตัวในเวลาที่ตอนนี้ผู้บริโภคไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า

เช่นเดียวกับ Sri Hartati หัวหน้าสำนักงานเศรษฐกิจกรุงจาการ์ตา บอกว่า Go-Jek มีศักยภาพที่จะส่งผลกระทบมากมายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกรุงจาการ์ตา และที่สำคัญ แอพพลิเคชันนี้ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของคนกรุงในจาการ์ตาไปเสียแล้ว!

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!