HARRIER-เครื่องบินรบยุทธศาสตร์ ขึ้น-ลงแนวดิ่งปฏิบัติการหลากภารกิจของกองทัพอากาศและกองทัพเรืออังกฤษ


By : C. Methas – Executive Editor

เครื่องบินโจมตีปฏิบัติการหลากภารกิจของกองทัพอากาศและกองทัพเรืออังกฤษที่มีความโดดเด่นในส่วนของการบินขึ้น-ลงแนวดิ่งพัฒนาต่อเนื่องออกมาหลายรุ่นด้วยกัน เข้าประจำการในกองทัพอากาศและกองทัพเรืออังกฤษและล่าสุดที่ได้ถูกปลดประจำการออกไป

กองทัพเรืออังกฤษได้ทำพิธีปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ แบบ C- Harrier FA2 สังกัดฝูงบินที่ 801 ซึ่งเป็นฝูงบินสุดท้ายที่มีเครื่องบินรุ่นนี้ หลังจากปฏิบัติภารกิจมายาวนานถึง 26 ปี โดยตลอดเวลาที่เข้าประจำการได้ออกปฏิบัติการหลากหลายภูมิภาคทั่วโลก โดยเฉพาะที่สมรภูมิหมู่เกาะฟอล์คแลนด์ ได้สร้างชื่อเสียงให้กับ C-Harrier FS1 เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

ฮ็อคเกอร์-ซิดเดลี่ย์ แฮริเออร์ (Hawker-Siddeley Harrier) เป็นเครื่องบินรบขึ้นลงทางดิ่งและขึ้นลงระยะสั้นแบบแรก แฮริเออร์ได้รับการพัฒนาจากเครื่องบินวิจัย พี.1127 ของ บริษัทฮอคเกอร์ ซิดเดลีย์ และได้ทำการทดสอบบินในการบินขึ้นแนวดิ่งโดยอิสระเป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ. 1960 ซึ่งในเวลาต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไข พี-1127 และเปลี่ยนขื่อเป็น เคสเทิล และการบินทั่วไปในปี ค.ศ. 1961 ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากอังกฤษ สหรัฐฯ และ เยอรมันตะวันตก รวมทั้งสิ้นใช้เวลาในการพัฒนาเป็นเวลา 6 ปี

เครื่องต้นแบบ แฮริเออร์ บินครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1966 และ แฮริเออร์รุ่นแรกเริ่มประจำการใน กองทัพอากาศอังกฤษ เมื่อ 1 เมษายน ปี ค.ศ. 1969 ในวันที่ 5 มกราคม ปี ค.ศ. 1971 แฮริเออร์ได้ทำสถิติการบินขึ้นลงทางดิ่งจนถึงระยะความสูงกว่า 9,000 เมตร ในเวลา 1 นาที 44.7 วินาที และที่ความสูง 12,000 เมตร ในเวลา 2 นาที 22.7 วินาที แฮริเออร์ได้รับการสั่งสร้างถึงเดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1975 เป็นจำนวนกว่า 220 เครื่อง

เครื่องบินแฮริเออร์รุ่นต่างๆ ดังนี้

แฮริเออร์ จีอาร์ หมายเลข 1,1เอ และ 3 เป็นเจ๊ตสนับสนุนภาคพื้นดิน และ เจ๊ตตรวจการณ์ทางยุทธวิธี

แฮริเออร์ ที หมายเลข 2, 2เอ และ 4 เป็นเจ๊ตฝึกทำการรบ 2 ที่นั่ง

แฮริเออร์ เอฟอาร์เอส หมายเลข 1 ซีแฮริเออร์ (SEA HARRIER) เป็นเครื่องบินรบทางทะเล ประจำการในเรือรบ

แฮริเออร์ หมายเลข 50 สร้างจำหน่ายให้แก่หน่วยนาวิกโยธินของสหรัฐฯ และกำหนดสัญลักษณ์ใหม่ว่า เอวี-8 เอ ซึ่งต่อมา แม็คดอนเนลล์ ดักลาส ของสหรัฐอเมริกาได้ซื้อลิขสิทธิ์ไปสร้าง และ พัฒนาเป็น เอวี-8บี หรือ แฮริเออร์ขึ้นสูง (ADVANCED HARRIER)

สำหรับประเทศไทยนั้น มีเครื่องบินแฮริเออร์แบบ AV-8S (รุ่นที่นั่งเดี่ยว)/TAV-8S (รุ่นที่นั่งคู่) Matador รวมกันจำนวน 9 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องบินมือสองได้รับจากสเปนพร้อมกับการส่งมอบ เรือหลวงจักรีนฤเบศรและประจำการบนเรือหลวงจักรีนฤเบศร

C-Harrier เข้าปฏิบัติภารกิจช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย เมื่อปี 2534 และที่สมรภูมิโคโซโว จนกระทั่งถึงสมรภูมิเซียร์ร่า ลีโอนเป็นสมรภูมิสุดท้ายก่อนปลดประจำการ

FRS1 เป็นเครื่องบินรุ่นแรกของตระกูล Harrier และต่อมาเป็นรุ่น FA2 ปัจจุบันเข้าประจำการในกองทัพเรืออังกฤษ ออกแบบสร้างขึ้นในช่วงของสงครามเย็น มีความโดดเด่นเป็นพิเศษในการขึ้น-ลงแนวดิ่ง เพื่อรองรับการโจมตีทางอากาศที่เครื่องบินรบรุ่นอื่นไม่สามารถขึ้นบินได้นั่นเอง

Harrier จึงเป็นเครื่องรุ่นเดียวที่สามารถขึ้นบินสกัดกั้นการโจมตีทางอากาศในยุโรป โดยสามารถขึ้นได้แม้ที่บริเวณลานจอดรถของซูเปอร์มาร์เกตหรือบนถนนในแถบชนบทที่มีความแคบเป็นรถสวนกัน 2 ช่องทาง

Harrier ติดตั้งระบบ Avionics ที่ดีกว่าและนักบินได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี ติดตั้งอาวุธที่ดีกว่า เป็นผลให้การรบทางอากาศที่สงครามฟอล์คแลนด์ประสบความสำเร็จอย่างสูง

ติดตั้งระบบเรดาร์ควบคุมการยิง BlueFox ที่มีความแม่นยำสูงและติดตั้งขีปนาวุธนำวิถีจากอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ ประกอบกับคุณลักษณะพิเศษที่สามารถบินลอยตัวนิ่งอยู่บนอากาศได้ สามารถโจมตีเครื่องบินของกองทัพอากาศอาร์เจนติน่าไปได้ 23 เครื่อง

ต่อมาได้รับการพัฒนาต่อเนื่องหลังจากบทเรียนจากสงครามโฟล์คแลนด์ ปรับปรุงขีดความสามารถเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของการบรรทุกจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศ ระบบเรดาร์ที่มีขีดความสามารถสูง ระบบแสดงข้อมูลในห้องนักบิน ติดตั้งระบบเรดาร์ Pulse Doppler Radar ที่ทันสมัยมากที่สุดในโลก

นอกจากนี้สามารถติดขีปนาวุธจากอากาศสู่อากาศพิสัยปานกลางได้ ต่อมาได้พัฒนาเป็นรุ่น GR7 และล่าสุดเป็นรุ่น GR9 ที่ผลิตจากวัสดุผสม ไม่ต้องปลดอาวุธทิ้งลงสู่ทะเลเมื่อไม่ได้ใช้ขณะบินลงสู่ฐานที่เป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน

มิติตัวเครื่อง ความยาว 14.16 เมตร ความกว้างปีก 13.06 เมตร ความสูง 3.71 เมตร พื้นที่ปีก 18.68 ตารางเมตร น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 11,880 กิโลกรัม น้ำหนักเครื่องเปล่า 66,320 กิโลกรัม น้ำหนักบรรทุกอาวุธเต็มพิกัด 10,000 ปอนด์ ความจุถังเชื้อเพลิง 2,295 กิโลกรัม ความจุเชื้อเพลิงนอกตัวเครื่อง 3,000 ลิตร

เครื่องยนต์ Rolls Royce Pegasus Mk 104 หรือ Mk106 turbofan สมรรถนะ ความเร็วสูงสุด 1.25 มัค จำนวนที่นั่ง 1-2 ที่นั่ง รัศมีการบิน 5,382 กิโลเมตร

อาวุธประจำเครื่องประกอบด้วย ปืนกล Aden ขนาด 30 มม. 2 กระบอก wing weapon pylons 4 ชุด under-fuselage weapon pylon ขีปนาวุธวิถีSidewinder AIM-9L AAM จำนวน 2 ชุด ASRAAM ระเบิด Mk 82 จำนวน 16 ลูกหรือ Mk 83 จำนวน 6 ลูก ขีปนาวุธMaverick อากาศสู่พื้นต่อต้านขีปนาวุธ จำนวน 4 ลูก ระเบิดนำวิถี Paveway II and III laser-guided จรวด CRV-7 Storm Shadow CASOM จำนวน 2 ชุด

By : C. Methas - Executive Editor

เครื่องบินโจมตีปฏิบัติการหลากภารกิจของกองทัพอากาศและกองทัพเรืออังกฤษที่มีความโดดเด่นในส่วนของการบินขึ้น-ลงแนวดิ่งพัฒนาต่อเนื่องออกมาหลายรุ่นด้วยกัน เข้าประจำการในกองทัพอากาศและกองทัพเรืออังกฤษและล่าสุดที่ได้ถูกปลดประจำการออกไป

กองทัพเรืออังกฤษได้ทำพิธีปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ แบบ C- Harrier FA2 สังกัดฝูงบินที่ 801 ซึ่งเป็นฝูงบินสุดท้ายที่มีเครื่องบินรุ่นนี้ หลังจากปฏิบัติภารกิจมายาวนานถึง 26 ปี โดยตลอดเวลาที่เข้าประจำการได้ออกปฏิบัติการหลากหลายภูมิภาคทั่วโลก โดยเฉพาะที่สมรภูมิหมู่เกาะฟอล์คแลนด์ ได้สร้างชื่อเสียงให้กับ C-Harrier FS1 เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

ฮ็อคเกอร์-ซิดเดลี่ย์ แฮริเออร์ (Hawker-Siddeley Harrier) เป็นเครื่องบินรบขึ้นลงทางดิ่งและขึ้นลงระยะสั้นแบบแรก แฮริเออร์ได้รับการพัฒนาจากเครื่องบินวิจัย พี.1127 ของ บริษัทฮอคเกอร์ ซิดเดลีย์ และได้ทำการทดสอบบินในการบินขึ้นแนวดิ่งโดยอิสระเป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ. 1960 ซึ่งในเวลาต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไข พี-1127 และเปลี่ยนขื่อเป็น เคสเทิล และการบินทั่วไปในปี ค.ศ. 1961 ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากอังกฤษ สหรัฐฯ และ เยอรมันตะวันตก รวมทั้งสิ้นใช้เวลาในการพัฒนาเป็นเวลา 6 ปี

เครื่องต้นแบบ แฮริเออร์ บินครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1966 และ แฮริเออร์รุ่นแรกเริ่มประจำการใน กองทัพอากาศอังกฤษ เมื่อ 1 เมษายน ปี ค.ศ. 1969 ในวันที่ 5 มกราคม ปี ค.ศ. 1971 แฮริเออร์ได้ทำสถิติการบินขึ้นลงทางดิ่งจนถึงระยะความสูงกว่า 9,000 เมตร ในเวลา 1 นาที 44.7 วินาที และที่ความสูง 12,000 เมตร ในเวลา 2 นาที 22.7 วินาที แฮริเออร์ได้รับการสั่งสร้างถึงเดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1975 เป็นจำนวนกว่า 220 เครื่อง

เครื่องบินแฮริเออร์รุ่นต่างๆ ดังนี้

แฮริเออร์ จีอาร์ หมายเลข 1,1เอ และ 3 เป็นเจ๊ตสนับสนุนภาคพื้นดิน และ เจ๊ตตรวจการณ์ทางยุทธวิธี

แฮริเออร์ ที หมายเลข 2, 2เอ และ 4 เป็นเจ๊ตฝึกทำการรบ 2 ที่นั่ง

แฮริเออร์ เอฟอาร์เอส หมายเลข 1 ซีแฮริเออร์ (SEA HARRIER) เป็นเครื่องบินรบทางทะเล ประจำการในเรือรบ

แฮริเออร์ หมายเลข 50 สร้างจำหน่ายให้แก่หน่วยนาวิกโยธินของสหรัฐฯ และกำหนดสัญลักษณ์ใหม่ว่า เอวี-8 เอ ซึ่งต่อมา แม็คดอนเนลล์ ดักลาส ของสหรัฐอเมริกาได้ซื้อลิขสิทธิ์ไปสร้าง และ พัฒนาเป็น เอวี-8บี หรือ แฮริเออร์ขึ้นสูง (ADVANCED HARRIER)

สำหรับประเทศไทยนั้น มีเครื่องบินแฮริเออร์แบบ AV-8S (รุ่นที่นั่งเดี่ยว)/TAV-8S (รุ่นที่นั่งคู่) Matador รวมกันจำนวน 9 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องบินมือสองได้รับจากสเปนพร้อมกับการส่งมอบ เรือหลวงจักรีนฤเบศรและประจำการบนเรือหลวงจักรีนฤเบศร

C-Harrier เข้าปฏิบัติภารกิจช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย เมื่อปี 2534 และที่สมรภูมิโคโซโว จนกระทั่งถึงสมรภูมิเซียร์ร่า ลีโอนเป็นสมรภูมิสุดท้ายก่อนปลดประจำการ

FRS1 เป็นเครื่องบินรุ่นแรกของตระกูล Harrier และต่อมาเป็นรุ่น FA2 ปัจจุบันเข้าประจำการในกองทัพเรืออังกฤษ ออกแบบสร้างขึ้นในช่วงของสงครามเย็น มีความโดดเด่นเป็นพิเศษในการขึ้น-ลงแนวดิ่ง เพื่อรองรับการโจมตีทางอากาศที่เครื่องบินรบรุ่นอื่นไม่สามารถขึ้นบินได้นั่นเอง

Harrier จึงเป็นเครื่องรุ่นเดียวที่สามารถขึ้นบินสกัดกั้นการโจมตีทางอากาศในยุโรป โดยสามารถขึ้นได้แม้ที่บริเวณลานจอดรถของซูเปอร์มาร์เกตหรือบนถนนในแถบชนบทที่มีความแคบเป็นรถสวนกัน 2 ช่องทาง

Harrier ติดตั้งระบบ Avionics ที่ดีกว่าและนักบินได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี ติดตั้งอาวุธที่ดีกว่า เป็นผลให้การรบทางอากาศที่สงครามฟอล์คแลนด์ประสบความสำเร็จอย่างสูง

ติดตั้งระบบเรดาร์ควบคุมการยิง BlueFox ที่มีความแม่นยำสูงและติดตั้งขีปนาวุธนำวิถีจากอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ ประกอบกับคุณลักษณะพิเศษที่สามารถบินลอยตัวนิ่งอยู่บนอากาศได้ สามารถโจมตีเครื่องบินของกองทัพอากาศอาร์เจนติน่าไปได้ 23 เครื่อง

ต่อมาได้รับการพัฒนาต่อเนื่องหลังจากบทเรียนจากสงครามโฟล์คแลนด์ ปรับปรุงขีดความสามารถเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของการบรรทุกจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศ ระบบเรดาร์ที่มีขีดความสามารถสูง ระบบแสดงข้อมูลในห้องนักบิน ติดตั้งระบบเรดาร์ Pulse Doppler Radar ที่ทันสมัยมากที่สุดในโลก

นอกจากนี้สามารถติดขีปนาวุธจากอากาศสู่อากาศพิสัยปานกลางได้ ต่อมาได้พัฒนาเป็นรุ่น GR7 และล่าสุดเป็นรุ่น GR9 ที่ผลิตจากวัสดุผสม ไม่ต้องปลดอาวุธทิ้งลงสู่ทะเลเมื่อไม่ได้ใช้ขณะบินลงสู่ฐานที่เป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน

มิติตัวเครื่อง ความยาว 14.16 เมตร ความกว้างปีก 13.06 เมตร ความสูง 3.71 เมตร พื้นที่ปีก 18.68 ตารางเมตร น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 11,880 กิโลกรัม น้ำหนักเครื่องเปล่า 66,320 กิโลกรัม น้ำหนักบรรทุกอาวุธเต็มพิกัด 10,000 ปอนด์ ความจุถังเชื้อเพลิง 2,295 กิโลกรัม ความจุเชื้อเพลิงนอกตัวเครื่อง 3,000 ลิตร

เครื่องยนต์ Rolls Royce Pegasus Mk 104 หรือ Mk106 turbofan สมรรถนะ ความเร็วสูงสุด 1.25 มัค จำนวนที่นั่ง 1-2 ที่นั่ง รัศมีการบิน 5,382 กิโลเมตร

อาวุธประจำเครื่องประกอบด้วย ปืนกล Aden ขนาด 30 มม. 2 กระบอก wing weapon pylons 4 ชุด under-fuselage weapon pylon ขีปนาวุธวิถีSidewinder AIM-9L AAM จำนวน 2 ชุด ASRAAM ระเบิด Mk 82 จำนวน 16 ลูกหรือ Mk 83 จำนวน 6 ลูก ขีปนาวุธMaverick อากาศสู่พื้นต่อต้านขีปนาวุธ จำนวน 4 ลูก ระเบิดนำวิถี Paveway II and III laser-guided จรวด CRV-7 Storm Shadow CASOM จำนวน 2 ชุด

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!