MONGOLIA-การขยายอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ในอดีตของเผ่ามองโกล (ตอนที่ 3)


By : C. Methas – Managing Editor

ระบบทหารของมองโกลเป็นระบบที่ไม่มีความสลับซับซ้อนคล้ายกับสภาพการดำรงชีวิตในท้องทุ่งตั้งแต่อดีตที่เป็นพวกเร่ร่อนตามทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลในเอเชียกลาง กินไขมันและนมม้าเป็นอาหารประจำ ชนชาติกลุ่มนี้จึงไม่รู้จักกับคำว่า “สิ่งกีดขวาง” พวกมองโกลรู้จักการข้ามแม่นํ้าด้วยการใช้ถุงหนังที่พองลมเป็นเครื่องพยุงตัวมายาวนาน การดำรงชีวิตแบบง่ายๆ นี้จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีการจัดระเบียบสังคม

เจ็งกิสข่านใช้ยุทธศาสตร์ลักษณะประจำชาติง่าย ๆ นี้ในการทำศึก เมื่อเกิดศึกสงคราม พวกมองโกลจะกลายสภาพเป็นทหารทุกคน พวกมองโกลขี่ม้าเก่งมาตั้งแต่เด็ก มีความสามารถในการเคลื่อนที่ได้รวดเร็วและเข้าโจมตีข้าศึกโดยวิธีการบีบทางด้านข้างแล้วปลีกตัวออก ธนูซึ่งยาวกว่าปกติเป็นอาวุธที่สำคัญ สามารถยิงได้ระยะไกล ยิงข้าศึกจากระยะไกลจนข้าศึกแตกก่อนแล้วจึงเข้าตี

นอกจากนี้ยังมีม้าสำรองที่บรรทุกอาวุธยุทโธปกรณ์เป็น “คลังแสงเคลื่อนที่” ถ้าหากม้าตัวหนึ่งตัวใดถูกฆ่าหรือได้รับบาดเจ็บหรือเหนื่อย จะใช้ม้าสำรองแทนและเป็น “เสบียงที่มีชีวิต” ผู้ที่จะสามารถต่อกรกับพวกมองโกลได้ต้องมีคุณสมบัติดังกล่าวทัดเทียมกับพวกมองโกลและระหว่างทะเลญี่ปุ่นไปจนถึงพรมแดนออสเตรียยังหากลุ่มชนชาติของคนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ไม่พบ

“พวกมัมลู้ก” แห่งอาณาจักรอัยยูบมีเชื้อสายเติร์กเป็นพวกที่เร่ร่อนอยู่ในทุ่งหญ้าเอเชียกลาง ขี่ม้าเก่งและรู้จักการใช้ธนูตั้งแต่ยังเด็ก ได้รับการฝึกอบรมมาให้มีระเบียบวินัย แต่เปรียบเทียบกับพวกมองโกลมีความได้เปรียบทางด้านอาวุธ ธนูของพวกมองโกลมีขนาดยาวกว่าและสามรถยิงได้ไกลกว่า แต่ไปถูกโอบล้อมในหุบเขาแคบ ๆ พวกมองโกลพ่ายแพ้และเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก

สงครามอัยน์ ญาลูต เป็นสงครามที่สำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ชัยชนะของพวกมัมลู้กได้ช่วยปกป้องคุ้มครองอิสลามให้รอดพ้นจากการข่มขู่คุกคามที่อันตรายที่สุดที่มุสลิมเคยพบมา ถ้าหากว่าพวกเขามองโกลสามารถตีอียิปต์ได้ ทางด้านตะวันออกของโมร็อกโคจะไม่มีรัฐมุสลิมหลงเหลืออีกเลย

ถ้าหากพวกมองโกลสามารถครอบครองฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันออกและด้านใต้ได้ พวกมองโกลอาจจะตกอยู่ใต้อิทธิพลคริสเตียน ถ้าหากพวกมองโกลดำเนินรอยตามเจ้าชายคริสเตียนอย่างเช่น “คิตบูกา” ศาสนาคริสต์อาจจะมารุ่งโรจน์อยู่ตรงใจกลางของแผ่นดินอิสลามได้ สงครามที่อัยน์ ญาลูต จึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางเดินของกระแสประวัติศาสตร์อิสลามทั้งในแง่ของศาสนาและในแง่ของการทหารด้วย

หลังจากนั้นพวกมัมลู้กได้เข้ายึดครองฟิลิสตีนหรือปาเลสไตน์ในปัจจุบัน ซีเรีย อิรักตะวันตก และอนาโตเลียทางตอนใต้ไว้ พวกมองโกลหลังจากที่ได้นั่งอยู่บนรั้วตรงกลางระหว่างอิสลามกับคริสเตียนอยู่เป็นเวลานานก็ได้มาเข้าฝ่ายมุสลิมอยู่ที่นั่นในที่สุด

ต่อมามองโกลได้ย้อนกลับมารุกอาณาจักรต้าหลี่ ดินแดนแหล่งต้นน้ำแยงซี เริ่มจากช่วงปลายฤดูร้อน ปี 1253 และได้ขยายต่อไปยังธิเบต เข้ามารวมอยู่ในอาณาจักรของมองโกลที่ประกอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ มากมาย

ต่อจากนั้นได้รุกเข้าไปพิชิตเกาหลี เริ่มตั้งแต่ปีค.ศ. 1258 หลังจากก่อนหน้านี้เคยเข้ามาโจมตีแต่ไม่สำเร็จ ซึ่งเกาหลียอมแต่โดยดี จึงรุกเข้าสู่ญี่ปุ่นต่อในปีค.ศ. 1268 แต่โชกุนญี่ปุ่นไม่ยอม ถูกปฏิเสธจากการแจ้งความประสงค์จะเข้าเฝ้าโชกุนและได้ขับไล่คณะทูตออกไป มองโกลได้จัดทัพเรือข้ามไปรุกญี่ปุ่น ประสบชัยชนะในช่วงแรก แต่เจอพายุ จึงถูกญี่ปุ่นทำลายจนพ่ายแพ้กลับมา

ปีค.ศ. 1280 จัดทัพเข้าบุกญี่ปุ่นอีกครั้ง แต่ไปเจอพายุและคลื่นสึนามิ ส่งผลให้กองเรือเสียหายและลูกเรือเสียชีวิตจำนวนมาก พายุครั้งนั้นชาวญี่ปุ่นเรียกว่า “พายุกามิกาเซ” เป็นที่มาของพายุที่ช่วยให้ญี่ปุ่นปลอดภัยต่อสงครามของมองโกล จนสามารถผลักดันกองทัพมองโกลออกไปได้
กุบไลข่านได้หยุดพักการบุกญี่ปุ่นไว้และได้ขยายลงสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้วิธีการเช่นเดิม ได้แก่ การส่งทูตไปก่อนเพื่อให้ยอมจำนนและยอมรับอำนาจของพวกมองโกล หากไม่ยอมจำนนก็จะใช้การสงครามบุกเข้าไปโจมตียึดเมือง

การขยายอำนาจมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มขึ้นด้วยการรุกเข้าอาณาจักรพุกามหรือพม่าในปัจจุบัน แต่อาณาจักรพุกามไม่ยอมจำนน กองทัพมองโกลบุกโจมตีอย่างหนัก กองทัพพม่าเสียหายย่อยยับเคลื่อนทัพเข้ายึดเมืองหลักไว้ได้แถบชายแดน จนกระทั่งในปีค.ศ. 1287 ได้ส่งกองทัพเข้าพิชิตอาณาจักรพุกามอย่างเด็ดขาด ยกทัพเข้าไปบุกยึดเมืองหลวงได้สำเร็จ ท้ายที่สุด พระเจ้านรธิหบดีของพม่าได้ยอมจำนน จนกระทั่งได้ปลงพระชนม์ด้วยการเสวยยาพิษ

By : C. Methas - Managing Editor

ระบบทหารของมองโกลเป็นระบบที่ไม่มีความสลับซับซ้อนคล้ายกับสภาพการดำรงชีวิตในท้องทุ่งตั้งแต่อดีตที่เป็นพวกเร่ร่อนตามทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลในเอเชียกลาง กินไขมันและนมม้าเป็นอาหารประจำ ชนชาติกลุ่มนี้จึงไม่รู้จักกับคำว่า “สิ่งกีดขวาง” พวกมองโกลรู้จักการข้ามแม่นํ้าด้วยการใช้ถุงหนังที่พองลมเป็นเครื่องพยุงตัวมายาวนาน การดำรงชีวิตแบบง่ายๆ นี้จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีการจัดระเบียบสังคม

เจ็งกิสข่านใช้ยุทธศาสตร์ลักษณะประจำชาติง่าย ๆ นี้ในการทำศึก เมื่อเกิดศึกสงคราม พวกมองโกลจะกลายสภาพเป็นทหารทุกคน พวกมองโกลขี่ม้าเก่งมาตั้งแต่เด็ก มีความสามารถในการเคลื่อนที่ได้รวดเร็วและเข้าโจมตีข้าศึกโดยวิธีการบีบทางด้านข้างแล้วปลีกตัวออก ธนูซึ่งยาวกว่าปกติเป็นอาวุธที่สำคัญ สามารถยิงได้ระยะไกล ยิงข้าศึกจากระยะไกลจนข้าศึกแตกก่อนแล้วจึงเข้าตี

นอกจากนี้ยังมีม้าสำรองที่บรรทุกอาวุธยุทโธปกรณ์เป็น "คลังแสงเคลื่อนที่" ถ้าหากม้าตัวหนึ่งตัวใดถูกฆ่าหรือได้รับบาดเจ็บหรือเหนื่อย จะใช้ม้าสำรองแทนและเป็น "เสบียงที่มีชีวิต" ผู้ที่จะสามารถต่อกรกับพวกมองโกลได้ต้องมีคุณสมบัติดังกล่าวทัดเทียมกับพวกมองโกลและระหว่างทะเลญี่ปุ่นไปจนถึงพรมแดนออสเตรียยังหากลุ่มชนชาติของคนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ไม่พบ

“พวกมัมลู้ก” แห่งอาณาจักรอัยยูบมีเชื้อสายเติร์กเป็นพวกที่เร่ร่อนอยู่ในทุ่งหญ้าเอเชียกลาง ขี่ม้าเก่งและรู้จักการใช้ธนูตั้งแต่ยังเด็ก ได้รับการฝึกอบรมมาให้มีระเบียบวินัย แต่เปรียบเทียบกับพวกมองโกลมีความได้เปรียบทางด้านอาวุธ ธนูของพวกมองโกลมีขนาดยาวกว่าและสามรถยิงได้ไกลกว่า แต่ไปถูกโอบล้อมในหุบเขาแคบ ๆ พวกมองโกลพ่ายแพ้และเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก

สงครามอัยน์ ญาลูต เป็นสงครามที่สำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ชัยชนะของพวกมัมลู้กได้ช่วยปกป้องคุ้มครองอิสลามให้รอดพ้นจากการข่มขู่คุกคามที่อันตรายที่สุดที่มุสลิมเคยพบมา ถ้าหากว่าพวกเขามองโกลสามารถตีอียิปต์ได้ ทางด้านตะวันออกของโมร็อกโคจะไม่มีรัฐมุสลิมหลงเหลืออีกเลย

ถ้าหากพวกมองโกลสามารถครอบครองฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันออกและด้านใต้ได้ พวกมองโกลอาจจะตกอยู่ใต้อิทธิพลคริสเตียน ถ้าหากพวกมองโกลดำเนินรอยตามเจ้าชายคริสเตียนอย่างเช่น “คิตบูกา” ศาสนาคริสต์อาจจะมารุ่งโรจน์อยู่ตรงใจกลางของแผ่นดินอิสลามได้ สงครามที่อัยน์ ญาลูต จึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางเดินของกระแสประวัติศาสตร์อิสลามทั้งในแง่ของศาสนาและในแง่ของการทหารด้วย

หลังจากนั้นพวกมัมลู้กได้เข้ายึดครองฟิลิสตีนหรือปาเลสไตน์ในปัจจุบัน ซีเรีย อิรักตะวันตก และอนาโตเลียทางตอนใต้ไว้ พวกมองโกลหลังจากที่ได้นั่งอยู่บนรั้วตรงกลางระหว่างอิสลามกับคริสเตียนอยู่เป็นเวลานานก็ได้มาเข้าฝ่ายมุสลิมอยู่ที่นั่นในที่สุด

ต่อมามองโกลได้ย้อนกลับมารุกอาณาจักรต้าหลี่ ดินแดนแหล่งต้นน้ำแยงซี เริ่มจากช่วงปลายฤดูร้อน ปี 1253 และได้ขยายต่อไปยังธิเบต เข้ามารวมอยู่ในอาณาจักรของมองโกลที่ประกอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ มากมาย

ต่อจากนั้นได้รุกเข้าไปพิชิตเกาหลี เริ่มตั้งแต่ปีค.ศ. 1258 หลังจากก่อนหน้านี้เคยเข้ามาโจมตีแต่ไม่สำเร็จ ซึ่งเกาหลียอมแต่โดยดี จึงรุกเข้าสู่ญี่ปุ่นต่อในปีค.ศ. 1268 แต่โชกุนญี่ปุ่นไม่ยอม ถูกปฏิเสธจากการแจ้งความประสงค์จะเข้าเฝ้าโชกุนและได้ขับไล่คณะทูตออกไป มองโกลได้จัดทัพเรือข้ามไปรุกญี่ปุ่น ประสบชัยชนะในช่วงแรก แต่เจอพายุ จึงถูกญี่ปุ่นทำลายจนพ่ายแพ้กลับมา

ปีค.ศ. 1280 จัดทัพเข้าบุกญี่ปุ่นอีกครั้ง แต่ไปเจอพายุและคลื่นสึนามิ ส่งผลให้กองเรือเสียหายและลูกเรือเสียชีวิตจำนวนมาก พายุครั้งนั้นชาวญี่ปุ่นเรียกว่า “พายุกามิกาเซ” เป็นที่มาของพายุที่ช่วยให้ญี่ปุ่นปลอดภัยต่อสงครามของมองโกล จนสามารถผลักดันกองทัพมองโกลออกไปได้ กุบไลข่านได้หยุดพักการบุกญี่ปุ่นไว้และได้ขยายลงสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้วิธีการเช่นเดิม ได้แก่ การส่งทูตไปก่อนเพื่อให้ยอมจำนนและยอมรับอำนาจของพวกมองโกล หากไม่ยอมจำนนก็จะใช้การสงครามบุกเข้าไปโจมตียึดเมือง

การขยายอำนาจมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มขึ้นด้วยการรุกเข้าอาณาจักรพุกามหรือพม่าในปัจจุบัน แต่อาณาจักรพุกามไม่ยอมจำนน กองทัพมองโกลบุกโจมตีอย่างหนัก กองทัพพม่าเสียหายย่อยยับเคลื่อนทัพเข้ายึดเมืองหลักไว้ได้แถบชายแดน จนกระทั่งในปีค.ศ. 1287 ได้ส่งกองทัพเข้าพิชิตอาณาจักรพุกามอย่างเด็ดขาด ยกทัพเข้าไปบุกยึดเมืองหลวงได้สำเร็จ ท้ายที่สุด พระเจ้านรธิหบดีของพม่าได้ยอมจำนน จนกระทั่งได้ปลงพระชนม์ด้วยการเสวยยาพิษ

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!