จารึกตำนานรถแข่งสูตร 1 : ประวัติศึกฟอร์มูล่า-วันยุคใหม่ช่วงแรกปีที่ 3 ค.ศ. 1953 (ตอนที่ 3) – เฟอร์รารี่ผงาดโค่นแชมป์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์


By : C. Methas – Managing Editor

ในปีแรกของศึกฟอร์มูล่า-วันสมัยใหม่ปีแรก ค.ศ. 1950 ทีม Alfa Romeo กวาด 3 อันดับแรกไปได้ทั้งหมดและสามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ไปครองโดย Giuseppe Nino Farina นักแข่งสัญชาติอิตาลีคว้าแชมป์โลกประเภทผู้ขับ รองแชมป์ตกเป็นของ Juan Manuel Fangio นักแข่งสัญชาติอาร์เจนติน่าในสังกัดทีม Alfa Romeo และอันดับ 3 เป็นของ Luigi Fagioli นักขับสัญชาติอิตาลีจากทีม Alfa Romeo

ปีต่อมา ค.ศ. 1951 ของศึกฟอร์มูล่า-วัน Juan Manuel Fangio คว้าแชมป์ไปครองและคว้าแชมป์โลกได้สำเร็จเป็นสมัยแรกให้กับทีม Alfa Romeo พร้อมกับเป็นนักขับที่ทำความเร็วต่อรอบได้เร็วที่สุดรวม 5 สนาม ส่วน Alberto Ascari คว้ารองแชมป์ให้กับทีม Ferrari ขณะที่ Jose Froilan Gonzalez จากทีม Ferrari ติดอันดับ 3 ตามมาด้วย Giuseppe Nino Farina และ Luigi Villoresi นักแข่งของทีม Ferrari ตั้งแต่สมัยแรกติดอันดับ 5 ของตารางแชมป์โลก

สมัยที่ 3 ของศึกฟอร์มูล่า-วันยุคใหม่ในปี ค.ศ. 1952 มีนักแข่งและทีมแข่งเข้าร่วมการแข่งขันมากขึ้น ทำการแข่งขันรวม 8 สนามประเดิมสนามแรกที่ศึกสวิสเซอร์แลนด์ กรังด์ปรีซ์ทำการแข่งขันในวันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคมและไปสิ้นสุดการแข่งขันที่ศึกอิตาเลี่ยน กรังด์ปรีซ์ในวันอาทิตย์ที่ 7 กันยายนปีเดียวกัน

alberto-ascari1

Alberto Ascari รองแชมป์เมื่อปีที่แล้วสามารถคว้าแชมป์โลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรกและเป็นการคว้าแชมป์โลกให้กับทีม Ferrari ได้เป็นสมัยแรกโดยใช้ชื่อทีม Scuderia-Ferrari นับว่าเป็นการโค่นทีม Alfa Romeo ได้สำเร็จหลังจากกวาดแชมป์มา 2 สมัยซ้อน นอกจากนี้ 3 สมัยแรกของศึกฟอร์มูล่า-วันยุคใหม่เป็นผลัดกันคว้าแชมป์ของนักขับ 3 ราย

ในสมัยที่ 3 ของศึกเอฟ-วัน ทีม Ferrari สามารถกวาด 4 อันดับแรกไปครองโดย 3 อันดับแรกเป็นของนักขับจากอิตาลีทั้งหมด อันดับ 2 เป็นของ Giuseppe Nino Farina อันดับ 3 เป็นของ Piero Taruffi และอันดับ 4 เป็นของ Rudi Fischer นักขับจากสวิสเซอร์แลนด์ ส่วนอันดับ 5 เป็นของ Mike Hawthorn ทีม Cooper จากอังกฤษ

ทีม Alfa Romeo ไม่ได้ส่งทีมลงแข่งขันในสมัยที่ 3 เนื่องจากไม่ได้พัฒนารถแข่งรุ่นใหม่และได้ถอนตัวออกจากการแข่งขันไป Juan Manuel Fangio แชมป์เมื่อปี ค.ศ. 1951 และคู่หู Stirling Moss ไม่ได้ลงแข่งขัน เนื่องจาก Juan Manuel Fangio ประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บก่อนเปิดฤดูกาลที่สนามแข่งมอนซ่าในอิตาลี ต่อมาได้ย้ายไปขับให้กับทีม BRM ส่วนทีม Maserati ได้ส่งทีมลงแข่งขันเป็นสมัยแรกและสามารถติดอันดับ 9 ของตารางประเภทผู้ขับโดย Jose Froilan Gonzalez

alta_f2_1952

สนามแรกที่ศึกสวิสเซอร์แลนด์ กรังด์ปรีซ์ Piero Taruffi คว้าแชมป์ไปครองให้กับทีม Ferrari และเป็นนักขับที่ทำความเร็วต่อรอบได้เร็วที่สุด ส่วน Giuseppe Nino Farina คว้าโพล โพสิชั่นได้ สนามต่อมาไปแข่งขันที่สหรัฐอเมริกายังไม่มีทีมแข่งจากยุโรปส่งทีมไปร่วมแข่งขันจึงเป็นการแข่งขันของนักขับและทีมแข่งของสหรัฐฯทั้งหมดเช่นเดียวกับ 2 ปีแรก

สนามที่ 3 รายการเบลเยี่ยน กรังด์ปรีซ์ทำการแข่งขันที่สปา ฟรังโกชองส์ เซอร์กิต Alberto Ascari โชว์ฟอร์มร้อนแรงด้วยการกวาดอันดับดีที่สุดไปได้ทั้งหมดตั้งแต่การคว้าโพล โพสิชั่นไปครอง, ทำความเร็วต่อรอบได้เร็วที่สุดและคว้าแชมป์ประเภทผู้ขับ

jean-behra-drives-his-gordini-type-16-through-the-karussell-german-grand-prix-nurburgring-august-3-1952

สนามที่ 4 รายการฝรั่งเศส กรังด์ปรีซ์ทำการแข่งขันเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1952 Alberto Ascari ยังร้อนแรงต่อเนื่องด้วยการกวาดอันดับแรกไปได้ทั้งหมดเช่นเดียวกับสนามก่อนหน้านี้และสนามต่อมาที่รายการอังกฤษ กรังด์ปรีซ์ Alberto Ascari คว้าแชมป์ไปครองได้ติดต่อกัน 3 สนามซ้อนและเป็นนักขับที่ทำความเร็วต่อรอบได้เร็วที่สุด ส่วน Giuseppe Nino Farina คว้าโพล โพสิชั่นไปครองแต่ไปเข้าเส้นชัยในอันดับ 6 ไม่มีแต้มติดมือออกไปเนื่องจากในยุคแรกให้คะแนนสำหรับ 5 อันดับแรกเท่านั้น ส่วนนักขับเจ้าถิ่น Mike Hawthorn เข้าเส้นชัยในอันดับ 3 ซึ่งเป็นผลงานที่ดีที่สุดในชีวิตเอฟ-วันโดยลงขับให้กับทีม Cooper ที่มีฐานบัญชาการใหญ่อยู่ที่อังกฤษ

สนามที่ 6 รายการเยอรมนี กรังด์ปรีซ์ทำการแข่งขันที่นัวบวร์กริ่ง เซอร์กิต Alberto Ascari กวาดแชมป์ติดต่อกันเป็นสนามที่ 4 และเป็นนักขับที่คว้าอันดับดีที่สุดไปได้ทั้งหมดด้วยการคว้าโพล โพสิชั่น, ทำความเร็วต่อรอบได้เร็วที่สุดและคว้าแชมป์ประจำรายการไปครอง

สนามที่ 7 รายการฮอลแลนด์ กรังด์ปรีซ์ Alberto Ascari ยังร้อนแรงต่อเนื่องด้วยการคว้าอันดับดีที่สุดติดต่อกันและกวาดแชมป์ 5 สนามซ้อน นอกจากนี้สนามปิดฤดูกาลที่ศึกอิตาเลี่ยน กรังด์ปรีซ์ทำการแข่งขันที่มอนซ่า เซอร์กิต Alberto Ascari ปิดฉากได้อย่างสวยหรูด้วยการกวาดแชมป์ติดต่อกัน 6 สนามซ้อนหลังจากคว้าโพล โพสิชั่นไปครองพร้อมกับเป็นนักขับที่ทำความเร็วต่อรอบได้เร็วที่สุดส่งผลให้ทีม Scuderia-Ferrari คว้าดับเบิ้ลแชมป์ไปครองเป็นสมัยแรกของศึกเอฟ-วันยุคใหม่

4veritas_meteor

By : C. Methas - Managing Editor

ในปีแรกของศึกฟอร์มูล่า-วันสมัยใหม่ปีแรก ค.ศ. 1950 ทีม Alfa Romeo กวาด 3 อันดับแรกไปได้ทั้งหมดและสามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ไปครองโดย Giuseppe Nino Farina นักแข่งสัญชาติอิตาลีคว้าแชมป์โลกประเภทผู้ขับ รองแชมป์ตกเป็นของ Juan Manuel Fangio นักแข่งสัญชาติอาร์เจนติน่าในสังกัดทีม Alfa Romeo และอันดับ 3 เป็นของ Luigi Fagioli นักขับสัญชาติอิตาลีจากทีม Alfa Romeo

ปีต่อมา ค.ศ. 1951 ของศึกฟอร์มูล่า-วัน Juan Manuel Fangio คว้าแชมป์ไปครองและคว้าแชมป์โลกได้สำเร็จเป็นสมัยแรกให้กับทีม Alfa Romeo พร้อมกับเป็นนักขับที่ทำความเร็วต่อรอบได้เร็วที่สุดรวม 5 สนาม ส่วน Alberto Ascari คว้ารองแชมป์ให้กับทีม Ferrari ขณะที่ Jose Froilan Gonzalez จากทีม Ferrari ติดอันดับ 3 ตามมาด้วย Giuseppe Nino Farina และ Luigi Villoresi นักแข่งของทีม Ferrari ตั้งแต่สมัยแรกติดอันดับ 5 ของตารางแชมป์โลก

สมัยที่ 3 ของศึกฟอร์มูล่า-วันยุคใหม่ในปี ค.ศ. 1952 มีนักแข่งและทีมแข่งเข้าร่วมการแข่งขันมากขึ้น ทำการแข่งขันรวม 8 สนามประเดิมสนามแรกที่ศึกสวิสเซอร์แลนด์ กรังด์ปรีซ์ทำการแข่งขันในวันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคมและไปสิ้นสุดการแข่งขันที่ศึกอิตาเลี่ยน กรังด์ปรีซ์ในวันอาทิตย์ที่ 7 กันยายนปีเดียวกัน

alberto-ascari1

Alberto Ascari รองแชมป์เมื่อปีที่แล้วสามารถคว้าแชมป์โลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรกและเป็นการคว้าแชมป์โลกให้กับทีม Ferrari ได้เป็นสมัยแรกโดยใช้ชื่อทีม Scuderia-Ferrari นับว่าเป็นการโค่นทีม Alfa Romeo ได้สำเร็จหลังจากกวาดแชมป์มา 2 สมัยซ้อน นอกจากนี้ 3 สมัยแรกของศึกฟอร์มูล่า-วันยุคใหม่เป็นผลัดกันคว้าแชมป์ของนักขับ 3 ราย

ในสมัยที่ 3 ของศึกเอฟ-วัน ทีม Ferrari สามารถกวาด 4 อันดับแรกไปครองโดย 3 อันดับแรกเป็นของนักขับจากอิตาลีทั้งหมด อันดับ 2 เป็นของ Giuseppe Nino Farina อันดับ 3 เป็นของ Piero Taruffi และอันดับ 4 เป็นของ Rudi Fischer นักขับจากสวิสเซอร์แลนด์ ส่วนอันดับ 5 เป็นของ Mike Hawthorn ทีม Cooper จากอังกฤษ

ทีม Alfa Romeo ไม่ได้ส่งทีมลงแข่งขันในสมัยที่ 3 เนื่องจากไม่ได้พัฒนารถแข่งรุ่นใหม่และได้ถอนตัวออกจากการแข่งขันไป Juan Manuel Fangio แชมป์เมื่อปี ค.ศ. 1951 และคู่หู Stirling Moss ไม่ได้ลงแข่งขัน เนื่องจาก Juan Manuel Fangio ประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บก่อนเปิดฤดูกาลที่สนามแข่งมอนซ่าในอิตาลี ต่อมาได้ย้ายไปขับให้กับทีม BRM ส่วนทีม Maserati ได้ส่งทีมลงแข่งขันเป็นสมัยแรกและสามารถติดอันดับ 9 ของตารางประเภทผู้ขับโดย Jose Froilan Gonzalez

alta_f2_1952

สนามแรกที่ศึกสวิสเซอร์แลนด์ กรังด์ปรีซ์ Piero Taruffi คว้าแชมป์ไปครองให้กับทีม Ferrari และเป็นนักขับที่ทำความเร็วต่อรอบได้เร็วที่สุด ส่วน Giuseppe Nino Farina คว้าโพล โพสิชั่นได้ สนามต่อมาไปแข่งขันที่สหรัฐอเมริกายังไม่มีทีมแข่งจากยุโรปส่งทีมไปร่วมแข่งขันจึงเป็นการแข่งขันของนักขับและทีมแข่งของสหรัฐฯทั้งหมดเช่นเดียวกับ 2 ปีแรก

สนามที่ 3 รายการเบลเยี่ยน กรังด์ปรีซ์ทำการแข่งขันที่สปา ฟรังโกชองส์ เซอร์กิต Alberto Ascari โชว์ฟอร์มร้อนแรงด้วยการกวาดอันดับดีที่สุดไปได้ทั้งหมดตั้งแต่การคว้าโพล โพสิชั่นไปครอง, ทำความเร็วต่อรอบได้เร็วที่สุดและคว้าแชมป์ประเภทผู้ขับ

jean-behra-drives-his-gordini-type-16-through-the-karussell-german-grand-prix-nurburgring-august-3-1952

สนามที่ 4 รายการฝรั่งเศส กรังด์ปรีซ์ทำการแข่งขันเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1952 Alberto Ascari ยังร้อนแรงต่อเนื่องด้วยการกวาดอันดับแรกไปได้ทั้งหมดเช่นเดียวกับสนามก่อนหน้านี้และสนามต่อมาที่รายการอังกฤษ กรังด์ปรีซ์ Alberto Ascari คว้าแชมป์ไปครองได้ติดต่อกัน 3 สนามซ้อนและเป็นนักขับที่ทำความเร็วต่อรอบได้เร็วที่สุด ส่วน Giuseppe Nino Farina คว้าโพล โพสิชั่นไปครองแต่ไปเข้าเส้นชัยในอันดับ 6 ไม่มีแต้มติดมือออกไปเนื่องจากในยุคแรกให้คะแนนสำหรับ 5 อันดับแรกเท่านั้น ส่วนนักขับเจ้าถิ่น Mike Hawthorn เข้าเส้นชัยในอันดับ 3 ซึ่งเป็นผลงานที่ดีที่สุดในชีวิตเอฟ-วันโดยลงขับให้กับทีม Cooper ที่มีฐานบัญชาการใหญ่อยู่ที่อังกฤษ

สนามที่ 6 รายการเยอรมนี กรังด์ปรีซ์ทำการแข่งขันที่นัวบวร์กริ่ง เซอร์กิต Alberto Ascari กวาดแชมป์ติดต่อกันเป็นสนามที่ 4 และเป็นนักขับที่คว้าอันดับดีที่สุดไปได้ทั้งหมดด้วยการคว้าโพล โพสิชั่น, ทำความเร็วต่อรอบได้เร็วที่สุดและคว้าแชมป์ประจำรายการไปครอง

สนามที่ 7 รายการฮอลแลนด์ กรังด์ปรีซ์ Alberto Ascari ยังร้อนแรงต่อเนื่องด้วยการคว้าอันดับดีที่สุดติดต่อกันและกวาดแชมป์ 5 สนามซ้อน นอกจากนี้สนามปิดฤดูกาลที่ศึกอิตาเลี่ยน กรังด์ปรีซ์ทำการแข่งขันที่มอนซ่า เซอร์กิต Alberto Ascari ปิดฉากได้อย่างสวยหรูด้วยการกวาดแชมป์ติดต่อกัน 6 สนามซ้อนหลังจากคว้าโพล โพสิชั่นไปครองพร้อมกับเป็นนักขับที่ทำความเร็วต่อรอบได้เร็วที่สุดส่งผลให้ทีม Scuderia-Ferrari คว้าดับเบิ้ลแชมป์ไปครองเป็นสมัยแรกของศึกเอฟ-วันยุคใหม่

4veritas_meteor

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!