The Legends of Automobile : ตอนที่ 2 ก่อนกำเนิดรถยนต์คันแรกของโลก


By : C. Methas – Managing Edition

ก่อนจะกล่าวกันถึงรถยนต์คันแรกของโลกอย่างแท้จริงที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ รถยนต์คันแรกขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรไอน้ำได้ถูกสร้างขึ้นมาก่อนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1765 สำหรับการขนส่งปืนใหญ่และได้พัฒนาต่อมาในปี ค.ศ. 1769 เป็นรถยนต์นั่งแบบ 3 ล้อ

ส่วน “รถม้าลาก” เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่พัฒนาสำหรับการขนส่งและการเดินทางที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 14 โดยคำว่า Carriage เป็นภาษาเก่าแก่แถบทางตอนเหนือของฝรั่งเศสยุคเก่าที่ใช้คำว่า Cariage ส่วนคำว่า Car มีความหมายถึงเกวียน 2 ล้อสำหรับการขนส่งสินค้า

ก่อนหน้านั้นมนุษย์ได้ใช้สัตว์ต่าง ๆ เป็นพาหนะทั้งวัว, ควาย, ช้าง, ม้า, ลา, ล่อ, แพะ, อูฐและสุนัข แม้กระทั่งไก่งวงที่นำมาเทียมเกวียน ต่อมาได้มีการวิวัฒนาการหลายรูปแบบเพื่อให้สามารถรองรับการบรรทุกและการเดินทางระยะไกล อาทิ กุบช้าง, กระโจมทองเหนือหลังช้างและช้างศึกทั้งในยุโรปและเอเซียซึ่งกระโจมทองของมหาราชาแห่งทราแวนคอร์ได้เริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1841 ปัจจุบันได้แสดงไว้ที่ Napier Museum at Trivandrum

“รถม้าลาก” ได้พัฒนามาจาก “รถเข็น” มีทั้งแบบ 2 ล้อ 1 เพลาและแบบ 4 ล้อมี 2 เพลาโดยแบบ 4 ล้อมีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน หนึ่งในนั้นเป็นชื่อ Wagon หรือ “เกวียน” เป็นสิ่งประดิษฐ์สำหรับการบรรทุกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากโดยใช้สัตว์เข้ามาเทียมเพื่อการลาก-จูงสินค้าทางการเกษตร, สินค้าและขนส่งผู้คนโดยส่วนใหญ่จะใช้ในชนบท

เกวียนจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามแต่ภูมิภาคของโลก บางแห่งเกวียนจะมีขนาดเล็กและใช้สัตว์ขนาดเล็กสำหรับลาก-จูงที่เรียกกันว่า Cart เช่น สุนัข, ลาและแพะ ส่วนเกวียนขนาดใหญ่จะใช้ม้า, ล่อ, อูฐ, ควาย, วัวและช้าง

“เกวียน” ได้พัฒนาสำหรับการเดินทางที่รวดเร็วมากขึ้นและมีหลากหลายรูปแบบ นอกจากนี้ได้พัฒนาให้เกวียนสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้มากและมีขนาดใหญ่ขึ้น ระบบกันสะเทือนได้นำแหนบเข้ามาใช้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 และตกแต่งด้วยหนังแท้ในห้องโดยสาร

เกวียนสำหรับการเดินทางสำหรับสาธารณะได้ออกแบบมาหลายรูปแบบด้วยกัน เกวียนแบบ 2 ล้อเป็นสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ซึ่งสามารถทำความเร็วได้เร็วที่สุดเป็นแบบที่เรียกว่า Chariot หรือรถม้าโดยใช้ม้า 1 หรือ 2 ตัวสำหรับการลาก-จูงได้กำเนิดขึ้นในยุคเมโสโปเตเมียช่วง 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช

ในยุคโรมันช่วงศตวรรษของคริสต์ศักราชได้ใช้เกวียนสำหรับการเดินทางข้ามประเทศได้มีการพัฒนาระบบช่วงล่างให้นุ่มนวลโดยใช้โซ่และหนังแท้ มีการค้นพบว่าได้ใช้อุปกรณ์ในการขุดเจาะตั้งแต่สมัยนั้น ต่อมาเกวียนในยุคกลางได้พัฒนามีหลังคาลักษณะคล้ายกับเกวียนในอเมริกาแบบที่เรียกว่า Conestoga Wagon ต่อมาได้พัฒนาเกวียนมี 6 ล้อ มี 3 เพลา ขนาดตัวเกวียนใหญ่ขึ้น

เกวียนแบบรถโดยสารได้พัฒนาให้มีน้ำหนักเบาลงและใช้ม้าลากเพียงตัวเดียวออกแบบจากฮังการีโดยนำโลหะเข้ามาประกอบสร้างในบางส่วนเพื่อให้มีความแข็งแรงทนทานซึ่งเกวียนในสมัยนั้นจะใช้ไม้มาผลิตสร้าง ขณะเดียวกันได้พัฒนาเกวียนที่ทำความเร็วสูงด้วยการใช้ม้าเทียม 3 ตัวสำหรับกษัตริย์ Mathias Corvinus (ค.ศ. 1458-1490) ที่ชื่นชอบกับการเดินทางด้วยความเร็ว

ชาวฮังกาเรี่ยนได้พัฒนาเกวียนสำหรับการขนส่งระหว่างเมืองบูดาเปสท์และเวียนนาจนเป็นที่มาของ “เกวียนฮังกาเรี่ยน” ที่มีขนาดใหญ่แต่น้ำหนักเบาและบรรทุกผู้โดยสารได้ 8 คนโดยใช้ม้าเทียมเพียงตัวเดียวเนื่องจากสะดวกต่อการเดินทางเข้าไปในเมืองใหญ่ซึ่งจะให้ความคล่องตัวสูงมากขึ้น

ต่อมา “เกวียนฮังกาเรี่ยน” ได้รับความนิยมอย่างสูงทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากมีความนุ่มนวลและสะดวกสบายต่อการเดินทางระหว่างเมืองใหญ่ เกวียนของฮังการีนี้ได้รับการขนานนามว่า Coach

Coach หรือเกวียนฮังการีได้แผ่ขยายอย่างรวดเร็ว ก่อนนี้จะพบเพียงในแถบเมือง Veste Coburg, Lisbon และ Moscow เท่านั้น ในศตวรรษที่ 17 ได้เกิดนวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับเหล็กสปริงประกอบกับถนนได้ถูกสร้างขึ้นและแผ่ขยายไปทั่วยุโรป เกวียนฮังการีได้พบเห็นทั่วทั้งยุโรปมากขึ้น ต่อมานวัตกรรมเหล็กสปริงนี้ได้นำไปสู่การออกแบบระบบกันสะเทือนที่เรียกว่า C-spring

ส่วนทางอเมริกาเหนือได้เริ่มใช้เกวียนจากการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรปที่อพยพย้ายถิ่นเข้ามาในทวีปอเมริกาเหนือ ในช่วงแรกถนนหนทางสำหรับม้าได้สร้างเป็นทางเกวียนที่ขยายไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะการขยายทางเกวียนไปยังฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นดินแดนอาณานิคม

การแผ่ขยายอาณานิคมไปยังฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ได้มีการใช้เกวียนกันอย่างแพร่หลายและการค้าได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็นการเชื่อมต่อระหว่างตอนเหนือกับตอนใต้ของทวีปอเมริกาเหนือและรถม้าลากได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากสำหรับการขนส่งสินค้า

เกษตรกรปลูกยาสูบทางตอนใต้ได้ใช้รถม้าสำหรับการขนส่งสินค้าเป็นรายแรก ชาวอเมริกันรายแรกที่ได้สร้างโครงเค้าของระบบการขนส่งของมนุษยชาติ อุตสาหกรรมยาสูบได้เติบโตทางแถบอาณานิคมตอนใต้ การขนส่งโดยรถม้าลาก, เกวียนและเกวียนฮังการีได้ถูกนำมาใช้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ต่อมาได้ถูกขยายออกไปสู่ทุกภูมิภาคทั่วโลก

รถม้าลาก, เกวียนและเกวียนฮังการีได้ถูกลดบทบาทลงไปหลังจากรถจักรไอน้ำได้เริ่มผลิตขึ้น เครื่องจักรไอน้ำได้ชัยชนะอย่างรวดเร็วจากสมรภูมิที่ใช้พลังงานจากสัตว์

หนังสือพิมพ์ในอังกฤษเมื่อปีค.ศ. 1895 ได้พาดหัวว่า “เนื้อม้าต่อสู้กับเครื่องจักรไอน้ำ” อันเป็นจุดเด่นของความหายนะของเกวียนในระบบการขนส่ง

ปัจจุบันเกวียนยังถูกใช้เป็นเครื่องมือหลักสำหรับการขนส่งแบบวันต่อวันในกลุ่มชาว Amish และบางแห่งได้ใช้สำหรับนักท่องเที่ยวเพื่อท่องชมเมืองที่เมือง Bruges, Vienna และ New Orleans

By : C. Methas - Managing Edition

ก่อนจะกล่าวกันถึงรถยนต์คันแรกของโลกอย่างแท้จริงที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ รถยนต์คันแรกขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรไอน้ำได้ถูกสร้างขึ้นมาก่อนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1765 สำหรับการขนส่งปืนใหญ่และได้พัฒนาต่อมาในปี ค.ศ. 1769 เป็นรถยนต์นั่งแบบ 3 ล้อ

ส่วน “รถม้าลาก” เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่พัฒนาสำหรับการขนส่งและการเดินทางที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 14 โดยคำว่า Carriage เป็นภาษาเก่าแก่แถบทางตอนเหนือของฝรั่งเศสยุคเก่าที่ใช้คำว่า Cariage ส่วนคำว่า Car มีความหมายถึงเกวียน 2 ล้อสำหรับการขนส่งสินค้า

ก่อนหน้านั้นมนุษย์ได้ใช้สัตว์ต่าง ๆ เป็นพาหนะทั้งวัว, ควาย, ช้าง, ม้า, ลา, ล่อ, แพะ, อูฐและสุนัข แม้กระทั่งไก่งวงที่นำมาเทียมเกวียน ต่อมาได้มีการวิวัฒนาการหลายรูปแบบเพื่อให้สามารถรองรับการบรรทุกและการเดินทางระยะไกล อาทิ กุบช้าง, กระโจมทองเหนือหลังช้างและช้างศึกทั้งในยุโรปและเอเซียซึ่งกระโจมทองของมหาราชาแห่งทราแวนคอร์ได้เริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1841 ปัจจุบันได้แสดงไว้ที่ Napier Museum at Trivandrum

“รถม้าลาก” ได้พัฒนามาจาก “รถเข็น” มีทั้งแบบ 2 ล้อ 1 เพลาและแบบ 4 ล้อมี 2 เพลาโดยแบบ 4 ล้อมีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน หนึ่งในนั้นเป็นชื่อ Wagon หรือ “เกวียน” เป็นสิ่งประดิษฐ์สำหรับการบรรทุกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากโดยใช้สัตว์เข้ามาเทียมเพื่อการลาก-จูงสินค้าทางการเกษตร, สินค้าและขนส่งผู้คนโดยส่วนใหญ่จะใช้ในชนบท

เกวียนจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามแต่ภูมิภาคของโลก บางแห่งเกวียนจะมีขนาดเล็กและใช้สัตว์ขนาดเล็กสำหรับลาก-จูงที่เรียกกันว่า Cart เช่น สุนัข, ลาและแพะ ส่วนเกวียนขนาดใหญ่จะใช้ม้า, ล่อ, อูฐ, ควาย, วัวและช้าง

“เกวียน” ได้พัฒนาสำหรับการเดินทางที่รวดเร็วมากขึ้นและมีหลากหลายรูปแบบ นอกจากนี้ได้พัฒนาให้เกวียนสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้มากและมีขนาดใหญ่ขึ้น ระบบกันสะเทือนได้นำแหนบเข้ามาใช้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 และตกแต่งด้วยหนังแท้ในห้องโดยสาร

เกวียนสำหรับการเดินทางสำหรับสาธารณะได้ออกแบบมาหลายรูปแบบด้วยกัน เกวียนแบบ 2 ล้อเป็นสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ซึ่งสามารถทำความเร็วได้เร็วที่สุดเป็นแบบที่เรียกว่า Chariot หรือรถม้าโดยใช้ม้า 1 หรือ 2 ตัวสำหรับการลาก-จูงได้กำเนิดขึ้นในยุคเมโสโปเตเมียช่วง 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช

ในยุคโรมันช่วงศตวรรษของคริสต์ศักราชได้ใช้เกวียนสำหรับการเดินทางข้ามประเทศได้มีการพัฒนาระบบช่วงล่างให้นุ่มนวลโดยใช้โซ่และหนังแท้ มีการค้นพบว่าได้ใช้อุปกรณ์ในการขุดเจาะตั้งแต่สมัยนั้น ต่อมาเกวียนในยุคกลางได้พัฒนามีหลังคาลักษณะคล้ายกับเกวียนในอเมริกาแบบที่เรียกว่า Conestoga Wagon ต่อมาได้พัฒนาเกวียนมี 6 ล้อ มี 3 เพลา ขนาดตัวเกวียนใหญ่ขึ้น

เกวียนแบบรถโดยสารได้พัฒนาให้มีน้ำหนักเบาลงและใช้ม้าลากเพียงตัวเดียวออกแบบจากฮังการีโดยนำโลหะเข้ามาประกอบสร้างในบางส่วนเพื่อให้มีความแข็งแรงทนทานซึ่งเกวียนในสมัยนั้นจะใช้ไม้มาผลิตสร้าง ขณะเดียวกันได้พัฒนาเกวียนที่ทำความเร็วสูงด้วยการใช้ม้าเทียม 3 ตัวสำหรับกษัตริย์ Mathias Corvinus (ค.ศ. 1458-1490) ที่ชื่นชอบกับการเดินทางด้วยความเร็ว

ชาวฮังกาเรี่ยนได้พัฒนาเกวียนสำหรับการขนส่งระหว่างเมืองบูดาเปสท์และเวียนนาจนเป็นที่มาของ “เกวียนฮังกาเรี่ยน” ที่มีขนาดใหญ่แต่น้ำหนักเบาและบรรทุกผู้โดยสารได้ 8 คนโดยใช้ม้าเทียมเพียงตัวเดียวเนื่องจากสะดวกต่อการเดินทางเข้าไปในเมืองใหญ่ซึ่งจะให้ความคล่องตัวสูงมากขึ้น

ต่อมา “เกวียนฮังกาเรี่ยน” ได้รับความนิยมอย่างสูงทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากมีความนุ่มนวลและสะดวกสบายต่อการเดินทางระหว่างเมืองใหญ่ เกวียนของฮังการีนี้ได้รับการขนานนามว่า Coach

Coach หรือเกวียนฮังการีได้แผ่ขยายอย่างรวดเร็ว ก่อนนี้จะพบเพียงในแถบเมือง Veste Coburg, Lisbon และ Moscow เท่านั้น ในศตวรรษที่ 17 ได้เกิดนวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับเหล็กสปริงประกอบกับถนนได้ถูกสร้างขึ้นและแผ่ขยายไปทั่วยุโรป เกวียนฮังการีได้พบเห็นทั่วทั้งยุโรปมากขึ้น ต่อมานวัตกรรมเหล็กสปริงนี้ได้นำไปสู่การออกแบบระบบกันสะเทือนที่เรียกว่า C-spring

ส่วนทางอเมริกาเหนือได้เริ่มใช้เกวียนจากการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรปที่อพยพย้ายถิ่นเข้ามาในทวีปอเมริกาเหนือ ในช่วงแรกถนนหนทางสำหรับม้าได้สร้างเป็นทางเกวียนที่ขยายไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะการขยายทางเกวียนไปยังฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นดินแดนอาณานิคม

การแผ่ขยายอาณานิคมไปยังฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ได้มีการใช้เกวียนกันอย่างแพร่หลายและการค้าได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็นการเชื่อมต่อระหว่างตอนเหนือกับตอนใต้ของทวีปอเมริกาเหนือและรถม้าลากได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากสำหรับการขนส่งสินค้า

เกษตรกรปลูกยาสูบทางตอนใต้ได้ใช้รถม้าสำหรับการขนส่งสินค้าเป็นรายแรก ชาวอเมริกันรายแรกที่ได้สร้างโครงเค้าของระบบการขนส่งของมนุษยชาติ อุตสาหกรรมยาสูบได้เติบโตทางแถบอาณานิคมตอนใต้ การขนส่งโดยรถม้าลาก, เกวียนและเกวียนฮังการีได้ถูกนำมาใช้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ต่อมาได้ถูกขยายออกไปสู่ทุกภูมิภาคทั่วโลก

รถม้าลาก, เกวียนและเกวียนฮังการีได้ถูกลดบทบาทลงไปหลังจากรถจักรไอน้ำได้เริ่มผลิตขึ้น เครื่องจักรไอน้ำได้ชัยชนะอย่างรวดเร็วจากสมรภูมิที่ใช้พลังงานจากสัตว์

หนังสือพิมพ์ในอังกฤษเมื่อปีค.ศ. 1895 ได้พาดหัวว่า “เนื้อม้าต่อสู้กับเครื่องจักรไอน้ำ” อันเป็นจุดเด่นของความหายนะของเกวียนในระบบการขนส่ง

ปัจจุบันเกวียนยังถูกใช้เป็นเครื่องมือหลักสำหรับการขนส่งแบบวันต่อวันในกลุ่มชาว Amish และบางแห่งได้ใช้สำหรับนักท่องเที่ยวเพื่อท่องชมเมืองที่เมือง Bruges, Vienna และ New Orleans

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!