The Legends of Automobile : ตอนที่ 21 เครื่องยนต์ดีเซลแผ่ขยายรวดเร็วใช้กับรถไฟ, โรงไฟฟ้า, รถบรรทุก, เรือเดินสมุทรและโรงงานอุตสาหกรรม


By : C. Methas – Managing Editor

ในปี ค.ศ. 1912 เครื่องยนต์ดีเซลถูกผลิตออกไปมากกว่า 70,000 เครื่อง ถูกส่งไปจำหน่ายทั่วโลกซึ่งเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมรถไฟและโรงผลิตไฟฟ้า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รถบรรทุกและรถโดยสารได้เริ่มหันมาใช้เครื่องยนต์ดีเซลกันมากขึ้น เนื่องจากให้พละกำลังมากสำหรับการบรรทุกหนักและประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่า นอกจากนี้น้ำมันดีเซลยังมีราคาถูกกว่า

เครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องที่ใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมันถั่วหรือน้ำมันพืชชนิดต่าง ๆ ในยุคแรกและสามารถดัดแปลงไปใช้เชื้อเพลิงจากพืชได้หลากหลายชนิดตามแต่ละท้องถิ่น นอกจากนี้เครื่องดีเซลยังสามารถสร้างได้หลายขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งานโดยช่างพื้นบ้านสามารถนำไปปรับปรุงพัฒนาได้เองซึ่งได้ส่งผลต่อการแข่งขันกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ ราคาแพงและเป็นการผูกขาดจำกัดอยู่ในแวดวงแคบ ๆ

เครื่องยนต์ดีเซลได้พัฒนาไปใช้เป็นเครื่องยนต์สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่, เรือดำน้ำ, เรือเดินสมุทร, รถไฟและนำไปใช้เป็นเครื่องยนต์สำหรับโรงงานต่าง ๆ รวมทั้งโรงงานผลิตไฟฟ้า Rudolf Diesel ได้จดสิทธิบัตรเครื่องยนต์ดีเซลเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1892 ปีต่อมาเขาได้เขียนหนังสือชื่อว่า “Theory and Construction of a Rational Heat Engine to Replace the Steam Engine and Contemporary Combustion Engine”

การพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมหลายประเภท อาทิในยุคเริ่มแรกเครื่องยนต์ดีเซลขยายวงกว้างเข้าไปสู่อุตสาหกรรมโรงงานขนาดใหญ่รวมทั้งโรงผลิตไฟฟ้าที่มีขนาดต่าง ๆ ทั้งผลิตไฟฟ้าสำหรับชุมชนจนไปถึงสำหรับเมืองใหญ่

โรงงานผลิตเบียร์ Budweiser ในสหรัฐอเมริกาใช้เครื่องยนต์ดีเซลในโรงงานผลิตเป็นแห่งแรก ส่วนรถไฟพลังงานได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วจนกระทั่งทยอยหายไปจากรางรถไฟ แล้วก็ถึงยุคสิ้นสุดของรถไฟพลังงานไอน้ำเมื่อเครื่องยนต์ดีเซลเข้ามามีบทบาทกวาดรถไฟไอน้ำตกเวทีประวัติศาสตร์ไปในที่สุด หัวรถจักรคันแรกของโลกวางเครื่องดีเซลสำหรับการเดินทางไกลเป็นรถไฟของรัสเซียที่ชื่อว่า Teplovoz Eel2 ที่เมืองเคียฟเมื่อปี ค.ศ. 1924

เครื่องยนต์ดีเซลสำหรับรถไฟได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาโดยให้แรงบิดสูงสามารถลาก-จูงขบวนรถไฟทั้งเพื่อการบรรทุกผู้โดยสารและบรรทุกสินค้าข้ามทวีปได้ นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเครื่องยนต์สำหรับรถบรรทุกจนประสบความสำเร็จโดยรถบรรทุกส่วนใหญ่จะวางเครื่องยนต์ดีเซล

ค่าย Cummins ผู้ผลิตเครื่องยนต์ของสหรัฐอเมริกาเป็นค่ายยักษ์ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงกับการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลทั้งสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ไปจนถึงรถแข่งตั้งแต่ยุคแรกที่สามารถคว้าแชมป์ได้หลายรายการโดยคว้าแชมป์ครั้งแรกได้เมื่อปี ค.ศ. 1931 ในศีกอินเดียน่าโปลีส 500 ซึ่งการแข่งขันครั้งนั้นรถแข่งขับโดยเดฟ อีวานส์ไม่เข้าพิท สต็อปแม้แต่ครั้งเดียว

ส่วนรถโดยสารวางเครื่องดีเซลได้ทำการทดสอบข้ามทวีปอเมริกาเหนือจากขอบชายฝั่งไปยังอีกขอบชายฝั่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งประวัติศาสตร์ของการปฏิวัติครั้งใหญ่สำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายในโดยทางค่าย Reo Motors ได้ทำการโฆษณาชูจุดเด่นของเครื่องยนต์ดีเซลว่า “260 ไมล์เพียง 2 เหรียญ 4 เซ็น”

ส่วนยุคใหม่ของเครื่องดีเซลที่ประสบความสำเร็จด้วยการกวาดแชมป์ในศึกเลอ มังส์ 24 ชั่วโมงของทีมออดี้ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่รถแข่งในรายการดังกล่าววางเครื่องดีเซลคว้าแชมป์ได้เมื่อปี ค.ศ. 2006 ด้วยรถแข่งรหัส R10 TDI และกวาดแชมป์ติดต่อกันหลายสมัย จนกระทั่งปี ค.ศ. 2016 ออดี้ประกาศยุติส่งทีมลงแข่งขันในศึกเลอ มังส์ 24 ชั่วโมงโดยจะมุ่งไปแข่งขันในรายการฟอร์มูล่า-อี รถแข่งไฟฟ้าประมาณปี ค.ศ. 2018

เครื่องยนต์ดีเซลได้พัฒนาให้มีขนาดใหญ่โตมากความสูงเท่ากับตึกหลายชั้น ปัจจุบันเครื่องยนต์ดีเซลใหญ่ที่สุดในโลกเป็นเครื่องของ Wartsila-Sulzer ดีเซลเทอร์โบชาร์จ แบบ 2 จังหวะ ความเร็วรอบต่ำติดตั้งไว้ในเรือเดินสมุทรบรรทุกสินค้าขนาดยักษ์ เครื่องยนต์ แบบ 14 สูบ ความสูงของเครื่อง 13.5 เมตร ความยาว 25.6 เมตร น้ำหนักมากกว่า 2,300 ตัน ขับแรงม้าสูงสุด 80,080 กิโลวัตต์หรือ 107,389 แรงม้า อัตราส่วนกำลังอัด 140 บาร์หรือมากกว่า 2,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้วสำหรับลูกสูบและ 1,091 ตันของแรงดันลูกสูบด้านบนสุดของแรงอัดช่วงชัก

By : C. Methas - Managing Editor

ในปี ค.ศ. 1912 เครื่องยนต์ดีเซลถูกผลิตออกไปมากกว่า 70,000 เครื่อง ถูกส่งไปจำหน่ายทั่วโลกซึ่งเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมรถไฟและโรงผลิตไฟฟ้า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รถบรรทุกและรถโดยสารได้เริ่มหันมาใช้เครื่องยนต์ดีเซลกันมากขึ้น เนื่องจากให้พละกำลังมากสำหรับการบรรทุกหนักและประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่า นอกจากนี้น้ำมันดีเซลยังมีราคาถูกกว่า

เครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องที่ใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมันถั่วหรือน้ำมันพืชชนิดต่าง ๆ ในยุคแรกและสามารถดัดแปลงไปใช้เชื้อเพลิงจากพืชได้หลากหลายชนิดตามแต่ละท้องถิ่น นอกจากนี้เครื่องดีเซลยังสามารถสร้างได้หลายขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งานโดยช่างพื้นบ้านสามารถนำไปปรับปรุงพัฒนาได้เองซึ่งได้ส่งผลต่อการแข่งขันกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ ราคาแพงและเป็นการผูกขาดจำกัดอยู่ในแวดวงแคบ ๆ

เครื่องยนต์ดีเซลได้พัฒนาไปใช้เป็นเครื่องยนต์สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่, เรือดำน้ำ, เรือเดินสมุทร, รถไฟและนำไปใช้เป็นเครื่องยนต์สำหรับโรงงานต่าง ๆ รวมทั้งโรงงานผลิตไฟฟ้า Rudolf Diesel ได้จดสิทธิบัตรเครื่องยนต์ดีเซลเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1892 ปีต่อมาเขาได้เขียนหนังสือชื่อว่า “Theory and Construction of a Rational Heat Engine to Replace the Steam Engine and Contemporary Combustion Engine”

การพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมหลายประเภท อาทิในยุคเริ่มแรกเครื่องยนต์ดีเซลขยายวงกว้างเข้าไปสู่อุตสาหกรรมโรงงานขนาดใหญ่รวมทั้งโรงผลิตไฟฟ้าที่มีขนาดต่าง ๆ ทั้งผลิตไฟฟ้าสำหรับชุมชนจนไปถึงสำหรับเมืองใหญ่

โรงงานผลิตเบียร์ Budweiser ในสหรัฐอเมริกาใช้เครื่องยนต์ดีเซลในโรงงานผลิตเป็นแห่งแรก ส่วนรถไฟพลังงานได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วจนกระทั่งทยอยหายไปจากรางรถไฟ แล้วก็ถึงยุคสิ้นสุดของรถไฟพลังงานไอน้ำเมื่อเครื่องยนต์ดีเซลเข้ามามีบทบาทกวาดรถไฟไอน้ำตกเวทีประวัติศาสตร์ไปในที่สุด หัวรถจักรคันแรกของโลกวางเครื่องดีเซลสำหรับการเดินทางไกลเป็นรถไฟของรัสเซียที่ชื่อว่า Teplovoz Eel2 ที่เมืองเคียฟเมื่อปี ค.ศ. 1924

เครื่องยนต์ดีเซลสำหรับรถไฟได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาโดยให้แรงบิดสูงสามารถลาก-จูงขบวนรถไฟทั้งเพื่อการบรรทุกผู้โดยสารและบรรทุกสินค้าข้ามทวีปได้ นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเครื่องยนต์สำหรับรถบรรทุกจนประสบความสำเร็จโดยรถบรรทุกส่วนใหญ่จะวางเครื่องยนต์ดีเซล

ค่าย Cummins ผู้ผลิตเครื่องยนต์ของสหรัฐอเมริกาเป็นค่ายยักษ์ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงกับการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลทั้งสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ไปจนถึงรถแข่งตั้งแต่ยุคแรกที่สามารถคว้าแชมป์ได้หลายรายการโดยคว้าแชมป์ครั้งแรกได้เมื่อปี ค.ศ. 1931 ในศีกอินเดียน่าโปลีส 500 ซึ่งการแข่งขันครั้งนั้นรถแข่งขับโดยเดฟ อีวานส์ไม่เข้าพิท สต็อปแม้แต่ครั้งเดียว

ส่วนรถโดยสารวางเครื่องดีเซลได้ทำการทดสอบข้ามทวีปอเมริกาเหนือจากขอบชายฝั่งไปยังอีกขอบชายฝั่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งประวัติศาสตร์ของการปฏิวัติครั้งใหญ่สำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายในโดยทางค่าย Reo Motors ได้ทำการโฆษณาชูจุดเด่นของเครื่องยนต์ดีเซลว่า “260 ไมล์เพียง 2 เหรียญ 4 เซ็น”

ส่วนยุคใหม่ของเครื่องดีเซลที่ประสบความสำเร็จด้วยการกวาดแชมป์ในศึกเลอ มังส์ 24 ชั่วโมงของทีมออดี้ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่รถแข่งในรายการดังกล่าววางเครื่องดีเซลคว้าแชมป์ได้เมื่อปี ค.ศ. 2006 ด้วยรถแข่งรหัส R10 TDI และกวาดแชมป์ติดต่อกันหลายสมัย จนกระทั่งปี ค.ศ. 2016 ออดี้ประกาศยุติส่งทีมลงแข่งขันในศึกเลอ มังส์ 24 ชั่วโมงโดยจะมุ่งไปแข่งขันในรายการฟอร์มูล่า-อี รถแข่งไฟฟ้าประมาณปี ค.ศ. 2018

เครื่องยนต์ดีเซลได้พัฒนาให้มีขนาดใหญ่โตมากความสูงเท่ากับตึกหลายชั้น ปัจจุบันเครื่องยนต์ดีเซลใหญ่ที่สุดในโลกเป็นเครื่องของ Wartsila-Sulzer ดีเซลเทอร์โบชาร์จ แบบ 2 จังหวะ ความเร็วรอบต่ำติดตั้งไว้ในเรือเดินสมุทรบรรทุกสินค้าขนาดยักษ์ เครื่องยนต์ แบบ 14 สูบ ความสูงของเครื่อง 13.5 เมตร ความยาว 25.6 เมตร น้ำหนักมากกว่า 2,300 ตัน ขับแรงม้าสูงสุด 80,080 กิโลวัตต์หรือ 107,389 แรงม้า อัตราส่วนกำลังอัด 140 บาร์หรือมากกว่า 2,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้วสำหรับลูกสูบและ 1,091 ตันของแรงดันลูกสูบด้านบนสุดของแรงอัดช่วงชัก

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!