The Legends of Automobile : ตอนที่ 26 จุดสิ้นสุดรถยนต์ไอน้ำหลังการมาถึงของเครื่องยนต์สันดาปภายใน(ตอน 5)


By : C. Methas – Managing Edition

รถยนต์ได้มีการประดิษฐ์คิดค้นและทำการทดลองมาตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 17 และ 18 ก่อนที่จะสร้างได้สำเร็จอย่างเป็นจริงเป็นจังหลังจาก Richard Trevithick ได้พัฒนาเครื่องจักรพลังงานไอน้ำแรงดันสูงและได้นำมาติดตั้งกับเกวียนซึ่งนับว่าเป็นรถยนต์พลังงานไอน้ำที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองอย่างแท้จริง

ก่อนหน้านี้รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานของตัวเองคันแรกของโลกได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยกัปตันชาวฝรั่งเศส Nicolas Jacob Cugnot เป็นรถยนต์ที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำเป็นพลังงานสำหรับเคลื่อนย้ายปืนใหญ่

Nicolas Jacob Cugnot ที่ได้ประดิษฐ์ “รถยนต์พลังงานไอน้ำ” เป็นคันแรกของโลกเขาเคยผ่านประสบการณ์การประดิษฐ์สร้างเครื่องจักรไอน้ำให้กับกองทัพของฝรั่งเศสและท้ายที่สุดได้สร้างรถยนต์สำหรับเคลื่อนย้ายปืนใหญ่ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1765 เรียกว่า Fardier a vapeur ซึ่งมีความหมายว่า “รถไอน้ำ”

Cugnot เป็นหนึ่งในนักประดิษฐ์กลุ่มแรกที่ได้สร้างเครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ลูกสูบเป็นพลังในการขับเคลื่อนและต่อมาได้มีการพัฒนารถยนต์พลังงานไอน้ำให้มีขนาดเล็กลงและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นในปี ค.ศ. 1769 และพัฒนาต่อเนื่องอีกครั้งในปี ค.ศ. 1771

ปีค.ศ. 1799 Richard Trevithick วิศวกรเหมืองแร่และนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องจักรแรงดันสูงขึ้นเป็นครั้งแรกและได้ผลิตเพื่อการพาณิชย์โดยพัฒนาหม้อต้มที่ใช้เทคโนโลยี่สูงขึ้นโดยใช้ลูกสูบขนาดเล็กเข้ามาเป็นอุปกรณ์บางส่วนเพื่อให้มีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบา

ต่อมาในปี ค.ศ. 1803 ได้พัฒนาไปเป็นเกวียนไอน้ำเป็นครั้งแรกโดยได้ทำการทดสอบบนถนนในกรุงลอนดอน เครื่องยนต์ไอน้ำแรงดันสูงของ Richard Trevithick ได้เกิดระเบิดขึ้นจนทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 รายเมื่อปี ค.ศ. 1803 ที่ Greenwich เนื่องจากการออกแบบที่ผิดพลาดซึ่งต่อมาได้มีการคิดค้นระบบวาล์วขึ้นมาเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น ระบบวาล์วได้ออกแบบให้ลดแรงดันของหม้อต้มไอน้ำและสามารถควบคุมระดับแรงดันและระดับน้ำ

สำหรับรถยนต์ไอน้ำหลังจากได้ผลิตจนสำเร็จเพื่อการจำหน่ายและท้ายที่สุดได้ยุติบทบาทลงไปหลังจากรถยนต์ติดเครื่องยนต์สันดาปภายในใช้น้ำมันเชื้อเพลิงประสบความสำเร็จทั้งในเรื่องของการบำรุงรักษาและการใช้งานได้สะดวกกว่า แต่หลังจากประสบปัญหาในเรื่องของมลภาวะจากระบบไอเสีย ในช่วงทศวรรษที่ 1960 ได้มีการพัฒนารถยนต์ไอน้ำขึ้นมาอีกครั้งในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกาและต่อเนื่องถึงช่วงปี ค.ศ. 1973 เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติน้ำมันแพง แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

ในช่วงทศวรรษที่ 1890 ได้มีการสร้างรถยนต์ไอน้ำนับร้อยบริษัทซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกากว่า 90 เปอร์เซ็นต์และบางส่วนในยุโรปเช่นประเทศฝรั่งเศส, อังกฤษและเบลเยี่ยมซึ่งไม่มีบริษัทของประเทศเยอรมนีเลยแม้แต่รายเดียว ส่วนออสเตรเลียได้มีบริษัททอมสันได้ผลิตรถยนต์ไอน้ำเพียงรายเดียวในช่วงปี ค.ศ. 1896-1901 ในกรุงเมลเบิร์นโดยได้ทำการทดสอบบนเส้นทางขึ้นภูเขาที่ถนน Kooyong ใกล้กับเมือง Caulfield

ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 รถยนต์ไอน้ำได้มีการพัฒนาไปค่อนข้างมากซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ในสหรัฐอเมริกาซึ่งได้มีบริษัทผลิตรถยนต์เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่มีบริษัทของเยอรมนีอย่างค่าย Siemens-Halske, ออสเตรีย, ฮังการีและสวิสเซอร์แลนด์เกิดขึ้นเพื่อผลิตรถยนต์ไอน้ำและรูปแบบของรถยนต์แบบ 4 ล้อมีระบบทดเกียร์ได้พัฒนาออกมาหลากหลายรูปแบบทั้งรถยนต์ขนาดใหญ่ที่บรรทุกผู้โดยสารได้มากขึ้น, รถสปอร์ตเปิดประทุน, รถยนต์แบบซีดานและรถยนต์ไอน้ำสำหรับบรรทุก

จนกระทั่งถึงช่วงทศวรรษ 1930 รถยนต์ไอน้ำได้เริ่มลดบทบาทลงไปเมื่อรถยนต์ติดเครื่องยนต์สันดาปภายในได้มีการผลิตออกมามากขึ้นตามลำดับ ช่วงปี ค.ศ. 1914-1939 บริษัทผลิตรถยนต์ไอน้ำลดลงเหลือประมาณ 20 กว่าแห่งเท่านั้นซึ่งมีเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาอีก 2 บริษัท ต่อมาในช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940 เป็นต้นไปบริษัทผลิตรถยนต์ไอน้ำลดลงเหลือเพียง 3 บริษัทซึ่งทั้งหมดอยู่ในสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยบริษัท Keen, Likamobile และ Paxton ปัจจุบันบริษัทที่หลงเหลือมาจนถึงยุคสุดท้ายได้ปิดกิจการไปทั้งหมด

สิ้นสุดยุครุ่งเรืองของรถยนต์พลังงานไอน้ำซึ่งก่อนหน้านี้บทบาทของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้สิ้นสุดลงไปก่อนโดยรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้มีการผลิตสร้างขึ้นมาหลายรุ่นด้วยกันแต่ไม่ประสบความสำเร็จทางด้านยอดจำหน่ายเนื่องจากเทคโนโลยี่ในยุคนั้นยังไม่ก้าวไกล

จนกระทั่งมีการรื้อฟื้นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าขึ้นมาอีกครั้งและสามารถพัฒนาจนสามารถผลิตจำหน่ายได้เป็นครั้งแรกของโลกในยุคใหม่โดยค่ายนิสสันด้วยการเปิดตัวรุ่น Leaf ซึ่งกำลังพัฒนาต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 2 ขณะที่ค่ายเทสล่าเป็นบริษัทผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและได้มีการพัฒนาออกไปหลายรูปแบบจนกระทั่งค่ายยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างโตโยต้าได้เข้าร่วมหุ้นเป็นมูลค่า 50 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

By : C. Methas - Managing Edition

รถยนต์ได้มีการประดิษฐ์คิดค้นและทำการทดลองมาตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 17 และ 18 ก่อนที่จะสร้างได้สำเร็จอย่างเป็นจริงเป็นจังหลังจาก Richard Trevithick ได้พัฒนาเครื่องจักรพลังงานไอน้ำแรงดันสูงและได้นำมาติดตั้งกับเกวียนซึ่งนับว่าเป็นรถยนต์พลังงานไอน้ำที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองอย่างแท้จริง

ก่อนหน้านี้รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานของตัวเองคันแรกของโลกได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยกัปตันชาวฝรั่งเศส Nicolas Jacob Cugnot เป็นรถยนต์ที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำเป็นพลังงานสำหรับเคลื่อนย้ายปืนใหญ่

Nicolas Jacob Cugnot ที่ได้ประดิษฐ์ “รถยนต์พลังงานไอน้ำ” เป็นคันแรกของโลกเขาเคยผ่านประสบการณ์การประดิษฐ์สร้างเครื่องจักรไอน้ำให้กับกองทัพของฝรั่งเศสและท้ายที่สุดได้สร้างรถยนต์สำหรับเคลื่อนย้ายปืนใหญ่ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1765 เรียกว่า Fardier a vapeur ซึ่งมีความหมายว่า “รถไอน้ำ”

Cugnot เป็นหนึ่งในนักประดิษฐ์กลุ่มแรกที่ได้สร้างเครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ลูกสูบเป็นพลังในการขับเคลื่อนและต่อมาได้มีการพัฒนารถยนต์พลังงานไอน้ำให้มีขนาดเล็กลงและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นในปี ค.ศ. 1769 และพัฒนาต่อเนื่องอีกครั้งในปี ค.ศ. 1771

ปีค.ศ. 1799 Richard Trevithick วิศวกรเหมืองแร่และนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องจักรแรงดันสูงขึ้นเป็นครั้งแรกและได้ผลิตเพื่อการพาณิชย์โดยพัฒนาหม้อต้มที่ใช้เทคโนโลยี่สูงขึ้นโดยใช้ลูกสูบขนาดเล็กเข้ามาเป็นอุปกรณ์บางส่วนเพื่อให้มีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบา

ต่อมาในปี ค.ศ. 1803 ได้พัฒนาไปเป็นเกวียนไอน้ำเป็นครั้งแรกโดยได้ทำการทดสอบบนถนนในกรุงลอนดอน เครื่องยนต์ไอน้ำแรงดันสูงของ Richard Trevithick ได้เกิดระเบิดขึ้นจนทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 รายเมื่อปี ค.ศ. 1803 ที่ Greenwich เนื่องจากการออกแบบที่ผิดพลาดซึ่งต่อมาได้มีการคิดค้นระบบวาล์วขึ้นมาเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น ระบบวาล์วได้ออกแบบให้ลดแรงดันของหม้อต้มไอน้ำและสามารถควบคุมระดับแรงดันและระดับน้ำ

สำหรับรถยนต์ไอน้ำหลังจากได้ผลิตจนสำเร็จเพื่อการจำหน่ายและท้ายที่สุดได้ยุติบทบาทลงไปหลังจากรถยนต์ติดเครื่องยนต์สันดาปภายในใช้น้ำมันเชื้อเพลิงประสบความสำเร็จทั้งในเรื่องของการบำรุงรักษาและการใช้งานได้สะดวกกว่า แต่หลังจากประสบปัญหาในเรื่องของมลภาวะจากระบบไอเสีย ในช่วงทศวรรษที่ 1960 ได้มีการพัฒนารถยนต์ไอน้ำขึ้นมาอีกครั้งในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกาและต่อเนื่องถึงช่วงปี ค.ศ. 1973 เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติน้ำมันแพง แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

ในช่วงทศวรรษที่ 1890 ได้มีการสร้างรถยนต์ไอน้ำนับร้อยบริษัทซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกากว่า 90 เปอร์เซ็นต์และบางส่วนในยุโรปเช่นประเทศฝรั่งเศส, อังกฤษและเบลเยี่ยมซึ่งไม่มีบริษัทของประเทศเยอรมนีเลยแม้แต่รายเดียว ส่วนออสเตรเลียได้มีบริษัททอมสันได้ผลิตรถยนต์ไอน้ำเพียงรายเดียวในช่วงปี ค.ศ. 1896-1901 ในกรุงเมลเบิร์นโดยได้ทำการทดสอบบนเส้นทางขึ้นภูเขาที่ถนน Kooyong ใกล้กับเมือง Caulfield

ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 รถยนต์ไอน้ำได้มีการพัฒนาไปค่อนข้างมากซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ในสหรัฐอเมริกาซึ่งได้มีบริษัทผลิตรถยนต์เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่มีบริษัทของเยอรมนีอย่างค่าย Siemens-Halske, ออสเตรีย, ฮังการีและสวิสเซอร์แลนด์เกิดขึ้นเพื่อผลิตรถยนต์ไอน้ำและรูปแบบของรถยนต์แบบ 4 ล้อมีระบบทดเกียร์ได้พัฒนาออกมาหลากหลายรูปแบบทั้งรถยนต์ขนาดใหญ่ที่บรรทุกผู้โดยสารได้มากขึ้น, รถสปอร์ตเปิดประทุน, รถยนต์แบบซีดานและรถยนต์ไอน้ำสำหรับบรรทุก

จนกระทั่งถึงช่วงทศวรรษ 1930 รถยนต์ไอน้ำได้เริ่มลดบทบาทลงไปเมื่อรถยนต์ติดเครื่องยนต์สันดาปภายในได้มีการผลิตออกมามากขึ้นตามลำดับ ช่วงปี ค.ศ. 1914-1939 บริษัทผลิตรถยนต์ไอน้ำลดลงเหลือประมาณ 20 กว่าแห่งเท่านั้นซึ่งมีเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาอีก 2 บริษัท ต่อมาในช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940 เป็นต้นไปบริษัทผลิตรถยนต์ไอน้ำลดลงเหลือเพียง 3 บริษัทซึ่งทั้งหมดอยู่ในสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยบริษัท Keen, Likamobile และ Paxton ปัจจุบันบริษัทที่หลงเหลือมาจนถึงยุคสุดท้ายได้ปิดกิจการไปทั้งหมด

สิ้นสุดยุครุ่งเรืองของรถยนต์พลังงานไอน้ำซึ่งก่อนหน้านี้บทบาทของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้สิ้นสุดลงไปก่อนโดยรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้มีการผลิตสร้างขึ้นมาหลายรุ่นด้วยกันแต่ไม่ประสบความสำเร็จทางด้านยอดจำหน่ายเนื่องจากเทคโนโลยี่ในยุคนั้นยังไม่ก้าวไกล

จนกระทั่งมีการรื้อฟื้นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าขึ้นมาอีกครั้งและสามารถพัฒนาจนสามารถผลิตจำหน่ายได้เป็นครั้งแรกของโลกในยุคใหม่โดยค่ายนิสสันด้วยการเปิดตัวรุ่น Leaf ซึ่งกำลังพัฒนาต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 2 ขณะที่ค่ายเทสล่าเป็นบริษัทผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและได้มีการพัฒนาออกไปหลายรูปแบบจนกระทั่งค่ายยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างโตโยต้าได้เข้าร่วมหุ้นเป็นมูลค่า 50 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!