The Legends of Automibile-ตอนที่ 49 ประวัติศาสตร์รถประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (ภาค 2)


By : C. Methas – Managing Editor

เรื่องราวของรถยนต์ประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอีกหนึ่งประวัติศาสตร์ของโลกยานยนต์ Bubble Top รถยนต์หุ้มเกราะยี่ห้อลินคอล์น รุ่น Cosmopolotan ที่ประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมนได้สั่งมาเป็นรถประจำตำแหน่งเป็นรายแรก หลังจากปลดระวางได้ถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์เฮนรี่ ฟอร์ด

ปีค.ศ. 1953 รถยนต์แคดิลแลครุ่น Eldorados ประธานาธิบดีดไวท์ ดี. ไอเซ่นฮาวร์ได้นั่งรถรุ่นนี้ในระหว่างพิธีสวนสนามเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีซึ่งรถยนต์รุ่นนี้ได้นำมาดัดแปลงให้มีกระจกบานหน้ามีความยาวโค้งเต็มด้านหน้ารถ กระจกรูปทรงโค้งเต็มด้านหน้ารถนอกจากจะช่วยในการกำบังลมและฝนแล้วยังเสริมทัศนวิสัยในการขับขี่ที่ดีกว่าและได้กลายเป็นมาตรฐานสำหรับรถยนต์ในหลายประเทศ

Lincoln Continental แบบเปิดประทุนหรือเป็นที่รู้จักกันว่ารุ่น SS-100-X ปีค.ศ. 1961 หรือปีพ.ศ. 2504 เป็นรถประจำตำแหน่งของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ในรูปแบบของรถเปิดประทุนที่มีหลังคาพลาสิคเปิด-ปิดได้ บริเวณด้านข้างตัวรถมีที่ยืนสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 4 นายและด้านหลังอีก 2 นาย เบาะที่นั่งในตำแหน่งของประธานาธิบดีสามารถปรับสูง-ต่ำได้ควบคุมด้วยระบบไฮดรอลิค

รถคันนี้ได้รับการตกแต่งเสริมเป็นพิเศษหลายส่วนจนได้กลายเป็นแบบอย่างของรถประจำตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา อาทิ ระบบแสงไฟส่องสว่างเวลาเปิดประตู สัญลักษณ์ธงติดที่ด้านหน้าและมีแสงส่องส่วางไปยังตัวธง เบาะที่นั่งเพิ่มขึ้นสำหรับแขกพิเศษและที่สำคัญได้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่เบาะที่นั่งด้านท้ายโดยจะปิดหลังคาเมื่อต้องการเปิดเครื่องปรับอากาศ สำหรับแสงส่องสว่างภายในห้องโดยสารพร้อมกับมีแสงไซเรนได้เพิ่มความสว่างมากขึ้นและติดอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิคส์พร้อมกับกระจกกันกระสุน

รถประจำตำแหน่งของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้คันนี้ถูกนำไปใช้ในงานเฉลิมฉลองในหลายครั้งด้วยรูปแบบของรถเปิดประทุนจนเป็นเหตุให้ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ปีค.ศ. 1963 หรือปีพ.ศ. 2506 เนื่องจากเป็นรถเปิดประทุนที่เป็นการเปิดโอกาสให้กับมือสังหารกระทำการได้สะดวก

เหตุการณ์ลอบสังหารประธานาธิบดีอันดับที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา จอห์น เอฟ. เคนเนดี้เมื่อวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน ปีค.ศ. 1963 เกิดขึ้นเมื่อเวลา 12.30 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่นแถบเดลลี่ย์ พลาซ่า, เมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัสด้วยการซุ่มยิงด้วยปืนสไนเปอร์ ปืนชนิดแมนลิเชอร์-คาร์กาโน่ รุ่น M91/38 ขนาด 6.5×52 มิลลิเมตรโดยนายลี ฮาร์เวย์ ออสวอลด์ซึ่งต่อมาได้ถูกฆาตกรรมโดยแจ๊ค รูบี้ก่อนที่จะถูกนำตัวขึ้นศาลหลังจากการสอบสวนคดีนี้ของคณะกรรมการวอร์เรนที่ใช้เวลาถึง 10 เดือนและชาวอเมริกันส่วนใหญ่ถึง 80 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่าการสอบสวนไม่มีความน่าเชื่อถือจนก่อให้เกิดทฤษฎีสมคบคิดซึ่งต่อมารายงานการสืบสวนของเอฟบีไอ. และคณะกรรมการวอร์เรนพบข้อบกพร่องมากมายซึ่งทางคณะกรรมการสมาชิกผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ ได้สรุปว่ามีการยิงปืนเข้าใส่ไม่ต่ำกว่า 4 นัด

เหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ได้เดินทางไปยังเมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัสเพื่อหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งสมัยหน้า การลอบสังหารครั้งนี้ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ได้ไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลเมื่อเวลา 13.00 นาฬิกาในวันเดียวกันโดยทางแพทย์พิสูจน์ว่ากระสุนนัดที่ 2 ที่ยิงเข้าทางศีรษะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตส่วนกระสุนนัดแรกเข้าบริเวณคอไม่ได้เป็นเหตุให้ถึงกับเสียชีวิต

ในเย็นวันเดียวกันได้นำศพของจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ขึ้นเครื่องบินแอร์ ฟอร์ซ วัน เครื่องบินประจำตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และรองประธานาธิบดี ลินดอน บี. จอห์นสันได้ทำพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีบนเครื่องบินลำดังกล่าว

ภายหลังเหตุการณ์ลอบสังหารครั้งนั้น รถยนต์ Lincoln Continental แบบเปิดประทุน ปีค.ศ. 1961 คันนี้ได้ถูกนำไปปรับปรุงใหม่ด้วยการเสริมเกราะป้องกันทางด้านท้ายของรถและถอดหลังคาพลาสติคใสออกโดยนำหลังคาหุ้มเกราะมาติดตั้งเป็นหลังคาถาวรแทนพร้อมกับติดกระจกหุ้มเกราะรอบคันพร้อมกับเสริมความปลอดภัยอีกหลายจุดจนต่อมารถประจำตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาไม่มีรถแบบเปิดประทุนอีกต่อไป

รถยนต์รุ่น Continental ของลินคอล์นคันนี้ได้ถูกนำไปใช้เป็นรถประจำตำแหน่งของประธานาธิดีริชาร์ด นิกสันอีกครั้งโดยได้รับการปรับปรุงเพื่อความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้นโดยทางทำเนียบขาวได้สั่งผ่าน Lehman-Peterson แห่งชิคาโกและส่งมอบให้เมื่อปีค.ศ. 1969

ในส่วนของหลังคาปรับเป็นแบบซันรูฟเพื่อให้ประธานาธิบดีนิกสันขึ้นยื่นด้านบนมีมือจับประตูสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สามารถถอดออกได้และภายในห้องโดยสารได้ติดตั้งโต๊ะทำงานผลิตจากไฟเบอร์กลาส

By : C. Methas - Managing Editor

เรื่องราวของรถยนต์ประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอีกหนึ่งประวัติศาสตร์ของโลกยานยนต์ Bubble Top รถยนต์หุ้มเกราะยี่ห้อลินคอล์น รุ่น Cosmopolotan ที่ประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมนได้สั่งมาเป็นรถประจำตำแหน่งเป็นรายแรก หลังจากปลดระวางได้ถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์เฮนรี่ ฟอร์ด

ปีค.ศ. 1953 รถยนต์แคดิลแลครุ่น Eldorados ประธานาธิบดีดไวท์ ดี. ไอเซ่นฮาวร์ได้นั่งรถรุ่นนี้ในระหว่างพิธีสวนสนามเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีซึ่งรถยนต์รุ่นนี้ได้นำมาดัดแปลงให้มีกระจกบานหน้ามีความยาวโค้งเต็มด้านหน้ารถ กระจกรูปทรงโค้งเต็มด้านหน้ารถนอกจากจะช่วยในการกำบังลมและฝนแล้วยังเสริมทัศนวิสัยในการขับขี่ที่ดีกว่าและได้กลายเป็นมาตรฐานสำหรับรถยนต์ในหลายประเทศ

Lincoln Continental แบบเปิดประทุนหรือเป็นที่รู้จักกันว่ารุ่น SS-100-X ปีค.ศ. 1961 หรือปีพ.ศ. 2504 เป็นรถประจำตำแหน่งของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ในรูปแบบของรถเปิดประทุนที่มีหลังคาพลาสิคเปิด-ปิดได้ บริเวณด้านข้างตัวรถมีที่ยืนสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 4 นายและด้านหลังอีก 2 นาย เบาะที่นั่งในตำแหน่งของประธานาธิบดีสามารถปรับสูง-ต่ำได้ควบคุมด้วยระบบไฮดรอลิค

รถคันนี้ได้รับการตกแต่งเสริมเป็นพิเศษหลายส่วนจนได้กลายเป็นแบบอย่างของรถประจำตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา อาทิ ระบบแสงไฟส่องสว่างเวลาเปิดประตู สัญลักษณ์ธงติดที่ด้านหน้าและมีแสงส่องส่วางไปยังตัวธง เบาะที่นั่งเพิ่มขึ้นสำหรับแขกพิเศษและที่สำคัญได้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่เบาะที่นั่งด้านท้ายโดยจะปิดหลังคาเมื่อต้องการเปิดเครื่องปรับอากาศ สำหรับแสงส่องสว่างภายในห้องโดยสารพร้อมกับมีแสงไซเรนได้เพิ่มความสว่างมากขึ้นและติดอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิคส์พร้อมกับกระจกกันกระสุน

รถประจำตำแหน่งของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้คันนี้ถูกนำไปใช้ในงานเฉลิมฉลองในหลายครั้งด้วยรูปแบบของรถเปิดประทุนจนเป็นเหตุให้ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ปีค.ศ. 1963 หรือปีพ.ศ. 2506 เนื่องจากเป็นรถเปิดประทุนที่เป็นการเปิดโอกาสให้กับมือสังหารกระทำการได้สะดวก

เหตุการณ์ลอบสังหารประธานาธิบดีอันดับที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา จอห์น เอฟ. เคนเนดี้เมื่อวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน ปีค.ศ. 1963 เกิดขึ้นเมื่อเวลา 12.30 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่นแถบเดลลี่ย์ พลาซ่า, เมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัสด้วยการซุ่มยิงด้วยปืนสไนเปอร์ ปืนชนิดแมนลิเชอร์-คาร์กาโน่ รุ่น M91/38 ขนาด 6.5x52 มิลลิเมตรโดยนายลี ฮาร์เวย์ ออสวอลด์ซึ่งต่อมาได้ถูกฆาตกรรมโดยแจ๊ค รูบี้ก่อนที่จะถูกนำตัวขึ้นศาลหลังจากการสอบสวนคดีนี้ของคณะกรรมการวอร์เรนที่ใช้เวลาถึง 10 เดือนและชาวอเมริกันส่วนใหญ่ถึง 80 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่าการสอบสวนไม่มีความน่าเชื่อถือจนก่อให้เกิดทฤษฎีสมคบคิดซึ่งต่อมารายงานการสืบสวนของเอฟบีไอ. และคณะกรรมการวอร์เรนพบข้อบกพร่องมากมายซึ่งทางคณะกรรมการสมาชิกผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ ได้สรุปว่ามีการยิงปืนเข้าใส่ไม่ต่ำกว่า 4 นัด

เหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ได้เดินทางไปยังเมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัสเพื่อหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งสมัยหน้า การลอบสังหารครั้งนี้ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ได้ไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลเมื่อเวลา 13.00 นาฬิกาในวันเดียวกันโดยทางแพทย์พิสูจน์ว่ากระสุนนัดที่ 2 ที่ยิงเข้าทางศีรษะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตส่วนกระสุนนัดแรกเข้าบริเวณคอไม่ได้เป็นเหตุให้ถึงกับเสียชีวิต

ในเย็นวันเดียวกันได้นำศพของจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ขึ้นเครื่องบินแอร์ ฟอร์ซ วัน เครื่องบินประจำตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และรองประธานาธิบดี ลินดอน บี. จอห์นสันได้ทำพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีบนเครื่องบินลำดังกล่าว

ภายหลังเหตุการณ์ลอบสังหารครั้งนั้น รถยนต์ Lincoln Continental แบบเปิดประทุน ปีค.ศ. 1961 คันนี้ได้ถูกนำไปปรับปรุงใหม่ด้วยการเสริมเกราะป้องกันทางด้านท้ายของรถและถอดหลังคาพลาสติคใสออกโดยนำหลังคาหุ้มเกราะมาติดตั้งเป็นหลังคาถาวรแทนพร้อมกับติดกระจกหุ้มเกราะรอบคันพร้อมกับเสริมความปลอดภัยอีกหลายจุดจนต่อมารถประจำตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาไม่มีรถแบบเปิดประทุนอีกต่อไป

รถยนต์รุ่น Continental ของลินคอล์นคันนี้ได้ถูกนำไปใช้เป็นรถประจำตำแหน่งของประธานาธิดีริชาร์ด นิกสันอีกครั้งโดยได้รับการปรับปรุงเพื่อความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้นโดยทางทำเนียบขาวได้สั่งผ่าน Lehman-Peterson แห่งชิคาโกและส่งมอบให้เมื่อปีค.ศ. 1969

ในส่วนของหลังคาปรับเป็นแบบซันรูฟเพื่อให้ประธานาธิบดีนิกสันขึ้นยื่นด้านบนมีมือจับประตูสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สามารถถอดออกได้และภายในห้องโดยสารได้ติดตั้งโต๊ะทำงานผลิตจากไฟเบอร์กลาส

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!