The Legends of Automobile : ตอนที่ 147-โฟล์คสวาเก้น “รถของประชาชน” กำเนิดจากแนวคิดของฮิตเลอร์ (ภาค 4)


By : C. Methas – Managing Editor

หลังจากประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งวาดฝันก้าวขึ้นสู่อันดับ 1 ของโลกเพื่อจะแซงหน้าค่ายเจเนอรัล มอเตอร์สและโตโยต้า แต่เหตุการณ์ Diesel Gate หรือกลโกงค่าไอเสียเครื่องดีเซลที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน ปี ค.ศ. 2015 หลังจากคณะกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ (EPA-United States Environmental Protection Agency) ได้ตรวจสอบพบว่าเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบของโฟล์คสวาเก้นแบบ 4 สูบแถวเรียง รหัส EA 189 ขนาด 2.0 ลิตรได้ติดตั้งอุปกรณ์โปรแกรมโกงค่าไอเสีย

เครื่องยนต์รุ่นดังกล่าวได้นำไปติดตั้งในรถยนต์หลายรุ่นมาเป็นเวลากว่า 6 ปีในเครือข่ายของโฟล์คสวาเก้นกว่า 11 ล้านคันทั่วโลกและในสหรัฐฯ ราว 5 แสนคันซึ่งเป็นรถยนต์รุ่นระหว่างปี ค.ศ. 2009-2015 ประกอบด้วยรถยนต์โฟล์คสวาเก้น รุ่น Golf VI, Passat VII และ ครอสโอเวอร์รุ่น Tiguan เวอร์ชั่นแรก โดยพบว่าค่าไอเสียที่พบมีมากกว่าที่กำหนดไว้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ยังได้นำไปติดตั้งในรถยี่ห้อออดี้และสโกด้าซึ่งทางออดี้ได้ออกมายอมรับว่าได้ติดตั้งเครื่องยนต์รุ่นนี้ถึง 2.1 ล้านคันโดยติดตั้งในรถรุ่น A1, A3, A4, A5, A6, TT, Q3 และ Q5

อุปกรณ์เพื่อหลอกการทดสอบมลภาวะไอเสียในเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบโดยวัดค่าไอเสียต่ำกว่าปกติหลอกลวงโลกมาถึง 6 ปีเต็ม ซึ่งทางโฟล์คสวาเก้านต้องรับผิดชอบในการนำรถกลับไปปรับปรุงเครื่องยนต์ใหม่ซึ่งในเงินมหาศาลอาจสูงถึง 7,300 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

เหตุการณ์ได้บานปลายไปถึงรถยนต์ในเครือข่ายของกลุ่มโฟล์คสวาเก้นจนไปถึงรถยนต์ค่ายยักษ์ใหญ่แห่งเยอรมนีอย่างเมอเซเดส-เบนซ์และบีเอ็มดับเบิลยู และยังส่งผลต่อยอดขายรถโฟล์คสวาเก้นในสหรัฐอเมริกาตกลงอย่างฮวบฮาบทำให้โฟล์คสวาเก้นประสบกับภาวะขาดทุนเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปีหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเพียงไม่กี่เดือนซึ่งหลังเกิดเหตุการณ์ขึ้นทางโฟล์คสวาเก้นได้ปลดประธานบริหารและให้ประธานบริหารจากค่ายปอร์เช่เข้ามาดำรงตำแหน่งแทนเพื่อกู้วิกฤติครั้งนี้

นอกจากประสบปัญหาการขาดทุนแล้วทางโฟล์คสวาเก้นยังต้องประสบกับค่าปรับจากการถูกดำเนินคดีในหลายประเทศ

ส่วนทางคณะกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ (EPA-United States Environmental Protection Agency) ที่ตรวจพบค่ากางโกงไอเสียดีเซลได้ออกมาตรการใหม่เกี่ยวกับการทดสอบค่าไอเสียรถยนต์และได้ทำจดหมายแจ้งไปยังค่ายผู้ผลิตรถยนต์ทั้งหมดโดยมีเนื้อหาสรุปว่า การทดสอบค่าไอเสียต่อจากนี้ไปจะไม่ทำการทดสอบในห้องทดสอบเท่านั้น

แต่จะต้องนำรถไปทดสอบบนท้องถนนจริงตามสภาพการใช้งานจริงซึ่งกฎนี้ได้กำหนดไว้เมื่อราว 15 ปีที่แล้ว แต่ทางคณะกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ ไม่ได้นำกฎนี้มาใช้เอง

ส่วนทางประเทศญี่ปุ่นซึ่งนับว่าเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้เช่นกันเกี่ยวกับข้อข้องใจเกี่ยวกับการโกงค่าไอเสีย ทางรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของญี่ปุ่นได้ออกหนังสือแจ้งไปยังค่ายผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่นให้ส่งรายงานเกี่ยวกับค่าไอเสียเครื่องยนต์ดีเซลและจะมีมาตรการใหม่สำหรับการทดสอบค่าไอเสียในอนาคตอันใกล้นี้

ทางค่ายโฟล์คสวาเก้นได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีนี้ซึ่งมีรถยนต์ในเครือข่ายของโฟล์คสวาเก้นที่ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลวิ่งอยู่บนท้องถนนถึง 11 ล้านคันโดยทางโฟล์คสวาเก้นจะเรียกรถยนต์ที่มีปัญหากลับมาตรวจสอบและแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการปรับปรุงซอฟท์แวร์สำหรับรถบางรุ่น ส่วนบางรุ่นอาจจะต้องมีการเปลี่ยนระบบจ่ายเชื้อเพลิงทั้งหมดและแคทาไลติค คอนเวอร์เตอร์

จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลถึงความแคลงใจกับบริษัทผลิตรถยนต์ยี่ห้ออื่นมีการโกงค่าไอเสียหรือไม่และไม่เพียงส่งผลต่อค่ายรถยนต์เท่านั้นยังส่งผลต่อค่ายผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนดังอย่างค่าย Bosch ที่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์โปรแกรมดังกล่าวซึ่งอาจจะมีส่วนรู้เห็นกับการพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าว

By : C. Methas - Managing Editor

หลังจากประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งวาดฝันก้าวขึ้นสู่อันดับ 1 ของโลกเพื่อจะแซงหน้าค่ายเจเนอรัล มอเตอร์สและโตโยต้า แต่เหตุการณ์ Diesel Gate หรือกลโกงค่าไอเสียเครื่องดีเซลที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน ปี ค.ศ. 2015 หลังจากคณะกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ (EPA-United States Environmental Protection Agency) ได้ตรวจสอบพบว่าเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบของโฟล์คสวาเก้นแบบ 4 สูบแถวเรียง รหัส EA 189 ขนาด 2.0 ลิตรได้ติดตั้งอุปกรณ์โปรแกรมโกงค่าไอเสีย

เครื่องยนต์รุ่นดังกล่าวได้นำไปติดตั้งในรถยนต์หลายรุ่นมาเป็นเวลากว่า 6 ปีในเครือข่ายของโฟล์คสวาเก้นกว่า 11 ล้านคันทั่วโลกและในสหรัฐฯ ราว 5 แสนคันซึ่งเป็นรถยนต์รุ่นระหว่างปี ค.ศ. 2009-2015 ประกอบด้วยรถยนต์โฟล์คสวาเก้น รุ่น Golf VI, Passat VII และ ครอสโอเวอร์รุ่น Tiguan เวอร์ชั่นแรก โดยพบว่าค่าไอเสียที่พบมีมากกว่าที่กำหนดไว้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ยังได้นำไปติดตั้งในรถยี่ห้อออดี้และสโกด้าซึ่งทางออดี้ได้ออกมายอมรับว่าได้ติดตั้งเครื่องยนต์รุ่นนี้ถึง 2.1 ล้านคันโดยติดตั้งในรถรุ่น A1, A3, A4, A5, A6, TT, Q3 และ Q5

อุปกรณ์เพื่อหลอกการทดสอบมลภาวะไอเสียในเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบโดยวัดค่าไอเสียต่ำกว่าปกติหลอกลวงโลกมาถึง 6 ปีเต็ม ซึ่งทางโฟล์คสวาเก้านต้องรับผิดชอบในการนำรถกลับไปปรับปรุงเครื่องยนต์ใหม่ซึ่งในเงินมหาศาลอาจสูงถึง 7,300 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

เหตุการณ์ได้บานปลายไปถึงรถยนต์ในเครือข่ายของกลุ่มโฟล์คสวาเก้นจนไปถึงรถยนต์ค่ายยักษ์ใหญ่แห่งเยอรมนีอย่างเมอเซเดส-เบนซ์และบีเอ็มดับเบิลยู และยังส่งผลต่อยอดขายรถโฟล์คสวาเก้นในสหรัฐอเมริกาตกลงอย่างฮวบฮาบทำให้โฟล์คสวาเก้นประสบกับภาวะขาดทุนเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปีหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเพียงไม่กี่เดือนซึ่งหลังเกิดเหตุการณ์ขึ้นทางโฟล์คสวาเก้นได้ปลดประธานบริหารและให้ประธานบริหารจากค่ายปอร์เช่เข้ามาดำรงตำแหน่งแทนเพื่อกู้วิกฤติครั้งนี้

นอกจากประสบปัญหาการขาดทุนแล้วทางโฟล์คสวาเก้นยังต้องประสบกับค่าปรับจากการถูกดำเนินคดีในหลายประเทศ

ส่วนทางคณะกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ (EPA-United States Environmental Protection Agency) ที่ตรวจพบค่ากางโกงไอเสียดีเซลได้ออกมาตรการใหม่เกี่ยวกับการทดสอบค่าไอเสียรถยนต์และได้ทำจดหมายแจ้งไปยังค่ายผู้ผลิตรถยนต์ทั้งหมดโดยมีเนื้อหาสรุปว่า การทดสอบค่าไอเสียต่อจากนี้ไปจะไม่ทำการทดสอบในห้องทดสอบเท่านั้น

แต่จะต้องนำรถไปทดสอบบนท้องถนนจริงตามสภาพการใช้งานจริงซึ่งกฎนี้ได้กำหนดไว้เมื่อราว 15 ปีที่แล้ว แต่ทางคณะกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ ไม่ได้นำกฎนี้มาใช้เอง

ส่วนทางประเทศญี่ปุ่นซึ่งนับว่าเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้เช่นกันเกี่ยวกับข้อข้องใจเกี่ยวกับการโกงค่าไอเสีย ทางรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของญี่ปุ่นได้ออกหนังสือแจ้งไปยังค่ายผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่นให้ส่งรายงานเกี่ยวกับค่าไอเสียเครื่องยนต์ดีเซลและจะมีมาตรการใหม่สำหรับการทดสอบค่าไอเสียในอนาคตอันใกล้นี้

ทางค่ายโฟล์คสวาเก้นได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีนี้ซึ่งมีรถยนต์ในเครือข่ายของโฟล์คสวาเก้นที่ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลวิ่งอยู่บนท้องถนนถึง 11 ล้านคันโดยทางโฟล์คสวาเก้นจะเรียกรถยนต์ที่มีปัญหากลับมาตรวจสอบและแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการปรับปรุงซอฟท์แวร์สำหรับรถบางรุ่น ส่วนบางรุ่นอาจจะต้องมีการเปลี่ยนระบบจ่ายเชื้อเพลิงทั้งหมดและแคทาไลติค คอนเวอร์เตอร์

จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลถึงความแคลงใจกับบริษัทผลิตรถยนต์ยี่ห้ออื่นมีการโกงค่าไอเสียหรือไม่และไม่เพียงส่งผลต่อค่ายรถยนต์เท่านั้นยังส่งผลต่อค่ายผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนดังอย่างค่าย Bosch ที่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์โปรแกรมดังกล่าวซึ่งอาจจะมีส่วนรู้เห็นกับการพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าว

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!