The Legends of Automobile-ตอนที่ 63 VOLVO ค่ายรถจากสวีเดนผู้บุกเบิกเทคโนโลยี่ความปลอดภัย (ภาคที่ 2)


By : C. Methas – Managing Editor

ความโดดเด่นในเรื่องของการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยี่ด้านความปลอดภัยของวอลโว่ก้าวสู่อันดับหนึ่งของอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นรายแรก ๆ ของโลกโดยได้พัฒนาก่อนที่รัฐบาลสวีเดนจะออกกฏหมายเกี่ยวกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของรถยนต์
วอลโว่ได้พัฒนากระจกรถยนต์เป็นแบบลามิเน็ตเมื่อปีค.ศ. 1944 โดยนำไปติดตั้งในรถยนต์รุ่น PV444 เป็นครั้งแรกของโลก

วอลโว่ได้คิดค้นระบบเข็มขัดนิรภัยนำมาติดตั้งในรถยนต์เป็นครั้งแรกของโลกเมื่อปีค.ศ. 1959 เป็นเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุดซึ่งต่อมาได้กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับรถยนต์ที่เป็นกฏข้อบังคับของอุตสาหกรรมยานยนต์ทุกประเทศทั่วโลก

ระบบเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุดคิดค้นขึ้นโดย Nils Bohlin วิศวกรของวอลโว่นำไปติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานจากโรงงานในรถวอลโว่รุ่น Amazons และรุ่น PV544 เป็นครั้งแรกสำหรับตลาดในสแกนดิเนเวีย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาระบบนี้ได้ติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในรถยนต์วอลโว่ทุกรุ่นมาจนถึงทุกวันนี้ซึ่งสามารถรักษาชีวิตของผู้คนที่นั่งในรถวอลโว่กว่าล้านรายที่รอดพ้นจากอุบัติเหตุ

ปีค.ศ. 1964 วอลโว่ได้คิดค้นระบบความปลอดภัยสำหรับเด็กเล็กด้วยการออกแบบเบาะที่นั่งสำหรับเด็กแบบหันไปทางด้านหลังขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกจนกระทั่งนำมาติดตั้งในรถยนต์วอลโว่เป็นครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1967

ต่อมาในปีค.ศ. 1972 วอลโว่ได้พัฒนาเบาะที่นั่งสำหรับเด็กเล็ก เรายังคงจำกันได้ถึงภาพของนักบินอวกาศที่นอนราบไปทางด้านหลังระหว่างการทะยานขึ้นของยานอวกาศซึ่งมีแรง จี. สูงมาก จากพื้นฐานของเบาะที่นั่งของนักบินอวกาศได้กลายเป็นแนวคิดพื้นฐานสำหรับเบาะที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กเล็กของวอลโว่

ต่อมาในปีค.ศ. 1976 ได้มีการพัฒนาเบาะที่นั่งสำหรับเด็กเล็กในมีความปลอดภัยมากขึ้นเป็นแบบหันไปทางด้านหลังเป็นเบาะเสริมสำหรับเด็กเล็กยึดด้วยเข็มขัดนิรภัยและมีการพัฒนาอีกครั้งในปีค.ศ. 1990

Lamda Sond ถูกคิดค้นขึ้นในปีค.ศ. 1976 เพื่อผลทางด้านเครื่องยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่วอลโว่นำมาติดตั้งในรถยนต์เป็นครั้งแรกของโลก ระบบการทำงานของ Lamda Sond เป็นเซ็นเซอร์อ็อกซิเจนเพื่อให้มีความสมดุลย์และการเผาไหม้เชื้อเพลิงอย่างหมดจดส่งผลให้ปล่อยไอเสียลดลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันระบบนี้ได้นำมาใช้จนถึงทุกวันนี้ถึง 40 ปีโดยระบบดังกล่าวเป็นเครื่องฟอกไอเสียแบบ 3 ทางโดยติดตั้งในรถยนต์วอลโว่ในแคลิฟอร์เนียเป็นครั้งแรกซึ่งเป็นรัฐนำร่องด้านสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ
Lamda Sond เป็นระบบเซ็นเซอร์อ็อกซิเจนด้วยการส่งค่าการเผาไหม้หนาหรือบางแล้วส่งต่อไปยังระบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิคส์จ่ายเชื้อเพลิงเพื่อควบคุมการจ่ายน้ำมันด้วยกราฟแลมด้า

ปีค.ศ. 1991 Side Impact Protection System หรือ SIPS ได้ถูกคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกโดยวอลโว่ ระบบป้องกันการชนจากด้านข้างด้วยการติดตั้งคานเหล็กแข็งในประตูด้านข้างซึ่งการก้าวหน้าอีกขึ้นของระบบความปลอดภัยในรถยนต์

ระบบนี้เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบรถยนต์ที่นอกจากมีโครงสร้างที่แข็งแกร่งและเสริมด้วยวัสดุที่สามารถดูดซับแรกปะทะจากวัสดุภายใน พื้นรถแบบไข้วและโครงสร้างเบาะที่นั่งแข็งแกร่ง ระบบนี้ได้พัฒนาต่อเนื่องตามมาด้วยระบบถุงลมนิรภัยด้านข้างในปีค.ศ. 1994 ที่ได้นำมาติดตั้งเพิ่มเติมเป็นครั้งแรกของโลก

ปีค.ศ. 1998 ได้พัฒนาระบบลดอาการบาดเจ็บจากการชนที่ความเร็วต่ำด้วยการออกแบบพนักพิงศีรษะซึ่งส่งผลต่อปัญหาการรักษาในระยะยาวถึงครึ่งชีวิตและอาจจะมีค่าใช้จ่ายต่อเนื่องที่สูงมาก
ปีค.ศ. 1998 วอลโว่ได้คิดค้นระบบม่านศีรษะนิรภัยติดตั้งบริเวณด้านข้างของขอบประตูด้านบน นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของเทคโนโลยี่ความปลอดภัยที่วอลโว่ได้คิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกซึ่งได้ติดตั้งทั้งด้านหน้าและด้านหลังโดยสามารถลดความรุนแรงของการปะทะได้ถึง 75 เปอร์เซ็นต์จากความเร็วของถุงลมนิรภัย

วอลโว่ได้สร้างมรดกฝากไว้กับวงการอุตสาหกรรมยายนต์ที่ถือได้ว่ามีความโดดเด่นเป็นพิเศษในเรื่องการรักษาชีวิตของมนุษยชาติโดยทางวอลโว่ได้ตั้งเป้าหมายภายในปีค.ศ. 2020 จะไม่มีคนเสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัสภายในรถยนต์วอลโว่รุ่นใหม่จากอุบัติเหตุทางรถยนต์

By : C. Methas - Managing Editor

ความโดดเด่นในเรื่องของการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยี่ด้านความปลอดภัยของวอลโว่ก้าวสู่อันดับหนึ่งของอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นรายแรก ๆ ของโลกโดยได้พัฒนาก่อนที่รัฐบาลสวีเดนจะออกกฏหมายเกี่ยวกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของรถยนต์ วอลโว่ได้พัฒนากระจกรถยนต์เป็นแบบลามิเน็ตเมื่อปีค.ศ. 1944 โดยนำไปติดตั้งในรถยนต์รุ่น PV444 เป็นครั้งแรกของโลก

วอลโว่ได้คิดค้นระบบเข็มขัดนิรภัยนำมาติดตั้งในรถยนต์เป็นครั้งแรกของโลกเมื่อปีค.ศ. 1959 เป็นเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุดซึ่งต่อมาได้กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับรถยนต์ที่เป็นกฏข้อบังคับของอุตสาหกรรมยานยนต์ทุกประเทศทั่วโลก

ระบบเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุดคิดค้นขึ้นโดย Nils Bohlin วิศวกรของวอลโว่นำไปติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานจากโรงงานในรถวอลโว่รุ่น Amazons และรุ่น PV544 เป็นครั้งแรกสำหรับตลาดในสแกนดิเนเวีย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาระบบนี้ได้ติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในรถยนต์วอลโว่ทุกรุ่นมาจนถึงทุกวันนี้ซึ่งสามารถรักษาชีวิตของผู้คนที่นั่งในรถวอลโว่กว่าล้านรายที่รอดพ้นจากอุบัติเหตุ

ปีค.ศ. 1964 วอลโว่ได้คิดค้นระบบความปลอดภัยสำหรับเด็กเล็กด้วยการออกแบบเบาะที่นั่งสำหรับเด็กแบบหันไปทางด้านหลังขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกจนกระทั่งนำมาติดตั้งในรถยนต์วอลโว่เป็นครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1967

ต่อมาในปีค.ศ. 1972 วอลโว่ได้พัฒนาเบาะที่นั่งสำหรับเด็กเล็ก เรายังคงจำกันได้ถึงภาพของนักบินอวกาศที่นอนราบไปทางด้านหลังระหว่างการทะยานขึ้นของยานอวกาศซึ่งมีแรง จี. สูงมาก จากพื้นฐานของเบาะที่นั่งของนักบินอวกาศได้กลายเป็นแนวคิดพื้นฐานสำหรับเบาะที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กเล็กของวอลโว่

ต่อมาในปีค.ศ. 1976 ได้มีการพัฒนาเบาะที่นั่งสำหรับเด็กเล็กในมีความปลอดภัยมากขึ้นเป็นแบบหันไปทางด้านหลังเป็นเบาะเสริมสำหรับเด็กเล็กยึดด้วยเข็มขัดนิรภัยและมีการพัฒนาอีกครั้งในปีค.ศ. 1990

Lamda Sond ถูกคิดค้นขึ้นในปีค.ศ. 1976 เพื่อผลทางด้านเครื่องยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่วอลโว่นำมาติดตั้งในรถยนต์เป็นครั้งแรกของโลก ระบบการทำงานของ Lamda Sond เป็นเซ็นเซอร์อ็อกซิเจนเพื่อให้มีความสมดุลย์และการเผาไหม้เชื้อเพลิงอย่างหมดจดส่งผลให้ปล่อยไอเสียลดลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันระบบนี้ได้นำมาใช้จนถึงทุกวันนี้ถึง 40 ปีโดยระบบดังกล่าวเป็นเครื่องฟอกไอเสียแบบ 3 ทางโดยติดตั้งในรถยนต์วอลโว่ในแคลิฟอร์เนียเป็นครั้งแรกซึ่งเป็นรัฐนำร่องด้านสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ Lamda Sond เป็นระบบเซ็นเซอร์อ็อกซิเจนด้วยการส่งค่าการเผาไหม้หนาหรือบางแล้วส่งต่อไปยังระบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิคส์จ่ายเชื้อเพลิงเพื่อควบคุมการจ่ายน้ำมันด้วยกราฟแลมด้า

ปีค.ศ. 1991 Side Impact Protection System หรือ SIPS ได้ถูกคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกโดยวอลโว่ ระบบป้องกันการชนจากด้านข้างด้วยการติดตั้งคานเหล็กแข็งในประตูด้านข้างซึ่งการก้าวหน้าอีกขึ้นของระบบความปลอดภัยในรถยนต์

ระบบนี้เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบรถยนต์ที่นอกจากมีโครงสร้างที่แข็งแกร่งและเสริมด้วยวัสดุที่สามารถดูดซับแรกปะทะจากวัสดุภายใน พื้นรถแบบไข้วและโครงสร้างเบาะที่นั่งแข็งแกร่ง ระบบนี้ได้พัฒนาต่อเนื่องตามมาด้วยระบบถุงลมนิรภัยด้านข้างในปีค.ศ. 1994 ที่ได้นำมาติดตั้งเพิ่มเติมเป็นครั้งแรกของโลก

ปีค.ศ. 1998 ได้พัฒนาระบบลดอาการบาดเจ็บจากการชนที่ความเร็วต่ำด้วยการออกแบบพนักพิงศีรษะซึ่งส่งผลต่อปัญหาการรักษาในระยะยาวถึงครึ่งชีวิตและอาจจะมีค่าใช้จ่ายต่อเนื่องที่สูงมาก ปีค.ศ. 1998 วอลโว่ได้คิดค้นระบบม่านศีรษะนิรภัยติดตั้งบริเวณด้านข้างของขอบประตูด้านบน นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของเทคโนโลยี่ความปลอดภัยที่วอลโว่ได้คิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกซึ่งได้ติดตั้งทั้งด้านหน้าและด้านหลังโดยสามารถลดความรุนแรงของการปะทะได้ถึง 75 เปอร์เซ็นต์จากความเร็วของถุงลมนิรภัย

วอลโว่ได้สร้างมรดกฝากไว้กับวงการอุตสาหกรรมยายนต์ที่ถือได้ว่ามีความโดดเด่นเป็นพิเศษในเรื่องการรักษาชีวิตของมนุษยชาติโดยทางวอลโว่ได้ตั้งเป้าหมายภายในปีค.ศ. 2020 จะไม่มีคนเสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัสภายในรถยนต์วอลโว่รุ่นใหม่จากอุบัติเหตุทางรถยนต์

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!