The Legends of Automobile – ตอนที่ 95 TOYOTA CELICA-สปอร์ตคูเป้ในตำนานจากสายพันธ์แชมป์แรลลี่โลก 4 สมัย


By : C. Methas – Managing Editor

“เซลิก้า” เป็นรถยนต์แบบสปอร์ตคูเป้ที่โตโยต้าเริ่มขยายไลน์การผลิตจากรถยนต์แบบซีดานสู่การผลิตรถสปอร์ตเต็มรูปแบบ เป็นการเปิดตัวรถสปอร์ตอย่างแท้จริงที่ไม่ใช่เป็นการปรับเปลี่ยนโฉมจากรถยนต์นั่งแบบซีดานด้วยการนำมาปรับเป็นแบบ 2 ประตูหรือแบบสปอร์ต 3 ประตูแฮทช์แบ็ค แตกต่างจากยุคเริ่มแรกเป็นการผลิตสปอร์ตขนาดเล็ก จำนวน 2 ที่นั่ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จทางการตลาดมากนัก

คำว่า”เซลิก้า” เป็นภาษาสเปนมีความหมายว่า ท้องฟ้า หรือสวรรค์ ปัจจุบัน โตโยต้า เซลิก้า ได้เลิกผลิตแล้ว รุ่นสุดท้ายเป็นรถรุ่นปี 2005 ผลิตไปจนถึงปี 2006 ก่อนจะเลิกผลิตไปในวันที่ 21 เมษายน 2006

สปอร์ตที่ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างสูงและได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง สายพันธ์ล่าสุดเป็นสปอร์ตเปี่ยมสมรรถนะสูงสุดของค่ายโตโยต้า รุ่น Celica Supra ได้มีการปรับเปลี่ยนการวางรูปแบบในหลายส่วนด้วยกัน เป็นก้าวสู่อีกระดับของความร้อนแรงที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี่นวัตกรรมยานยนต์

Celica สปอร์ตของโตโยต้าสายพันธ์นี้ เคยประสบความสำเร็จอย่างสูงในสนามแข่งขันแรลลี่โลก ด้วยการกวาดแชมป์ไปได้ทั้งหมด 4 สมัยด้วยกัน ก่อนที่โตโยต้าจะยุติการส่งทีมลงแข่งขันในศึกแรลลี่โลก ยุคเฟื่องฟูสูงสุดของทีมแข่งโตโยต้าในรายการแรลลี่โลก อยู่ในยุคทศวรรษที่ 90

หลังจากยุติการส่งทีมลงแข่งขันในศึกแรลลี่โลก ทีมมอเตอร์สปอร์ตของโตโยต้าได้หันไปเข้าร่วมศึกฟอร์มูล่า-วันเป็นครั้งแรกซึ่งเป็นการก่อตั้งทีมขึ้นเองในแบบฟูลทีมทั้งการผลิตสร้างโครงสร้างตัวรถและเครื่องยนต์ที่โตโยต้าได้พัฒนาขึ้นทั้งสิ้นและได้ทำการทดสอบก่อนลงแข่งขันจริงเป็นเวลาถึงหนึ่งปี ทีมแข่งฟอร์มูล่า-วันของโตโยต้าได้รับการปรับปรุงพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง

โตโยต้ายุติการส่งทีมลงแข่งขันในศึกแรลลี่โลก หลังจากสิ้นสุดฤดูกาล 1994 ด้วยการคว้าแชมป์ไปครองได้สำเร็จ จากนั้นรถยนต์ในสายการผลิตของโตโยต้าไม่ได้รับการพัฒนาสำหรับการแข่งขันในศึกแรลลี่โลก แต่ไปพัฒนารถยนต์สำหรับการแข่งขันในรายการแข่งขันทางเรียบมากขึ้น จนกระทั่งก้าวไปสู่รายการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่อย่างฟอร์มูล่า-วันในเวลาต่อมา

สปอร์ตตระกูล Celica ผลิตออกมา 7 เจเนอเรชั่นด้วยกัน สปอร์ตรุ่นนี้ของโตโยต้าเป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จทางการตลาดมากที่สุด และเป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จในสนามแข่งขันแรลลี่โลกมากที่สุด เปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1971

รูปโฉมภายนอกของสปอร์ตรุ่นนี้ออกแบบโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่สะท้อนสไตล์สปอร์ตแตกต่างจากสปอร์ตค่ายญี่ปุ่นในยุคแรก

สปอร์ตคู้เป้ 2 ประตูรุ่นแรกของ Celica วางเครื่องยนต์ ขนาด 1,600 ซีซี. ขับแรงม้าสูงสุดได้ 79 แรงม้า เป็นสปอร์ตที่มีจุดทำการตลาดที่ราคาไม่แพง และต่อมาได้รับการพัฒนาขึ้น เสริมความร้อนแรงของเครื่องยนต์ ด้วยเครื่องขนาด 1,955 ซีซี. แบบ 4 สูบแถวเรียง เพลาราวลิ้นเหนือฝาสูบ จ่ายเชื้อเพลิงด้วยคาร์บูเรเตอร์คู่

เครื่องยนต์รุ่นนี้สามารถรีดแรงม้าสูงสุดได้ 108 แรงม้า ที่ 6,200 รอบต่อนาที และให้แรงบิดสูงสุด 135 นิวตันเมตร ที่ 6,200 รอบต่อนาที

สมรรถนะของสปอร์ตสายพันธ์ที่ 2 เวอร์ชั่น GT สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 190 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยทีเดียว นับว่าเป็นสปอร์ตจากแดนปลาดิบเวอร์ชั่นท้องถนนที่ทำความเร็วสูงสุดในอันดับต้น ๆ ในยุคนั้น

มนต์เสน่ห์ของ Celica GT นอกเหนือจากรูปลักษณ์ภายนอกที่โดดเด่น โฉบเฉี่ยว ปราดเปรียวมากในยุคนั้น มาพร้อมกับความร้อนแรงของเครื่องยนต์ ส่งผลให้ยอดจำหน่ายของสปอร์ตรุ่นนี้พุ่งขึ้นสูงภายในระยะเวลาอันรวดเร็วในตลาดทั่วโลก

Celica GT โดดเด่นเป็นพิเศษในด้านการออกแบบที่เน้นเส้นสายที่โค้งมน มีลีลา กรอบไฟท้ายที่มีชั้นเชิงแนวยาวและขนาดกะทัดรัด วางรูปแบบให้เป็นสปอร์ตที่วางเครื่องยนต์ด้านหน้า พื้นที่ของห้องเครื่องด้านหน้าขนาดใหญ่ การบำรุงรักษาทำได้สะดวกง่ายดายและการปรับแต่งโมดิฟายเครื่องยนต์สามารถเลือกเล่นได้อย่างหลากหลาย

ระบบถ่ายทอดกำลังเป็นแบบเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ ระบบขับเคลื่อนล้อหลังที่สอดคล้องกับการลงแข่งขันในรายการแรลลี่ได้อย่างสนุกโดยเฉพาะการสนุกกับการทำโอเวอร์สเตียร์

รูปทรงของตัวรถมีขนาดกะทัดรัด ประตูเปิดออกได้กว้างขวาง มิติตัวรถ มีความกว้างตัวรถเท่ากับ 1,610 มิลลิเมตร ความยาวตัวรถ 4,165 มิลลิเมตร ความสูงตัวรถ 1,310 มิลลิเมตรและน้ำหนักรถเท่ากับ 970 กิโลกรัม

ขณะที่ภายในห้องโดยสารมีพื้นที่ด้านหน้าที่กว้างขวาง สะดวกสบาย ส่วนเบาะที่นั่งด้านท้ายคับแคบเกินไป เข้า-ออกไม่สะดวก กระจกด้านท้ายบานเล็ก พื้นที่เนื้อศีรษะด้านท้ายคับแคบเกินไป สปอร์ตรุ่นนี้จึงสะดวกสำหรับผู้โดยสาร 2 ที่นั่งมากกว่า

Celica ได้รับการพัฒนาสู่การแข่งขันในศึกแรลลี่โลกโดยทีมแข่งของโตโยต้าได้พัฒนารถแข่งจากสปอร์ตตระกูล Celica ลงแข่งขันหลายรุ่นด้วยกัน จนกระทั่งประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1990 ด้วยการคว้าแชมป์โลกได้สำเร็จด้วยฝีมือการขับของคาร์ลอส แซงส์จากสเปน

ปี 1992 ทีมแข่งของโตโยต้าในศึกแรลลี่โลกประสบความสำเร็จอีกครั้งด้วยการคว้าแชมป์โลก คาร์ลอส แซงส์ นักขับรายเดิมที่ลงแข่งขันคู่กับเนวิเกเตอร์คู่ใจ หลุยส์ โมย่าจากสัญชาติเดียวกัน

จูฮา คานคูเนน นักขับจากฟินแลนด์มาคว้าแชมป์แรลลี่โลกให้กับทีมโตโยต้าอีกครั้งในปี 1993 ตามมาด้วยปี 1994 เป็นการคว้าแชมป์โลกของดิดิเยร์ ออริโอล นักขับจากฝรั่งเศสเป็นการคว้าแชมป์ครั้งสุดท้ายของทีมโตโยต้าในศึกแรลลี่โลกก่อนที่จะถอนตัวออกจากการแข่งขันทางฝุ่นไปเป็นเวลายาวนานนับสิบปี

Celica ได้รับการพัฒนาต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง โฉมล่าสุดในตระกูล Celica เป็นรุ่น Supra สปอร์ตคูเป้พันธ์เดือดที่ร้อนแรงที่สุดของตระกูลสปอร์ตจากโตโยต้า ยุติตำนานสปอร์ตทางฝุ่นไปโดยปริยาย

ส่วนประวัติความเป็นมาของการคว้าแชมป์ในศึกแรลลี่โลกของ Celica โดยคาร์ลอส แซงส์ซึ่งลงแข่งเป็นสมัยที่ 12 คว้าแชมป์แรลลี่โลกครั้งแรกด้วยรถแข่งรุ่น Celica GT-Four ST165 เมื่อปี 1990 นำหน้าดิดิเอร์ ออริโอล์และจูฮา คานคูเนน ในปีนั้นทีมแลนเซียคว้าแชมป์ประเภททีมไปครอง ตามมาด้วยทีมโตโยต้าและมิตซูบิชิ

การคว้าแชมป์ในปี 1992 ใช้รถแข่งรหัส Celeca GT-Four ST185 นำหน้าจูฮา คานคูเนนและและดิดิเอร์ ออริโอล์ โดยทีมแลนเซียคว้าแชมป์ประเภททีมนำหน้าทีมโตโยต้าและฟอร์ด

หลังจากแขวนพวงมาลัยในศึกแรลลี่โลกเมื่อปี 2005 ได้ไปลงแข่งในศึกดักการ์ แรลลี่เมื่อปี 2006 มาคว้าแชมป์ครั้งแรกได้เมื่อปี 2010 และครั้งล่าสุดในปี 2018

By : C. Methas - Managing Editor

“เซลิก้า” เป็นรถยนต์แบบสปอร์ตคูเป้ที่โตโยต้าเริ่มขยายไลน์การผลิตจากรถยนต์แบบซีดานสู่การผลิตรถสปอร์ตเต็มรูปแบบ เป็นการเปิดตัวรถสปอร์ตอย่างแท้จริงที่ไม่ใช่เป็นการปรับเปลี่ยนโฉมจากรถยนต์นั่งแบบซีดานด้วยการนำมาปรับเป็นแบบ 2 ประตูหรือแบบสปอร์ต 3 ประตูแฮทช์แบ็ค แตกต่างจากยุคเริ่มแรกเป็นการผลิตสปอร์ตขนาดเล็ก จำนวน 2 ที่นั่ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จทางการตลาดมากนัก

คำว่า"เซลิก้า" เป็นภาษาสเปนมีความหมายว่า ท้องฟ้า หรือสวรรค์ ปัจจุบัน โตโยต้า เซลิก้า ได้เลิกผลิตแล้ว รุ่นสุดท้ายเป็นรถรุ่นปี 2005 ผลิตไปจนถึงปี 2006 ก่อนจะเลิกผลิตไปในวันที่ 21 เมษายน 2006

สปอร์ตที่ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างสูงและได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง สายพันธ์ล่าสุดเป็นสปอร์ตเปี่ยมสมรรถนะสูงสุดของค่ายโตโยต้า รุ่น Celica Supra ได้มีการปรับเปลี่ยนการวางรูปแบบในหลายส่วนด้วยกัน เป็นก้าวสู่อีกระดับของความร้อนแรงที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี่นวัตกรรมยานยนต์

Celica สปอร์ตของโตโยต้าสายพันธ์นี้ เคยประสบความสำเร็จอย่างสูงในสนามแข่งขันแรลลี่โลก ด้วยการกวาดแชมป์ไปได้ทั้งหมด 4 สมัยด้วยกัน ก่อนที่โตโยต้าจะยุติการส่งทีมลงแข่งขันในศึกแรลลี่โลก ยุคเฟื่องฟูสูงสุดของทีมแข่งโตโยต้าในรายการแรลลี่โลก อยู่ในยุคทศวรรษที่ 90

หลังจากยุติการส่งทีมลงแข่งขันในศึกแรลลี่โลก ทีมมอเตอร์สปอร์ตของโตโยต้าได้หันไปเข้าร่วมศึกฟอร์มูล่า-วันเป็นครั้งแรกซึ่งเป็นการก่อตั้งทีมขึ้นเองในแบบฟูลทีมทั้งการผลิตสร้างโครงสร้างตัวรถและเครื่องยนต์ที่โตโยต้าได้พัฒนาขึ้นทั้งสิ้นและได้ทำการทดสอบก่อนลงแข่งขันจริงเป็นเวลาถึงหนึ่งปี ทีมแข่งฟอร์มูล่า-วันของโตโยต้าได้รับการปรับปรุงพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง

โตโยต้ายุติการส่งทีมลงแข่งขันในศึกแรลลี่โลก หลังจากสิ้นสุดฤดูกาล 1994 ด้วยการคว้าแชมป์ไปครองได้สำเร็จ จากนั้นรถยนต์ในสายการผลิตของโตโยต้าไม่ได้รับการพัฒนาสำหรับการแข่งขันในศึกแรลลี่โลก แต่ไปพัฒนารถยนต์สำหรับการแข่งขันในรายการแข่งขันทางเรียบมากขึ้น จนกระทั่งก้าวไปสู่รายการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่อย่างฟอร์มูล่า-วันในเวลาต่อมา

สปอร์ตตระกูล Celica ผลิตออกมา 7 เจเนอเรชั่นด้วยกัน สปอร์ตรุ่นนี้ของโตโยต้าเป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จทางการตลาดมากที่สุด และเป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จในสนามแข่งขันแรลลี่โลกมากที่สุด เปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1971

รูปโฉมภายนอกของสปอร์ตรุ่นนี้ออกแบบโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่สะท้อนสไตล์สปอร์ตแตกต่างจากสปอร์ตค่ายญี่ปุ่นในยุคแรก

สปอร์ตคู้เป้ 2 ประตูรุ่นแรกของ Celica วางเครื่องยนต์ ขนาด 1,600 ซีซี. ขับแรงม้าสูงสุดได้ 79 แรงม้า เป็นสปอร์ตที่มีจุดทำการตลาดที่ราคาไม่แพง และต่อมาได้รับการพัฒนาขึ้น เสริมความร้อนแรงของเครื่องยนต์ ด้วยเครื่องขนาด 1,955 ซีซี. แบบ 4 สูบแถวเรียง เพลาราวลิ้นเหนือฝาสูบ จ่ายเชื้อเพลิงด้วยคาร์บูเรเตอร์คู่

เครื่องยนต์รุ่นนี้สามารถรีดแรงม้าสูงสุดได้ 108 แรงม้า ที่ 6,200 รอบต่อนาที และให้แรงบิดสูงสุด 135 นิวตันเมตร ที่ 6,200 รอบต่อนาที

สมรรถนะของสปอร์ตสายพันธ์ที่ 2 เวอร์ชั่น GT สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 190 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยทีเดียว นับว่าเป็นสปอร์ตจากแดนปลาดิบเวอร์ชั่นท้องถนนที่ทำความเร็วสูงสุดในอันดับต้น ๆ ในยุคนั้น

มนต์เสน่ห์ของ Celica GT นอกเหนือจากรูปลักษณ์ภายนอกที่โดดเด่น โฉบเฉี่ยว ปราดเปรียวมากในยุคนั้น มาพร้อมกับความร้อนแรงของเครื่องยนต์ ส่งผลให้ยอดจำหน่ายของสปอร์ตรุ่นนี้พุ่งขึ้นสูงภายในระยะเวลาอันรวดเร็วในตลาดทั่วโลก

Celica GT โดดเด่นเป็นพิเศษในด้านการออกแบบที่เน้นเส้นสายที่โค้งมน มีลีลา กรอบไฟท้ายที่มีชั้นเชิงแนวยาวและขนาดกะทัดรัด วางรูปแบบให้เป็นสปอร์ตที่วางเครื่องยนต์ด้านหน้า พื้นที่ของห้องเครื่องด้านหน้าขนาดใหญ่ การบำรุงรักษาทำได้สะดวกง่ายดายและการปรับแต่งโมดิฟายเครื่องยนต์สามารถเลือกเล่นได้อย่างหลากหลาย

ระบบถ่ายทอดกำลังเป็นแบบเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ ระบบขับเคลื่อนล้อหลังที่สอดคล้องกับการลงแข่งขันในรายการแรลลี่ได้อย่างสนุกโดยเฉพาะการสนุกกับการทำโอเวอร์สเตียร์

รูปทรงของตัวรถมีขนาดกะทัดรัด ประตูเปิดออกได้กว้างขวาง มิติตัวรถ มีความกว้างตัวรถเท่ากับ 1,610 มิลลิเมตร ความยาวตัวรถ 4,165 มิลลิเมตร ความสูงตัวรถ 1,310 มิลลิเมตรและน้ำหนักรถเท่ากับ 970 กิโลกรัม

ขณะที่ภายในห้องโดยสารมีพื้นที่ด้านหน้าที่กว้างขวาง สะดวกสบาย ส่วนเบาะที่นั่งด้านท้ายคับแคบเกินไป เข้า-ออกไม่สะดวก กระจกด้านท้ายบานเล็ก พื้นที่เนื้อศีรษะด้านท้ายคับแคบเกินไป สปอร์ตรุ่นนี้จึงสะดวกสำหรับผู้โดยสาร 2 ที่นั่งมากกว่า

Celica ได้รับการพัฒนาสู่การแข่งขันในศึกแรลลี่โลกโดยทีมแข่งของโตโยต้าได้พัฒนารถแข่งจากสปอร์ตตระกูล Celica ลงแข่งขันหลายรุ่นด้วยกัน จนกระทั่งประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1990 ด้วยการคว้าแชมป์โลกได้สำเร็จด้วยฝีมือการขับของคาร์ลอส แซงส์จากสเปน

ปี 1992 ทีมแข่งของโตโยต้าในศึกแรลลี่โลกประสบความสำเร็จอีกครั้งด้วยการคว้าแชมป์โลก คาร์ลอส แซงส์ นักขับรายเดิมที่ลงแข่งขันคู่กับเนวิเกเตอร์คู่ใจ หลุยส์ โมย่าจากสัญชาติเดียวกัน

จูฮา คานคูเนน นักขับจากฟินแลนด์มาคว้าแชมป์แรลลี่โลกให้กับทีมโตโยต้าอีกครั้งในปี 1993 ตามมาด้วยปี 1994 เป็นการคว้าแชมป์โลกของดิดิเยร์ ออริโอล นักขับจากฝรั่งเศสเป็นการคว้าแชมป์ครั้งสุดท้ายของทีมโตโยต้าในศึกแรลลี่โลกก่อนที่จะถอนตัวออกจากการแข่งขันทางฝุ่นไปเป็นเวลายาวนานนับสิบปี

Celica ได้รับการพัฒนาต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง โฉมล่าสุดในตระกูล Celica เป็นรุ่น Supra สปอร์ตคูเป้พันธ์เดือดที่ร้อนแรงที่สุดของตระกูลสปอร์ตจากโตโยต้า ยุติตำนานสปอร์ตทางฝุ่นไปโดยปริยาย

ส่วนประวัติความเป็นมาของการคว้าแชมป์ในศึกแรลลี่โลกของ Celica โดยคาร์ลอส แซงส์ซึ่งลงแข่งเป็นสมัยที่ 12 คว้าแชมป์แรลลี่โลกครั้งแรกด้วยรถแข่งรุ่น Celica GT-Four ST165 เมื่อปี 1990 นำหน้าดิดิเอร์ ออริโอล์และจูฮา คานคูเนน ในปีนั้นทีมแลนเซียคว้าแชมป์ประเภททีมไปครอง ตามมาด้วยทีมโตโยต้าและมิตซูบิชิ

การคว้าแชมป์ในปี 1992 ใช้รถแข่งรหัส Celeca GT-Four ST185 นำหน้าจูฮา คานคูเนนและและดิดิเอร์ ออริโอล์ โดยทีมแลนเซียคว้าแชมป์ประเภททีมนำหน้าทีมโตโยต้าและฟอร์ด

หลังจากแขวนพวงมาลัยในศึกแรลลี่โลกเมื่อปี 2005 ได้ไปลงแข่งในศึกดักการ์ แรลลี่เมื่อปี 2006 มาคว้าแชมป์ครั้งแรกได้เมื่อปี 2010 และครั้งล่าสุดในปี 2018

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!