นิสสันซีอีโอ มร. คาร์ลอส กอส์น ประกาศทิศทางเทคโนโลยีของนิสสัน และความร่วมมือสู่เป้าหมายลดการปล่อยมลพิษและความรุนแรงอุบัติเหตุบนท้องถนนให้เป็นศูนย์


มร. คาร์ลอส กอส์น ประธานบอร์ดและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ นิสสัน มอเตอร์ จำกัด ได้แสดงปาฐกถาเกี่ยวกับความสำเร็จของเทคโนโลยี อัจฉริยะเพื่อการขับขี่ในอนาคต เพื่อลดการปล่อยมลพิษและการลดความรุนแรงของอุบัติเหตุบนท้องถนนให้เป็นศูนย์ ภายในงาน คอนซูมเมอร์ อิเล็กโทรนิก โชว์ (ConsumerELECTRONICS Show CES) – หรืองานแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีเพื่อผู้บริโภค ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ประจำปี 2017 ณ ลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา

“ที่นิสสัน เราไม่ได้สร้างสรรค์เทคโนโลยีในแบบเดียวกับที่คนอื่นๆ ทำ หรือเก็บไว้สำหรับรถยนต์รุ่นสูงสุด แต่เราทำจากจุดเริ่มต้นเพื่อให้ความมั่นใจว่า เทคโนโลยีที่ดีสุดนี้มีการพัฒนาขึ้นเพื่อมอบประสบการณ์ของการขับขี่ที่ดีกว่า ให้กับทุกๆ คน ซึ่งนี่ไม่ได้เป็นวิธีการของเราที่จะสร้างรถในอนาคตเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นวิธีที่เราจะสามารถเป็นผู้ผลิตรถยนต์สำหรับอนาคตอีกด้วย” มร. กอส์นกล่าวพร้อมๆ ไปกับผู้บริหารของนิสสันคนอื่นๆ มร. กอส์น ประกาศ 5 แนวทางหลักสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีการเคลื่อนที่อัจฉริยะของนิสสัน หรือ Nissan Intelligent Mobility ที่จะทำให้นิสสันบรรลุการพัฒนาไม่ว่าจะเป็น การขับขี่ที่เสริมความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้ที่ใช้ท้องถนนร่วมกัน หรือ Intelligent Driving การขับเคลื่อนที่ให้พลังสะอาดและไร้ซึ่งมลพิษ หรือ Intelligent Power และรวมถึงการผสานเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม หรือ Intelligent Integration

Nissan at CES 2017

1. เพื่อเร่งเวลาของการพัฒนาระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติให้ใช้ได้จริงในอนาคตอันใกล้ มร. กอส์น ประกาศความสำเร็จการร่วมพัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า “Seamless Autonomous Mobility (SAM)” หรือ การเคลื่อนที่อัตโนมัติแบบไร้รอยต่อ ที่พัฒนาจากเทคโนโลยีของแบบเดียวกับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา หรือ นาซา (NASA) ซึ่งเป็นพันธมิตรของ SAM โดยเป็นการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) สำหรับการสนับสนุนเพื่อช่วยให้ยานพาหนะสามารถดำเนินการตัดสินใจในสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง และสร้างการเรียนรู้ในระบบปัญญาประดิษฐ์นี้ สำหรับเทคโนโลยีอัจริยะนี้จะช่วยให้รถยนต์แบบไร้คนขับจำนวนมาก สามารถอยู่ร่วมกับรถยนต์ที่ยังใช้คนขับรถได้เร็วมากยิ่งขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของการผสานเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมของนิสสันอีกด้วย


2. เพื่อขยายความสำเร็จของระบบขับขี่อัตโนมัติไปสู่ขั้นต่อไป มร. กอส์น ประกาศว่าในช่วงแรก นิสสันจะเริ่มต้นการทดสอบในประเทศญี่ปุ่นในปีนี้ ด้วยการกำหนดเป้าหมายของการพัฒนายานพาหนะแบบไร้คนขับ สำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์ โดยทำงานร่วมกับ บริษัทชั้นนำด้านอินเทอร์เน็ตของญี่ปุ่นอย่าง DeNA ซึ่งนิสสันจะมุ่งเน้นการทดสอบเพื่อก่อให้เกิดความสมบูรณ์แบบของเทคโนโลยีนี้ และคาดหวังว่าในอนาคต การทดสอบจะขยายเพื่อครอบคลุมการให้บริการเชิงพาณิชย์ในช่วงของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่กรุงโตเกียวจะเป็นเจ้าภาพในปี 2020

3. นอกจากนี้เพื่อสร้างความก้าวหน้าของระบบขับขี่อัตโนมัติ มร. กอส์น ยังได้ประกาศแผนการที่จะสร้างความเป็นผู้นำของนิสสันในเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยการเปิดตัว นิสสันลีฟ รุ่นใหม่ในเร็วๆ นี้ ถือเป็นก้าวที่สำคัญของการขับเคลื่อนที่ให้พลังสะอาดและไร้ซึ่งมลพิษของนิสสัน หรือ Intelligent Power โดยรุ่นต่อไปของรถยนต์ไฟฟ้าที่ขายดีที่สุดของโลกอย่าง ลีฟ จะได้รับการติดตั้งเทคโนโลยี ProPILOT หรือระบบขับขี่อัตโนมัติ ที่ปัจจุบันออกแบบมาเพื่อสำหรับใช้บนไฮเวย์ สำหรับการขับช่องทางเดินรถเดียว (automated single-lane highway driving)

4. สำหรับการเชื่อมต่อของรถที่รวมระหว่าง การขับขี่ที่เสริมความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้ที่ใช้ท้องถนนร่วมกัน กับการผสานเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม มร. กอส์น ยังประกาศว่าภายใต้พันธมิตรเรโนลต์-นิสสัน จะยังคงความต่อเนื่องกับความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ ในการพัฒนาเทคโนโลยีการเชื่อมต่อสำหรับรถยนต์ในอนาคต โดย มร. โอกิ เรดซิค รองประธานอาวุโสของพันธมิตรเรโนลต์-นิสสัน ด้านการเชื่อมต่อ (Ogi Redzic – Alliance SVP of Connected Cars) ได้สาธิตให้เห็นถึงวิธีการที่เทคโนโลยีที่เป็นระบบผู้ช่วยเหลือส่วนบุคคล (personal assistant) อย่างไมโครซอฟท์ Cortana ช่วยทำให้การขับขี่มีประสิทธิภาพและราบรื่นมากขึ้น โดย Cortana เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่พันธมิตรเรโนลต์-นิสสัน และ Microsoft ค้นคว้าร่วมกัน

5. มร. กอส์น กล่าวเสริมว่า ในปัจจุบันนโยบายและสภาพแวดล้อมของการกำกับดูแล จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของทั่วทุกมุมโลก โดย มร. กอส์น ยังประกาศความร่วมมือกับโครงการ 100 เมืองที่คงทนยั่งยืน หรือ 100 Resilient Cities (100RC) ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มโดยองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร อย่างมูลนิธิกี้เฟลเลอร์ ในการช่วยให้แต่ละเมืองสามารถสร้างความยืดหยุ่นรอบด้าน เพื่อความท้าทายการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ ทั้งนี้นิสสันถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่ประกาศความร่วมมือกับโครงการ 100RC โดยจะช่วยให้เมืองวางรากฐานสำหรับระบบขับขี่อัตโนมัติ รถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงบริการการเคลื่อนที่รูปแบบใหม่ๆ

“เราขอเชิญชวนภาคส่วนอื่นๆ ให้เข้าร่วมกับเรา ไม่ว่าจะเป็น พันธมิตรด้านเทคโนโลยีอี – คอมเมิร์ซ ผู้ให้บริการรถยนต์เพื่อการเดินทางในรูปแบบต่างๆ ผู้ประกอบการทั่วๆ ไป ที่จะช่วยให้เราสามารถทดสอบและพัฒนายานพาหนะและบริการใหม่ๆ เพื่อให้นิสสันมั่นใจว่าทุกๆ คนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีล่าสุดนี้ และยังเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของทุกๆ คน” มร. กอส์นกล่าวในตอนท้าย

มร. คาร์ลอส กอส์น ประธานบอร์ดและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ นิสสัน มอเตอร์ จำกัด ได้แสดงปาฐกถาเกี่ยวกับความสำเร็จของเทคโนโลยี อัจฉริยะเพื่อการขับขี่ในอนาคต เพื่อลดการปล่อยมลพิษและการลดความรุนแรงของอุบัติเหตุบนท้องถนนให้เป็นศูนย์ ภายในงาน คอนซูมเมอร์ อิเล็กโทรนิก โชว์ (ConsumerELECTRONICS Show CES) – หรืองานแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีเพื่อผู้บริโภค ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ประจำปี 2017 ณ ลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา

“ที่นิสสัน เราไม่ได้สร้างสรรค์เทคโนโลยีในแบบเดียวกับที่คนอื่นๆ ทำ หรือเก็บไว้สำหรับรถยนต์รุ่นสูงสุด แต่เราทำจากจุดเริ่มต้นเพื่อให้ความมั่นใจว่า เทคโนโลยีที่ดีสุดนี้มีการพัฒนาขึ้นเพื่อมอบประสบการณ์ของการขับขี่ที่ดีกว่า ให้กับทุกๆ คน ซึ่งนี่ไม่ได้เป็นวิธีการของเราที่จะสร้างรถในอนาคตเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นวิธีที่เราจะสามารถเป็นผู้ผลิตรถยนต์สำหรับอนาคตอีกด้วย” มร. กอส์นกล่าวพร้อมๆ ไปกับผู้บริหารของนิสสันคนอื่นๆ มร. กอส์น ประกาศ 5 แนวทางหลักสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีการเคลื่อนที่อัจฉริยะของนิสสัน หรือ Nissan Intelligent Mobility ที่จะทำให้นิสสันบรรลุการพัฒนาไม่ว่าจะเป็น การขับขี่ที่เสริมความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้ที่ใช้ท้องถนนร่วมกัน หรือ Intelligent Driving การขับเคลื่อนที่ให้พลังสะอาดและไร้ซึ่งมลพิษ หรือ Intelligent Power และรวมถึงการผสานเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม หรือ Intelligent Integration

Nissan at CES 2017

1. เพื่อเร่งเวลาของการพัฒนาระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติให้ใช้ได้จริงในอนาคตอันใกล้ มร. กอส์น ประกาศความสำเร็จการร่วมพัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า “Seamless Autonomous Mobility (SAM)” หรือ การเคลื่อนที่อัตโนมัติแบบไร้รอยต่อ ที่พัฒนาจากเทคโนโลยีของแบบเดียวกับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา หรือ นาซา (NASA) ซึ่งเป็นพันธมิตรของ SAM โดยเป็นการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) สำหรับการสนับสนุนเพื่อช่วยให้ยานพาหนะสามารถดำเนินการตัดสินใจในสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง และสร้างการเรียนรู้ในระบบปัญญาประดิษฐ์นี้ สำหรับเทคโนโลยีอัจริยะนี้จะช่วยให้รถยนต์แบบไร้คนขับจำนวนมาก สามารถอยู่ร่วมกับรถยนต์ที่ยังใช้คนขับรถได้เร็วมากยิ่งขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของการผสานเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมของนิสสันอีกด้วย

2. เพื่อขยายความสำเร็จของระบบขับขี่อัตโนมัติไปสู่ขั้นต่อไป มร. กอส์น ประกาศว่าในช่วงแรก นิสสันจะเริ่มต้นการทดสอบในประเทศญี่ปุ่นในปีนี้ ด้วยการกำหนดเป้าหมายของการพัฒนายานพาหนะแบบไร้คนขับ สำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์ โดยทำงานร่วมกับ บริษัทชั้นนำด้านอินเทอร์เน็ตของญี่ปุ่นอย่าง DeNA ซึ่งนิสสันจะมุ่งเน้นการทดสอบเพื่อก่อให้เกิดความสมบูรณ์แบบของเทคโนโลยีนี้ และคาดหวังว่าในอนาคต การทดสอบจะขยายเพื่อครอบคลุมการให้บริการเชิงพาณิชย์ในช่วงของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่กรุงโตเกียวจะเป็นเจ้าภาพในปี 2020

3. นอกจากนี้เพื่อสร้างความก้าวหน้าของระบบขับขี่อัตโนมัติ มร. กอส์น ยังได้ประกาศแผนการที่จะสร้างความเป็นผู้นำของนิสสันในเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยการเปิดตัว นิสสันลีฟ รุ่นใหม่ในเร็วๆ นี้ ถือเป็นก้าวที่สำคัญของการขับเคลื่อนที่ให้พลังสะอาดและไร้ซึ่งมลพิษของนิสสัน หรือ Intelligent Power โดยรุ่นต่อไปของรถยนต์ไฟฟ้าที่ขายดีที่สุดของโลกอย่าง ลีฟ จะได้รับการติดตั้งเทคโนโลยี ProPILOT หรือระบบขับขี่อัตโนมัติ ที่ปัจจุบันออกแบบมาเพื่อสำหรับใช้บนไฮเวย์ สำหรับการขับช่องทางเดินรถเดียว (automated single-lane highway driving)

4. สำหรับการเชื่อมต่อของรถที่รวมระหว่าง การขับขี่ที่เสริมความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้ที่ใช้ท้องถนนร่วมกัน กับการผสานเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม มร. กอส์น ยังประกาศว่าภายใต้พันธมิตรเรโนลต์-นิสสัน จะยังคงความต่อเนื่องกับความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ ในการพัฒนาเทคโนโลยีการเชื่อมต่อสำหรับรถยนต์ในอนาคต โดย มร. โอกิ เรดซิค รองประธานอาวุโสของพันธมิตรเรโนลต์-นิสสัน ด้านการเชื่อมต่อ (Ogi Redzic – Alliance SVP of Connected Cars) ได้สาธิตให้เห็นถึงวิธีการที่เทคโนโลยีที่เป็นระบบผู้ช่วยเหลือส่วนบุคคล (personal assistant) อย่างไมโครซอฟท์ Cortana ช่วยทำให้การขับขี่มีประสิทธิภาพและราบรื่นมากขึ้น โดย Cortana เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่พันธมิตรเรโนลต์-นิสสัน และ Microsoft ค้นคว้าร่วมกัน

5. มร. กอส์น กล่าวเสริมว่า ในปัจจุบันนโยบายและสภาพแวดล้อมของการกำกับดูแล จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของทั่วทุกมุมโลก โดย มร. กอส์น ยังประกาศความร่วมมือกับโครงการ 100 เมืองที่คงทนยั่งยืน หรือ 100 Resilient Cities (100RC) ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มโดยองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร อย่างมูลนิธิกี้เฟลเลอร์ ในการช่วยให้แต่ละเมืองสามารถสร้างความยืดหยุ่นรอบด้าน เพื่อความท้าทายการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ ทั้งนี้นิสสันถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่ประกาศความร่วมมือกับโครงการ 100RC โดยจะช่วยให้เมืองวางรากฐานสำหรับระบบขับขี่อัตโนมัติ รถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงบริการการเคลื่อนที่รูปแบบใหม่ๆ

“เราขอเชิญชวนภาคส่วนอื่นๆ ให้เข้าร่วมกับเรา ไม่ว่าจะเป็น พันธมิตรด้านเทคโนโลยีอี – คอมเมิร์ซ ผู้ให้บริการรถยนต์เพื่อการเดินทางในรูปแบบต่างๆ ผู้ประกอบการทั่วๆ ไป ที่จะช่วยให้เราสามารถทดสอบและพัฒนายานพาหนะและบริการใหม่ๆ เพื่อให้นิสสันมั่นใจว่าทุกๆ คนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีล่าสุดนี้ และยังเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของทุกๆ คน” มร. กอส์นกล่าวในตอนท้าย

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!