BULGARIA-รอยต่อแห่งอารยธรรม 3 ภูมิภาคของโลก (ตอนที่ 1)


By : C. Methas – Managing Editor

สาธารณรัฐบัลกาเรียอีกหนึ่งประเทศที่มีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา มีเมืองโซเฟียเป็นเมืองใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวง เป็นประเทศที่มีอาณาบริเวณตั้งอยู่แถบตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีชายฝั่งติดทะเลดำทางด้านตะวันออก พรมแดนติดต่อกับประเทศกรีซและประเทศตุรกีทางตอนใต้ ประเทศเซอร์เบียและประเทศมาซิโดเนียทางด้านตะวันออกและประเทศโรมาเนียทางตอนเหนือตามแม่น้ำดานูบตอนบน ซึ่งทำเลที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง 3 ภูมิภาคของโลก ได้แก่ ยุโรปตะวันออก,เอเชียกลางและรัสเซียตอนใต้

บัลกาเรียมีเมืองท่าในทะเลดำ และมีพื้นที่ติดกับประเทศในคาบสมุทรบอลข่านที่ไม่มีทางออกทะเล เช่น ประเทศมาซิโดเนียและมอนเตเนโกร เป็นต้น เป็นหนึ่งในประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก

บัลกาเรียเป็นอีกหนึ่งประเทศเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน ก่อตั้งประเทศเมื่อปี พ.ศ. 1224 ได้รับสิทธิการปกครองตนเอง เมื่อปี พ.ศ. 2451 มีประชากรประมาณ 7.9 ล้านคน ประชากรมีการศึกษาสูง ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้รวดเร็วและมั่นคง แต่ค่าจ้างแรงงานถูก โดยประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวบัลกาเรียน 83.9 เปอร์เซ็นต์ ชาวเติร์ก 9.4 เปอร์เซ็นต์และชนชาติอื่น ๆ ประกอบด้วย มาซิโดเนียน, อาร์มีเนียนและตาตาร์

ภูมิอากาศตอนบนเป็นแบบภาคพื้นสมุทร ทางตอนล่างของประเทศเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน วัฒนธรรมของประเทศบัลกาเรียผสมผสานหลากหลายวัฒนธรรมที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน โดยเริ่มต้นประเทศบัลแกเรียมีฐานะเป็นรัฐชาติในปี พ.ศ. 1224 ประกอบขึ้นจากชนชาติสลาฟและชนชาติบัลการ์ ซึ่งชนชาติบัลการ์เป็นชนชาติยูเครนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทรบอลข่าน

ในปี พ.ศ. 1561 ตกอยู่ภายใต้อาณาจักรไบแซนไทน์ ต่อมาตกอยู่ภายใต้จักรวรรดิออตโตมานเป็นเวลายาวนานถึง 5 ศตวรรษ จากปี พ.ศ. 1939 จนถึงปี พ.ศ. 2421 จึงได้รับการยอมรับในฐานะประเทศเอกราชในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ปกครองโดยราชวงศ์ Sax-Coberge Gotha มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับจักรวรรดิรัสเซีย

บัลกาเรียเข้าร่วมในสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกกำหนดโดยฝ่ายสัมพันธมิตรให้สหภาพโซเวียตปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ เปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี พ.ศ. 2533 เมื่อวันที่ 12 กรกฏาคม 2534 รัฐสภาบัลแกเรียได้รับรองรัฐธรรมนูญของประเทศ

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเข้าเป็นสมาชิกภาพสหภาพยุโรป การปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น ลดอาชญากรรม แก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาระบบการศึกษา และประสบความสำเร็จในการนำประเทศเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ส่งผลให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีนักลงทุนจากยุโรปและสหรัฐฯ เข้าไปลงทุนมากขึ้น โดยได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550

การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมยังมีข้อจำกัด เนื่องจากมีขีดความสามารถทางการแข่งขันต่ำ ต้องเพิ่มสัดส่วนของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง และอุตสาหกรรมเชิงวิทยาศาสตร์ และให้ความสำคัญกับนโยบายด้านพลังงานของสหภาพยุโรป มีความต้องการสร้างโรงงานผลิตพลังงานนิวเคลียร์แห่งใหม่และต้องการเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายท่อส่งน้ำมันและก๊าซในภูมิภาคบอลข่าน

นอกจากนี้ได้ให้ความสำคัญแก่การสร้างเสถียรภาพในคาบสมุทรบอลข่าน เนื่องจากเป็นประเทศทางผ่านสินค้าในภูมิภาค จากกรุงโซเฟีย มีทางรถยนต์เชื่อมกรุงเบลเกรดและกรุงอิสตันบูลซึ่งเป็นเส้นทางจากยุโรปเหนือไปกรุงเอเธนส์

การปฏิรูปเศรษฐกิจในภาคต่าง ๆ มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ ภาคพลังงาน ภาคการเดินรถไฟ ภาคการบริหารการเก็บภาษี และภาคการแปรรูปธนาคารของรัฐหลายธนาคาร รักษาความต่อเนื่องของการพัฒนาบรรยากาศทางธุรกิจและการลงทุน เป็นปัจจัยสำคัญในระยะกลาง
บัลกาเรียสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การนาโต ตั้งแต่ปี 2540 และได้เข้าเป็นสมาชิกนาโตในปี 2547 พร้อมกับประเทศลัตเวีย, ลิทัวเนีย, เอสโตเนีย, สโลวาเกีย, สโลวีเนียและโรมาเนีย และได้ให้การสนับสนุนเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับรัสเซียและประเทศเอกราชที่แยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียต

By : C. Methas - Managing Editor

สาธารณรัฐบัลกาเรียอีกหนึ่งประเทศที่มีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา มีเมืองโซเฟียเป็นเมืองใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวง เป็นประเทศที่มีอาณาบริเวณตั้งอยู่แถบตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีชายฝั่งติดทะเลดำทางด้านตะวันออก พรมแดนติดต่อกับประเทศกรีซและประเทศตุรกีทางตอนใต้ ประเทศเซอร์เบียและประเทศมาซิโดเนียทางด้านตะวันออกและประเทศโรมาเนียทางตอนเหนือตามแม่น้ำดานูบตอนบน ซึ่งทำเลที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง 3 ภูมิภาคของโลก ได้แก่ ยุโรปตะวันออก,เอเชียกลางและรัสเซียตอนใต้

บัลกาเรียมีเมืองท่าในทะเลดำ และมีพื้นที่ติดกับประเทศในคาบสมุทรบอลข่านที่ไม่มีทางออกทะเล เช่น ประเทศมาซิโดเนียและมอนเตเนโกร เป็นต้น เป็นหนึ่งในประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก

บัลกาเรียเป็นอีกหนึ่งประเทศเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน ก่อตั้งประเทศเมื่อปี พ.ศ. 1224 ได้รับสิทธิการปกครองตนเอง เมื่อปี พ.ศ. 2451 มีประชากรประมาณ 7.9 ล้านคน ประชากรมีการศึกษาสูง ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้รวดเร็วและมั่นคง แต่ค่าจ้างแรงงานถูก โดยประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวบัลกาเรียน 83.9 เปอร์เซ็นต์ ชาวเติร์ก 9.4 เปอร์เซ็นต์และชนชาติอื่น ๆ ประกอบด้วย มาซิโดเนียน, อาร์มีเนียนและตาตาร์

ภูมิอากาศตอนบนเป็นแบบภาคพื้นสมุทร ทางตอนล่างของประเทศเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน วัฒนธรรมของประเทศบัลกาเรียผสมผสานหลากหลายวัฒนธรรมที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน โดยเริ่มต้นประเทศบัลแกเรียมีฐานะเป็นรัฐชาติในปี พ.ศ. 1224 ประกอบขึ้นจากชนชาติสลาฟและชนชาติบัลการ์ ซึ่งชนชาติบัลการ์เป็นชนชาติยูเครนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทรบอลข่าน

ในปี พ.ศ. 1561 ตกอยู่ภายใต้อาณาจักรไบแซนไทน์ ต่อมาตกอยู่ภายใต้จักรวรรดิออตโตมานเป็นเวลายาวนานถึง 5 ศตวรรษ จากปี พ.ศ. 1939 จนถึงปี พ.ศ. 2421 จึงได้รับการยอมรับในฐานะประเทศเอกราชในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ปกครองโดยราชวงศ์ Sax-Coberge Gotha มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับจักรวรรดิรัสเซีย

บัลกาเรียเข้าร่วมในสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกกำหนดโดยฝ่ายสัมพันธมิตรให้สหภาพโซเวียตปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ เปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี พ.ศ. 2533 เมื่อวันที่ 12 กรกฏาคม 2534 รัฐสภาบัลแกเรียได้รับรองรัฐธรรมนูญของประเทศ

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเข้าเป็นสมาชิกภาพสหภาพยุโรป การปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น ลดอาชญากรรม แก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาระบบการศึกษา และประสบความสำเร็จในการนำประเทศเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ส่งผลให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีนักลงทุนจากยุโรปและสหรัฐฯ เข้าไปลงทุนมากขึ้น โดยได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550

การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมยังมีข้อจำกัด เนื่องจากมีขีดความสามารถทางการแข่งขันต่ำ ต้องเพิ่มสัดส่วนของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง และอุตสาหกรรมเชิงวิทยาศาสตร์ และให้ความสำคัญกับนโยบายด้านพลังงานของสหภาพยุโรป มีความต้องการสร้างโรงงานผลิตพลังงานนิวเคลียร์แห่งใหม่และต้องการเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายท่อส่งน้ำมันและก๊าซในภูมิภาคบอลข่าน

นอกจากนี้ได้ให้ความสำคัญแก่การสร้างเสถียรภาพในคาบสมุทรบอลข่าน เนื่องจากเป็นประเทศทางผ่านสินค้าในภูมิภาค จากกรุงโซเฟีย มีทางรถยนต์เชื่อมกรุงเบลเกรดและกรุงอิสตันบูลซึ่งเป็นเส้นทางจากยุโรปเหนือไปกรุงเอเธนส์

การปฏิรูปเศรษฐกิจในภาคต่าง ๆ มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ ภาคพลังงาน ภาคการเดินรถไฟ ภาคการบริหารการเก็บภาษี และภาคการแปรรูปธนาคารของรัฐหลายธนาคาร รักษาความต่อเนื่องของการพัฒนาบรรยากาศทางธุรกิจและการลงทุน เป็นปัจจัยสำคัญในระยะกลาง บัลกาเรียสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การนาโต ตั้งแต่ปี 2540 และได้เข้าเป็นสมาชิกนาโตในปี 2547 พร้อมกับประเทศลัตเวีย, ลิทัวเนีย, เอสโตเนีย, สโลวาเกีย, สโลวีเนียและโรมาเนีย และได้ให้การสนับสนุนเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับรัสเซียและประเทศเอกราชที่แยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียต

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!