เทคโนโลยีใหม่ ช่วยผู้ขับขี่ทั้งรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ปลอดภัยมากขึ้น


รถจักรยานยนต์เป็นเจ้าครองถนน ในหลายๆ เมืองทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยขนาดเล็กกะทัดรัด ราคาไม่แพง และขับขี่คล่องตัวในเมืองที่มักมีการจราจรติดขัด มอเตอร์ไซค์จึงเป็นพาหนะหลักสำหรับการสัญจรของผู้คนและการขนส่งสิ่งของ ไม่ว่าจะใช้เป็นพาหนะส่วนตัว เป็นมอเตอร์ไซค์รับจ้าง บริการส่งเอกสาร ส่งอาหาร หรือพัสดุ รถจักรยานยนต์จึงมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจและการสัญจรในภูมิภาค

แม้มอเตอร์ไซค์จะเปิดโอกาสบนท้องถนนสำหรับทุกคน แต่ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนไปทั่วทั้งภูมิภาคเช่นเดียวกัน จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก อุบัติเหตุบนท้องถนนทำให้มีผู้ชีวิตมากกว่า 300,000 คนต่อปีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคิดเป็น 25% ของยอดผู้เสียชีวิตบนท้องถนนทั่วโลก ส่วนในประเทศไทย 83% ของผู้เสียชีวิตบนท้องถนนเป็นผู้ใช้ถนนที่มีความเสี่ยง เช่น คนเดินเท้า นักปั่นจักรยาน และผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์

แม้ว่ามีหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว เช่น การจราจรติดขัด การขาดความรู้ด้านความปลอดภัย และสภาพถนนที่ไม่ดีนัก แต่อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ จากการขับขี่โดยความประมาท และไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ในหลายๆ เมือง ซึ่งการจราจรสามารถติดขัดจนถึงกับหยุดนิ่ง ภาพที่เห็นจนชินตาคือคนขับมอเตอร์ไซค์บนทางเท้าสำหรับคนเดิน หรือไม่ก็การขับรถย้อนศรบนถนนเดินรถทางเดียว และยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่แปลกที่จะเห็นคนขี่รถซ้อนสามหรือซ้อนสี่บนมอเตอร์ไซค์คันเดียว

บริษัทผู้ผลิตรถยนต์บางรายได้พัฒนาเทคโนโลยีความปลอดภัยในรถยนต์ใหม่ๆ ซึ่งช่วยให้การใช้รถใช้ถนนปลอดภัยสำหรับทุกคนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ฟอร์ด ที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีไฟสปอตไลท์ที่ใช้กล้องอินฟาเรดตรวจจับคนเดินเท้า ผู้ใช้จักรยาน และสัตว์ โดยเทคโนโลยีไฟหน้าติดกล้องของฟอร์ดสามารถช่วยเหลือผู้ขับขี่ได้เป็นอย่างดีเมื่อต้องขับรถไปยังบริเวณที่ไม่คุ้นเคยในเวลากลางคืน เช่น บริเวณรอบวงเวียน ไฟหน้าติดกล้องจะช่วยให้สังเกตเห็นทางออกง่ายขึ้นและเห็นอันตรายที่ไม่คาดคิดอย่างเช่น คนขี่จักรยานหรือคนเดินเท้าที่อาจตัดหน้ารถได้

“เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้สามารถช่วยผู้ขับขี่ให้หลีกเลี่ยงภัยอันตรายบนท้องถนน แต่อย่างไร ผู้ขับขี่ก็ควรจะตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะไม่มีเทคโนโลยีใดที่สามารถแทนที่การขับรถอย่างมีสมาธิได้” สก็อต ลี วิศวกรด้านระบบความปลอดภัยจากฟอร์ดกล่าว

จะชอบหรือไม่ รถจักรยานยนต์ก็มีบทบาทสำคัญในระบบการจราจรในหลายประเทศ และมีแต่จะเพิ่มความนิยมขึ้นเรื่อยๆ สำหรับประเทศไทย มีจำนวนมอเตอร์ไซค์เกินกว่าครึ่งหนึ่งของพาหนะที่จดทะเบียน โดยไม่รวมที่ยังไม่ได้จดทะเบียนอีกหลายล้านคันด้วย

เมื่อมอเตอร์ไซค์คงไม่หายไปจากท้องถนนในอนาคตอันใกล้นี้ และนิสัยการขับรถที่ไม่ดีก็คงไม่สามารถแก้ไขได้โดยง่าย เทคโนโลยีความปลอดภัยใหม่ๆ จึงเป็นความหวังของผู้ขับขี่รถยนต์และมอเตอร์ไซค์ ที่จะใช้ถนนร่วมกันได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น

เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหา ฟอร์ดคำนึงถึงความปลอดภัยของทุกคนจึงติดตั้งระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในช่องทาง (Lane Keeping System) ในรถฟอร์ด เอเวอเรสต์ และ ฟอร์ด เรนเจอร์ รุ่นไวล์ดแทรค ระบบดังกล่าวใช้กล้องที่ติดตั้งไว้ด้านหลังของกระจกมองหลัง เพื่อคอยตรวจจับเส้นแบ่งเลนถนนและการไถลออกนอกเลนโดยไม่ได้ตั้งใจ หากกล้องตรวจจับได้ว่ารถกำลังเคลื่อนตัวออกนอกเลนอย่างไม่ได้ตั้งใจ ระบบจะทำการเตือนผู้ขับขี่ ด้วยสัญลักษณ์บนแผงหน้าปัด พร้อมการสั่นบนพวงมาลัย เพื่อให้ผู้ขับขี่รักษาตำแหน่งรถยนต์ให้อยู่ในเลน ทั้งยังระวังผู้ใช้จักรยาน หรือพาหนะอื่นๆ ที่อยู่ในเลนอื่น

ขณะเดียวกัน รถยนต์ฟอร์ด เอเวอเรสต์ ยังมีระบบตรวจจับรถขณะออกจากซองจอด (Cross Traffic Alert หรือ CTA) ที่ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีช่วยจอดอื่นๆ เช่น กล้องมองหลัง หรือกล้อง 360 องศา ระบบ CTA ใช้เซนเซอร์สองตัวเพื่อจับภาพด้านหลัง และด้านใดด้านหนึ่งของรถเมื่อเข้าเกียร์ถอยหลัง โดยระบบดังกล่าวใช้เสียง และสัญลักษณ์บนแผงหน้าปัด เพื่อเตือนผู้ขับขี่หากตรวจพบคน รถยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์

สำหรับการขับขี่ในเวลากลางคืน ฟอร์ด เอเวอเรสต์ และ ฟอร์ด เรนเจอร์รุ่นไวล์ดแทรค มีระบบไฟสูงอัจฉริยะ ที่มาพร้อมกับไฟหน้าแอลอีดีอัตโนมัติ ระบบนี้ใช้ในการตรวจจับไฟหน้าหรือไฟท้ายของพาหนะ และจักรยานยนต์ ที่อยู่ด้านหน้า โดยไฟบางส่วนจะหรี่ลงเพื่อไม่ให้แยงตาผู้ขับขี่รายอื่น ขณะที่ช่วยให้ผู้ขับรถยังคงมองเห็นท้องถนนได้อย่างชัดเจน

ผู้ขับขี่จักรยานยนต์ป้องกันอันตรายได้มากขึ้น พีรวุฒิ กาญจน์พฤกษา ทำงานให้กับบริการจัดส่งเอกสารแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ซึ่งเขาต้องใช้เวลาอยู่บนท้องถนน 8-10 ชั่วโมงทุกวัน ขับขี่มอเตอร์ไซค์ของเขาตระเวนไปรอบเมือง

“การขี่รถมอเตอร์ไซค์ในกรุงเทพฯ บางครั้งก็ทำให้เครียดได้ เวลาที่รถทุกคันขับผ่าน หรือเลี้ยวกระทันหันตัดหน้ารถของผม” พีรวุฒิกล่าว โดยเขาก็เป็นเหมือนผู้ขับขี่จักรยานยนต์อีกหลายๆ คนในประเทศไทยที่ไม่ค่อยสวมหมวกกันน็อค “ผมรู้ว่าควรสวมหมวกกันน็อค แต่บอกตามตรงว่า ผมไม่อยากใส่เลยจริงๆ”

ขณะที่ นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ เตือนว่า “อุบัติเหตุบนท้องถนนกลายเป็นสาเหตุหลักของอาการบาดเจ็บร้ายแรงทางสมองในประเทศไทย การสวมหมวกกันน็อคสามารถลดความเสี่ยงจากอาการบาดเจ็บดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผมอยากให้ผู้ขับขี่จักรยานยนต์สวมหมวกกันน็อค และงดเว้นการใส่หูฟัง หรือสิ่งรบกวนสมาธิอื่นๆ ขณะขับขี่ เพื่อคอยระมัดระวังรถที่ตามมาด้านหลัง”

กฎหมายเพิ่มเติมของหน่วยงานกำกับการจราจร หลายประเทศในภูมิภาคมีความพยายามที่จะลดแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงมาตรฐานด้านความปลอดภัย เช่น กฎหมายบังคับสวมหมวกกันน็อค อย่างไรก็ตาม บางประเทศเสนอกฎข้อห้าม ซึงประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารุนแรงเกินไป และอาจส่งผลร้ายแรงต่อผู้คน

ในประเทศไทย มีข้อห้ามไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ ซึ่งถูกต่อต้านอย่างมาก เนื่องจากหลายครอบครัว มอเตอร์ไซค์เป็นยานพาหนะในการเดินทางเพียงอย่างเดียว กฎหมายนี้จะทำให้พวกเขาไม่สามารถขับรถพาลูกไปส่งที่โรงเรียนได้เลย

ข้อห้ามเช่นนี้อาจนำไปสู่ปัญหาร้ายแรงอื่นๆ ได้มากกว่าที่จะแก้ปัญหา แม้ว่าอาจต้องใช้ความพยายามของหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผ่านการให้ความรู้แก่ผู้ขับขี่ การพัฒนาถนนหนทางให้ดีขึ้น และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้ท้องถนนเป็นสถานที่ปลอดภัยสำหรับผู้ขับขี่ร่วมกันทุกคน

รถจักรยานยนต์เป็นเจ้าครองถนน ในหลายๆ เมืองทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยขนาดเล็กกะทัดรัด ราคาไม่แพง และขับขี่คล่องตัวในเมืองที่มักมีการจราจรติดขัด มอเตอร์ไซค์จึงเป็นพาหนะหลักสำหรับการสัญจรของผู้คนและการขนส่งสิ่งของ ไม่ว่าจะใช้เป็นพาหนะส่วนตัว เป็นมอเตอร์ไซค์รับจ้าง บริการส่งเอกสาร ส่งอาหาร หรือพัสดุ รถจักรยานยนต์จึงมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจและการสัญจรในภูมิภาค

แม้มอเตอร์ไซค์จะเปิดโอกาสบนท้องถนนสำหรับทุกคน แต่ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนไปทั่วทั้งภูมิภาคเช่นเดียวกัน จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก อุบัติเหตุบนท้องถนนทำให้มีผู้ชีวิตมากกว่า 300,000 คนต่อปีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคิดเป็น 25% ของยอดผู้เสียชีวิตบนท้องถนนทั่วโลก ส่วนในประเทศไทย 83% ของผู้เสียชีวิตบนท้องถนนเป็นผู้ใช้ถนนที่มีความเสี่ยง เช่น คนเดินเท้า นักปั่นจักรยาน และผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์

แม้ว่ามีหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว เช่น การจราจรติดขัด การขาดความรู้ด้านความปลอดภัย และสภาพถนนที่ไม่ดีนัก แต่อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ จากการขับขี่โดยความประมาท และไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ในหลายๆ เมือง ซึ่งการจราจรสามารถติดขัดจนถึงกับหยุดนิ่ง ภาพที่เห็นจนชินตาคือคนขับมอเตอร์ไซค์บนทางเท้าสำหรับคนเดิน หรือไม่ก็การขับรถย้อนศรบนถนนเดินรถทางเดียว และยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่แปลกที่จะเห็นคนขี่รถซ้อนสามหรือซ้อนสี่บนมอเตอร์ไซค์คันเดียว

บริษัทผู้ผลิตรถยนต์บางรายได้พัฒนาเทคโนโลยีความปลอดภัยในรถยนต์ใหม่ๆ ซึ่งช่วยให้การใช้รถใช้ถนนปลอดภัยสำหรับทุกคนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ฟอร์ด ที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีไฟสปอตไลท์ที่ใช้กล้องอินฟาเรดตรวจจับคนเดินเท้า ผู้ใช้จักรยาน และสัตว์ โดยเทคโนโลยีไฟหน้าติดกล้องของฟอร์ดสามารถช่วยเหลือผู้ขับขี่ได้เป็นอย่างดีเมื่อต้องขับรถไปยังบริเวณที่ไม่คุ้นเคยในเวลากลางคืน เช่น บริเวณรอบวงเวียน ไฟหน้าติดกล้องจะช่วยให้สังเกตเห็นทางออกง่ายขึ้นและเห็นอันตรายที่ไม่คาดคิดอย่างเช่น คนขี่จักรยานหรือคนเดินเท้าที่อาจตัดหน้ารถได้

“เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้สามารถช่วยผู้ขับขี่ให้หลีกเลี่ยงภัยอันตรายบนท้องถนน แต่อย่างไร ผู้ขับขี่ก็ควรจะตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะไม่มีเทคโนโลยีใดที่สามารถแทนที่การขับรถอย่างมีสมาธิได้” สก็อต ลี วิศวกรด้านระบบความปลอดภัยจากฟอร์ดกล่าว

จะชอบหรือไม่ รถจักรยานยนต์ก็มีบทบาทสำคัญในระบบการจราจรในหลายประเทศ และมีแต่จะเพิ่มความนิยมขึ้นเรื่อยๆ สำหรับประเทศไทย มีจำนวนมอเตอร์ไซค์เกินกว่าครึ่งหนึ่งของพาหนะที่จดทะเบียน โดยไม่รวมที่ยังไม่ได้จดทะเบียนอีกหลายล้านคันด้วย

เมื่อมอเตอร์ไซค์คงไม่หายไปจากท้องถนนในอนาคตอันใกล้นี้ และนิสัยการขับรถที่ไม่ดีก็คงไม่สามารถแก้ไขได้โดยง่าย เทคโนโลยีความปลอดภัยใหม่ๆ จึงเป็นความหวังของผู้ขับขี่รถยนต์และมอเตอร์ไซค์ ที่จะใช้ถนนร่วมกันได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น

เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหา ฟอร์ดคำนึงถึงความปลอดภัยของทุกคนจึงติดตั้งระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในช่องทาง (Lane Keeping System) ในรถฟอร์ด เอเวอเรสต์ และ ฟอร์ด เรนเจอร์ รุ่นไวล์ดแทรค ระบบดังกล่าวใช้กล้องที่ติดตั้งไว้ด้านหลังของกระจกมองหลัง เพื่อคอยตรวจจับเส้นแบ่งเลนถนนและการไถลออกนอกเลนโดยไม่ได้ตั้งใจ หากกล้องตรวจจับได้ว่ารถกำลังเคลื่อนตัวออกนอกเลนอย่างไม่ได้ตั้งใจ ระบบจะทำการเตือนผู้ขับขี่ ด้วยสัญลักษณ์บนแผงหน้าปัด พร้อมการสั่นบนพวงมาลัย เพื่อให้ผู้ขับขี่รักษาตำแหน่งรถยนต์ให้อยู่ในเลน ทั้งยังระวังผู้ใช้จักรยาน หรือพาหนะอื่นๆ ที่อยู่ในเลนอื่น

ขณะเดียวกัน รถยนต์ฟอร์ด เอเวอเรสต์ ยังมีระบบตรวจจับรถขณะออกจากซองจอด (Cross Traffic Alert หรือ CTA) ที่ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีช่วยจอดอื่นๆ เช่น กล้องมองหลัง หรือกล้อง 360 องศา ระบบ CTA ใช้เซนเซอร์สองตัวเพื่อจับภาพด้านหลัง และด้านใดด้านหนึ่งของรถเมื่อเข้าเกียร์ถอยหลัง โดยระบบดังกล่าวใช้เสียง และสัญลักษณ์บนแผงหน้าปัด เพื่อเตือนผู้ขับขี่หากตรวจพบคน รถยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์

สำหรับการขับขี่ในเวลากลางคืน ฟอร์ด เอเวอเรสต์ และ ฟอร์ด เรนเจอร์รุ่นไวล์ดแทรค มีระบบไฟสูงอัจฉริยะ ที่มาพร้อมกับไฟหน้าแอลอีดีอัตโนมัติ ระบบนี้ใช้ในการตรวจจับไฟหน้าหรือไฟท้ายของพาหนะ และจักรยานยนต์ ที่อยู่ด้านหน้า โดยไฟบางส่วนจะหรี่ลงเพื่อไม่ให้แยงตาผู้ขับขี่รายอื่น ขณะที่ช่วยให้ผู้ขับรถยังคงมองเห็นท้องถนนได้อย่างชัดเจน

ผู้ขับขี่จักรยานยนต์ป้องกันอันตรายได้มากขึ้น พีรวุฒิ กาญจน์พฤกษา ทำงานให้กับบริการจัดส่งเอกสารแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ซึ่งเขาต้องใช้เวลาอยู่บนท้องถนน 8-10 ชั่วโมงทุกวัน ขับขี่มอเตอร์ไซค์ของเขาตระเวนไปรอบเมือง

“การขี่รถมอเตอร์ไซค์ในกรุงเทพฯ บางครั้งก็ทำให้เครียดได้ เวลาที่รถทุกคันขับผ่าน หรือเลี้ยวกระทันหันตัดหน้ารถของผม” พีรวุฒิกล่าว โดยเขาก็เป็นเหมือนผู้ขับขี่จักรยานยนต์อีกหลายๆ คนในประเทศไทยที่ไม่ค่อยสวมหมวกกันน็อค “ผมรู้ว่าควรสวมหมวกกันน็อค แต่บอกตามตรงว่า ผมไม่อยากใส่เลยจริงๆ”

ขณะที่ นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ เตือนว่า “อุบัติเหตุบนท้องถนนกลายเป็นสาเหตุหลักของอาการบาดเจ็บร้ายแรงทางสมองในประเทศไทย การสวมหมวกกันน็อคสามารถลดความเสี่ยงจากอาการบาดเจ็บดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผมอยากให้ผู้ขับขี่จักรยานยนต์สวมหมวกกันน็อค และงดเว้นการใส่หูฟัง หรือสิ่งรบกวนสมาธิอื่นๆ ขณะขับขี่ เพื่อคอยระมัดระวังรถที่ตามมาด้านหลัง”

กฎหมายเพิ่มเติมของหน่วยงานกำกับการจราจร หลายประเทศในภูมิภาคมีความพยายามที่จะลดแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงมาตรฐานด้านความปลอดภัย เช่น กฎหมายบังคับสวมหมวกกันน็อค อย่างไรก็ตาม บางประเทศเสนอกฎข้อห้าม ซึงประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารุนแรงเกินไป และอาจส่งผลร้ายแรงต่อผู้คน

ในประเทศไทย มีข้อห้ามไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ ซึ่งถูกต่อต้านอย่างมาก เนื่องจากหลายครอบครัว มอเตอร์ไซค์เป็นยานพาหนะในการเดินทางเพียงอย่างเดียว กฎหมายนี้จะทำให้พวกเขาไม่สามารถขับรถพาลูกไปส่งที่โรงเรียนได้เลย

ข้อห้ามเช่นนี้อาจนำไปสู่ปัญหาร้ายแรงอื่นๆ ได้มากกว่าที่จะแก้ปัญหา แม้ว่าอาจต้องใช้ความพยายามของหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผ่านการให้ความรู้แก่ผู้ขับขี่ การพัฒนาถนนหนทางให้ดีขึ้น และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้ท้องถนนเป็นสถานที่ปลอดภัยสำหรับผู้ขับขี่ร่วมกันทุกคน

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!