The Legends of Automobile : ตอนที่ 152-Citroën…ค่ายรถแห่งฝรั่งเศสสัญลักษณ์ “จ่าโท” (ภาค 3)


By : C. Methas – Managing Editor

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 Andre Gustave Citroën ได้ลาออกจากกองทัพเมื่อปี ค.ศ. 1904 หลังจากนั้นจากการบริหารจัดการแบบสมัยใหม่ของเขาประสบความสำเร็จและโด่งดังอย่างมากและได้ถูกเชิญตัวไปบริหารบริษัทผลิตรถยนต์รายหนึ่งในฝรั่งเศส

ภายหลังจากเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งโรงงานผลิตรถยนต์มีกำลังการผลิตเพียง 10 คันต่อเดือนเท่านั้น หลังการเข้าไปบริหารจัดการในครั้งนั้นทำให้สามารถผลิตรถยนต์ได้ 100 คันต่อเดือน

นอกจากนี้ยังได้เดินทางไปดูงานที่โรงงานของฟอร์ดในสหรัฐอเมริกาและนำการบริหารจัดการโรงงานผลิตแบบของฟอร์ดมาพัฒนาปรับปรุงใหม่สำหรับโรงงานผลิตเฟืองเกียร์จนประสบความสำเร็จมากที่สุดในยุโรป

หลังจากได้ไปพบบริษัทผลิตเฟืองจากไม้สำหรับขับเคลื่อนอุปกรณ์เครื่องจักรต่าง ๆ ซึ่งเฟืองเกียร์ทำจากไม้จะไม่มีเสียงดังและมีประสิทธิภาพที่ดี

แต่เกิดความคิดว่าการผลิตเฟืองจากเหล็กจะมีความแข็งแรงทนทานและมีประสิทธิภาพมากกว่า จนกระทั่งไปพบกับเฟืองเกียร์ที่ผลิตจากเหล็กและได้ซื้อลิขสิทธิ์ “ฟันเฟืองเกียร์เหล็กกล้า” จากผู้ที่จดลิขสิทธิ์ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว

จากนั้นได้นำเฟืองเกียร์เหล็กกล้ามาปรับปรุงดัดแปลงพัฒนาเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่มีชื่อว่า Double Helical Chevron Gear ฟันเฟืองเกียร์รูปบั้งคู่และได้นำไปจดลิขสิทธิ์

เหตุการณ์นี้เป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ในชีวิตที่ส่งผลต่อโลกยนตรกรรมมาจนถึงทุกวันนี้

ธุรกิจเฟืองเกียร์เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วจนกระทั่งได้ก่อตั้งเป็นรูปของบริษัทชื่อว่า Engrenages Citroën สอดคล้องกับความเติบโตของอุตสาหกรรมในยุคนั้น

ต่อมาได้ขยายกิจการโดยร่วมกับ Andre Boas และ Jacques Hinstin ด้วยการก่อตั้งบริษัทใหม่ที่ชื่อว่า Hinstin Freres Citroën & Cie ผลิตเฟืองเกียร์ป้อนให้กับบริษัทผลิตรถยนต์หลายค่ายในช่วงอุตสาหกรรมยานยนต์เฟืองฟู

ทำให้ได้ปรับปรุงพัฒนาระบบการผลิตเป็นแบบอุตสาหกรรมโรงงานเพิ่มศักยภาพในการผลิตเป็นจำนวนมากในรูปแบบของสายพานการผลิต และการบริหารจัดการที่ทันสมัยมากขึ้นโดยได้นำเครื่องจักรสมัยใหม่เข้ามาทำการผลิตซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก

ค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่ในฝรั่งเศสได้ใช้เฟืองเกียร์จากค่ายนี้ และยังผลิตเฟืองเกียร์ให้กับเรือเดินสมุทรซึ่งได้ผลิตให้กับเรือ “ไททานิค” ด้วย

กิจการผลิตเฟืองเกียร์ให้กับบริษัทผลิตรถยนต์และบริษัทผลิตเรือสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จภายในระยะเวลาอันสั้น และท้ายที่สุด”เฟืองเกียร์” จึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของค่ายซีตรองตราบจนทุกวันนี้

By : C. Methas - Managing Editor

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 Andre Gustave Citroën ได้ลาออกจากกองทัพเมื่อปี ค.ศ. 1904 หลังจากนั้นจากการบริหารจัดการแบบสมัยใหม่ของเขาประสบความสำเร็จและโด่งดังอย่างมากและได้ถูกเชิญตัวไปบริหารบริษัทผลิตรถยนต์รายหนึ่งในฝรั่งเศส

ภายหลังจากเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งโรงงานผลิตรถยนต์มีกำลังการผลิตเพียง 10 คันต่อเดือนเท่านั้น หลังการเข้าไปบริหารจัดการในครั้งนั้นทำให้สามารถผลิตรถยนต์ได้ 100 คันต่อเดือน

นอกจากนี้ยังได้เดินทางไปดูงานที่โรงงานของฟอร์ดในสหรัฐอเมริกาและนำการบริหารจัดการโรงงานผลิตแบบของฟอร์ดมาพัฒนาปรับปรุงใหม่สำหรับโรงงานผลิตเฟืองเกียร์จนประสบความสำเร็จมากที่สุดในยุโรป

หลังจากได้ไปพบบริษัทผลิตเฟืองจากไม้สำหรับขับเคลื่อนอุปกรณ์เครื่องจักรต่าง ๆ ซึ่งเฟืองเกียร์ทำจากไม้จะไม่มีเสียงดังและมีประสิทธิภาพที่ดี

แต่เกิดความคิดว่าการผลิตเฟืองจากเหล็กจะมีความแข็งแรงทนทานและมีประสิทธิภาพมากกว่า จนกระทั่งไปพบกับเฟืองเกียร์ที่ผลิตจากเหล็กและได้ซื้อลิขสิทธิ์ “ฟันเฟืองเกียร์เหล็กกล้า” จากผู้ที่จดลิขสิทธิ์ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว

จากนั้นได้นำเฟืองเกียร์เหล็กกล้ามาปรับปรุงดัดแปลงพัฒนาเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่มีชื่อว่า Double Helical Chevron Gear ฟันเฟืองเกียร์รูปบั้งคู่และได้นำไปจดลิขสิทธิ์

เหตุการณ์นี้เป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ในชีวิตที่ส่งผลต่อโลกยนตรกรรมมาจนถึงทุกวันนี้

ธุรกิจเฟืองเกียร์เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วจนกระทั่งได้ก่อตั้งเป็นรูปของบริษัทชื่อว่า Engrenages Citroën สอดคล้องกับความเติบโตของอุตสาหกรรมในยุคนั้น

ต่อมาได้ขยายกิจการโดยร่วมกับ Andre Boas และ Jacques Hinstin ด้วยการก่อตั้งบริษัทใหม่ที่ชื่อว่า Hinstin Freres Citroën & Cie ผลิตเฟืองเกียร์ป้อนให้กับบริษัทผลิตรถยนต์หลายค่ายในช่วงอุตสาหกรรมยานยนต์เฟืองฟู

ทำให้ได้ปรับปรุงพัฒนาระบบการผลิตเป็นแบบอุตสาหกรรมโรงงานเพิ่มศักยภาพในการผลิตเป็นจำนวนมากในรูปแบบของสายพานการผลิต และการบริหารจัดการที่ทันสมัยมากขึ้นโดยได้นำเครื่องจักรสมัยใหม่เข้ามาทำการผลิตซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก

ค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่ในฝรั่งเศสได้ใช้เฟืองเกียร์จากค่ายนี้ และยังผลิตเฟืองเกียร์ให้กับเรือเดินสมุทรซึ่งได้ผลิตให้กับเรือ "ไททานิค" ด้วย

กิจการผลิตเฟืองเกียร์ให้กับบริษัทผลิตรถยนต์และบริษัทผลิตเรือสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จภายในระยะเวลาอันสั้น และท้ายที่สุด"เฟืองเกียร์" จึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของค่ายซีตรองตราบจนทุกวันนี้

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!