The Legends of Automobile-ตอนที่ 79 กำเนิดมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างสู่ยุคเฟื่องฟูสูงสุดและหมดยุคหลังสังคมเปลี่ยนไป (ภาคที่ 2)


By : C. Methas – Managing Editor

 

“รถพ่วงข้าง” หรือ “มอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง” อีกหนึ่งยานยนต์ที่มีกำเนิดมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของการผลิตรถยนต์ซึ่งได้รับการบันทึกว่า นาย M Bertoux นายทหารชาวฝรั่งเศสเป็นผู้คิดค้นวิธีใช้จักรยานบรรทุกสัมภาระโดยต่อพ่วงทางด้านข้าง

รถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างได้กำเนิดขึ้นเมื่อประมาณช่วงปีค.ศ. 1900 ด้วยการนำมอเตอร์ไซค์มาติดตั้งล้อเพิ่มด้านข้างเป็นรถแบบ 3 ล้อซึ่งในยุคแรก ๆ รถพ่วงด้านข้างทำจากเก้าอี้หวายออกแบบมีประตูเปิด-ปิดเพื่อการเข้าออกได้สะดวกและมีน้ำหนักเบา

รถพ่วงข้างได้มีการพัฒนาจนสามารถนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลายและให้ความคล่องตัวสูง นอกจากนี้ยังได้พัฒนารูปทรงออกมาหลายรูปแบบเพื่อการบรรทุกสัมภาระมากขึ้นหรือการบรรทุกผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้น เช่น ด้านข้างออกแบบที่นั่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 แถวที่นั่ง

รถพ่วงข้างได้รับความนิยมมากขึ้นจนมีบริษัทผลิตรถพ่วงข้างออกมามากมายนับร้อยยี่ห้อเนื่องจากมีราคาถูกกว่ารถยนต์และสะดวกต่อการขับขี่ นอกจากนี้บริษัทผลิตรถยนต์ได้ผลิตรถพ่วงข้างออกมาเช่นกันซึ่งรุ่นใหม่ ๆ ได้เสริมความปลอดภัยและความหรูหรามากขึ้น เช่น เบาะที่นั่งของรถพ่วงข้างหุ้มหนังแท้และระบบช่วงล่างให้ความนุ่มนวลมากขึ้น

รถพ่วงข้างได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงระหว่างปีค.ศ. 1930-1950 ซึ่งมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง นอกจากการออกแบบเพื่อการใช้งานได้อย่างอเนกประสงค์แล้วยังได้พัฒนาในเรื่องของการลดน้ำหนักและความแข็งแกร่งทนทานโดยเลือกใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแกร่งซึ่งได้นำวัสดุทีใช้ผลิตอากาศยานมาผลิตรถพ่วงข้าง

จนกระทั่งค่ายผลิตเครื่องบินบางค่ายได้ร่วมวงมาผลิตรถพ่วงข้างโดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รถพ่วงข้างถูกออกแบบเพื่อนำไปใช้ทางการทหารเนื่องจากสามารถขับขี่ไปได้ในทุกสภาพเส้นทางและมีความคล่องตัวสูงมาก นอกจากนี้ยังออกแบบเพื่อนำไปใช้ในการขนอาวุธยุโธปกรณ์และการขนส่งเสบียง

ในยุคที่รถพ่วงข้างเฟื่องฟูสูงสุดค่าย Steib แห่งเยอรมนีที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ยุคแรกเมื่อปีค.ศ. 1914 โดย Josef Steib ซึ่งเริ่มแรกผลิตชิ้นส่วนประกอบให้กับค่ายอื่น

ต่อมาได้ผลิตรถพ่วงข้างขึ้นเองและกลายเป็นบริษัทผลิตรถพ่วงข้างที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดโดยทำยอดขายได้มากที่สุดซึ่งสามารถครองตลาดได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์และในที่สุดหมดยุครถพ่วงข้างเนื่องจากสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงในช่วงประมาณปีค.ศ. 1955 หรือเมื่อราว 63 ปีที่แล้ว

ค่าย Steib ได้ผลิตรถพ่วงข้างออกมาเพียง 5 คันต่อวันเท่านั้นเมื่อปีค.ศ. 1956 หรือเมื่อ 62 ปีที่แล้วโดยก่อนหน้านี้ในช่วงหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 รถพ่วงข้างจากค่ายนี้ได้รับความนิยมสูงสุดเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจวิกฤติช่วงหลังสงคราม

ยุคทองของรถพ่วงข้างได้สิ้นสุดลงหลังจากค่ายผลิตรถยนต์ได้ผลิตรถยนต์ขนาดเล็กออกมามากขึ้นและมีราคาถูกลงประกอบกับการผลิตในแบบสายพานการผลิตที่สามารถผลิตออกมาจำนวนมาก

รถพ่วงข้างถูกนำไปใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นจำนวนมากโดยค่ายผลิตรถพ่วงข้างและค่ายผลิตรถยนต์ได้หันมาผลิตรถพ่วงข้างสำหรับการทหารทั้งฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายอักษะ

ค่าย Nimbus ของเดนมาร์คที่มีชื่อเสียงอย่างมากในเรื่องของความแข็งแกร่งทนทานในการผลิตรถพ่วงข้างได้ผลิตให้กับกองทัพเดนมาร์คโดยร่วมกับค่าย Bender ซึ่งได้ผลิตตัวถังป้องกันกระสุน ส่วนทางค่ายบีเอ็มดับลิวได้สร้างรถพ่วงข้างสำหรับกองทัพเยอรมนี ขณะที่ค่ายไทร์อัมพ์ผลิตให้กับกองทัพอังกฤษ

รถพ่วงข้างนอกจากออกแบบสำหรับใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในหลายรูปแบบ เช่นรถพยาบาล, รถฉุกเฉิน, รถดับเพลิงและรถบรรทุกสัมภาระแล้วยังได้ออกแบบสำหรับลงแข่งขันในสนามแข่งในหลายแบบด้วยกัน ประกอบด้วยรายการ Motocross, Enduro, Grasstrack, Trial road racing และ Speedway ซึ่งได้รับความนิยมทั้งในยุโรป, สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

สำหรับทางจากัวร์ค่ายผลิตรถยนต์ระดับหรูหราสมรรถนะสูงแห่งอังกฤษที่มีกำเนิดมาจากรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง Swallow Sidecar Company และท้ายที่สุดกิจการของจากัวร์ประสบปัญหาจนต้องขายกิจการไปให้กับฟอร์ด มอเตอร์เมื่อเดือนมกราคม ปีค.ศ. 1990 และต่อมาฟอร์ด มอเตอร์ได้ซื้อกิจการของแอสตัน มาร์ติน, วอลโว่และแลนด์โรเวอร์ในปีค.ศ. 2000

ปัจจุบันค่ายทาทา มอเตอร์สแห่งอินเดียได้เข้าไปซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของจากัวร์เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ปีค.ศ. 2008 ซึ่งรวมยี่ห้อแลนด์โรเวอร์เข้าไปด้วย โดยก่อนหน้านี้ได้ควบกิจการกับหลายค่ายรถยนต์ของอังกฤษ เช่นโรเวอร์, สแตนดาร์ด, ไทรอัมพ์และเลย์แลนด์ ก่อนที่กิจการจะตกเป็นของรัฐบาลและต่อมาได้กลายเป็นรัฐวิสาหกิจ จนกระทั่งได้กลับไปเป็นบริษัทเอกชน

ส่วนยี่ห้อแอสตัน มาร์ตินทางฟอร์ดได้ขายกิจการไปให้กับกลุ่มนักธุรกิจจากคูเวตและอังกฤษไปเมื่อปีค.ศ. 2007 สิ้นสุดรถยนต์ระดับหรูหราที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวอังกฤษที่มีมานานหลายทศวรรษและรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ภายใต้ยี่ห้อจากัวร์ การออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกหลงเหลือความคลาสสิคสไตล์จากัวร์ลดน้อยลงไปค่อนข้างมาก

 

By : C. Methas - Managing Editor

 

“รถพ่วงข้าง” หรือ “มอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง” อีกหนึ่งยานยนต์ที่มีกำเนิดมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของการผลิตรถยนต์ซึ่งได้รับการบันทึกว่า นาย M Bertoux นายทหารชาวฝรั่งเศสเป็นผู้คิดค้นวิธีใช้จักรยานบรรทุกสัมภาระโดยต่อพ่วงทางด้านข้าง

รถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างได้กำเนิดขึ้นเมื่อประมาณช่วงปีค.ศ. 1900 ด้วยการนำมอเตอร์ไซค์มาติดตั้งล้อเพิ่มด้านข้างเป็นรถแบบ 3 ล้อซึ่งในยุคแรก ๆ รถพ่วงด้านข้างทำจากเก้าอี้หวายออกแบบมีประตูเปิด-ปิดเพื่อการเข้าออกได้สะดวกและมีน้ำหนักเบา

รถพ่วงข้างได้มีการพัฒนาจนสามารถนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลายและให้ความคล่องตัวสูง นอกจากนี้ยังได้พัฒนารูปทรงออกมาหลายรูปแบบเพื่อการบรรทุกสัมภาระมากขึ้นหรือการบรรทุกผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้น เช่น ด้านข้างออกแบบที่นั่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 แถวที่นั่ง

รถพ่วงข้างได้รับความนิยมมากขึ้นจนมีบริษัทผลิตรถพ่วงข้างออกมามากมายนับร้อยยี่ห้อเนื่องจากมีราคาถูกกว่ารถยนต์และสะดวกต่อการขับขี่ นอกจากนี้บริษัทผลิตรถยนต์ได้ผลิตรถพ่วงข้างออกมาเช่นกันซึ่งรุ่นใหม่ ๆ ได้เสริมความปลอดภัยและความหรูหรามากขึ้น เช่น เบาะที่นั่งของรถพ่วงข้างหุ้มหนังแท้และระบบช่วงล่างให้ความนุ่มนวลมากขึ้น

รถพ่วงข้างได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงระหว่างปีค.ศ. 1930-1950 ซึ่งมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง นอกจากการออกแบบเพื่อการใช้งานได้อย่างอเนกประสงค์แล้วยังได้พัฒนาในเรื่องของการลดน้ำหนักและความแข็งแกร่งทนทานโดยเลือกใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแกร่งซึ่งได้นำวัสดุทีใช้ผลิตอากาศยานมาผลิตรถพ่วงข้าง

จนกระทั่งค่ายผลิตเครื่องบินบางค่ายได้ร่วมวงมาผลิตรถพ่วงข้างโดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รถพ่วงข้างถูกออกแบบเพื่อนำไปใช้ทางการทหารเนื่องจากสามารถขับขี่ไปได้ในทุกสภาพเส้นทางและมีความคล่องตัวสูงมาก นอกจากนี้ยังออกแบบเพื่อนำไปใช้ในการขนอาวุธยุโธปกรณ์และการขนส่งเสบียง

ในยุคที่รถพ่วงข้างเฟื่องฟูสูงสุดค่าย Steib แห่งเยอรมนีที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ยุคแรกเมื่อปีค.ศ. 1914 โดย Josef Steib ซึ่งเริ่มแรกผลิตชิ้นส่วนประกอบให้กับค่ายอื่น

ต่อมาได้ผลิตรถพ่วงข้างขึ้นเองและกลายเป็นบริษัทผลิตรถพ่วงข้างที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดโดยทำยอดขายได้มากที่สุดซึ่งสามารถครองตลาดได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์และในที่สุดหมดยุครถพ่วงข้างเนื่องจากสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงในช่วงประมาณปีค.ศ. 1955 หรือเมื่อราว 63 ปีที่แล้ว

ค่าย Steib ได้ผลิตรถพ่วงข้างออกมาเพียง 5 คันต่อวันเท่านั้นเมื่อปีค.ศ. 1956 หรือเมื่อ 62 ปีที่แล้วโดยก่อนหน้านี้ในช่วงหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 รถพ่วงข้างจากค่ายนี้ได้รับความนิยมสูงสุดเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจวิกฤติช่วงหลังสงคราม

ยุคทองของรถพ่วงข้างได้สิ้นสุดลงหลังจากค่ายผลิตรถยนต์ได้ผลิตรถยนต์ขนาดเล็กออกมามากขึ้นและมีราคาถูกลงประกอบกับการผลิตในแบบสายพานการผลิตที่สามารถผลิตออกมาจำนวนมาก

รถพ่วงข้างถูกนำไปใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นจำนวนมากโดยค่ายผลิตรถพ่วงข้างและค่ายผลิตรถยนต์ได้หันมาผลิตรถพ่วงข้างสำหรับการทหารทั้งฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายอักษะ

ค่าย Nimbus ของเดนมาร์คที่มีชื่อเสียงอย่างมากในเรื่องของความแข็งแกร่งทนทานในการผลิตรถพ่วงข้างได้ผลิตให้กับกองทัพเดนมาร์คโดยร่วมกับค่าย Bender ซึ่งได้ผลิตตัวถังป้องกันกระสุน ส่วนทางค่ายบีเอ็มดับลิวได้สร้างรถพ่วงข้างสำหรับกองทัพเยอรมนี ขณะที่ค่ายไทร์อัมพ์ผลิตให้กับกองทัพอังกฤษ

รถพ่วงข้างนอกจากออกแบบสำหรับใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในหลายรูปแบบ เช่นรถพยาบาล, รถฉุกเฉิน, รถดับเพลิงและรถบรรทุกสัมภาระแล้วยังได้ออกแบบสำหรับลงแข่งขันในสนามแข่งในหลายแบบด้วยกัน ประกอบด้วยรายการ Motocross, Enduro, Grasstrack, Trial road racing และ Speedway ซึ่งได้รับความนิยมทั้งในยุโรป, สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

สำหรับทางจากัวร์ค่ายผลิตรถยนต์ระดับหรูหราสมรรถนะสูงแห่งอังกฤษที่มีกำเนิดมาจากรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง Swallow Sidecar Company และท้ายที่สุดกิจการของจากัวร์ประสบปัญหาจนต้องขายกิจการไปให้กับฟอร์ด มอเตอร์เมื่อเดือนมกราคม ปีค.ศ. 1990 และต่อมาฟอร์ด มอเตอร์ได้ซื้อกิจการของแอสตัน มาร์ติน, วอลโว่และแลนด์โรเวอร์ในปีค.ศ. 2000

ปัจจุบันค่ายทาทา มอเตอร์สแห่งอินเดียได้เข้าไปซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของจากัวร์เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ปีค.ศ. 2008 ซึ่งรวมยี่ห้อแลนด์โรเวอร์เข้าไปด้วย โดยก่อนหน้านี้ได้ควบกิจการกับหลายค่ายรถยนต์ของอังกฤษ เช่นโรเวอร์, สแตนดาร์ด, ไทรอัมพ์และเลย์แลนด์ ก่อนที่กิจการจะตกเป็นของรัฐบาลและต่อมาได้กลายเป็นรัฐวิสาหกิจ จนกระทั่งได้กลับไปเป็นบริษัทเอกชน

ส่วนยี่ห้อแอสตัน มาร์ตินทางฟอร์ดได้ขายกิจการไปให้กับกลุ่มนักธุรกิจจากคูเวตและอังกฤษไปเมื่อปีค.ศ. 2007 สิ้นสุดรถยนต์ระดับหรูหราที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวอังกฤษที่มีมานานหลายทศวรรษและรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ภายใต้ยี่ห้อจากัวร์ การออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกหลงเหลือความคลาสสิคสไตล์จากัวร์ลดน้อยลงไปค่อนข้างมาก

 

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!