CFM-ONE หารือจัดทำรายงานการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์สันดาป เสนอฝ่ายนิติบัญญัติ


เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 นางสาวยุพิน บุญศิริจันทร์ ประธานคณะกรรมการ CFM-ONE และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พร้อมด้วยนายสุพจน์ สุขพิศาล เลขานุการคณะกรรมการ CFM-ONE และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ ส.อ.ท. เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อหารือการจัดทำเค้าโครงรายงานการศึกษาภายในคณะทำงานศึกษาการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์สันดาป เพื่อจัดทำงบประมาณประจำปี 2568 ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ CA316 อาคารรัฐสภา

ที่ประชุมฯ ได้มีการกำหนดกรอบข้อเสนอการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยพิจารณาจากอุปสงค์และอุปทาน (Demand & Supply) ทั้ง 3 ประเด็น ดังนี้

  1. รักษาฐานการผลิตยานยนต์สันดาปเดิม เพื่อพยุงให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ มีการปรับตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น กลุ่มเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง เป็นต้น
  2. ต่อยอดศักยภาพที่มีของอุตสาหกรรมยานยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ และสร้างโอกาส เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนในอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Future Mobility)
  3. สร้างโอกาสและความสามารถในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า (EV) แบตเตอรี่ (Battery) เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell) และมอเตอร์ (Motor)

ทั้งนี้ คณะทำงานฯ จะเสนอแผนการพัฒนาทั้ง 3 ประเด็นไปยังฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อให้การดำเนินงานเกิดเป็นรูปธรรม และยกระดับให้อุตสาหกรรมยานยนต์พร้อมรับสำหรับ Future Mobility และสามารถปรับตัวท่ามกลางความท้าทายในปัจจุบันได้

เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 นางสาวยุพิน บุญศิริจันทร์ ประธานคณะกรรมการ CFM-ONE และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พร้อมด้วยนายสุพจน์ สุขพิศาล เลขานุการคณะกรรมการ CFM-ONE และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ ส.อ.ท. เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อหารือการจัดทำเค้าโครงรายงานการศึกษาภายในคณะทำงานศึกษาการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์สันดาป เพื่อจัดทำงบประมาณประจำปี 2568 ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ CA316 อาคารรัฐสภา

ที่ประชุมฯ ได้มีการกำหนดกรอบข้อเสนอการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยพิจารณาจากอุปสงค์และอุปทาน (Demand & Supply) ทั้ง 3 ประเด็น ดังนี้

  1. รักษาฐานการผลิตยานยนต์สันดาปเดิม เพื่อพยุงให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ มีการปรับตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น กลุ่มเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง เป็นต้น
  2. ต่อยอดศักยภาพที่มีของอุตสาหกรรมยานยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ และสร้างโอกาส เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนในอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Future Mobility)
  3. สร้างโอกาสและความสามารถในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า (EV) แบตเตอรี่ (Battery) เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell) และมอเตอร์ (Motor)

ทั้งนี้ คณะทำงานฯ จะเสนอแผนการพัฒนาทั้ง 3 ประเด็นไปยังฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อให้การดำเนินงานเกิดเป็นรูปธรรม และยกระดับให้อุตสาหกรรมยานยนต์พร้อมรับสำหรับ Future Mobility และสามารถปรับตัวท่ามกลางความท้าทายในปัจจุบันได้

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!