ก.พลังงาน แจ้งข่าวดี ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน (SOME) บรรลุความก้าวหน้าระบบการซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาค


การเชื่อมโยงโครงข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติ การพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน การศึกษาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด นิวเคลียร์ และด้านวางแผนนโยบายพลังงานร่วมกัน ชี้เป็นความร่วมมือที่สร้างความมั่นคงพลังงานในภูมิภาคอย่างยั่งยืน

นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ได้นำทีมคณะผู้แทนจากประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 36 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือ 36th ASEAN Senior Officials Meeting on Energy: 36th (SOME) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-27 กรกฎาคม 2561 ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยมีปลัดกระทรวงพลังงานและผู้แทนจากประเทศสมาชิก 10 ประเทศเข้าร่วมประชุม และประเทศคู่เจรจา ประกอบด้วย ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เกาหลี รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ตลอดจนทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ ซึ่งการประชุม ฯ ครั้งนี้ ได้ติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน (ASEAN Plan of Action on Energy Cooperation: APAEC) ปี 2016-2025 ระยะที่ 1 ระหว่างปี 2016-2020 ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงและการบูรณาการด้านพลังงาน โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

ความก้าวหน้าการพัฒนาระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบพหุภาคีจาก สปป.ลาว ไปขายยังมาเลเซีย โดยใช้ระบบโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าของไทย (LTM) จำนวนไม่เกิน 100 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดหวังว่า ในอนาคตจะมีประเทศอื่นๆเข้าร่วมโครงการนี้ด้วย นอกจากนี้ ยังมีโครงการศึกษาแนวทางการจัดตั้งหน่วยงานด้านการควบคุมและด้านการวางแผนระบบไฟฟ้าอาเซียน การศึกษาระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบพหุภาคี การศึกษาจัดทำแผนโครงข่ายระบบไฟฟ้าอาเซียนระยะที่สามอีกด้วย โดยการซื้อขายไฟฟ้าแบบพหุภาคีในภูมิภาค ระหว่างสปป.ลาว ไทยและมาเลเซีย ที่ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 ได้มีการซื้อขายไฟฟ้าไปแล้วรวมจำนวน 4 ล้านหน่วย ซึ่งนับเป็นก้าวใหญ่ที่สำคัญของการซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน และเป็นที่ชื่นชมในการประชุม ฯ ครั้งนี้

ด้านโครงข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ปัจจุบันอาเซียนมีระยะทางยาวรวม 3,673 กิโลเมตร เชื่อมโยงใน 6 ประเทศ และมีสถานีปรับเปลี่ยนก๊าซธรรมชาติให้เป็นของเหลว 6 แห่ง กำลังการผลิตรวม 36.5 ล้านตันต่อปี โดยในปี 2562 ไทยจะมีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 11.5 ล้านตันต่อปี ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทยและอาเซียนด้านพลังงานทดแทน ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศและประเทศคู่เจรจา เช่น การศึกษาต้นทุนเฉลี่ยของพลังงานทดแทนในการผลิตไฟฟ้า การศึกษาการสนับสนุนทางด้านการเงินเพื่อการใช้พลังงานสีเขียว รวมไปถึงการร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษา ด้านการอนุรักษ์พลังงาน

มีการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์แสงสว่างของอาเซียน และในอนาคตจะมีการขยายไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ นอกจากนี้ ไทยเป็นศูนย์ฝึกอบรมภาคปฏิบัติแก่ผู้ฝึกอบรมผู้รับผิดชอบด้านพลังงานของอาเซียน เป็นปี่ที่สามติดต่อกัน รวมทั้งได้ส่งผู้เชี่ยวชาญไปพัฒนาระบบการจัดการพลังงานและบุคลากร ใน สปป. ลาว และกัมพูชา

ด้านถ่านหินและเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ที่ประชุมได้รับทราบถึงความก้าวหน้าของอาเซียนในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติที่ดีในการประกอบกิจการถ่านหินและพัฒนาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ตลอดจนการพัฒนาระบบการจัดเก็บฐานข้อมูลถ่านหินอาเซียน ด้านนิวเคลียร์เพื่อประชาชน

ซึ่งผลงานที่ผ่านมาเป็นการพัฒนาบุคลากรของอาเซียนให้เรียนรู้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ การสร้างความตระหนักรู้ด้านพลังงาน และการร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาและองค์กรระหว่างประเทศเพื่อให้สามารถเข้าใจกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จากสถานที่จริง

ด้านนโยบายและแผนพลังงาน มีการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียนระยะกลาง เพื่อประเมินความสำเร็จและปรับปรุงแผนการดำเนินงาน นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการพัฒนาขีดความสามารถด้านการเงินและลงทุนด้านพลังงาน ด้านพลังงานและดิจิทัลที่ร่วมมือกับทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (IEA)

การเชื่อมโยงโครงข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติ การพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน การศึกษาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด นิวเคลียร์ และด้านวางแผนนโยบายพลังงานร่วมกัน ชี้เป็นความร่วมมือที่สร้างความมั่นคงพลังงานในภูมิภาคอย่างยั่งยืน

นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ได้นำทีมคณะผู้แทนจากประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 36 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือ 36th ASEAN Senior Officials Meeting on Energy: 36th (SOME) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-27 กรกฎาคม 2561 ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยมีปลัดกระทรวงพลังงานและผู้แทนจากประเทศสมาชิก 10 ประเทศเข้าร่วมประชุม และประเทศคู่เจรจา ประกอบด้วย ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เกาหลี รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ตลอดจนทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ ซึ่งการประชุม ฯ ครั้งนี้ ได้ติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน (ASEAN Plan of Action on Energy Cooperation: APAEC) ปี 2016-2025 ระยะที่ 1 ระหว่างปี 2016-2020 ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงและการบูรณาการด้านพลังงาน โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

ความก้าวหน้าการพัฒนาระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบพหุภาคีจาก สปป.ลาว ไปขายยังมาเลเซีย โดยใช้ระบบโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าของไทย (LTM) จำนวนไม่เกิน 100 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดหวังว่า ในอนาคตจะมีประเทศอื่นๆเข้าร่วมโครงการนี้ด้วย นอกจากนี้ ยังมีโครงการศึกษาแนวทางการจัดตั้งหน่วยงานด้านการควบคุมและด้านการวางแผนระบบไฟฟ้าอาเซียน การศึกษาระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบพหุภาคี การศึกษาจัดทำแผนโครงข่ายระบบไฟฟ้าอาเซียนระยะที่สามอีกด้วย โดยการซื้อขายไฟฟ้าแบบพหุภาคีในภูมิภาค ระหว่างสปป.ลาว ไทยและมาเลเซีย ที่ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 ได้มีการซื้อขายไฟฟ้าไปแล้วรวมจำนวน 4 ล้านหน่วย ซึ่งนับเป็นก้าวใหญ่ที่สำคัญของการซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน และเป็นที่ชื่นชมในการประชุม ฯ ครั้งนี้ ด้านโครงข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ปัจจุบันอาเซียนมีระยะทางยาวรวม 3,673 กิโลเมตร เชื่อมโยงใน 6 ประเทศ และมีสถานีปรับเปลี่ยนก๊าซธรรมชาติให้เป็นของเหลว 6 แห่ง กำลังการผลิตรวม 36.5 ล้านตันต่อปี โดยในปี 2562 ไทยจะมีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 11.5 ล้านตันต่อปี ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทยและอาเซียนด้านพลังงานทดแทน ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศและประเทศคู่เจรจา เช่น การศึกษาต้นทุนเฉลี่ยของพลังงานทดแทนในการผลิตไฟฟ้า การศึกษาการสนับสนุนทางด้านการเงินเพื่อการใช้พลังงานสีเขียว รวมไปถึงการร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษา ด้านการอนุรักษ์พลังงาน

มีการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์แสงสว่างของอาเซียน และในอนาคตจะมีการขยายไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ นอกจากนี้ ไทยเป็นศูนย์ฝึกอบรมภาคปฏิบัติแก่ผู้ฝึกอบรมผู้รับผิดชอบด้านพลังงานของอาเซียน เป็นปี่ที่สามติดต่อกัน รวมทั้งได้ส่งผู้เชี่ยวชาญไปพัฒนาระบบการจัดการพลังงานและบุคลากร ใน สปป. ลาว และกัมพูชา

ด้านถ่านหินและเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ที่ประชุมได้รับทราบถึงความก้าวหน้าของอาเซียนในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติที่ดีในการประกอบกิจการถ่านหินและพัฒนาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ตลอดจนการพัฒนาระบบการจัดเก็บฐานข้อมูลถ่านหินอาเซียน ด้านนิวเคลียร์เพื่อประชาชน

ซึ่งผลงานที่ผ่านมาเป็นการพัฒนาบุคลากรของอาเซียนให้เรียนรู้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ การสร้างความตระหนักรู้ด้านพลังงาน และการร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาและองค์กรระหว่างประเทศเพื่อให้สามารถเข้าใจกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จากสถานที่จริง

ด้านนโยบายและแผนพลังงาน มีการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียนระยะกลาง เพื่อประเมินความสำเร็จและปรับปรุงแผนการดำเนินงาน นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการพัฒนาขีดความสามารถด้านการเงินและลงทุนด้านพลังงาน ด้านพลังงานและดิจิทัลที่ร่วมมือกับทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (IEA)

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!