ความสำเร็จของการบริหารงาน HONDA MOTOR-ตอนที่ 2.8 พิมพ์เขียวสำหรับทศวรรษ 1980 (เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน – ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987)


The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง…และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ “บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด” เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ “ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก” (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม 2532

ในปี 1937 โซอิชิโร ฮอนด้าก็เริ่มกิจการใหม่ “ผมทำตัวเองให้น่าภาคภูมิใจโดยการเริ่มธุรกิจการผลิต แต่ในเวลาไม่นานก็รู้ว่าผมจับงานที่ยากมาก” เขาก่อตั้งบริษัทขึ้นชื่อโทโก เซอิกิ เฮฟวี่ อินดัสตรี เพื่อผลิตวงแหวนลูกสูบ ปัญหาคือ เขาไม่สามารถทำมันให้ได้มาตรฐาน เขาลงทุนเงินก้อนใหญ่ซื้อเครื่องมือมาแล้ว และจะต้องทำอะไรสักอย่าง มิฉะนั้นคนงาน 50 คน จะถูกปลดและอาจจะอดอาหารตายไปก็ได้ เหตุผลที่เขาเลือกผลิตสินค้านี้ก็คือ วงแหวนลูกสูบนั้นใช้วัตถุดิบน้อยแต่สามารถขายได้ราคาดี ในปลายทศวรรษ 1930 วงแหวนลูกสูบมีค่ามากกว่าแท่งเงินที่มีน้ำหนักเท่ากัน ฮอนด้าจึงมีเหตุผลทุกอย่างที่จะเชื่อว่าวงแหวนลูกสูบสามารถผลิตได้ง่าย ๆ โดยการหล่อ

-อาร์ต โชโก สาขาฮามะมัตซึ

-ฮอนด้ากับรถแข่งรุ่นแรก ๆ ของเขา

ตอนที่เป็นเด็กฝึกงานนั้น เขาเห็นซี่ล้อรถทำด้วยไม้ติดไฟไหม้ไประหว่างไฟไหม้ครั้งใหญ่ตอนเกิดแผ่นดินไหวปี 1923 นี่เองที่ทำให้ฮอนด้าศึกษาการหล่อโลหะเมื่อเขาแยกตัวมาประกอบกิจการเอง เขาทำซี่ล้อเหล็กได้สำเร็จและได้รับสิทธิบัตร เมื่อตั้งแสดงในงานนิทรรศการอุตสาหกรรม ซี่ล้อเหล็กเป็นที่กล่าวขวัญถึงมาก ดังนั้นเขาจึงคิดว่าตัวเองเป็น “ผู้เชี่ยวชาญ” แต่มันไม่ง่ายอย่างนั้น ในการเทเหล็กที่่ร้อนจนเหลวลงในเบ้าแบบนั้น เขาสามารถผลิตวัตถุ “ที่มีรูปร่าง” เหมือนกับวงแหวนลูกสูบ สินค้าทดลองของเขาแทบไม่มีความยืดหยุ่นและถือได้ว่าไร้ประโยชน์อย่างสิ้นเชิง เขาจึงเสาะแสวงหาความรู้จากเจ้าของโรงงานหล่อเหล็กที่อยู่ใกล้เคียง แต่กลับได้รับคำตอบว่าความลับนี้จะเปิดเผยไม่ได้เว้นแต่ว่าเขาจะมาเป็นคนฝึกงานด้วยเท่านั้น

ฮอนด้าผู้เป็นประธานบริษัทกำลังดังและ มิยาโมโตะกรรมการผู้จัดการอยู่ที่โรงงานคืนแล้วคืนเล่าพยายามค้นหาความลับนั้นเองตอนค่ำอากาศหนาวจึงดืมเหล้าสาเกอุ่น ๆ ก่อนนอนหลับไปข้างเตาไฟ ในคืนที่หนาวเย็นเช่นนั้น ฮอนด้าจะนึกถึงช่วงแห่งความขมขื่นต่าง ๆ แล้วก็เริ่มวันใหม่ด้วยการทดลองและพบกับความล้มเหลวทุกครั้ง เขากลายเป็นฤษี ภรรยาต้องมาโรงงานเพื่อตัดผมให้ ชีวิตยิ่งยากลำบากขึ้น จนในที่สุดต้องจำนำข้าวของของภรรยา ฮอนด้ากล่าวว่าเขาทำงานหนักที่สุดในช่วงนั้นยิ่งกว่าช่วงใด ๆ ในชีวิต จนกระทั่งถึงตอนนั้น เขาคิดว่าการศึกษาในโรงเรียนปราศจากคุณค่าใด ๆ ทั้งสิ้น และเชื่ออย่างหนักแน่นว่าทฤษฎีต่าง ๆ เกิดขึ้นหลังจากมีการประดิษฐ์เกิดขึ้นแล้ว

“ถ้าทฤษฎีนำคุณไปสู่การประดิษฐ์ได้ละก็ บรรดาครูทั้งหลายก็จะกลายเป็นนักประดิษฐ์ไปหมดซิคุณ” แต่คราวนี้ เขารู้ดีว่าตนเองขาดแม้กระทั่งความรู้ขั้นพื้นฐานในการหล่อโลหะ

ผลสุดท้าย เขาจึงไปหาศาสตราจารย์โยชิโนบุ ฟูจิอิที่โรงเรียนมัธยมเทคโนโลยีแห่งฮามะมัตซึ แม้ว่าต่างจะไม่เคยพบกันมาก่อน ฟูจิอิคงจะเข้าใจว่าฮอนด้าเอาเป็นเอาตายกับเรื่องนี้มาก จึงแนะนำให้รู้จักกับศาสตราจารย์ทากาชิ ทาชิโระที่โรงเรียนเดียวกันนั้น ทาชิโระวิเคราะห์วงแหวนลูกสูบอันหนึ่งของฮอนด้าก็พบว่าไม่มีส่วนผสมของซิลิคอนเพียงพอ

“ข้าไม่รู้แม้กระทั่งเรื่องง่าย ๆ พรรค์นี้ด้วย” ฮอนด้าคิด

เขาจึงเข้าโรงเรียนอีก โดยเป็นนักเรียนแบบพาร์ทไทม์ ฮอนด้าตั้งอกตั้งใจฟังคำบรรยายของศาสตราจารย์ทาชิโระ คิดอยู่ตลอดเวลาว่าจะทำวงแหวนลูกสูบให้ดีขึ้นได้อย่างไร

ตอนนี้ ก็ทำหน้าที่สองบทบาทคือเป็นประธานบริษัทและเป็นักเรียน ฮอนด้ารับเอาทฤษฎีใหม่ ๆ ในชั้นเรียนแล้วนำไปใช้ที่โรงงาน ถึงเดือนพฤศจิกายนเขาก็สามารถผลิตแบบจำลองที่น่าพอใจได้สำเร็จ คือเป็นเวลาเก้าเดือนหลังจากการทดลองครั้งแรก ในระหว่างนั้นสงครามจีน-ญี่ปุ่นกำลังกระทบกระเทือนแม้แต่ในตำบลเล็ก ๆ ซึ่งมีภาพชาวบ้านอำลาทหารหนุ่มที่ถูกส่งไปแนวหน้าให้เห็นอยู่บ่อย ๆ แม้ว่าฮอนด้าจะยังไปโรงเรียนอยู่ เขาก็ไม่ไปเรียนภาษาเยอรมันหรือวิชาทหาร

ทั้งครูและนักเรียนเดินไปโรงเรียน ฮอนด้าต่างไปจากคนอื่น คือเขาขับรถยนต์ไปโรงเรียน อายุเขาเท่ากับของศาสตราจารย์ทาชิโระ ผู้ที่เขาเชื้อเชิญไปกินอาหารค่ำกับเขาบ่อย ๆ เมื่อคิดถึงลักษณะที่ค่อนข้างจะเข้มงวดของระบบการศึกษาของญี่ปุ่นในสมัยนั้น พฤติกรรมของนักเรียนพาร์ทไทม์คนนี้เป็นที่รู้จักกันดีทั่วโรงเรียน วันหนึ่งอาจารย์ใหญ่ชื่อ เทอิ อาดะจิ จึงเรียกฮอนด้าไปพบและบอกว่าเขาจะไม่ได้รับประกาศนียบัตรเพราะเขาไม่ได้สอบไล่

“ประกาศนียบัตรหรือครับนั่นมันมีค่าน้อยกว่าตัวหนังสืออีกครับ” ฮอนด้าตอบ

“ตั๋วหนังรับประกันได้ว่าได้เข้าไปในโรงหนังแน่ แต่ประกาศนียบัตรไม่รับประกันว่าจะทำมาหากินได้”

อาจารย์เทอิต่อมาก็ได้เลื่อนขึ้นไปเป็นผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยี ปอร์ต อาร์เธอร์ (ในจังหวัดเหลียวนิงในประเทศจีน) ซึ่งเป็นสวรรค์ของวิศวกรชั้นยอด หลังสงคราม ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยียามะนาชิ ถึงตอนนั้น ฮอนด้าก็เป็นผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ผู้มีชื่อเสียงแล้ว และอาดะจิซึ่งจดจำการโต้เถียงครั้งนั้นได้ดีเกี่ยวกับประกาศนียบัตร ก็เรียกคู่ปรับเก่าให้มาฟังคำสารภาพของเขาว่า

“ฉันนึกอยากให้ตัวเองให้ประกาศนียบัตรใบนั้นกับคุณไปเสียในตอนนั้น”

ตอนที่ 2.7 อดีตที่น่าภาคภูมิใจ

The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง...และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ "บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด" เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ "ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก" (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม 2532

ในปี 1937 โซอิชิโร ฮอนด้าก็เริ่มกิจการใหม่ "ผมทำตัวเองให้น่าภาคภูมิใจโดยการเริ่มธุรกิจการผลิต แต่ในเวลาไม่นานก็รู้ว่าผมจับงานที่ยากมาก" เขาก่อตั้งบริษัทขึ้นชื่อโทโก เซอิกิ เฮฟวี่ อินดัสตรี เพื่อผลิตวงแหวนลูกสูบ ปัญหาคือ เขาไม่สามารถทำมันให้ได้มาตรฐาน เขาลงทุนเงินก้อนใหญ่ซื้อเครื่องมือมาแล้ว และจะต้องทำอะไรสักอย่าง มิฉะนั้นคนงาน 50 คน จะถูกปลดและอาจจะอดอาหารตายไปก็ได้ เหตุผลที่เขาเลือกผลิตสินค้านี้ก็คือ วงแหวนลูกสูบนั้นใช้วัตถุดิบน้อยแต่สามารถขายได้ราคาดี ในปลายทศวรรษ 1930 วงแหวนลูกสูบมีค่ามากกว่าแท่งเงินที่มีน้ำหนักเท่ากัน ฮอนด้าจึงมีเหตุผลทุกอย่างที่จะเชื่อว่าวงแหวนลูกสูบสามารถผลิตได้ง่าย ๆ โดยการหล่อ

-อาร์ต โชโก สาขาฮามะมัตซึ

-ฮอนด้ากับรถแข่งรุ่นแรก ๆ ของเขา

ตอนที่เป็นเด็กฝึกงานนั้น เขาเห็นซี่ล้อรถทำด้วยไม้ติดไฟไหม้ไประหว่างไฟไหม้ครั้งใหญ่ตอนเกิดแผ่นดินไหวปี 1923 นี่เองที่ทำให้ฮอนด้าศึกษาการหล่อโลหะเมื่อเขาแยกตัวมาประกอบกิจการเอง เขาทำซี่ล้อเหล็กได้สำเร็จและได้รับสิทธิบัตร เมื่อตั้งแสดงในงานนิทรรศการอุตสาหกรรม ซี่ล้อเหล็กเป็นที่กล่าวขวัญถึงมาก ดังนั้นเขาจึงคิดว่าตัวเองเป็น "ผู้เชี่ยวชาญ" แต่มันไม่ง่ายอย่างนั้น ในการเทเหล็กที่่ร้อนจนเหลวลงในเบ้าแบบนั้น เขาสามารถผลิตวัตถุ "ที่มีรูปร่าง" เหมือนกับวงแหวนลูกสูบ สินค้าทดลองของเขาแทบไม่มีความยืดหยุ่นและถือได้ว่าไร้ประโยชน์อย่างสิ้นเชิง เขาจึงเสาะแสวงหาความรู้จากเจ้าของโรงงานหล่อเหล็กที่อยู่ใกล้เคียง แต่กลับได้รับคำตอบว่าความลับนี้จะเปิดเผยไม่ได้เว้นแต่ว่าเขาจะมาเป็นคนฝึกงานด้วยเท่านั้น

ฮอนด้าผู้เป็นประธานบริษัทกำลังดังและ มิยาโมโตะกรรมการผู้จัดการอยู่ที่โรงงานคืนแล้วคืนเล่าพยายามค้นหาความลับนั้นเองตอนค่ำอากาศหนาวจึงดืมเหล้าสาเกอุ่น ๆ ก่อนนอนหลับไปข้างเตาไฟ ในคืนที่หนาวเย็นเช่นนั้น ฮอนด้าจะนึกถึงช่วงแห่งความขมขื่นต่าง ๆ แล้วก็เริ่มวันใหม่ด้วยการทดลองและพบกับความล้มเหลวทุกครั้ง เขากลายเป็นฤษี ภรรยาต้องมาโรงงานเพื่อตัดผมให้ ชีวิตยิ่งยากลำบากขึ้น จนในที่สุดต้องจำนำข้าวของของภรรยา ฮอนด้ากล่าวว่าเขาทำงานหนักที่สุดในช่วงนั้นยิ่งกว่าช่วงใด ๆ ในชีวิต จนกระทั่งถึงตอนนั้น เขาคิดว่าการศึกษาในโรงเรียนปราศจากคุณค่าใด ๆ ทั้งสิ้น และเชื่ออย่างหนักแน่นว่าทฤษฎีต่าง ๆ เกิดขึ้นหลังจากมีการประดิษฐ์เกิดขึ้นแล้ว

"ถ้าทฤษฎีนำคุณไปสู่การประดิษฐ์ได้ละก็ บรรดาครูทั้งหลายก็จะกลายเป็นนักประดิษฐ์ไปหมดซิคุณ" แต่คราวนี้ เขารู้ดีว่าตนเองขาดแม้กระทั่งความรู้ขั้นพื้นฐานในการหล่อโลหะ

ผลสุดท้าย เขาจึงไปหาศาสตราจารย์โยชิโนบุ ฟูจิอิที่โรงเรียนมัธยมเทคโนโลยีแห่งฮามะมัตซึ แม้ว่าต่างจะไม่เคยพบกันมาก่อน ฟูจิอิคงจะเข้าใจว่าฮอนด้าเอาเป็นเอาตายกับเรื่องนี้มาก จึงแนะนำให้รู้จักกับศาสตราจารย์ทากาชิ ทาชิโระที่โรงเรียนเดียวกันนั้น ทาชิโระวิเคราะห์วงแหวนลูกสูบอันหนึ่งของฮอนด้าก็พบว่าไม่มีส่วนผสมของซิลิคอนเพียงพอ

"ข้าไม่รู้แม้กระทั่งเรื่องง่าย ๆ พรรค์นี้ด้วย" ฮอนด้าคิด

เขาจึงเข้าโรงเรียนอีก โดยเป็นนักเรียนแบบพาร์ทไทม์ ฮอนด้าตั้งอกตั้งใจฟังคำบรรยายของศาสตราจารย์ทาชิโระ คิดอยู่ตลอดเวลาว่าจะทำวงแหวนลูกสูบให้ดีขึ้นได้อย่างไร

ตอนนี้ ก็ทำหน้าที่สองบทบาทคือเป็นประธานบริษัทและเป็นักเรียน ฮอนด้ารับเอาทฤษฎีใหม่ ๆ ในชั้นเรียนแล้วนำไปใช้ที่โรงงาน ถึงเดือนพฤศจิกายนเขาก็สามารถผลิตแบบจำลองที่น่าพอใจได้สำเร็จ คือเป็นเวลาเก้าเดือนหลังจากการทดลองครั้งแรก ในระหว่างนั้นสงครามจีน-ญี่ปุ่นกำลังกระทบกระเทือนแม้แต่ในตำบลเล็ก ๆ ซึ่งมีภาพชาวบ้านอำลาทหารหนุ่มที่ถูกส่งไปแนวหน้าให้เห็นอยู่บ่อย ๆ แม้ว่าฮอนด้าจะยังไปโรงเรียนอยู่ เขาก็ไม่ไปเรียนภาษาเยอรมันหรือวิชาทหาร

ทั้งครูและนักเรียนเดินไปโรงเรียน ฮอนด้าต่างไปจากคนอื่น คือเขาขับรถยนต์ไปโรงเรียน อายุเขาเท่ากับของศาสตราจารย์ทาชิโระ ผู้ที่เขาเชื้อเชิญไปกินอาหารค่ำกับเขาบ่อย ๆ เมื่อคิดถึงลักษณะที่ค่อนข้างจะเข้มงวดของระบบการศึกษาของญี่ปุ่นในสมัยนั้น พฤติกรรมของนักเรียนพาร์ทไทม์คนนี้เป็นที่รู้จักกันดีทั่วโรงเรียน วันหนึ่งอาจารย์ใหญ่ชื่อ เทอิ อาดะจิ จึงเรียกฮอนด้าไปพบและบอกว่าเขาจะไม่ได้รับประกาศนียบัตรเพราะเขาไม่ได้สอบไล่

"ประกาศนียบัตรหรือครับนั่นมันมีค่าน้อยกว่าตัวหนังสืออีกครับ" ฮอนด้าตอบ

"ตั๋วหนังรับประกันได้ว่าได้เข้าไปในโรงหนังแน่ แต่ประกาศนียบัตรไม่รับประกันว่าจะทำมาหากินได้"

อาจารย์เทอิต่อมาก็ได้เลื่อนขึ้นไปเป็นผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยี ปอร์ต อาร์เธอร์ (ในจังหวัดเหลียวนิงในประเทศจีน) ซึ่งเป็นสวรรค์ของวิศวกรชั้นยอด หลังสงคราม ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยียามะนาชิ ถึงตอนนั้น ฮอนด้าก็เป็นผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ผู้มีชื่อเสียงแล้ว และอาดะจิซึ่งจดจำการโต้เถียงครั้งนั้นได้ดีเกี่ยวกับประกาศนียบัตร ก็เรียกคู่ปรับเก่าให้มาฟังคำสารภาพของเขาว่า

"ฉันนึกอยากให้ตัวเองให้ประกาศนียบัตรใบนั้นกับคุณไปเสียในตอนนั้น"

ตอนที่ 2.7 อดีตที่น่าภาคภูมิใจ

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!