ความสำเร็จของการบริหารงาน HONDA MOTOR-ตอนที่ 2.9 พิมพ์เขียวสำหรับทศวรรษ 1980 (เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน – ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987)


The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง…และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ “บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด” เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ “ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก” (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม 2532

ในปี 1941 สงครามแผ่ขยายจากจีนไปยังมหาสมุทรแปซิฟิค และธุรกิจของโทไกเซอิกิก็เจริญรุ่งเรือง บริษัทเริ่มส่งแหวนลูกสูบให้แก่บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ซึ่งถือหุ้นอยู่ 40 เปอร์เซ็นต์ และไทโชะ อิชิดะ อดีตประธานบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารคนหนึ่งของโทไก เซอิกิ บริษัทของฮอนด้าตอนนี้ก็จัดส่งชิ้นส่วนและเครื่องจักรต่าง ๆ ให้แก่กองทัพเรือและบริษัทนากิจิมะ แอร์คร๊าฟท์ ถึงช่วงนี้คนหนุ่มของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ถูกเกณฑ์เป็นทหาร ดังนั้นบรรดาผู้หญิงจึงเข้าทำงานแทนในโรงงานต่าง ๆ เทคนิคการผลิตหลายอย่างเหมาะสมที่จะใช้ต่อไป

ฮอนด้าได้ประดิษฐ์เครื่องจักรอัตโนมัติขึ้นผลิตวงแหวนลูกสูบนี้ซึ่งคนงานไม่กี่คนสามารถควบคุมได้ เมื่อทางการทหารขอร้องมา ฮอนด้าจึงประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับสร้างใบพัดเครื่องบินระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ใบพัดของเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นนั้นทำด้วยไม้ และต้องใช้เวลานานเป็นสัปดาห์จึงจะผลิตด้วยมือได้หนึ่งอัน เครื่องมือใหม่นี้ทำให้สามารถกลึงผิวหน้าของใบพัดสองใบในเวลาเดียวกันได้ และทั้งหมดนี้ใช้เวลาไปเพียงครึ่งชั่วโมง จากการผลิตเครื่องมือชนิดนี้ ฮอนด้าจึงได้รับหนังสือชมเชยจากทางการทหาร และหนังสือพิมพ์พากันลงข่าวยกย่องเขาเป็น “วีรบุรุษอุตสาหกรรม”

โรงงานของฮอนด้า อยู่ใกล้สนามบินฮามะมัตซึ จึงถูกระเบิดจนกระทั่งถึงตอนสงครามยุติ และในเดือนมกราคม ปี 1945 โรงงานก็พินาศไปเกือบหมดเพราะแผ่นดินไหว สงครามจบลงในขณะที่ฮอนด้ากับพนักงานพยายามซ่อมแซมเครื่องจักรอยู่

ว่าถึงสงครามแล้ว ฮอนด้าให้ความเห็นว่า “เครื่องบินของอเมริกันดีมากจนเครื่องบินญี่ปุ่นหลายลำถูกยิงตก ผมคิดว่าเราอาจจะแพ้สงคราม แต่เราได้รับการสั่งสอนมาว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศชาติอันศักดิ์สิทธิ์ ผมก็เลยคิดว่าคงจะมีปาฏิหาริย์สักอย่างเกิดขึ้น แต่เราก็แพ้สงคราม”

แม้ว่าจะเป็นประสบการณ์น่าเวทนาสำหรับเขาก็ตามเมื่อได้ยินเสียงองค์จักรพรรดิประกาศการยอมแพ้ของญี่ปุ่น ฮอนด้าก็ไม่ถึงกับหมดอาลัยตายอยากเหมือนกับพวกปัญญาชนหลายคนของญี่ปุ่นเป็นกัน แต่เขารู้สึกว่า ญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่ยุคแห่งความไม่แน่นอนอันใหญ่หลวง และคิดว่า อย่าทำอะไรซู่ซ่าจะปลอดภัยกว่า

เขาขายหุ้นบริษัท โทไก เซอิกิให้แก่ โตโยต้า มอเตอร์จึงได้เงินมา 450,000 เยน (เกือบ 800,000 ดอลลาร์ในปัจจุบัน) แล้วประกาศว่าจะอยู่อย่างสบาย ๆ สักหนึ่งปี แล้วเขาก็ดำเนินการตามที่พูดไว้อย่างกระตือรือร้นตามแบบของเขา ฮอนด้าคิดว่าคนญี่ปุ่นคิดอย่างคนทำไร่ทำนามากเกินไปและไม่ค่อยรู้อะไรเลยนอกจากการทำงานหนัก อาจจะเพื่อแสดงถึงหนทางที่ดีกว่าในการดำรงชีวิตของจึงจ่ายเงิน 10,000 เยน (กว่า 17,000 ดอลลาร์ในปัจจุบัน) ซื้ออัลกอฮอล์กินได้ถังใหญ่มาถังหนึ่ง เอาถังติดตั้งไว้ที่บ้าน ทำเหล้าวิสกี้เองและใช้ชีวิตในปีถัดมาจัดงานเลี้ยงเพื่อนฝูงและเล่น ชากุฮะจิ (เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งของญี่ปุ่น)

The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง...และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ "บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด" เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ "ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก" (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม 2532

ในปี 1941 สงครามแผ่ขยายจากจีนไปยังมหาสมุทรแปซิฟิค และธุรกิจของโทไกเซอิกิก็เจริญรุ่งเรือง บริษัทเริ่มส่งแหวนลูกสูบให้แก่บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ซึ่งถือหุ้นอยู่ 40 เปอร์เซ็นต์ และไทโชะ อิชิดะ อดีตประธานบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารคนหนึ่งของโทไก เซอิกิ บริษัทของฮอนด้าตอนนี้ก็จัดส่งชิ้นส่วนและเครื่องจักรต่าง ๆ ให้แก่กองทัพเรือและบริษัทนากิจิมะ แอร์คร๊าฟท์ ถึงช่วงนี้คนหนุ่มของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ถูกเกณฑ์เป็นทหาร ดังนั้นบรรดาผู้หญิงจึงเข้าทำงานแทนในโรงงานต่าง ๆ เทคนิคการผลิตหลายอย่างเหมาะสมที่จะใช้ต่อไป

ฮอนด้าได้ประดิษฐ์เครื่องจักรอัตโนมัติขึ้นผลิตวงแหวนลูกสูบนี้ซึ่งคนงานไม่กี่คนสามารถควบคุมได้ เมื่อทางการทหารขอร้องมา ฮอนด้าจึงประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับสร้างใบพัดเครื่องบินระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ใบพัดของเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นนั้นทำด้วยไม้ และต้องใช้เวลานานเป็นสัปดาห์จึงจะผลิตด้วยมือได้หนึ่งอัน เครื่องมือใหม่นี้ทำให้สามารถกลึงผิวหน้าของใบพัดสองใบในเวลาเดียวกันได้ และทั้งหมดนี้ใช้เวลาไปเพียงครึ่งชั่วโมง จากการผลิตเครื่องมือชนิดนี้ ฮอนด้าจึงได้รับหนังสือชมเชยจากทางการทหาร และหนังสือพิมพ์พากันลงข่าวยกย่องเขาเป็น "วีรบุรุษอุตสาหกรรม"

โรงงานของฮอนด้า อยู่ใกล้สนามบินฮามะมัตซึ จึงถูกระเบิดจนกระทั่งถึงตอนสงครามยุติ และในเดือนมกราคม ปี 1945 โรงงานก็พินาศไปเกือบหมดเพราะแผ่นดินไหว สงครามจบลงในขณะที่ฮอนด้ากับพนักงานพยายามซ่อมแซมเครื่องจักรอยู่

ว่าถึงสงครามแล้ว ฮอนด้าให้ความเห็นว่า "เครื่องบินของอเมริกันดีมากจนเครื่องบินญี่ปุ่นหลายลำถูกยิงตก ผมคิดว่าเราอาจจะแพ้สงคราม แต่เราได้รับการสั่งสอนมาว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศชาติอันศักดิ์สิทธิ์ ผมก็เลยคิดว่าคงจะมีปาฏิหาริย์สักอย่างเกิดขึ้น แต่เราก็แพ้สงคราม"

แม้ว่าจะเป็นประสบการณ์น่าเวทนาสำหรับเขาก็ตามเมื่อได้ยินเสียงองค์จักรพรรดิประกาศการยอมแพ้ของญี่ปุ่น ฮอนด้าก็ไม่ถึงกับหมดอาลัยตายอยากเหมือนกับพวกปัญญาชนหลายคนของญี่ปุ่นเป็นกัน แต่เขารู้สึกว่า ญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่ยุคแห่งความไม่แน่นอนอันใหญ่หลวง และคิดว่า อย่าทำอะไรซู่ซ่าจะปลอดภัยกว่า

เขาขายหุ้นบริษัท โทไก เซอิกิให้แก่ โตโยต้า มอเตอร์จึงได้เงินมา 450,000 เยน (เกือบ 800,000 ดอลลาร์ในปัจจุบัน) แล้วประกาศว่าจะอยู่อย่างสบาย ๆ สักหนึ่งปี แล้วเขาก็ดำเนินการตามที่พูดไว้อย่างกระตือรือร้นตามแบบของเขา ฮอนด้าคิดว่าคนญี่ปุ่นคิดอย่างคนทำไร่ทำนามากเกินไปและไม่ค่อยรู้อะไรเลยนอกจากการทำงานหนัก อาจจะเพื่อแสดงถึงหนทางที่ดีกว่าในการดำรงชีวิตของจึงจ่ายเงิน 10,000 เยน (กว่า 17,000 ดอลลาร์ในปัจจุบัน) ซื้ออัลกอฮอล์กินได้ถังใหญ่มาถังหนึ่ง เอาถังติดตั้งไว้ที่บ้าน ทำเหล้าวิสกี้เองและใช้ชีวิตในปีถัดมาจัดงานเลี้ยงเพื่อนฝูงและเล่น ชากุฮะจิ (เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งของญี่ปุ่น)

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!