ดัชนีความเชื่อมั่นฯ พฤษภาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้น, ภาพรวมเศรษฐกิจขยายตัว การส่งออกดีขึ้น ผู้ประกอบการขนาดใหญ่เน้นลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม


นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการประจำเดือนพฤษภาคม 2561 จำนวน 1,015 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรม ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

โดย ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 90.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 89.1 ในเดือนเมษายน ทั้งนี้ค่าดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้น เกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

จากการสำรวจ พบว่า ในเดือนพฤษภาคม ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าภาพรวมของเศรษฐกิจภายในประเทศ ยังขยายตัวต่อเนื่อง และส่งผลดีต่อภาคการผลิต รวมทั้งการส่งออกได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า สะท้อนจากคำสั่งซื้อโดยรวมและยอดขายโดยรวมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ มีแผนการขยายการลงทุนเครื่องจักร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

ยังมีประเด็นที่ต้องติดตามจากการที่ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในเดือนพฤษภาคม ขณะเดียวกันผู้ประกอบการส่งออกได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อแปลงกลับมาเป็นเงินบาท ทำให้สูญเสียรายได้จากการส่งออก

ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ควรเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขนาดย่อมที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ สามารถนำเสนอแผนการลงทุน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและการพัฒนานวัตกรรมการผลิต ต่อสถาบันการเงิน โดยจัดทำเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ผู้ประกอบการ และสถาบันการเงิน

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการประจำเดือนพฤษภาคม 2561 จำนวน 1,015 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรม ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

โดย ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 90.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 89.1 ในเดือนเมษายน ทั้งนี้ค่าดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้น เกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

จากการสำรวจ พบว่า ในเดือนพฤษภาคม ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าภาพรวมของเศรษฐกิจภายในประเทศ ยังขยายตัวต่อเนื่อง และส่งผลดีต่อภาคการผลิต รวมทั้งการส่งออกได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า สะท้อนจากคำสั่งซื้อโดยรวมและยอดขายโดยรวมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ มีแผนการขยายการลงทุนเครื่องจักร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

ยังมีประเด็นที่ต้องติดตามจากการที่ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในเดือนพฤษภาคม ขณะเดียวกันผู้ประกอบการส่งออกได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อแปลงกลับมาเป็นเงินบาท ทำให้สูญเสียรายได้จากการส่งออก

ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ควรเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขนาดย่อมที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ สามารถนำเสนอแผนการลงทุน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและการพัฒนานวัตกรรมการผลิต ต่อสถาบันการเงิน โดยจัดทำเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ผู้ประกอบการ และสถาบันการเงิน

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!