แชฟฟ์เลอร์ จับมือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน พัฒนาหลักสูตรด้านระบบขนส่งรถไฟและเทคโนโลยีในไทยเป็นครั้งแรก


แชฟฟ์เลอร์ ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับยานยนต์และอุตสาหกรรมระดับโลกร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (RMUTI) ร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MoU) เพื่อพัฒนาความรู้ด้านระบบขนส่งรถไฟและเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยร่วมกับบริษัท ทีเอ็นจี คอร์ปอเรชั่น และบริษัท เฮฟวี่ 34 เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เพื่อพัฒนาและดำเนินการหลักสูตรโปรแกรมการเรียนรู้และการฝึกอบรมทางเทคนิคเกี่ยวกับระบบการขนส่งทางรถไฟที่วิทยาลัยทักษะนวัตกรรม (CIS) ภายในมหาวิทยาลัย

แชฟฟ์เลอร์เป็นหุ้นส่วนด้านการพัฒนาระดับโลกสำหรับการขนส่งระหว่างเมือง นายมาร์ติน ชไรเบอร์ ประธานฝ่ายอุตสาหกรรมภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก บริษัท แชฟฟ์เลอร์ กล่าวว่า “แชฟฟ์เลอร์ให้บริการด้านอุตสาหกรรมมานานกว่าสิบปีด้วย ความสามารถของเราในการผลิตตลับลูกปืนสำหรับภาคอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวกับระบบขนส่งรถไฟ เราพร้อมที่จะขยายบทบาทในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพัฒนายุทธศาสตร์ของเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งจีน เนื่องจากเรามองเห็นถึงแนวโน้มด้านการขนส่งระหว่างเมืองในปัจจุบัน ทั้งนี้โครงการส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ทีมงานที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูง รวมทั้งต้องมีความเข้าใจในระบบเทคโนโลยีรวมทั้งมีผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรม ซึ่งแชฟฟ์เลอร์เป็นบริษัทชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญในเชิงลึก และมีความรู้ด้านเทคนิคในโครงการรถไฟที่หลากหลาย รวมถึงการขนส่งด้วยความเร็วสูง การขนส่งสินค้า และการขนส่งในท้องถิ่นในเมืองใหญ่ทั่วโลก โดยที่ผ่านมาแชฟฟ์เลอร์ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการทดสอบในประเทศเยอรมนี และประเทศจีน ซึ่งมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง”

ในฐานะผู้นำระดับโลกในด้านนวัตกรรม แชฟฟ์เลอร์มีความพร้อมที่จะขยายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาและวิจัยต่างๆ ซึ่งพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานและแชฟฟ์เลอร์ในครั้งนี้ จะช่วยเสริมสร้างเครือข่ายนวัตกรรมระดับโลกของแชฟฟ์เลอร์ และขยายฐานความรู้ให้ครอบคลุมในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยได้ โดยก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2560 บริษัทฯ จัดตั้งแชฟฟ์เลอร์ ฮับ (Schaeffler Hub) เพื่อการวิจัยขั้นสูงที่มหาวิทยาลัย Southwest Jiaotong (SWJTU) จังหวัดเฉินตู ประเทศจีน ซึ่งความร่วมมือในครั้งนั้นมุ่งเน้นไปที่การออกแบบและการพัฒนาตลับลูกปืนใน axlebox เพิ่มเติม โดยการรวมความสามารถในการวิจัยของมหาวิทยาลัยเข้ากับความเชี่ยวชาญด้านระบบเมคคาทรอนิกส์และระบบของแชฟฟ์เลอร์ในการบำรุงรักษาแบบคาดการณ์ล่วงหน้าได้

มหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพสูงตั้งอยู่ในศูนย์กลางด้านการพัฒนาระบบขนส่งรถไฟของไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (RMUTI) เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (RMUT) ซึ่งเป็นสถาบันหลักของมหาวิทยาลัย 9 แห่งในประเทศไทยที่ให้การศึกษาระดับปริญญาตรี และระดับที่สูงกว่า โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานเปิดดำเนินงาน 5 วิทยาเขตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นภูมิภาคการพัฒนาที่สำคัญสำหรับโครงการ Belt and Road โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 (พ.ศ.2560 – 2564) จากกรุงเทพถึงจังหวัดนครราชสีมา (252.5 กม.) อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง และระยะที่ 2 (พ.ศ.2565 – 2569) จะขยายจากจังหวัดนครราชสีมาไปจังหวัดหนองคายระยะทาง 355 กม.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนับเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในฐานะเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำที่มีส่วนช่วยในการพัฒนามาตรฐานการศึกษาด้านเทคนิคและการฝึกอบรมวิชาชีพในประเทศไทยโดยเฉพาะในด้านระบบการขนส่งทางรถไฟ

นายชัยชาญ โอปนายิกุล รองผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท แชฟฟ์เลอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า “ความร่วมมือระหว่างแชฟฟ์เลอร์และพันธมิตรธุรกิจในครั้งนี้ นับเป็นการมีส่วนร่วมครั้งแรกของกลุ่มแชฟฟ์เลอร์ในโครงการพัฒนาด้านวิชาการสำหรับระบบขนส่งระหว่างเมืองในไทย ซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาของรัฐบาลไทยที่พร้อมสนับสนุนและส่งเสริมด้านเทคโนโลยีใหม่และทันสมัยในอุตสาหกรรมและระบบขนส่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Belt and Road”

แชฟฟ์เลอร์ ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับยานยนต์และอุตสาหกรรมระดับโลกร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (RMUTI) ร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MoU) เพื่อพัฒนาความรู้ด้านระบบขนส่งรถไฟและเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยร่วมกับบริษัท ทีเอ็นจี คอร์ปอเรชั่น และบริษัท เฮฟวี่ 34 เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เพื่อพัฒนาและดำเนินการหลักสูตรโปรแกรมการเรียนรู้และการฝึกอบรมทางเทคนิคเกี่ยวกับระบบการขนส่งทางรถไฟที่วิทยาลัยทักษะนวัตกรรม (CIS) ภายในมหาวิทยาลัย

แชฟฟ์เลอร์เป็นหุ้นส่วนด้านการพัฒนาระดับโลกสำหรับการขนส่งระหว่างเมือง นายมาร์ติน ชไรเบอร์ ประธานฝ่ายอุตสาหกรรมภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก บริษัท แชฟฟ์เลอร์ กล่าวว่า “แชฟฟ์เลอร์ให้บริการด้านอุตสาหกรรมมานานกว่าสิบปีด้วย ความสามารถของเราในการผลิตตลับลูกปืนสำหรับภาคอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวกับระบบขนส่งรถไฟ เราพร้อมที่จะขยายบทบาทในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพัฒนายุทธศาสตร์ของเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งจีน เนื่องจากเรามองเห็นถึงแนวโน้มด้านการขนส่งระหว่างเมืองในปัจจุบัน ทั้งนี้โครงการส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ทีมงานที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูง รวมทั้งต้องมีความเข้าใจในระบบเทคโนโลยีรวมทั้งมีผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรม ซึ่งแชฟฟ์เลอร์เป็นบริษัทชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญในเชิงลึก และมีความรู้ด้านเทคนิคในโครงการรถไฟที่หลากหลาย รวมถึงการขนส่งด้วยความเร็วสูง การขนส่งสินค้า และการขนส่งในท้องถิ่นในเมืองใหญ่ทั่วโลก โดยที่ผ่านมาแชฟฟ์เลอร์ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการทดสอบในประเทศเยอรมนี และประเทศจีน ซึ่งมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง”

ในฐานะผู้นำระดับโลกในด้านนวัตกรรม แชฟฟ์เลอร์มีความพร้อมที่จะขยายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาและวิจัยต่างๆ ซึ่งพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานและแชฟฟ์เลอร์ในครั้งนี้ จะช่วยเสริมสร้างเครือข่ายนวัตกรรมระดับโลกของแชฟฟ์เลอร์ และขยายฐานความรู้ให้ครอบคลุมในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยได้ โดยก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2560 บริษัทฯ จัดตั้งแชฟฟ์เลอร์ ฮับ (Schaeffler Hub) เพื่อการวิจัยขั้นสูงที่มหาวิทยาลัย Southwest Jiaotong (SWJTU) จังหวัดเฉินตู ประเทศจีน ซึ่งความร่วมมือในครั้งนั้นมุ่งเน้นไปที่การออกแบบและการพัฒนาตลับลูกปืนใน axlebox เพิ่มเติม โดยการรวมความสามารถในการวิจัยของมหาวิทยาลัยเข้ากับความเชี่ยวชาญด้านระบบเมคคาทรอนิกส์และระบบของแชฟฟ์เลอร์ในการบำรุงรักษาแบบคาดการณ์ล่วงหน้าได้

มหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพสูงตั้งอยู่ในศูนย์กลางด้านการพัฒนาระบบขนส่งรถไฟของไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (RMUTI) เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (RMUT) ซึ่งเป็นสถาบันหลักของมหาวิทยาลัย 9 แห่งในประเทศไทยที่ให้การศึกษาระดับปริญญาตรี และระดับที่สูงกว่า โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานเปิดดำเนินงาน 5 วิทยาเขตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นภูมิภาคการพัฒนาที่สำคัญสำหรับโครงการ Belt and Road โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 (พ.ศ.2560 – 2564) จากกรุงเทพถึงจังหวัดนครราชสีมา (252.5 กม.) อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง และระยะที่ 2 (พ.ศ.2565 – 2569) จะขยายจากจังหวัดนครราชสีมาไปจังหวัดหนองคายระยะทาง 355 กม.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนับเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในฐานะเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำที่มีส่วนช่วยในการพัฒนามาตรฐานการศึกษาด้านเทคนิคและการฝึกอบรมวิชาชีพในประเทศไทยโดยเฉพาะในด้านระบบการขนส่งทางรถไฟ

นายชัยชาญ โอปนายิกุล รองผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท แชฟฟ์เลอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า “ความร่วมมือระหว่างแชฟฟ์เลอร์และพันธมิตรธุรกิจในครั้งนี้ นับเป็นการมีส่วนร่วมครั้งแรกของกลุ่มแชฟฟ์เลอร์ในโครงการพัฒนาด้านวิชาการสำหรับระบบขนส่งระหว่างเมืองในไทย ซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาของรัฐบาลไทยที่พร้อมสนับสนุนและส่งเสริมด้านเทคโนโลยีใหม่และทันสมัยในอุตสาหกรรมและระบบขนส่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Belt and Road”

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!